โครงการไทยเบฟ รวมใจต้านภัยหนาว เคลื่อนคาราวาน “ผ้าห่มผืนเขียวรักษ์โลก” ลัดเลาะแนวป่า ไต่สู่ยอดเขาบนดอยสูง เพื่อส่งมอบรอยยิ้ม และความอบอุ่นให้กับพี่น้องผู้ประสบภัยหนาว หมู่บ้านโละโคะ จ.กำแพงเพชร เป็นที่ตั้งของกลุ่มชาติพันธุ์ ชาวเขาเผ่าม้ง และเผ่ากระเหรี่ยง โละโคะเป็นพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลสุดขอบเขตแดนประเทศไทย ในส่วนการเดินทางตั้งแต่ผ่านเขตอุทยานคลองวังเจ้าเข้าไป จะเป็นเขตป่าลึกถนนเป็นดินแดงสลับดินธรรมชาติ ผ่านหุบเขา ขอบเหว และผาสูงชันตลอดทั้งสองข้างทาง การเดินทางยังต้องข้าม ลำธารธรรมชาติที่สร้างจากสะพานไม้เก่าๆ อีกหลายช่วงสะพาน ที่เรียกว่าแต่ละจุดของสะพานข้ามลำธารเป็นต้อง มีลุ้น ที่นี่ยังไม่มีไฟฟ้า และสัญญานโทรศัพท์เข้าถึง พื้นที่ส่วนใหญ่ของที่นี่เป็นภูเขา และป่าไม้ ที่อยู่เลยเขตป่าสงวนและอุทยานวังเจ้าออกไป ส่วนสภาพภูมิอากาศตอนกลางคืนจะหนาวเย็นตลอดทั้งปี และเมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูหนาวก็จะยิ่งทวีความหนาวเย็นมากขึ้นจนบางปีมีพ่อเฒ่าแม่แก่ถึงกับพากันล้มป่วย และไม่สามารถทนต่อสภาพอากาศที่หนาวเย็นได้
คุณยายเย้ง แซ่โซ้ง อายุ 92 คุณยายถึงกับยกมือไหว้ด้วยความซาบซึ้งใจ เหมือนมีลูกหลานจากแดนไกลไปเยี่ยมไปหา และยังได้รับผ้าห่มเอาไว้ให้คลายหนาวยามค่ำคืน เป็นอีกหนึ่งภาพที่สะท้อนให้เห็นถึงการเป็นผู้รับ และความห่วงใยที่เปี่ยมไปด้วยความตั้งใจของผู้ให้
คุณยายโซ้ง แซ่ท้าว อายุ 71 ปี ที่ถึงกับร้องไห้ปล่อยโฮออกมาท้นทีที่ได้รับมอบผ้าห่มผืนเขียว ทำเอาทั้งผู้ว่าฯ นายกเหล่ากาชาด และคณะไทยเบฟ ต้องรีบปลอบและให้กำลังใจคุณยาย ลูกหลานเล่าให้ฟังว่าคุณยายโซ้ง เดินเหินด้วยตัวเองแทบไม่ไหวแล้ว ทำให้ไม่ได้เจอใคร พอมีคนมาเยี่ยมมาหาถึงบ้านและยังเอาของมาด้วยความตั้งใจที่ที่จะช่วยเหลือเลยกลั้นน้ำตาไว้ไม่ไหวจริงๆ งานนี้ทุกคนต้องช่วยกันปลอบแล้วปลอบอีก เพื่อให้กำลังใจคุณยาย ด้านผู้ว่าฯ และนายกเหล่ากาชาดก็รับปากว่าจะให้การดูแล และสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ร่วมขบวนไปด้วยตรวจสอบเรื่องบัตร และรายได้ที่เป็นสวัสดิการของรัฐต่างๆ เพื่อที่จะช่วยดูแลเยียวยาคุณยายต่อไป
น้องปัง สวรรยา แซ่จ้าง อายุ 10 ขวบ พูดความรู้สึกว่า “ดีใจมากค่ะที่ได้รับผ้าห่มวันนี้ แถมยังมีทั้งขนม ทั้งไอศกรีม มาแจกพวกเราอีกเพียบเลยค่ะ ดีใจที่ได้เก็บขวดมาให้โครงการ จากผู้รับ สู่ผู้ให้ เพื่อที่จะต่อสิ่งดีดีนี้ให้กับเพื่อนๆ ที่ต้องเจอกับความหนาวเย็น และอยู่ห่างไกลความเจริญเบบเรา เพราะคุณครูสอนว่าเพียงแค่ขวดพลาสติกที่สะสมครบ 38 ขวด ก็จะสามารถนำไปทำเป็นผ้าห่มรักษ์โลก ช่วยโลกได้ ไม่ทำให้ขยะล้นโลก อยากให้ทุกคนส่งต่อความอบอุ่นนี้ไปยังเพื่อนๆ ที่เดือดร้อนเหมือนกันกับพวกเรา”
ชาวบ้านโละโคะ ต่างเรียกว่า ผู้ใหญ่ดง เป็นอีกหนึ่งกำลังสำคัญที่ช่วยดูแล เป็นกระบอกเสียงของชาวบ้าน กล่าวด้วยความปลาบปลื้มใจว่า ดีใจที่สุด และขอเป็นตัวแทนชาวบ้านทุกคนขอบคุณที่โครงการไทยเบฟรวมใจ ต้านภัยหนาว พาคณะมามอบผ้าห่มให้กับชาวบ้านในวันนี้ พวกเราก็ดีใจอย่างยิ่งที่มาต้องขอขอบพระคุณจากใจ ทั้งภาครัฐ และคณะไทยเบฟมากครับ โดยเฉพาะเรื่องของ โครงการเก็บกลับฯ ที่เอาขวดน้ำมารีไซเคิล เพื่อทำผ้าห่ม ผมเองก็เพิ่ง รู้ว่าสามารถที่จะทำได้ เลยได้ช่วยแจ้งให้ชาวบ้านเขาเก็บขวดมาให้กับทางโครงการ “จากผู้รับ สู่ผู้ให้” รู้สึกดีมากที่พวกเราจะได้กลายเป็นผู้ให้และมีโอกาสได้ส่งต่อความปราถนาดีนี้ไปยังพี่น้องคนอื่นๆ ให้เขาได้รับความช่วยเหลือ และความอบอุ่นจากผ้าห่มรักษ์โลกเหมือนกับเราในวันนี้
น.ส.มธุรดา เลาว้าง (น้องอาจัว) จากเด็กน้อยชาวมุ้งวัย 4 ขวบ ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ห่างไกลและหนาวจัดบนยอดดอยตุง ในฐานะผู้ที่เคยได้รับมอบความอบอุ่นมาก่อนตั้งแต่ปี 2546 ปัจจุบันอายุ 24 ปี เด็กหญิงชาวม้งผู้เคยได้รับผ้าห่มและโอกาสจากทุนการศึกษาของไทยเบฟ ที่วันนี้ได้รับโอกาสให้เป็นทูตของโครงการฯ จากครั้งหนึ่งที่เคย“จากผู้รับ สู่ผู้ให้” “ดีใจมากค่ะที่ได้มาเป็นส่วนหนึ่งของโครงการไทยเบฟ…รวมใจต้านภัยหนาว และได้ร่วมลงพื้นที่ไปมอบผ้าห่มให้พี่น้องผู้ประสบภัยหลายแห่ง เห็นเลยว่าชาวบ้านให้ความสนใจกันมาก และอยากจะมีส่วนร่วมกับกิจกรรม บางคนหลังจากเสร็จงานเขาก็เดินมาบอกว่าขอไปเอาขวดมาให้เพิ่มนะ เหมือนกับว่าเขาได้ร่วมทำบุญ เขาเต็มใจที่จะให้ ก็อยากจะขอเชิญชวนให้ทุกคนมาร่วมพลังกัน “ลงมือทำ” เพราะเราสามารถนำขวดพลาสติก PET จำนวน 38 ขวด เข้าสู่กระบวนการรีดเส้นใย rPET ก็สามารถที่จะถักทอให้กลายมาเป็น “ผ้าห่มผืนเขียวรักษ์โลก” ได้จำนวน 1 ผืน และสามารถนำขวดบรรจุภัณฑ์พลาสติกกลับมาสู่กระบวนรีไซเคิลได้ปีละจำนวน 7,600,000 ขวด เพื่อผลิตผ้าห่มรักษ์โลกได้มากถึง 200,000 ผืนต่อปี ที่ได้ถักทอความอบอุ่นมาเป็น “ผ้าห่มผืนเขียวรักษ์โลก” อยากจะขอเป็นตัวแทนในฐานะ ที่เคยเป็นผู้รับมาก่อน เพื่อขอบคุณไทยเบฟ และผู้ใหญ่ใจดีทุกๆ ท่าน ที่ไม่ว่าพื้นที่จะห่างไกล และทุรกันดารสักแค่ไหน แต่เราก็จะไปส่งมอบความช่วยเหลือนี่ให้กับทุกๆ คน เป็นประจำทุกปี ขอบคุณที่มีโครงการ จากผู้รับ สู่ผู้ให้ นีขึ้นมาให้ทุกคนที่ได้รับความช่วยเหลือในวันนี้ได้มีส่วนร่วมกันส่งต่อความปรารถนาดีนี้ให้กับคนอื่นๆ ต่อไปค่ะ”
สำหรับโครงการ ไทยเบฟ…รวมใจต้านภัยหนาว ยังคงมุ่งมั่นขับเคลื่อนตามแนวทางการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน ด้วยการสร้างพลังความร่วมมือของทุกคนในสังคมให้ตระหนัก และใส่ใจในสิ่งแวดล้อม พร้อมรณรงค์ให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะในชุมชนต่าง ๆ ทั่วประเทศ ภายใต้กิจกรรม “จากผู้รับ สู่ผู้ให้” ที่จัดขึ้นมาเป็นปีแรก โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างจิตสำนึกให้ทุกคนเห็นถึงความเดือดร้อนของเพื่อน พี่น้องที่ประสบภัยหนาว และอยากร่วมส่งต่อความปราถนาดีไปยังพี่น้องคนไทยด้วยกัน ผ่านรอยยิ้ม และความอบอุ่นของ “ผ้าห่มผืนเขียวรักษ์โลก” ให้เป็น “มากกว่าความอบอุ่น คือสังคมแห่งการให้ที่ยั่งยืน” พร้อมขยายเครือข่าย “ความปราถนาดี” นี้ไปยังภูมิภาคอื่นๆ ต่อไป ตามดำริของ คุณเจริญ และคุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี ที่กล่าวไว้ว่า “คนไทยให้กันได้”
ไทยเบฟ หวังเป็นอย่างยิ่งว่ากิจกรรม “จากผู้รับ สู่ผู้ให้” จะสร้างพลังแห่งความปราถนาดี ที่เปี่ยมด้วยหัวใจแห่งการ “ให้” ที่ “มากกว่าความอบอุ่น คือสังคมแห่งการให้ที่ยั่งยืน” และ พร้อมขยายเครือข่าย “ความปราถนาดี” นี้ไปยังภูมิภาคอื่นๆ ต่อไป”