ต้องยอมรับว่าในปัจจุบัน สถานการณ์ของ Covid นั้นยังเป็นปัญหาระดับโลก แม้ในประเทศที่พัฒนาแล้วก็ยังต้องเจอกับปัญหาดังกล่าวอยู่ เพราะไวรัสได้วิวัฒนาการตัวเองอยู่เสมอครับ
แต่ตอนนี้ เกาหลีใต้กำลังนำเทคโนโลยีการจดจำใบหน้ามาใช้ติดตามผู้ป่วยโควิดเพื่อดูว่าพวกเขาเหล่านั้นไปสัมผัส ใกล้ชิด หรือคุยกับใครมาบ้าง เพื่อที่จะได้เข้าควบคุมได้ทันก่อนเกิดการระบาดรอบใหม่
เมืองบูชอน หนึ่งในเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดของประเทศในเขตชานเมืองกรุงโซลได้มีกำหนดเริ่มโครงการนำร่องที่จะนำเทคโนโลยีจดจำใบหน้าเข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ภาพต่าง ๆ ที่รวบรวมโดยกล้องวงจรปิดมากกว่า 10,820 ตัวเพื่อติดตามการเคลื่อนไหวของผู้ติดเชื้อ
โดยข้อมูลจากกล้องมากว่า 10,820 ตัว จะสามารถติดตามการเคลื่อนไหวของผู้ติดเชื้อ หรือใครก็ตามที่พวกเขาสัมผัสใกล้ชิด รวมทั้งพวกเขาเหล่านั้นสวมหน้ากากหรือไม่ โดยข้อมูลทั้งหมดจะถูกส่งไปยังกระทรวงวิทยาศาสตร์และไอซีที เพื่อประมวลผลข้อมูลครับ
เจ้าหน้าที่ของเมืองบูชอนกล่าวว่า ระบบจะลดความเครียดของทีมติดตามที่ต้องทำงานหนักเกินไปในเมืองที่มีประชากรมากกว่า 800,000 คน ซึ่งจะช่วยให้ทีมทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำยิ่งขึ้น
หากเทียบกับการใช้งานเทคโนโลยีเดิมอย่างการวิเคราะห์ภาพจาก CCTV อาจต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงที่จะต้องวิเคราะห์ภาพหนึ่งภาพ แต่เทคโนโลนี Ai ใหม่นี้สามารถทำได้ในทันที
นอกจากนี้ ระบบยังช่วยทีมสอบสวนทางระบาดวิทยาที่ต้องพึ่งพาคำให้การของผู้ป่วย COVID-19 เป็นอย่างมาก ซึ่งข้อมูลที่ได้มาไม่ได้เป็นความจริงเสมอไปเกี่ยวกับกิจกรรมที่พวกเขาทำในแต่ละวัน
ระบบการติดตามของบูชอนสามารถติดตามคนได้มากถึงสิบคนพร้อมกันในระยะเวลา 5-10 นาที ช่วยลดเวลาที่ใช้ในการทำงานด้วยตนเองซึ่งใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมงในการติดตามบุคคลหนึ่งคน ซึ่งจะทำให้การระบาดลดน้อยลงมากขึ้นครับ
ดูจากภายนอกแล้ว มีแต่เรื่องที่ดีนะครับ แต่แม้ว่าจะมีการสนับสนุนการใช้งานระบบดังอย่างกว้างขวางสำหรับวิธีการติดตามผู้ป่วย แต่นักรณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชนและผู้ร่างกฎหมายชาวเกาหลีใต้บางคนได้แสดงความกังวลว่ารัฐบาลจะเก็บรักษาและมีการใช้งานข้อมูลดังกล่าวเกินกว่าที่จะใช้ในการควบคุมการระบาดหรือเปล่า ซึ่งประเด็นยังเป็นประเด็นร้อนทั่วโลกเช่นกันครับ เพราะในประเทศเริ่มต้นของประชาธิปโตยอย่างสหรัฐก็มีข่าวว่า ตำรวจมีการลักลอบใช้ข้อมูลการติดตามมากเกินกว่าที่แจ้งกับประชาชน
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ของบูชอน กล่าวว่าไม่มีข้อกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัว เนื่องจากระบบจะวางภาพโมเสคไว้บนใบหน้าของใครก็ตามที่ไม่เกี่ยวข้อง รวมทั้งผู้ติดเชื้อ
จะต้องเซ็นต์ให้ความยินยอมในการติดตามพวกเขาตามกฎหมายพระราชบัญญัติควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ
ในพรบ. ระบุไว้ว่าผู้ป่วยต้องให้ความยินยอมเพื่อใช้การติดตามการจดจำใบหน้า แต่แม้ว่าพวกเขาจะไม่ยินยอม ระบบก็ยังสามารถติดตามพวกเขาได้โดยใช้ภาพเงาและเสื้อผ้าของพวกเขา ซึ่งจะมีการทำโมเสดไว้ที่หน้าเช่นกัน
ที่มาข้อมูล
South Korea to test AI-powered facial recognition to track COVID-19 cases