ในวันที่เริ่มมีการระบาดของ Coraonavirus หรือ Covid – 19 ที่อู่ฮั่น จีนได้เร่งสร้างโรงพยาบาลภาคสนามขึ้นภายใน 10 วัน พร้อมกับขนเทคโนโลยีพร้อมกับทีมแพทย์เพื่อเตรียมรับมือกับผู้ป่วยจำนวนมาก
ปัจจุบัน ประเทศต่างๆทั่วโลกต่างจับมือกันเพื่อต่อสู้กับ COVID-19 แต่เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ของจีนกำลังใช้ Robot และ Telemedicine และเทคโนโลยีอื่น ๆ เพื่อช่วยป้องกันการแพร่ระบาด และเป็นกำลังเสริมให้กับเจ้าหน้าที่ช่วยต่อสู้กับวิกฤตนี้
โดยในช่วงที่รัฐบาลจีนสั่งให้ทุกคนอยู่บ้าน จีนใช้โดรนสำรวจเพื่อดูคนที่แอบฝ่าฝืนกฎพร้อมติดตั้งลำโพงขนาดใหญ่ เพื่อช่วยประชาสัมพันธ์ข่าวสาร
ในพื้นที่โรงพยาบาลสนามอู่ฮั่นมีการใช้หุ่นยนต์เพื่อลดภาระต่าง ๆ ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ ทั้งหุ่นยนต์เพื่อคุยกับแพทย์ และหุ่นยนต์ส่งอาหารและยา หุ่นยนต์เพื่อความบันทเทิง รวมทั้งหุ่นยนต์ฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อ โดยได้รับการสนับสนุนส่วนหนึ่งจากบริษัท China Mobile และ CloudMinds
นอกจากนี้ จีนใช้อุปกรณ์ IoT อื่น ๆ เพื่อคัดกรองผู้ป่วยผ่านเครื่องวัดอุณหภูมิที่เชื่อมต่อเครือข่าย 5G โดยเครื่องจะแจ้งเจ้าหน้าที่ทันที หากพบคนที่มีอุณภูมิร่างกายสูงกว่าปกติ
ด้านการรักษา ผู้ป่วยจะสวมสร้อยข้อมือและแหวนอัจฉริยะที่จะซิงค์กับแพลตฟอร์ม AI ของ CloudMinds เพื่อตรวจดูสัญญาณชีพ อุณหภูมิ อัตราการเต้นของหัวใจและระดับออกซิเจนในเลือด เพื่อเฝ้าระวังและลดภาระให้กับพยาบาลที่ต้องคอยวัดสัญญาณต่างๆ ในแต่ละวัน
โรงพยาบาลภาคสนามเป็นหนึ่งในหลายแห่งในหวู่ฮั่นออกแบบมาเพื่อรองรับผู้ป่วย 20,000 รายหากโรงพยาบาลทั่วไปมีภาระหนัก สถานที่และหุ่นยนต์ก็อยู่ในสถานะเตรียมพร้อมเพื่อรองรับผู้ป่วยที่จะเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ จีนยังได้ใช้หุ่นยนต์ฆ่าเชื้อด้วยแสง UV ที่นำเข้าจากบริษัทในเดนมาร์ค เมื่อเปิดเครื่อง หุ่นยนต์จะเดินไปยังสถานที่ ที่ถูกตั้งค่าไว้อัติโนมัติเพื่อฆ่า Covid – 19 สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ 99.9 เปอร์เซ็น ใช้งานได้ 2.5 ชั่วโมงหรือประมาณ 9-10 ห้อง มีเซนเซอร์ติดที่ตัวหุ่น หากพบเจอคนหุ่นจะหยุดทำงานทันที และจะทำงานต่อเมื่อคนไม่มีคนอยู่
Telemedicine ถูกหยิบใช้งานจริง ไม่ใช่แค่พูดถึง
Telemedicine นั้นเป็นเรื่องที่เราพูดกันมันหลายปีแล้ว แต่ก็ไม่มีอะไรพัฒนามากขึ้น อาจเป็นเพราะไม่มีตัวเร่งปฏิกิริยา แต่เมื่อ Covid – 19 ระบาด มันบังคับโรงพยาบาลหลายที่ต้องปรับตัว
JD Health บริษัทย่อยของยักษ์ใหญ่ด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของ JD.com ได้ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการบริการสุขภาพออนไลน์เพิ่มขึ้นเป็นสิบเท่านับตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโรคโคโรนาไวรัส
ประธานาธิบดีโดนัลด์ทรัมป์ให้สัมภาษณ์ว่ากฎของรัฐบาลกลางจะถูกยกเลิก เพื่อให้แพทย์จำนวนมากสามารถให้การดูแลผู้ป่วยผ่านวิดีโอแชทและวิธีการอื่น ๆ ได้
โรงพยาบาลเช่นศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยในชิคาโกและโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยจอร์จวอชิงตันในวอชิงตันดีซีกำลังใช้ Telemedicine เพื่อช่วยคัดกรองผู้ป่วย coronavirus
สำหรับไทย อาจจะยังมีเทคโนโลยีนี้ในโรงพยาบาลใหญ่ ๆ อย่างโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ที่ใช้หุ่นยนต์ปิ่นโตที่ใช้เพื่อช่วยส่งอาหารและยาให้กับผู้ป่วยในพื้นที่
ส่วน Telemedicine มีใช้งานอย่างจริงจังแค่โรงพยาบาลเอกชนเท่านั้น อย่างบำรุงราษฐ์และ กรุงเทพดุสิตเวชการ (BDMS) ทำให้มีแค่คนบางกลุ่มที่พอมีฐานะพอจะเข้าถึงการรักษาได้
ต้องยอมรับว่าไทยมีการปรับตัวรับ Covid – 19 ได้ดีหากเทียบกับประเทศแถบยุโรป แต่น่าเสียดายที่การใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเหลือนับว่ามีน้อย ทั้งที่เรามีบุคคลากรด้านวิศวกรที่เก่งมาก ๆ