ยูนิเวอร์ซัล โรบอท หนุนการผลิตที่ยั่งยืน ด้วยหุ่นยนต์โคบอท ประหยัดพลังงานช่วยลดของเสีย ลดต้นทุนการดำเนินงาน และปรับปรุงประสิทธิภาพ

นิเวอร์ซัล โรบอท (ยูอาร์) ผู้นำเทคโนโลยีหุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงาน (โคบอท) จากประเทศเดนมาร์ก  พร้อมเสนออุตสาหกรรมต่างๆ ในประเทศไทยนำ “การผลิตที่ยั่งยืน” มาใช้ด้วยหุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงานน้ำหนักเบา (โคบอท) ที่ช่วยลดข้อบกพร่องและการสูญเสียของสินค้า ผ่านประสิทธิภาพและความแม่นยำที่สูงขึ้น โดยช่วยให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย (SDGs) เพื่อลดการสร้างขยะและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรธรรมชาติภายในปี พ.ศ. 2573[1]  ซึ่งประเทศไทยได้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนาที่ยั่งยืน รัฐบาลได้ประกาศกฎระเบียบใหม่ที่เกี่ยวข้องกับโรงงานทั้งหมดในประเทศไทยเพื่อให้ได้รับการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวภายในปี พ.ศ. 2568[2]

“การผลิตที่ยั่งยืน” หมายถึงการผลิตสินค้าโดยใช้กระบวนการที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในเชิงลบผ่านโซลูชันที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ในกระบวนการผลิต เวลาตอบสนองต้องรวดเร็ว และข้อบกพร่องและการสูญเสียวัตถุดิบให้น้อยที่สุดเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการผลิตอย่างสม่ำเสมอ ข้อบกพร่องในการผลิตและวัตถุดิบที่ใช้แล้วทิ้งไม่เพียงแต่สร้างต้นทุนให้กับบริษัทเท่านั้น แต่ยังกลายเป็นของเสียที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

“ความยั่งยืนได้จัดเป็นเรื่องสำคัญที่เป็นวาระของโลกและทางการเมือง ประเทศต่างๆได้กำหนดเป้าหมายด้านพลังงานและการปล่อยมลพิษซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการลดต้นทุนและของเสียคือการปรับปรุงคุณภาพกระบวนการผลิตผ่านโคบอท” นายเจมส์ แมคคิว ประธานประจำภูมิภาค เอเชีย แปซิฟิก ของ ยูนิเวอร์ซัล โรบอท กล่าว

“โคบอทถูกสร้างขึ้นสำหรับงานซ้ำๆที่มีความแม่นยำสูง ซึ่งจะช่วยลดการสูญเสียในอุตสาหกรรมของประเทศไทย เช่น การเชื่อม การจ่ายและการกำจัดวัสดุ และลดจำนวนสินค้าที่บกพร่อง ผลผลิตสามารถคาดการณ์ได้มากขึ้นเมื่อเวลาที่ใช้ในกระบวนการผลิต (รอบเวลาสำหรับกระบวนการเฉพาะ) มีเสถียรภาพ ซึ่งช่วยให้การจัดการด้านลอจิสติกส์มีประสิทธิภาพและเหมาะสมยิ่งขึ้น”

การชุบแข็งด้วยความร้อนของบริษัท ฮุนได (HIHHT) ซึ่งเป็นบริษัทเกาหลีที่ให้บริการกระบวนการชุบแข็งด้วยความร้อน   ได้นำโคบอทรุ่น UR10 ของ ยูนิเวอร์ซัล โรบอทมาใช้ในกระบวนการ   โดยโคบอทเหล่านี้นำส่วนประกอบที่ไม่ผ่านการชุบลงในเครื่องชุบ แล้วจึงนำส่วนประกอบที่ผ่านการชุบแล้วไปยังสายพานลำเลียง เป็นผลให้อัตราความล้มเหลวของผลิตภัณฑ์ของ HIHHT ลดลงจาก 0.03% เป็น 0.01% และประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มขึ้น 31%

รอยเท้าหรือฟุตพริ้นท์  ที่เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม

ระบบอัตโนมัติในการผลิตต้องใช้หุ่นยนต์ในกระบวนการ ซึ่งแบบดั้งเดิมต้องการพื้นที่จำนวนมากที่จัดสรรในโรงงานผลิตสำหรับหุ่นยนต์และกรงสำหรับการป้องกัน ด้วยขนาดที่เล็กกว่าของโคบอทที่มีน้ำหนักเบาของยูอาร์สามารถทำงานร่วมกับมนุษย์ได้อย่างปลอดภัยและเคลื่อนย้ายไปมาระหว่างแอปพลิเคชันต่างๆ โดยไม่ต้องออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกใหม่ที่มีราคาแพง

โคบอทยังใช้พลังงานน้อยกว่าเมื่อเทียบกับหุ่นยนต์แบบเดิม ผู้ผลิตในประเทศไทยสามารถลดการใช้พลังงานในการใช้งานที่ขับเคลื่อนด้วยโคบอทโดยวิ่งที่ความเร็วและน้ำหนักบรรทุกสูงสุด 70-80%

ลดการปล่อยมลพิษจากการขนส่ง

การลดระยะทางที่เกี่ยวข้องกับซัพพลายเชนช่วยลดต้นทุนการขนส่ง บริษัทจำนวนมากกำลังทบทวนกระบวนการผลิต ห่วงโซ่อุปทาน และรูปแบบธุรกิจของตนอีกครั้งเพื่อให้พึ่งพาตนเอง ประหยัดต้นทุน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โคบอทของยูอาร์ส่งเสริมความพยายามเหล่านี้ด้วยให้ผู้ผลิตแข่งขันกับประเทศที่มีค่าแรงต่ำ ทำให้การผลิตอยู่ใกล้บ้าน

เครื่องมือตรวจสอบและการเข้าถึงระยะไกล

ด้วยระบบดิจิทัลในกระบวนการผลิต จึงมีการแนะนำเครื่องมือการเข้าถึงระยะไกลเพื่อช่วยผู้ผลิตในการบรรลุความยั่งยืนต่อไป ระบบนิเวศยูอาร์พลัส (UR+)  ของยูนิเวอร์ซัล โรบอทนำเสนอโซลูชันการตรวจสอบและการเข้าถึงระยะไกลที่หลากหลายเพื่อติดตามและตรวจสอบโคบอทโดยไม่ต้องอยู่ในสถานที่ เครื่องมือเหล่านี้ช่วยให้ผู้ผลิตตั้งโปรแกรมโคบอทได้จากระยะไกล ลดต้นทุนการเดินทางและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน

“ความต้องการการผลิตที่ยั่งยืนจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากผู้บริโภคเริ่มตัดสินใจบนพื้นฐานของความยั่งยืน ความสามารถของโคบอทในการบรรเทาข้อผิดพลาด ลดของเสีย และเพิ่มประสิทธิภาพสามารถมีบทบาทสำคัญในการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์  อุตสาหกรรมต่างๆ ในประเทศไทยมุ่งมั่นที่จะปรับปรุงคุณภาพและลดของเสียจากการผลิตด้วยระบบอัตโนมัติที่ทำงานร่วมกัน และช่วยให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนภายในปี พ.ศ. 2573”  นายแมคคิว  กล่าวสรุป

ข้อมูลอ้างอิง

  1. https://thailand.un.org/en/sdgs
  2. https://thaiembdc.org/2021/04/15/all-thai-factories-to-have-green-certification-by-2025/