รู้ไหมว่า ดาวเคราะห์สีน้ำเงิน หรือก็คือโลกเรามีน้ำมากกว่า 326 ล้านล้านแกลลอน แต่มีเพียงแค่ 3 เปอร์เซ็นต์ที่เป็นน้ำจืด และน้ำจืดมากกว่า 2 ใน 3 อยู่ในธารน้ำแข็งขั้วโลกหรือใต้แผ่นเปลือกโลก สรุปก็คือเรามีน้ำบนโลกน้อยกว่า 0.5 เปอร์เซ็นต์ที่ใช้ดื่มได้
.
สิ่งนี้กำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เนื่องจากงานวิจัยของ MIT ได้พัฒนาอุปกรณ์ขนาดพกพา ที่สามารถเปลี่ยนน้ำเค็มให้กลายเป็นน้ำดื่มได้ด้วยการกดปุ่มเพียงปุ่มเดียว โดยงานวิจัยของพวกเขาได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีเมื่อเร็ว ๆ นี้
.
สำหรับตัวต้นแบบที่ทำขึ้น สามารถผลิตน้ำดื่มได้ 1 ลิตรต่อหนึ่งชั่วโมง แต่หากโปรดักส์ตัวจริงจะมีความสามารถมากกว่าเดิม 10 เท่า ทำให้เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับชุมชนเกาะห่างไกล เรือบรรทุกสินค้าทางทะเล หรือแม้แต่ค่ายผู้ลี้ภัยที่อยู่ติดกับทะเล ที่ไม่สามารถหาน้ำจืดได้ง่าย ๆ
.
ความจริงแล้วในปัจจุบัน การเปลี่ยนน้ำเค็มให้เป็นน้ำจืดนั้นใช้ต้นทุนที่สูง ต้องใช้พลังงานที่สูงมากเช่นกัน และยังต้องพึ่งพาใส้กรองขนาดใหญ่ที่ต้องมีการเปลี่ยนเมื่อครบกำหนด จึงทำให้มีต้นทุนเพิ่มมากขึ้นเข้าไปอีก
.
แต่อุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้นใหม่นี้ ใช้พลังงานน้อยกว่าอุปกรณ์ชาร์จโทรศัพท์มือถือ มีตัวเลือกในการใช้พลังงานไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลขนาดเล็ก ไม่มีต้นทุนในการเปลี่ยนตัวกรอง โดยอุปกรณ์จะใช้สนามไฟฟ้าสองชนิดเพื่อกำจัดอนุภาคเช่นโมเลกุลเกลือรวมถึงแบคทีเรียและไวรัส
.
สำหรับตอนนี้ หากเป็นเครื่องทั่วไป ต้นทุนในการผลิตอุปกรณ์ที่ใช้เปลี่ยนน้ำเค็มเป็นน้ำจืดจะอยู่ที่ประมาณ $4,000 – $6,000 ซึ่งมันก็ถือว่าค่อนข้างแพง แต่นักวิจัยของ MIT สามารถทำให้ต้นทุนเหลือเพียง $1,500 จากอุปกรณ์ดังกล่าว ซึ่งถูกกว่ามากและมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกันด้วย
.
ต้องยอมรับว่า ในอนาคตที่น้ำจืดจะหายากขึ้น การมีอุปกรณ์ขนาดเล็กและมีต้นทุนต่ำ จะเป็นตัวเลือกให้องค์กรเอกชนหรือผู้ใช้ทั่วไปสามารถเข้าถึงน้ำจืดได้ง่ายขึ้นครับ
.
ที่มาข้อมูล
https://www.fastcompany.com/90749473/this-portable-device-can-turn-saltwater-into-drinking-water-at-the-touch-of-a-button
งานวิจัย >> https://pubs.acs.org/doi/full/10.1021/acs.est.1c08466