แม้พฤติกรรมของผู้บริโภคจะนิยมค้นหาเพื่อเข้าถึงข้อมูลเนื้อหาของแบรนด์ได้ด้วยตนเองแล้ว แต่แบรนด์ไม่จำเป็นต้องรอให้ผู้บริโภควิ่งเข้ามาหาข้อมูลเพียงด้านเดียวอีกต่อไป เพราะแบรนด์ที่วิ่งเข้าหาผู้บริโภคได้เร็วกว่าจะมีโอกาสแย่งชิงพื้นที่ได้เร็วกว่าและสามารถเข้าไปครองพื้นที่ในใจของผู้บริโภคกลุ่มนี้ได้ก่อนใคร หนึ่งในกลุ่มผู้บริโภคที่น่าสนใจ
จากผลการสำรวจของ TikTok คือกลุ่มผู้ใช้งานในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วันนี้เราจะชวนมาดูอินไซต์พฤติกรรมผู้บริโภคกลุ่มผู้ใช้งานในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พร้อมเหตุผลที่ว่าทำไมนักการตลาดจึงควรเข้าถึง
กลุ่มผู้ใช้งานเหล่านี้
- พฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้ใช้งานในพื้นที่ตะวันออกเฉียงเหนือ ร่วม 3 ใน 4 มีการใช้จ่ายบนแพลตฟอร์ม TikTok ด้วยจำนวนเงินประมาณ 1,000-7,000 บาทต่อเดือน
- 1 ใน 3 ของผู้ใช้งานในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือใช้ TikTok เป็นแพลตฟอร์มในการค้นหาข้อมูล
- 1 ใน 2 ของผู้ใช้งานในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตัดสินใจซื้อสินค้าภายในวันเดียวกันหลังจาก
การค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า - 3 ใน 4 ของผู้ใช้งานในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดสินใจซื้อสินค้าหลังจากพบเห็นเนื้อหาสินค้าหรือ
แบรนด์บน TikTok
ผู้ใช้งานในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพฤติกรรมการใช้แพลตฟอร์ม TikTok เพื่อวัตถุประสงค์ในการค้นหาข้อมูล และจากผลสำรวจของ TikTok พบว่าผู้ใช้งานในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตัดสินใจซื้อสินค้ารวดเร็วขึ้น อีกทั้งยังใช้จ่ายบนแพลตฟอร์มถึง 1,000-7,000 บาทต่อเดือน ซึ่งถือได้ว่าเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อไม่น้อยเลยทีเดียว สิ่งที่น่าสนใจคือ เส้นทางการเดินทางของผู้บริโภค หรือ Customer Journey ของการซื้อสินค้าในกลุ่มผู้ใช้งานในพื้นที่
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่ได้จบอยู่ที่การซื้อเพียงเท่านั้น เพราะผู้ใช้งานในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มีส่วนร่วมกับแบรนด์สูงถึงร้อยละ 75 ไม่ว่าจะเป็นการกดไลค์ การกดแชร์วิดีโอ การกดติดตาม และการเข้าชมไลฟ์
รวมไปถึงการเข้าไปมีส่วนร่วมกับกิจกรรมที่แบรนด์จัดขึ้น จากการสำรวจยังพบว่า ผู้ใช้งานในพื้นที่
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 63 นิยมแชร์เรื่องราวเกี่ยวกับการซื้อสินค้าใหม่ของตนเองให้กับเพื่อนหรือครอบครัวได้รับรู้ และผู้ใช้งานในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 52 ยังสร้างเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับสินค้าที่ตนเองซื้อ
นั่นแสดงให้เห็นว่ามีโอกาสสูงที่กลุ่มผู้บริโภคเหล่านี้จะกลายมาเป็นผู้สร้างเนื้อหาจากสินค้าหรือบริการที่ตนเองซื้อให้กับแบรนด์เช่นกัน
ผู้ใช้งานในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือคือนักสร้างคอนเทนต์
เนื้อหาที่ผู้ใช้งานในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ความสนใจมีหลากหลายประเภท สำหรับ 5 ประเภทเนื้อหา
ที่ติดอันดับและได้รับความสนใจมากที่สุดของผู้ใช้งานในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ประเภทอาหารและเครื่องดื่ม ประเภทความสวยความงาม ประเภทเทคโนโลยีและอุปกรณ์ไอที ประเภทยานยนต์ และประเภทแฟชั่น สำหรับรูปแบบเนื้อหาที่ผู้ใช้งานในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ความนิยมสำหรับการสร้างคอนเทนต์ ได้แก่
เทรนด์ (เช่น แฮชแท็ก หรือ เอฟเฟกต์ ฯลฯ) วิดีโอเพลง (เช่น ลิปซิงค์ ดูเอ็ท ฯลฯ) เคล็ดลับ การเปิดกล่องช้อปปิ้ง และการทำตามชาเลนจ์ (เช่น ไวรัลวิดีโอ ฯลฯ)
เปลี่ยนผู้ใช้งานในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้กลายมาเป็นลูกค้า
- ร้อยละ 69 ของจำนวนผู้ใช้งานในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเคยซื้อสินค้าที่พวกเขาได้ค้นพบ
บนแพลตฟอร์ม TikTok - ร้อยละ 93 ของจำนวนผู้ใช้งานในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการซื้อสินค้าออนไลน์ในเดือนที่ผ่านมา
- ร้อยละ 50 ของจำนวนผู้ใช้งานในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือซื้อสินค้าในหมวดหมู่สินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป ใน 3 เดือนที่ผ่านมา
โดยหมวดหมู่สินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 หมวดหมู่ หมวดหมู่แรกคือหมวดหมู่ผลิตภัณฑ์ความสวย
ความงาม ซึ่งสินค้าที่ได้รับความนิยมมากที่สุด 5 ลำดับแรก ได้แก่ ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ผลิตภัณฑ์อาบน้ำและดูแล
ผิวกาย ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย และผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปาก หมวดหมู่ที่สองคือหมวดหมู่ผลิตภัณฑ์ดูแลบ้าน ซึ่งสินค้าที่ได้รับความนิยมมากที่สุด 5 ลำดับแรก ได้แก่ ผลิตภัณฑ์น้ำยาซักผ้าและน้ำยา
ปรับผ้านุ่ม ผลิตภัณฑ์น้ำยาล้างจาน ผลิตภัณฑ์น้ำยาทำความสะอาดในครัวเรือน ผลิตภัณฑ์ดับกลิ่นห้อง และผลิตภัณฑ์ยาฆ่าแมลง
- ร้อยละ 75 ของจำนวนผู้ใช้งานในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือซื้อสินค้าในหมวดหมู่อาหารและเครื่องดื่มเป็นประจำทุกสัปดาห์
โดยสินค้าในหมวดหมู่อาหารและเครื่องดื่ม 5 ลำดับแรกที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ได้แก่ หมวดหมู่เนื้อปลาและอาหารทะเล หมวดหมู่น้ำบรรจุขวด หมวดหมู่ผักผลไม้ หมวดหมู่น้ำมัน และหมวดหมู่เครื่องดื่มอัดแก๊ส สิ่งที่จะช่วยกระตุ้นให้ผู้ใช้งานในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือซื้อสินค้าในหมวดหมู่นี้ มาจากแรงจูงใจที่ได้พบเห็นสินค้า
บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย การดูราคาและการเปรียบเทียบราคาสินค้า การดูความคิดเห็นหรือรีวิวจากผู้ที่เคยบริโภคบนแพลตฟอร์มออนไลน์ของแบรนด์ การพูดคุยเกี่ยวกับการซื้อสินค้ากับเพื่อนหรือครอบครัวเพื่อที่จะช่วย
ในการตัดสินใจซื้อ
ผู้ใช้งานในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นแฟนพันธุ์แท้ของตลาดยานยนต์
- 9 ใน 10 ของจำนวนผู้ใช้งานในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีส่วนร่วมหลังจากการรับชมเนื้อหาเกี่ยวกับรถบนแพลตฟอร์ม TikTok
- 1 ใน 3 ของจำนวนผู้ใช้งานในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือค้นพบรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ยี่ห้อใหม่
บนแพลตฟอร์ม TikTok - 1 ใน 2 ของจำนวนผู้ใช้งานในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าชมเว็บไซต์ของแบรนด์เพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับรถเพิ่มเติมหลังรับชมเนื้อหาเกี่ยวกับรถบนแพลตฟอร์ม TikTok
- 2 ใน 5 ของจำนวนผู้ใช้งานในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเดินทางไปชมสินค้าจริงที่ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์หลังรับชมเนื้อหาเกี่ยวกับรถบนแพลตฟอร์ม TikTok
จากผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 87 ของจำนวนผู้ใช้งานในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือวางแผนที่จะซื้อรถคันใหม่
ในอีก 24 เดือนข้างหน้า ซึ่งเป็นจำนวนที่มากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ใช้งานแพลตฟอร์ม TikTok ถึง 1.3 เท่า และกลุ่มที่ค้นพบเนื้อหาเกี่ยวกับรถบนแพลตฟอร์ม มีแนวโน้มที่จะมีส่วนร่วม เช่น การค้นหาข้อมูลรีวิวเพิ่มเติมหรือการเข้าไปรับชมสินค้าจริงที่โชว์รูมรถยนต์หรือจักรยานยนต์ โดยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับรถที่ผู้ใช้งานในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ให้ความสนใจ อีกทั้งยังใช้ข้อมูลเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการตัดสินใจซื้อ ได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับยี่ห้อ
ข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิง ข้อมูลเกี่ยวกับราคา ข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัย และข้อมูลเกี่ยวกับ
รุ่นของรถ ซึ่งข้อมูลนี้แสดงให้เห็นว่า เนื้อหาบนแพลตฟอร์มก็สามารถขับเคลื่อนให้เกิดการตัดสินใจซื้อสินค้าประเภทรถได้เช่นกันแม้จะเป็นสินค้าที่มีราคาสูงเมื่อเทียบกับสินค้าในหมวดหมู่สินค้าอุปโภคบริโภค จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่
แบรนด์รถยนต์หรือจักรยานยนต์ควรเข้ามารุกตลาดบนแพลตฟอร์ม TikTok เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึง
กลุ่มลูกค้าชนบทมากยิ่งขึ้น
วัฒนธรรมย่อยจะกลายมาเป็นข้อมูลด้านประชากรศาสตร์
- ผู้ใช้งานในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความภาคภูมิใจในเอกลักษณ์และตัวตนของพวกเขา
- ร้อยละ 71 ของจำนวนผู้ใช้งานกล่าวว่าตนเองรู้สึกผูกพันใกล้ชิดกับบุคคลหรือกลุ่มคนที่ตนเองมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบด้วยบนแพลตฟอร์ม TikTok
วัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง อีกทั้งยังได้รับความนิยม
เป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็นเรื่องวัฒนธรรมอาหารท้องถิ่น วัฒนธรรมดนตรีพื้นบ้าน และวัฒนธรรมอื่น ๆ จากผลสำรวจของ TikTok พบว่า ผู้ใช้งานในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความรักและหวงแหนเอกลักษณ์และตัวตน
ความน่าสนใจของข้อมูลนี้ชี้ให้เห็นว่า วัฒนธรรมย่อยจะกลายมาเป็นอีกหนึ่งข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ (Demographics) ที่แบรนด์และนักการตลาดต้องคำนึงถึงโดยเฉพาะการผลิตเนื้อหาเพื่อให้สามารถเจาะตลาดเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้งานในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้อย่างตรงใจ
นอกจากนี้ ข้อมูลยังพบว่า ผู้ใช้งานร้อยละ 71 รู้สึกคุ้นเคยกับบุคคลหรือกลุ่มคนที่เคยโต้ตอบกันบนแพลตฟอร์ม TikTok โดยผ่านวัฒนธรรมย่อยและเทรนด์ต่าง ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับแพลตฟอร์มอื่น อาจเรียกได้ว่า TikTok เป็นพื้นที่หล่อหลอมทางวัฒนธรรมที่หลอมรวมความแตกต่างหลากหลายของประชากรเข้าไว้ด้วยกันบนแพลตฟอร์ม และ
ถือเป็นโอกาสสำคัญที่แบรนด์จะปรับตัวเพื่อเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มผู้ใช้งานในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สร้างเนื้อหาอย่างไรให้มัดใจผู้ใช้งานในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- ร้อยละ 77 ของจำนวนผู้ใช้งานในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือชอบเนื้อหาที่แบรนด์สร้างมีม (Meme) และ
มีส่วนร่วมกับชาเลนจ์ที่กำลังเป็นที่นิยม
ด้านการสร้างเนื้อหามัดใจกลุ่มผู้ใช้งานในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สิ่งที่แบรนด์ต้องทำคือวิเคราะห์ความสนใจของผู้ใช้งานในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อที่จะสร้างเนื้อหาให้ดึงดูดใจผู้ใช้งานเหล่านี้ ผู้ใช้งานในพื้นที่
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมักจะมองหาแบรนด์หรือสินค้าที่สามารถแสดงออกถึงตัวตนของเขาได้ ฉะนั้นการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของตัวตนและสังคมของพวกเขาจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง นอกจากนี้ แบรนด์ยังต้องให้ความสำคัญกับเทรนด์ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ เพื่อที่จะหยิบยกเทรนด์ที่น่าสนใจควบคู่ไปกับวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร และเข้าไป
มีส่วนร่วมกับกลุ่มเป้าหมายให้เหมือนกับว่าแบรนด์กำลังพูดภาษาเดียวกันกับพวกเขา เพราะพวกเขาชอบให้แบรนด์เข้าไปมีส่วนร่วมกับกระแสนิยม เช่น การสร้างมีม และการทำชาเลนจ์ต่าง ๆ
เทคนิคในการสร้างเนื้อหาที่จะช่วยมัดใจให้ผู้ใช้งานในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือคือ การผสมผสานระหว่างวัตถุประสงค์ในการสื่อสารหรือข้อความที่ต้องการสื่อสาร ประกอบกับการหยิบยกวัฒนธรรมย่อยของผู้ใช้งานในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (15 ลำดับวัฒนธรรมย่อยยอดฮิตของภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น อีสานบ้านเฮา TikTokเกมมิ่ง โชคลาภ ห้องครัวTikTok ของดีบอกต่อ ฯลฯ) มารวมกับเทรนด์ (15 ลำดับเทรนด์ฮิตของภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น #ASMR #Unbox #พากย์อีสาน #TikTokการละคร #Lipsynce ฯลฯ) นอกจากนี้ สิ่งที่แบรนด์ควรคำนึงถึงในการสร้างเนื้อหาคือ สร้างเนื้อหาวิดีโอสั้นไม่เกิน 3 นาที สร้างเนื้อหาที่สร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ สร้างเนื้อหาที่ให้แรงบันดาลใจ สร้างเนื้อหาที่ใช้เสียงเพลงหรือเอฟเฟกต์ และสร้างเนื้อหาที่ให้ข้อมูลหรือความรู้เกี่ยวกับเรื่องใหม่ ๆ ที่พวกเขายังไม่เคยทราบมาก่อน เพียงเท่านี้ก็จะสามารถสร้างเนื้อหาที่มีความครีเอทีฟมัดใจผู้ใช้งานในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้แล้ว
เริ่มขับเคลื่อนธุรกิจด้วย TikTok
- ร้อยละ 96 ของจำนวนผู้ใช้งานในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือรู้จัก TikTok Shop
- ร้อยละ 81 ของจำนวนผู้ใช้งานในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีแนวโน้มที่จะซื้อสินค้าจาก TikTok Shop ในอีก 3 เดือนข้างหน้า
จากการสำรวจข้อมูล พบว่า ผู้ใช้งาน TikTok ส่วนใหญ่รู้จัก TikTok Shop และในอีก 3 เดือนข้างหน้า ผู้ใช้งาน TikTok สูงถึงร้อยละ 81 มีแนวโน้มที่จะเลือกซื้อสินค้าบนแพลตฟอร์มด้วยเช่นกัน โดยหมวดหมู่สินค้าที่ผู้ใช้งานในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ความสนใจมากที่สุด ได้แก่ หมวดหมู่แฟชั่น หมวดหมู่ความสวยความงาม หมวดหมู่อาหารและเครื่องดื่ม หมวดหมู่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และหมวดหมู่ผลิตภัณฑ์ดูแลบ้าน
TikTok เชื่อมต่อธุรกิจให้สามารถเข้าถึงผู้ใช้งานในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้มากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม การศึกษาพฤติกรรมของกลุ่มผู้ใช้งานในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือในครั้งนี้ ชี้ให้เห็นถึงโอกาสทางการตลาดที่ผู้ประกอบการสามารถเข้ามาเติมเต็มเพื่อเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้งานจำนวนมากให้ครอบคลุมพื้นที่ชนบทและเปลี่ยนจากกลุ่มผู้ใช้งานเหล่านั้นให้กลายมาเป็นลูกค้าของแบรนด์ อีกทั้งยังสามารถเป็นแนวทางในการปรับใช้เพื่อเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภค
ในภูมิภาคอื่น ๆ ได้เช่นกัน TikTok ในฐานะแพลตฟอร์มเพื่อความบันเทิงที่มุ่งมั่นในการส่งเสริมและขับเคลื่อนธุรกิจไทย เปิดโอกาสสำหรับแบรนด์ที่ต้องการรุกตลาดบนแพลตฟอร์มเพื่อเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคชนบทและขยายฐานลูกค้า
ให้กว้างยิ่งขึ้น พร้อมสนับสนุนและผลักดันธุรกิจด้วยโซลูชั่นทางการตลาดที่ตอบโจทย์ทั้งในแง่ของการสร้างการรับรู้ การตัดสินใจซื้อสินค้า การสร้างการมีส่วนร่วม ไปจนถึงการสร้างยอดขายให้กับธุรกิจ เพื่อยกระดับการทำธุรกิจ
สู่ความสำเร็จ