ใต้หวัน ยังคงเป็นประเทศหนึ่งที่รักษาตัวเลขผู้ป่วยโควิด 19 ได้ต่ำที่สุดในโลกไว้ได้ตลอดช่วงการระบาดใหญ่ และกินเวลานานกว่า 200 วันในปี 2020 โดยไม่มีผู้ป่วยแม้แต่รายเดียว
.
แม้จะมีตัวแปรสำคัญอย่าง Omicron โควิดสายพันธุ์ใหม่ที่เข้าโจมตีไต้หวันเมื่อต้นเดือนมกราคม แต่จำนวนผู้ป่วยในพื้นที่ก็ยังคงค่อนข้างต่ำ เป็นตัวเลขเดียวหรือตัวเลขสองหลักที่ต่ำมาก ๆ ในแต่ละวัน
.
โดยใต้หวันใช้แค่เทคโนโลยีง่าย ๆ อย่าง QR Code ที่ใช้ประโยชน์ได้จริง ๆ ในการจำกัดการแพร่ระบาด โดยแต่เดิมนั้น QR Code ใช้เฉพาะกับระบบขนส่งอัตโนมัติ แต่ปัจจุบันมีการใช้งานมากขึ้นตั้งแต่มีการระบาดของ Covid
.
ธุรกิจมากกว่า 2 ล้านแห่ง ตั้งแต่ร้านค้าและร้านกาแฟ ไปจนถึง Night Market หรืดตลาดกลางคืนที่มีชื่อเสียงได้มีการแขวนรหัส QR ไว้บนผนัง ลูกค้าต้องสแกนทุกครั้งก่อนจะเข้ารับบริการหรือซื้อของในร้านค้าต่าง ๆ แต่หากเป็นในชุมชนผู้สูงอายุที่ไม่ได้สันทัดกับเทคโนโลยีมากนัก ก็จะใช้เป็นการกรอกแบบฟอร์มครับ ซึ่งจะถูกแปลงเป็นข้อมูลดิจิทัลภายหลัง
.
รหัส QR เหล่านี้จะอนุญาตให้หน่วยงานด้านสาธารณสุขของประเทศเข้าถึงข้อมูลการเดินทางของแต่ละบุคคลได้ ไว้สำหรับใช้เป็นข้อมูลประกอบการสวบสวนรายบุคคล ยกตัวอย่างเช่น หากพบเจอชายคนหนึ่งติด Covid จะมีการสอบสวนกับชายคนนี้ว่า เค้าได้เดินทางไปที่ไหนมาบ้าง พร้อม ๆ กับใช้ข้อมูลการแสกน QR Code หรือข้อมูลที่กรอกแบบฟอร์มเอาไว้ เพื่อย้อนดูข้อมูลการเดินของบุคคลนั้น ๆ แม้จะเป็นเป็นขั้นตอนที่ต้องใช้แรงงานมาก แต่ก็เห็นผล เพราะใต้หวันมีผู้ป่วยโควิดต่ำที่สุดในโลก
.
ชาวใต้หวันแค่สแกนรหัส QR ผ่านแอปที่รัฐบาลทำขึ้นเพื่อลงทะเบียนข้อมูลประจำตัวของพวกเขา ก่อนเข้าไปในห้างสรรพสินค้าหรือร้านค้าต่าง ๆ ระบบคิวอาร์โค้ดของใต้หวันนี้ สามารถติดไว้ตามสถานที่สาธารณะต่าง ๆ ตั้งแต่ร้านกาแฟไปจนถึงตลาด ซึ่งประชาชนไต้หวันก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
.
นอกจากนี้ เครือข่ายโทรศัพท์มือถือของไต้หวันยังใช้ในการติดตามการติดเชื้อเพื่อค้นหาและติดต่อบุคคลที่อาจติดเชื้อไวรัสได้ ยกตัวอย่างเช่น ในช่วงต้นปี 2020 หน่วยงานด้านสาธารณสุขของไต้หวันได้ส่งข้อความถึงผู้คนมากกว่า 627,000 คนที่อาจสัมผัสกับผู้ที่ติดเชื้อโควิด หลังจากที่พวกเขาลงจากเรือสำราญญี่ปุ่นในตอนเหนือของไต้หวัน ซึ่งทำให้คนเหล่านี้ระวังตัวได้ไวขึ้นครับ
.
จะเห็นว่า มาตรการต่าง ๆ นั้นแถบไม่ต่างอะไรกับไทยเราเลยครับ มี QR Code ให้สแกน และมีกฎที่เข้มงวดให้ทุกคนต้องสแกนก่อนเข้าไปช้อปปิ้งที่ร้านหรือห้างสรรพสินค้า แต่ไต้หวันประสบความสำเร็จมากกว่า เพราะอะไร ?
อ่านต่อจาก Facebook
ซึ่งอาจเป็นเพราะประชากรน้อยกว่า โดยมีประมาณ 23.5 ล้านคน ทำให้ควบคุมได้ง่ายกว่า อีกเรื่องคือระบบ QR ที่ใช้ได้จริง ซึ่งหากเทียบกับไทยเรา ต้องยอมรับว่าเรามีการสแกนก็จริง แต่เวลาเกิดการแพร่ระบาด ระบบของเราทำงานได้ไม่ดีเท่าของไต้หวันครับ ทำให้ไม่สามารถจำกัดการแพร่ระบาดได้ดีเท่า และระยะหลังๆ ที่คนไทยรู้สึกว่ามันใช้ไม่ได้จริง ก็สังเกตได้ว่าหลายคนเมินหรือละเลยที่จะสแกนแล้วครับ
.
อีกเหตุผลหนึ่งที่ใต้หวันมีผู้ป่วยน้อยคือ มีการจำกัดการเดินทางตั้งแต่วันแรก ๆ ที่มีข่าวว่าเกิดการแพร่ระบาดของโควิดรวมทั้งในช่วงของการแพร่ระบาดจาก Omicron ด้วยเช่นกัน จึงทำให้ไต้หวันสามารถจัดการกับการแพร่ระบาดได้ไวมาก
.
สุดท้าย ความสำเร็จของโควิดในไต้หวันจะเกิดขึ้นไม่ได้หากปราศจากความร่วมจากประชาชนที่ยังสแกน QR Code ทุกครั้งที่ไปที่ใดก็ตาม รวมทั้งปฏิบัติตามแนวทางของรัฐบาลอื่นๆ เช่น การสวมหน้ากากและการเว้นระยะห่างทางสังคม
.
Jason Wang ศาสตราจารย์ด้านกุมารเวชศาสตร์และนโยบายสุขภาพแห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด กล่าวว่า “คนส่วนใหญ่ในสหรัฐอเมริกาไม่ต้องการถูกติดตาม แต่ในไต้หวัน ถ้าคุณบอกว่าเรากำลังติดตามคุณเพื่อจุดประสงค์ในหยุดการแพร่ระบาด คนส่วนใหญ่ก็จะยอมรับสิ่งนั้นและยอมให้ติดตามครับ
.
อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญคือ ชาวไต้หวันจำนวนมากเคยผ่านโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (SARS) เมื่อ 20 ปีที่แล้ว ดังนั้นเมื่อเกิดโรคโควิด-19 ทั้งภาครัฐและสังคมจึงเตรียมพร้อมและเต็มใจที่จะดำเนินการอย่างเต็มที่ครับ
.
ที่มาข้อมูล
bbc
อ่านบทความที่น่าสนใจอื่น ๆ ของ Techhub