Mesh Technology, Wireless Mesh, Mesh Wi-Fi หรืออุปกรณ์เน็ตเวิร์คอะไรก็ตาม ที่หากมีคำว่า Mesh ติดอยู่เมื่อไร ก็ย่อมหมายถึงอุปกรณ์หรือเราเตอร์ Wi-Fi ที่สามารถสื่อสารกับเราเตอร์ Wi-Fi ตัวอื่น ๆ ได้อัตโนมัติ สามารถรวมหัวกันช่วยกระจายสัญญาณ Wi-Fi ให้ครอบคลุมทั่วสถานที่ หรือช่วยลดจุดอับสัญญาณต่าง ๆ เป็นอย่างดี
สำหรับใครที่บ้านมีหลายชั้น ห้องมีพื้นที่กว้างขวาง เราเตอร์ Wi-Fi ตัวเดียวคงเอาไม่อยู่แน่ ต้องมีจุดใดจุดหนึ่งที่สัญญาณ Wi-Fi ขาดหายไป บางคนจึงแก้ปัญหานี้ด้วยการซื้อ Access Point มาช่วยขยายสัญญาณเพิ่มเติม แต่ก็คงติดปัญหาลากสาย LAN ไปต่อกับ Access Point บางคนก็ซื้อ Wi-Fi Range Extender ที่ช่วยขยายสัญญาณได้เหมือนกัน และไม่ต้องลากสาย LAN ด้วย แต่ก็ต้องเสียเวลาตั้งค่าใหม่ ยิ่งถ้าต้องติดตั้งหลายตัว คงเหนื่อยแน่ สุดท้ายซื้อเราเตอร์ Wi-Fi เพิ่มซะเลย แน่นอนว่าปัญหาคือ เปลืองงบ !!
จากปัญหาดังกล่าว ก็ทำให้เกิดเป็น Mesh Technology และนิยามใหม่ว่า “ครั้งเดียวจบ” ด้วยการเอา เราเตอร์ Wi-Fi พร้อมชุดช่วยขยายสัญญาณหรือ Node แถมติดมาในกล่อง บางแบรนด์ก็ใส่เป็นเราเตอร์ Wi-Fi จำนวน 2 – 3 เครื่องในกล่องเดียวเลยก็มี ซึ่งข้อดีของมันคือ ไม่ต้องซื้ออะไรเพิ่มอีก ไม่ต้องตั้งค่าอะไรใหม่ให้วุ่นวาย และช่วยประหยัดงบยิ่งขึ้น (สามารถจัดโปรลดราคาได้ง่ายด้วย เพราะมีกล่องเดียวจบ) เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ชุดเดียวกัน ก็ทำให้อุปกรณ์ทั้งหมดสามารถใช้งานภายใต้ระบบเดียวกันได้ คือเปิด App เดียว ก็ควบคุมการทำงานของ Node ได้ทั้งหมดเลย ไม่ต้องไล่เปิด App เปิด Browser ใหม่เพื่อควบคุมอุปกรณ์อื่น ๆ อีกต่อไป
ลองมาดูระบบการทำงานของ Mesh Technology กันต่อ ในที่นี้ก็ขอยกตัวอย่างเป็น Deco M9 Plus เราเตอร์ Wi-Fi ที่มาพร้อม 2 ตัวในกล่องเดียวจาก TP-Link เวลาติดตั้งใช้งานครั้งแรก ก็ให้เอาตัวหนึ่งไปต่อกับโมเด็มเราเตอร์ประจำบ้าน อีกตัวก็เอาไปวางไว้ในจุดที่เราคิดว่าอับสัญญาณ โดยขอแค่มีปลั๊กเสียบไฟก็พอแล้ว ไม่ต้องเดินสาย LAN ตาม จากนั้นก็เปิดแอพฯ TP-Link Deco ทำการตั้งค่าตัวอุปกรณ์ โดยเริ่มจากตัวที่อยู่ใกล้กับโมเด็มเราเตอร์ก่อน จากนั้นก็ Add หรือกดเพิ่มอีกตัวที่นำไปวางไว้ (ตัวเครื่องทั้ง 2 ต้องไม่อยู่ห่างจนเกินไป) เพื่อทำให้อุปกรณ์ทั้ง 2 ตัวคุยกัน เมื่อมันคุยกันแล้ว ตัวที่วางแยกต่างหากก็จะแปลงตัวเองกลายเป็น Wi-Fi Range Extender โดยอัตโนมัติทันที ส่วนอีกตัวก็ทำหน้าที่เป็นเราเตอร์ Wi-Fi ปกติ
ถ้าเกิด 2 ตัวยังไม่พอ ยังคงมีจุดอับสัญญาณจุดอื่นอยู่ ก็สามารถซื้อ Deco M9 Plus อีกตัว หรือมากกว่านั้นก็ได้ มาร่วมด้วยช่วยกันขยายสัญญาณเพิ่ม จากการติดตั้งดังกล่าว ก็ทำให้เกิดเป็นการกระจายสัญญาณ Wi-Fi แบบโยงใย ที่ครอบคลุมไปทั่วสถานที่ เป็นที่มาของคำว่า “Mesh” นี้เอง ซึ่งอาจต้องใช้งบมากขึ้น แต่ก็ไม่ต้องตั้งค่าใหม่ให้วุ่นวาย แค่กด Add เพิ่มอุปกรณ์ครั้งเดียวจบ
นอกจากจะช่วยลดปัญหาจุดอับสัญญาณได้แล้ว ยังมีประโยชน์อีกอย่างหนึ่งที่ทำให้ Mesh Technology น่าสนใจขึ้นไปอีกคือ สามารถสร้างเป็นเครือข่ายของอุปกรณ์ IoT อื่น ๆ ได้ด้วย คือเนื่องจากอุปกรณ์ทั้งหมดอยู่ในเครือข่ายเดียวกัน และยังมีสัญญาณครอบคลุมไปทั่วบ้าน ก็สามารถนำอุปกรณ์ IoT มาติดตั้งในจุดไหนของบ้านก็ได้ จากนั้นก็เพิ่มตัวอุปกรณ์ IoT เข้าไปยังระบบ Mesh Technology เช่นเดียวกัน เพียงเท่านี้ก็สามารถควบคุมอุปกรณ์ IoT ผ่าน App เดียวกับที่ใช่ควบคุมตัวเราเตอร์ Wi-Fi ที่มี Mesh Technology ได้ในหน้าเดียว (ถ้าแอพฯ รองรับด้วยนะ อย่าง TP-Link Deco) ไม่ต้องไปเปิดแอพฯ ควบคุมอุปกรณ์ IoT แยกต่างหากให้เหนื่อยเล่น
สรุปจุดสำคัญของ Mesh Technology ก็คือเทคโนโลยีการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกันในเวลาเดียว สามารถสั่งให้อุปกรณ์แต่ละตัว ช่วยกันกระจายสัญญาณไปยังจุดอับต่าง ๆ แบบไม่ต้องเดินสาย LAN และสั่งงานทั้งหมดได้ในที่เดียวหรือ App เดียวจบเลย และใน Deco M9 Plus ที่ยกตัวอย่าง ก็มีความพิเศษที่สามารถนำอุปกรณ์ IoT มาเชื่อมต่อในเครือข่ายเดียวกัน และควบคุมผ่าน App เดียวกันในครั้งเดียว ช่วยลดความยุ่งยากลงไปไม่น้อยทีเดียวครับ
เพิ่มความสะดวกโดย Deco M9 Plus หาซื้อได้แล้วผ่านช่