ไม่น้อยหน้า จีนเปิดตัวภารกิจใหม่ ประกอบสถานีอวกาศนอกโลก

สถานีอวกาศ

หากนึกถึงเทคโนโลยีอวกาศ เราคงมองว่าสหรัฐคือผู้นำได้ด้านนี้ แต่เมื่อไม่นานจีนได้เพิ่งได้เปิดตัวภารกิจใหม่ที่จะประกอบสถานีอวกาศให้เสร็จสิ้น

ย้อนกลับไปในเดือนเมษายน 2021 จีนได้ปล่อยจรวดที่บรรทุกโมดูลหลักของสถานีอวกาศชื่อว่า Tianhe โดยในปัจจุบัน มันได้โคจรอยู่ในวงโคจรต่ำนอกโลก

และเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา จีนได้ถ่ายทอดสดในการปล่อยจรวด Shenzhou 14 ยานบรรทุกสินค้า พร้อมลูกเรืออีกสามคน เพื่อนำไปประกอบกับสถานีโมดูลหลัก Tianhe ซึ่งต้องยอมรับว่านับเป็นความสำเร็จอย่างมากของจีน ที่ได้ส่งคนไปสร้างสถานีอวกาศได้เพิ่มมากขึ้น

การสร้าง Space Station นั้นมีเหตุผลหลายประการมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการิวจัย การสำรวจ การทดลองหรือแม้แต่การท่องเที่ยว

สถานีอวกาศเป็นสถานที่สำหรับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัยในสภาพแวดล้อมที่ไม่สามารถเทียบได้กับโลก ตัวอย่างเช่น แรงโน้มถ่วงเปลี่ยนแปลงไป จะทำให้เกิดวิธีที่อะตอมมารวมกันเพื่อสร้างผลึกในรูปแบบใหม่

และจากความสูงเหนือพื้นโลก สถานีอวกาศสามารถให้ทัศนียภาพที่ไม่เหมือนใครเพื่อศึกษาสภาพอากาศ ธรณีสัณฐาน พืชพรรณ มหาสมุทร และชั้นบรรยากาศของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้พยากรณ์ได้ว่าจะเกิดภัยพิบัติในทวีปใด ๆ ล่วงหน้า ซึ่งหากสถานีอวกาศในอนาคตมีความก้าวหน้า และมีขนาดใหญ่ขึ้น มันอาจถูกใช้เป็นโรงแรมเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้มาพักผ่อน

หากจะถามว่า ทำไมประเทศผู้นำทางด้านเศรษฐกิจอย่างสหรัฐและจีน ต้องแข่งกันสร้างสถานีอวกาศหรือเทคโนโลยีอวกาศ นั่นก็เพราะว่า เพื่อที่จะชิงพื้นที่ในอวกาศหรือแม้กระทั่งพื้นที่บนดาวเคราะห์ดวงใหม่อย่าง ดาวอังคาร ซึ่งแน่นอนว่า ทั้ง 2 ประเทศไม่ได้ตั้งใจจะแบ่งปันเทคโนโลยีกันอยู่แล้ว จึงต้องมีแผนในการพัฒนาเทคโนโลยีของแต่ละประเทศครับ

ที่มาข้อมูล

https://apnews.com/article/space-launches-science-technology-china-49385f679bb6bfa2c58a3c71e78c4724