รู้หรือไม่? Smartphone บอกได้ว่าคุณกำลังซึมเศร้า

ปัจจุบัน Smartphone สามารถติดตามการออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร การนอนหลับ ในแต่ละวันของคุณได้ และเป็นไปได้ว่าในอนาคตมันอาจจะติดตามสภาวะจิตใจของคุณได้อีกด้วย

Waiting in St Martin's Lane.
Waiting in St Martin’s Lane.

 

มหาวิทยาลัย Northwestern ได้ทำการวิจัยเล็กๆกับกลุ่มผู้ใหญ่จำนวน 28 คน  โดยการติดตามการใช้ Smartphone และใช้ GPS ติดตามว่าผู้เข้าร่วมการทดลองได้เดินทางไปที่ไหนบ้างในแต่ละวัน  ซึ่งผลการวิจัยพบว่าผู้เข้าร่วมการทดลองที่ใช้ Smartphone มากในแต่ละวันและไม่ค่อยออกไปไหน  มีแนวโน้มซึมเศร้ากว่าคนที่ใช้ Smartphone น้อย และไปไหนมาไหนบ่อยๆ

 

การทดลองครั้งนี้  นักวิจัยได้เริ่มจากการใช้แบบสอบถามเพื่อวัดว่าผู้เข้าร่วมการทดลองมีอาการซึมเศร้ามากน้อยแค่ไหน ซึ่งจากการตอบแบบสอบถาม  พบว่าครึ่งหนึ่งของผู้ตอบไม่มีอาการใดว่าซึมเศร้า  ส่วนอีกครึ่งหนึ่งมีอาการซึมเศร้าอ่อนๆไปจนถึงขั้นรุนแรง

หลังจากให้ผู้เข้าร่วมการวิจัยตอบแบบสอบถามแล้ว นักวิจัยก็ทำการเก็บข้อมูลการใช้งาน Smartphone ของพวกเขาใน 2 สัปดาห์  และยังมีการส่งเมสเสจแจ้งให้ผู้เข้าร่วมการทดลองวัดคะแนนความรู้สึกเศร้าของเขาในแต่ละวันด้วยตัวเอง  ซึ่งผลการประเมินความรู้สึกของตัวเองเทียบกับผลจากแบบสอบถามก่อนหน้ามีความแม่นยำอยู่ที่ 87% อย่างไรก็ตาม  การติดตามพฤติกรรมการใช้งาน Smartphone นั้นให้ความแม่นยำกว่า

ผลการวิจัยสรุปว่าคนที่ใช้เวลาส่วนใหญ่ในสถานที่เดียวนานๆ (เช่น บ้าน) หรือมีตารางเวลาชีวิตที่ไม่ค่อยเป็นกิจวัตร  เช่น  วันนี้เข้างาน 9 โมง  วันรุ่งขึ้นเข้างานตอนบ่าย  มีแนวโน้มว่าจะซึมเศร้ามากกว่า

และเมื่อดูเวลาในการใช้ Smartphone ในแต่ละวัน  พบว่าคนที่มีอาการซึมเศร้าใช้โทรศัพท์นานถึง 68 นาทีใน 1 วัน  ในขณะที่คนที่ไม่มีอาการซึมเศร้าโดยเฉลี่ยใช้โทรศัพท์เพียง 17 นาทีต่อวัน  สอดคล้องกับงานวิจัยก่อนหน้าที่พบว่าการใช้ Smartphone มากไปเชื่อมโยงกับอาการซึมเศร้า  ความเครียด  และปัญหาการนอนหลับ

Dr. Sohrob Saeb กล่าวว่า “คนที่มีอาการซึมเศร้ามักมีพฤติกรรมหลบเลี่ยง  เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงกับการเผชิญหน้าความจริง  พวกเขามักจะแยกตัวออกมาด้วยการเล่นโทรศัพท์”

งานวิจัยชิ้นนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่นักวิจัยใช้ Smartphone ในการติดตามสุขภาพจิต  ยกตัวอย่างเช่น  ก่อนหน้านี้ได้มีการพัฒนาแอพพลิเคชั่นโดยมหาวิทยาลัย Michigan เพื่อจะวัดระดับเสียงการสนทนาเพื่อตรวจจับอารมณ์ขึ้นๆลงๆของผู้ป่วยโรคไบโพล่าร์

ดูเหมือนว่า Smartphone จะกลายมาเป็นเครื่องมือที่น่าสนใจสำหรับใช้ในวงการแพทย์มากขึ้นเรื่อยๆ

 

 

อ้างอิง

 

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here