โตโยต้าถือเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของโลกที่มีชื่อเสียงของการเป็นผู้บุกเบิกรถยนต์ไฮบริด แต่บริษัทก็ยังไม่พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงตัวเองสู่รถยนต์ไฟฟ้าเท่าใดนัก ในขณะที่คู่แข่งได้ทำการผูกขาดสัญญาแร่ธาตุสำคัญ ๆ และสร้างแบตเตอรี่ของตนเองขึ้นมาแล้ว
ตอนนี้ โตโยต้ามีแผนงานใหม่ที่แสดงให้เห็นว่า บริษัทกำลังจะกลับมาแข่งขันและจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ได้ 3.5 ล้านคันภายในปี 2573 โดยเริ่มต้นจากการพัฒนาแบตเตอรี่ของตนเองใน 4 รูปแบบ
1.แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนอิเล็กโทรไลต์เหลว มีแผนจะเปิดตัวในปี 2569 ชาร์จเต็มเร็วภายใน 20 นาที สามารถเดินทางได้ไกลเกือบ 800 กิโลเมตรต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง และมันจะมีต้นทุนที่ถูกถูกกว่าเซลล์แบตที่ใช้ใน bZ4x ถึง 20 เปอร์เซ็นต์
2.แบตเตอรี่ลิเธียมเหล็กฟอสเฟต ออกแบบมาเพื่อใช้กับรถยนต์ Eco car ขนาดเล็ก ซึ่งเป็นแบตที่ได้รับความนิยมในจีน และ Tesla เองก็กำลังใช้แบตชนิดนี้อยู่เหมือนกัน (แต่ทำไมเพิ่งทำนะ)
3.LFP cells หรือ แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนฟอสเฟตอีกชนิดหนึ่ง ซึ่ง Toyata ตั้งใจจะพัฒนาเพื่อให้สามารถลดต้นทุนได้ 40 เปอร์เซ็นต์รวมทั้งทำให้มันได้ระยะการวิ่งที่ไกลกว่าเดิม แต่ข้อเสียของ LFP คือมันชาร์จช้า โดยการชาร์จแบบ DC 10–80 เปอร์เซ็นต์ใช้เวลาประมาณ 30 นาที Toyota คาดว่าจะเปิดตัวในปี 2570
4.แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนโซลิดสเตต เป็นประสิทธิภาพสูงมากที่สุด อาจจะใช้ในรถยนต์ที่ต้องการวิ่งในระยะไกล แต่ข่าวร้ายคือมันยังไม่พร้อมใช้งานจนถึงปี 2571 แต่ถ้าทำสำเร็จ จะสามารถลดต้นทุนในการผลิตลง 10 เปอร์เซ็น และทำให้วิ่งได้ไกลมากถึง 1,000 กิโลเมตรต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง
ทั้งนี้ แบตเตอรี่เป็นหัวใจสำคัญของรถยนต์ไฟฟ้า เนื่องจากเป็นองค์ประกอบหลักที่ขับเคลื่อนรถยนต์า การพัฒนาแบตเตอรี่ที่มีประสิทธิภาพและราคาไม่แพง จะช่วยให้โตโยต้าแข่งขันในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าได้ดีขึ้น ซึ่งตอนนี้ก็ต้องยอมรับตรง ๆ ว่า Toyata ยังตามหลัง Tesla และบริษัทรถยนต์จากจีนในเรื่องการพัฒนาแบตเตอรี่อยู่
แต่ในประเทศไทย Toyota ยังถือว่าเป็นแบรนด์ยอดนิยมของคนไทย แม้กระแสของ EV จะมาแรงแค่ไหน ยอดขายของ Toyota ก็ยังเป็นที่หนึ่งอยู่ แต่หากวันหนึ่ง Tesla หรือบริษัทรถยนต์จากจีน สามารถพัฒนาบริการ ซอฟต์แวร์ และวัสดุของตัวรถได้ดีเท่ากับ Toyota ก็อาจทำให้แบรนด์สูญเสียที่หนึ่งไปได้ ภาวนาให้วันนั้น Toyota มีแบตของตัวเองแล้วสักทีนะครับ…
ที่มาข้อมูล
arstechnica