Sony Xperia อธิบายคำว่า “อารยธรรม” ก่อนซักนิด คำ ๆ นี้มันมาจากประโยคว่า “อารยธรรม โซนี่ วอล์ดแมน” จากโฆษณาเครื่องเล่นเพลงพกพาในซีรีย์ Walkman เมื่อนานมาแล้ว ที่มีเอกลักษณ์ของตัวเองสูง ดีไซน์แต่ล่ะทีก็ไม่เคยซ้ำกัน แล้วพอ Sony มาทำสมาร์ทโฟน (สมัย Ericsson) ก็กลายเป็นสมาร์ทโฟนที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใครอีก จึงทำให้คำว่าอารยธรรม กลายเป็นชื่อแทนของสมาร์ทโฟน Sony ไปปริยาย แต่..หลัง ๆ สมาร์ทโฟน Sony กลับขาดเอกลักษณ์ของตัวเองไปซะอย่างนั้น ใน Z Series เป็นต้นมา จะเห็นได้ว่า Sony มักทำแต่ดีไซน์เดิม ๆ จนแยกรุ่นแทบไม่ออกว่า นี้รุ่นใหม่หรือเก่า สุดท้าย Sony จึงได้ติดสินใจทิ้งชื่อ Z Series ในที่สุด แล้วเปลี่ยนเป็นชื่อ X Series ในปัจจุบัน ซึ่งก็เริ่มเห็นความเป็นเอกลักษณ์ขึ้นบ้างแล้ว จนใน X Series รุ่นล่าสุด ก็เรียกได้เสียทีว่า “อารยธรรมกลับมาแล้ว” นั้นก็คือ X Compact รุ่นระดับกลาง (แต่สเปก Hi-End) และ XZ เรือธงตัวใหม่ ที่ผมจะมารีวิวในที่นี้กัน
Sony Xperia XZ เรียกว่าเป็นเรือธงตัวสมบูรณ์ของ Sony ก็ว่าได้ แม้จะมีสเปกแทบจะเนื้อเดียวกับกัน X Performance เรือธงตัวก่อนหน้า (ที่ตกรุ่นอย่างไว….) แต่ XZ มีส่วนที่ดีกว่า 3 อย่างคือ 1.กล้อง 2.USB Type-C และ 3.วัสดุกับดีไซน์ จาก 3 ข้อนี้เอง ก็ทำให้ XZ ได้เรียกคืนศรัทธาต่อสาวกและคนที่เพิ่งเคยสัมผัสสมาร์ทโฟน Sony ได้ดีไม่น้อย แต่สำหรับมาตรฐานกันน้ำกันฝุ่น IP65/IP68 ก็ยังคงกั๊กให้เฉพาะรุ่นเรือธงตัวนี้เช่นเคย (แล้วแอบไปเปิดตัว X compact รุ่นกันน้ำที่ญี่ปุ่น….) ส่วน XZ จะเป็นยังไงบ้างมาดูกันครับ
สเปก Sony Xperia XZ
Display : หน้าจอ IPS ขนาด 5.2 นิ้ว ความละเอียด 1,920 × 1080 ให้ความคมชัดด้วย TRILUMINOS และ X-Reality Engine หน้าจอครอบด้วยกระจก Gorilla Glass
CPU : Qualcomm Snapdragon 820
GPU : Adreno 530
RAM : 3 GB
ROM : 64 GB รองรับ SD Card 256 GB
Main Camera : 23 ล้านพิกเซล ใช้เซ็นเซอร์ Exmor Rs ขนาด 1/3.06 นิ้ว เลนส์ G มุมกว้างขนาด 24 มม. หน่วยประมวลผล BIONZ และรูรับแสง F/2.0 ปรับ ISO ได้สูงสุด 12800 และมีระบบ PDAF, Laser AF, IR Color sensor, EIS กันสั่น 5 แกน, รองรับการถ่ายวิดีโอ 4K Ultra HD
Front Camera : 13 ล้านพิกเซล ใช้เซ็นเซอร์ Exmor Rs ขนาด 1/2.3 นิ้ว รูรับแสง F/2.2 ปรับ ISO สูงสุด 6400 ใช้เลนส์มุมกว้าง 24 มม.
Connect : Wi-Fi 802.11 a/b/g/n/ac, dual-band, Wi-Fi Direct, DLNA, hotspot Bluetooth 4.2 รองรับ 4G/LTE Cat9 (Dual SIM) และ USB Type-C
Battery : Li-Ion 2900 mAh
ขนาดตัวเครื่อง : 146 x 72 x 8.1 mm
น้ำหนัก : 161 g
ระบบปฏิบัติการ : Android 6.0.1 Marsmallow
มาตรฐานกันน้ำกันฝุ่น : IP65/IP68
สีให้เลือก : Mineral black (ดำ), Platinum (เงิน), Forest blue (ฟ้า), Deep pink (ชมพู)
แกะกล่อง
ตั้งแต่มาเป็น X Series ทาง Sony ก็ได้กลับมาใช้กล่องแพ็กเก็จแบบสี่เหลี่ยมทรงสูงแล้ว ในกล่องก็มีอุปกรณ์พื้นฐานแถมให้เช่นเคย อาทิ ตัวเครื่อง XZ , สาย USB Type-C (รุ่น UCB20) , Adapter ชาร์จไฟ , หูฟัง และคู่มือ
วัสดุและดีไซน์
มาดูที่วัสดุก่อนเลย สำหรับรุ่น XZ ทาง Sony ได้มีการใช่วัสดุโลหะชนิดใหม่ที่เรียกว่า “ALKALEIDO” เป็นโลหะที่มีความบริสุทธิ์สูง มีความเงางามในระดับหนึ่ง วินาทีแรกที่ได้จับเครื่อง บอกเลยว่า “ไม่อยากปล่อย” คือตัวเครื่องเป็นโลหะก็จริง แต่มันเหมือนสัมผัสกับผิวพลาสติกซะมากกว่า (แต่ก็เป็นโลหะอยู่นะ) และด้วยที่มันเหมือนผิวพลาสติก จึงทำให้ตัวเครื่องไม่ลื่นมือ จับได้กระชับ และให้สัมผัสการจับที่ดีมาก ๆ ทีเดียว
ตัวเครื่องยังขึ้นรูปชิ้นเดียวแบบ Unibody แต่มีการเปลี่ยนดีไซน์ใหม่เป็น “Loop Surface” ด้วยการทำให้ขอบเครื่องมีความโค้งมน รับกับหน้าจอที่เป็นกระจกโค้งแบบ 2.5D พร้อมตัดขอบบนขอบล่างเป็นเหลี่ยมด้วย (จนเอาเครื่องตั้งกับพื้นได้) ทำให้ตัวเครื่องดูมีความสมมาตรยิ่งนัก และดูมีเอกลักษณ์ยิ่งกว่าเก่าด้วย แต่โดยรวมก็ยังคงรูปแบบ Omnibalance เช่นเคย ตามสไตล์ Sony
สำหรับสีที่ได้มารีวิวครั้งนี้คือ Mineral Black หรือสีดำขรึม จากอีก 2 สีคือ Forest Blue และ Platinum
หน้าจอ
หน้าจอของ XZ มีขนาด 5.2 นิ้ว ความละเอียด Full HD (1,920 × 1,080) ให้ภาพที่ละเอียดคมชัดสุด ๆ และยังมีเทคโนโลยี TRILUMINOS ช่วยทำให้หน้าจอมีสีสันสดใสมากกว่าเดิม แต่ยังคงความสมจริงของสีเอาไว้
หน้าจอสู้แสงได้ดีมาก ๆ แม้อยู่กลางแดดก็ยังเห็นหน้าจอชัดเจน
ส่วนที่เป็นหน้าจอ ถูกปิดด้วยกระจก Corning Gorilla Glass ทับอีกที ทำให้หายห่วงเรื่องหน้าจอเป็นรอยง่ายหรือแตกง่ายไปได้เลย อาจถึงขึ้นไม่ต้องใช้ฟิล์มกันรอยหรือฟิล์มกันกระแทกเลยทีเดียว
ฮาร์ดแวร์
ในส่วนของฮาร์ดแวร์ที่น่าสนใจอื่น ๆ ก็มีทั้ง
ปุ่มสแกนลายนิ้วมือ ที่ต้องยอมรับเลยว่า ทำงานไวมากกก แม้ตัวสแกนจะเป็นปุ่มแคบ ๆ แต่ก็ยังตรวจจับลายนิ้วมือของผู้ใช้ได้อย่างว่องไว ทั้งนี้ยังสามารถเก็บรูปแบบลายนิ้วมือได้ถึง 10 รูปแบบ และถ้าหากเรากลัวลายนิ้วมือมีปัญหา ก็สามารถปลดล็อคด้วยการ “วาดรูปแบบ” ก็ได้ครับ
ลองสแกนเฉพาะนิ้วชี้นิ้วเดียว หากเป็นนิ้วอื่น มันจะขึ้นคำว่า “ไม่รู้จัก” แต่ถ้าใช่ ก็ตามภาพครับ
USB-C ที่ในที่สุด Sony ก็เอามาใส่เสียที….
ช่องหูฟัง 3.5 mm ก็ยังคงมีอยู่ พร้อมไมค์ตัดเสียงรบกวนที่อยู่ห่างออกไปหน่อย
ลำโพงคู่ จะอยู่ที่ด้านหน้าตรงหัวท้ายเครื่องทั้ง 2 ฝั่ง แต่ให้เสียงดังได้แค่พอประมาณ
NFC หากใครสงสัยว่า ทำไม Sony ไม่เอา NFC ไปอยู่ด้านหลัง ที่น่าจะช่วยให้ส่งไฟล์ข้อมูล ด้วยการเอาสมาร์ทโฟนอีกเครื่องมาแตะที่ด้านหลังให้ดูเท่ ๆ ไม่ดีกว่าหรือ คำตอบคือ ที่ด้านหลังของตัว XZ มันเป็นโลหะ ทำให้สัญญาณถูกรบกวน จึงต้องเอามาไว้ด้านหน้านั้นเอง……
Hybrid slot หรือถาดใส่ SIM/Micro SD ที่สามารถใช้เล็บจิกแล้วถอดออกได้เลย ไม่ต้องใช้เข็มทิ้มแต่อย่างใด และในรุ่นนี้ ยังรองรับการใช้งาน Dual Sim หรือ SIM คู่ด้วย แต่มันคือ Hybrid จึงมี 2 ตัวเลือกคือ 1.ใส่ SIM คู่ แต่อดใช้ Slot Micro SD กับ 2.ใช้ Slot Micro SD แต่ใช่ SIM ได้ตัวเดียว …..เอ้า “just pick one”
ซอฟต์แวร์
หน้า UI ของ Android 6.0.1 Marshmallow ที่ปรับแต่งโดย Sony ยังคงสวยงามและลื่นไหลตามสไตล์เดิมในรุ่นก่อน ๆ แต่หลัง X Series เป็นต้นมา ก็เริ่มมีความเป็น Pure Android มากขึ้น สังเกตได้จากหน้าตา UI ที่คงความเป็น Material Design อยู่ไม่น้อย พอมาในรุ่น XZ หรือ X Compart ก็ Theme แบบใหม่มาให้เลือกอีก 3 แบบ
การปรับแต่งหน้า Home Screen ใครที่ใช้เครื่อง Sony มาก่อน คงคุ้นมือแน่นอน เพราะยังเหมือนเดิม
แถบ Notification ยังคงรูปแบบคล้ายเดิม สามารถนำปรับเปลี่ยนปุ่มลัดได้ตามสะดวก
แอพฯ Album (ดูภาพ)
แอพฯ คีย์บอร์ด Swiftkey ที่มีลูกเล่นมากมาย หรือที่รู้จักกันดีคือ สามารถเปลี่ยนหน้าตาหรือ Theme ได้หลายแบบ และที่พิเศษเลยคือ ความสามารถในการเดาคำที่ต้องการพิมพ์ ลักษณะจะคล้าย ๆ กับการเสิร์ชคำใน Google เลยครับ อย่างในภาพ ผทพิมพ์คำว่า XZ มันก็จะมีคำว่า XPERIA XZ ให้เลือกทันที นับว่าสะดวกในบางสถานการณ์ ทั้งนี้มันจะเรียนรู้คำใหม่ ๆ ที่เราพิมพ์ทุกครั้งด้วย
นอกจากหน้าจอของ XZ จะมีเทคโนโลยี TRILUMINOS แล้ว ในหน้า “การแสดงผล” มันยังมี X-Reality กับ โหมดภาพสีสันจัดจ้าน ด้วย ซึ่งความแตกต่างของทั้ง 2 โหมด ก็มีภาพตัวอย่างแสดงให้เห็นชัดเจน ทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับเราแล้วว่า ชอบให้การแสดงผลรูปภาพหรือวิดีโอ ออกมาแบบไหน
ส่วนที่น่าสนใจที่เหลือ ก็มีแหล่งดาวน์โหลด Theme จาก Sony โดยตรง ซึ่งก็มี Theme สวย ๆ ให้เลือกมากมาย มีระบบควบคุมย้อนแสงอัจฉริยะ และโปรแกรมทำความสะอาดอัจฉริยะ (Smart cleaner) ที่จะคอยกำจัดแคชไฟล์ต่าง ๆ หรือปิดแอพฯ บางตัวที่ไม่ได้ใช้ให้อัตโนมัติ ทำให้เครื่องทำงานได้อย่างลื่นไหลไม่สะดุด
แบตเตอรี่
สำหรับแบตฯ ใน XZ รุ่นนี้ ก็ยาวนานสมกับที่คุยไว้จริง ๆ จากที่ลองทั้งเล่นเกมกับเล่นเน็ตแบบต่อเนื่อง เปิดใช้กล้องนาน ๆ และใช้งานทั่ว ๆ ไป ก็พบว่า ตัวเครื่องอยู่ได้นานยิ่งกว่ารุ่นก่อน ๆ ถึงเท่าตัว อึดจริงขอยอมรับ แบตฯ ก็ชสร์จไวขึ้นด้วย และแน่นอนถ้าอยากให้แบตฯ อยู่นานยิ่งขึ้นอีก ก็มีโหมดประหยัดพลังงานอย่าง
STAMINA โหมดช่วยประหยัดแบตฯ ด้วยการลดประสิทธิภาพของเครื่องลง โดยในรุ่นนี้ เราสามารถเลือกได้ว่า จะให้ลดประสิทธิภาพลงขนาดไหน ที่เห็นชัด ๆ เลยคือ เครื่องจะมีอาการหน่วง ๆ เล็กน้อย หรือตอนเล่มเกม จะมีอาการกระตุกอยู่บ้างนั้นเอง
Ultra STAMINA โหมดประหยัดแบตฯ แบบฉุกเฉิน ที่จะลดฟีเจอร์ตัวเครื่อง จนแทบจะทำได้แค่โทรเข้าโทรออกเท่านั้น แต่ก็ทำให้เครื่องอยู่ได้นานอีกเป็นชาติเป็นทีเดียว
และอีกสองฟีเจอร์ที่น่าสนใจคือ Qnovo Adaptive Charging ที่จะคอยปรับกระแสไฟตอนชาร์จให้เหมาะสม ช่วยลดความเสียหายและยืดอายุการใช้งานได้ยาวนานขึ้่น และ Battery Care ตัวช่วยคำนวนตอนเวลาเราชาร์จแบตฯ อยู่ประจำ โดยมันจะจำกัดการชาร์จแบตฯ ที่เกินจำเป็น จนอาจส่งผลไม่ดีในอนาคต วิธีคือ มันจะไม่ชาร์จแบตฯ จนเต็มถึง 100% แต่จะเอาถึงแค่ 90% เท่านั้น จนกว่าจะถึงเวลาที่เหมาะสม (ตามที่มันศึกษาพฤติกรรมการเสียบชาร์จของเรา) ถึงจะชาร์จจนเต็ม แต่ถ้าใครไม่ชอบ ก็สามารถไปปิดได้ อาจฟังดูงง ๆ สรุปง่าย ๆ คือ ฟีเจอร์ช่วยถนอมแบตฯ นั้นแหล่ะครับ
ประสิทธิภาพ
ทะลุแสนสามไปเรียบร้อย สำหรับแอพฯ Antutu ที่ได้คะแนนสูงถึง 131,684 เรียกได้ว่า ชิป Snapdragon 820 ของเขาแรงจริง ๆ (แต่ยังตาม S7 Edge อยู่นิด ๆ)
ส่วนชิปกราฟิกคือ Adreno 530 ก็หายห่วงเรื่องเล่นเกมกราฟฟิคสูง ๆ ไปได้เลย ให้ภาพลื่นและสวยทุกเกม ซึ่ง XZ ก็ไม่ทำให้ผิดหวัง
ลองเทสความร้อนของเครื่อง ด้วยการเล่นเกมกินสเปคเป็นเวลานาน ๆ พบว่า ตัวเครื่องแค่อุ่น ๆ เท่านั้น ไม่ร้อนจนน่าเป็นห่วง (ชิป 820 เอาอยู่จริง ๆ) ส่วนแอพฯ ที่ใช้คือ PPSSPP และเกม God Eater 2 (ที่ผมหวดเวอร์ชั่น PC ในสตรีมตอนมันลดเหลือ 990 บาทไปแล้ว แต่ ณ ปัจจุบัน “ดองเค็ม”)
เสียง
ขึ้นชื่อว่า Sony ก็ไม่ยอมเสียชื่อเรื่องเสียงง่าย ๆ (แต่ทำไมไม่ทำให้ลำโพงเครื่องดีหน่อยหว่า) ใน XZ ก็ได้มีการยัดเทคโนโลยีเรื่องเสียงมากมาย อาทิ DSEE HX, ClearAudio+, Dynamic normaliser, S-Force Front Surround, Equalizer, Noise cancelling (ใช้กับหูฟังที่ตัดเสียงได้), LDAC, Mic sensitivity และรองรับการเล่นไฟล์เพลงระดับ Hi-Res
ในเครื่องก็มีแอพฯ Music (ที่แปลงร่างจาก Walkman) ที่มีหน้าควบคุมการเล่นเพลงสวยงาม และใช้งานง่าย และสำหรับคุณภาพเสียง (หรือชิปเสียงตัวเครื่อง) โดยรวม ๆ คือ พอใช้ได้ ตัวเครื่องยังพอขังหูฟังที่ใช้โอมสูง ๆ ได้เกือบสุด และเมื่อรวมกับตัวแอพฯ Music ที่มีทั้งฟีเจอร์ DSEE HX และระบบเสียงรองทิศทาง S-Force Front Surround ช่วยดันให้เสียงออกมาดีได้อยู่บ้าง
LDAC
LDAC คือ เทคโนโลยีช่วยส่งสัญญาณเพลงผ่าน Bluetooth หรือไร้สาย ด้วยค่า Transfer Rate สูงถึง 990 kbps. เลยทีเดียว จากปกติได้ 320 kbps. ทำให้เราได้คุณเสียงเพลงแบบไร้สายที่ดีเยี่ยม ง่าย ๆ คือ มันเกิดมาเพื่อไฟล์ระดับ Hi-Res ที่มีความละเอียดของไฟล์สูง (24bit 96kHz) ไม่ให้ถูกลดคุณภาพเสียงตอนไร้สายนั้นเอง แต่อนิจจา ตัวหูฟังไร้สายที่ใช้ ต้องรองรับ LDAC ด้วย
DSEE HX & ClearAudio+
แต่ถ้าไม่มีหูฟังไร้สาย ก็ยังมี DSEE HX ตัวช่วยดันให้เสียงทั่วไป มีคุณภาพใกล้เคียงกับไฟล์ระดับ Hi-res มากขึ้น แต่ใช้ได้เฉพาะหูฟังแบบมีสายเท่านั้น อีกตัวก็ ClearAudio+ ตัวช่วยปรับคุณภาพเสียงด้วยตนเอง คือ เหมือนมันจะปรับ Equalizer เอง ตามเพลงที่เล่นโดยอัตโนมัติ ก็จะมีบ้างที่ปรับได้ถูกใจ แต่ก็มีปรับได้ไม่ถูกใจเหมือนกัน (สุดท้ายผมไม่ใช่….)
กล้อง
มาถึงส่วนสำคัญแล้ว ในส่วนของกล้อง รอบนี้ Sony ก็ได้ใส่เทคโนโลยีที่น่าสนใจไม่น้อยคือ Triple image sensing สามเซ็นเซอร์อัจฉริยะ ที่จะช่วยให้คุณกล้อง XZ โหดกว่าเดิม อาทิ
– Predictive Hybrid Autofocus เป็นเซ็นเซอร์ช่วยโฟกัสวัตถุหรือภาพเคลื่อนไหวที่แม่นยำและรวดเร็ว และสามารถเดาการเคลื่อนที่ล่วงหน้าของวัตถุที่เคลื่อนไหวได้
– RGBC-IR ช่วยตรวจจับวิเคราะห์สีเพื่อปรับสมดุลย์แสงขาว (White Balance) ตามสภาพแสงในขณะถ่ายภาพ เพื่อให้ได้สีสันที่สวยสมจริงที่สุด
– Laser Auto Focus ช่วยวิเคราะห์ระยะของวัตถุเพื่อการจับโฟกัสอย่างคมชัด และแม่นยำ และช่วยให้ถ่ายภาพในที่แสงน้อยได้ดีขึ้น
ส่วนฟีเจอร์ที่น่าสนใจที่เหลือ ก็มี
Full Manual มาแล้ว !!
ของเด็ดในรุ่น XZ (หรือใน X Compart ด้วย) นั้นก็คือ Full Manual ใน Manual mode ที่ปกติ จะเป็น Manual ครึ่งใบมาตลอด แต่ในรุ่นนี้เป็น Full แล้วครับ โดยมีให้ปรับทั้ง White balance, ชดเชยแสง EV ได้ตั้งแต่ -2 ถึง +2, Shutter Speed และ ปรับโฟกัสแบบไกลหรือใกล้ได้เป็นต้น ทว่ายังมีข้อสังเกตอยู่คือ
- Shutter Speed (SS) ปรับได้ตั้งแต่ 1/4000 ถึง 1 วินาทีเท่านั้น
- ปรับ ISO เอง พร้อมกันกับ SS ไม่ได้ ทันทีที่ปรับ SS ตัว ISO จะกลายเป็น Auto ทันที
หวังรอให้ Sony อัพเกรดซอฟต์แวร์กล้องใหม่ต่อไปนะครับ
Superior Auto ฉลาดขึ้น
ต้องยอมรับว่า จากที่เคยขยาดกับ Superior Auto หรือโหมดถ่ายภาพอัตโนมัติของ Sony มานาน พอมาอยู่ใน XZ ผมเริ่มกล้าที่จะใช้มันล่ะ หลังจากนี้ ผมจะเน้นทดสอบโหมดนี้เป็นหลัก
ทดสอบโฟกัส (ดูไฟล์เต็ม)
ทดสอบการปรับสีและความสว่างใน Superior Auto (ดูไฟล์เต็ม)
ลองเทส “ถ่ายด่วน” โดยไม่เข้าแอพฯ กล้องก่อน ผลที่ได้จัดว่าไวทีเดียว (ดูไฟล์เต็ม)
ถ่ายย้อนแสง (ดูไฟล์เต็ม)
ถ่ายกลางวัน (ดูไฟล์เต็ม)
ถ่ายกลางคืน (ดูไฟล์เต็ม)
ลองซูม ถ้าไม่ซูมจนสุด รายละเอียดที่ได้ถือว่าไม่เลว (ซูมสุดได้ที่ x 8)
จัดวิวซักภาพ (ดูไฟล์เต็ม)
หน้าชัดหลังเบลอ (ดูไฟล์เต็ม)
หลังถ่ายด้วย Superior Auto ไปเรื่อย ๆ ก็ต้องยอมรับว่ากล้อง Sony รอบนี้ดีขึ้นจริง ๆ Triple image sensing ก็ช่วยได้เยอะทีเดียว ทำให้โฟกัสภาพได้ไว สีสัดสมจริงขึ้นมาก และพอถ่ายในที่มืดได้แล้ว ถ้าถามว่า ถ่ายรูปไปนาน ๆ เครื่องจะร้อนไหม หลังลองถ่ายต่อเนื่อง 20 นาที พบว่า มีร้อนนิด ๆ เหมือนกัน
ข้อเสียของกล้อง
อย่างไรก็ตาม แม้กล้องของ XZ จะมีการพัฒนาขึ้นแล้ว แต่ก็ยังมีข้อด้อยอยู่ด้วย อาทิ
- หากปรับ Shutter Speed ตั้งแต่ 1/1000 ขึ้นไป ภาพจะมีคลื่นดำ ๆ เหมือนอาการ Rolling Shutter
- ในบางครั้งโหมดอัตโนมัตินี้ ก็มีสับสันอยู่เหมือนกัน อย่างบางภาพที่ควรปรับให้สว่าง กลับมึดซะงั้น บางภาพควรไม่สว่างมาก แต่แสงมาเต็ม
- ถ่ายภาพกลางคืน ก็ยังมีสอบตกเหมือนเช่นเคย ดังภาพนี้
ขอบม่วงชัดเจน
กล้องหน้า
สำหรับภาพจากกล้องหน้า ที่มีความละเอียดถึง 13 ล้านพิกเซล ก็ตามภาพเลยครับ ถ่ายโดยไม่รอไฟกัส ควักถ่ายเดียวนั้นเลย
ถ่ายวิดีโอ
ลองถ่ายด้วยความละเอียด 1080p 30FPS ก็พบว่า กันสั่น 5 แกนแบบ EIS ของ XZ ทำหน้าที่ได้ดีทีเดียว ภาพแทบไม่มีสั่นเลย โดยการทดสอบ ผมลองเดินไว แล้วถือตัวเครื่องด้วยมือเดียว พร้อมหันเครื่องไปมาเร็ว ๆ ด้วย
ถ่าย 4K
ตัวเครื่องสามารถถ่ายวิดีโอความละเอียดระกับ 4K ได้ แต่ปรับอะไรได้ไม่เยอะ
สรุป
หลังเทส Sony Xperia XZ จนหนำใจ ก็ขอสรุปว่า 8/10 รวม ๆ ตัวเครื่องน่าใช้จริง ๆ เรียกว่าเป็นรุ่นสมบูรณ์ของ Xperia ในปีนี้ก็ว่าได้ ตัวเครื่องจับแล้วรู้สึกไม่อยากปล่อย อาจเป็นเพราะวัสดุที่ใช้โลหะแบบ ALKALEIDO ทำให้มันดูเหมือนผิวพลาสติก สัมผัสการจับจึง Fin แปลก ๆ บอกไม่ถูก ส่วนดีไซน์ รอบนี้ดูมีความพรีเมี่ยมขึ้นเยอะ และมีเอกลัษณ์ประจำรุ่นเสียที อย่างน้อยก็แยกออกแล้วว่า นี้คือรุ่น XZ สเปกภายใน หลายคนอาจไม่พอใจเรื่องแรม 3GB ที่ชาวบ้านไป 4 – 6 GB กันหมดแล้ว แต่ด้วย UI ที่ออกแบบมาดี เครื่องจึงยังทำงานได้ลื่นไหลไม่สะดุดเลย แรท 3GB จึงไม่ใช่ปัญหา ชิป 820 ก็แรงได้ใจ และจัดการเรื่องความร้อนได้ดีเยี่ยม ส่วนแบตฯ ก็อึดทนเกินคาด สแกนลายนิ้วมือ ก็ทำงานรวดเร็วและแม่นยำมาก สุดท้ายกล้อง แม้จะมีจุดด้อยอยู้บ้าง แต่ก็ถือว่าพัฒนาขึ้นอยุ่พอควร
สำหรับราคาของ Sony Xperia XZ ณ ตอนนี้อยู่ที่ 23,990 บาท นับว่าสมราคาแล้ว หากเทียบกับรุ่นก่อน ๆ ที่เปิดตัวสูงจนหลายคนลังเล
ข้อดี
- ตัวเครื่องสวยงามน่าใช้ วัสดุก็ดูหรูหราและแข็งแรงไม่น้อยเลย
- หน้าจอมีความคมชัดอย่างมาก
- ประสิทธิภาพสูง ใช้งานไม่มีกระตุก
- UI ยังลื่นไหลและเสถียรเหมือนเคย
- มีเทคโนโลยีถนอมแบตฯ
- กล้องพัฒนาขึ้นกว่าเดิมพอควร
- สเปกสมราคาขึ้น
ข้อสังเกต
- โหมด Manual ยังไม่ Full Manual ซะทีเดียว
- โหมด Superior auto แม้ฉลาดขึ้น แต่ก็มีเอ๋ออยู่หน่อย ๆ
- ลำโพงคู่ให้เสียงไม่ดังมากนัก
ยังคงไม่พัฒนาเหมือนเดิม เรื่องกล้องที่ยังคงเหมือนจะดี
แล้วการที่ปรับโหมด S ได้แค่1วิทำไปเพื่ออะไร? -_____-
แล้วยังไม่เทสเรื่องถ่าย 4K ได้นานเท่าไหร่ถึงจะไม่ overheat ซึ่งเป็นปัญหาที่มีในรุ่นก่อนๆ