Solid-State Battery แบตฯ แห่งอนาคต ที่หลายวงการรอคอย เนื่องด้วยมีทั้งความปลอดภัย ความจุสูง ความทนทานสูง และประหยัดพื้นที่ แต่ปัจจุบันยังติดในเรื่องของ [การชาร์จแบบซ้ำ ๆ] ที่อาจทำให้เกิดความเสียหายแบบที่แก้ไขไม่ได้
ล่าสุดมีนักวิจัยจากทั้ง มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ (UNSW) ในออสเตรเลีย และ มหาวิทยาลัยแห่งชาติโยโกฮามาจากญี่ปุ่น เผยพบวัสดุ [อิเล็กโทรดขั้วบวก] ชนิดใหม่ ที่อาจนำไปสู่การพัฒนาแบตฯ แบบ Solid-State ที่รองรับการชาร์จซ้ำ ๆ ได้มากขึ้น
เทียบกับแบตฯ ที่นิยมใช้กันจนทุกวันนี้อย่าง lithium-ion และ lithium-Polymer ซึ่งจะมาพร้อมทั้ง อิเล็กโทรด และ อิเล็กโทรไลต์ แบบของเหลวกับแบบเจล ซึ่งเป็นเหมือนตัวกลาง ที่ช่วยทำให้แบตฯ สร้างพลังงานไฟฟ้าได้นั้นเอง ทว่าด้วยที่ความเป็นของเหลว ทำให้ต้องใช้พื้นที่จำนวนหนึ่ง จนต้องจำกัดความจุอย่างเลี่ยงไม่ได้ และยังมีจุดเดือดต่ำ จนหากอยู่ในที่ร้อนมาก ๆ ก็อาจลุกไหม้ได้เลย กระนั้นก็ยังสามารถใช้งานได้หลายครั้ง หรือชาร์จซ้ำได้บ่อย ๆ
ในขณะที่แบตฯ Solid-State จะเป็นของแข็ง ติดไฟยาก ใช้ได้เกือบทุกสภาวะ (ร้อน/เย็น) และกินไม่พื้นที่มาก ซึ่งทำให้เพิ่มความจุได้มากกว่าหลายเท่า ทว่ายังติดปัญหาเรื่องการชาร์จไฟซ้ำ ๆ ที่ไม่สามารถทำได้นาน จึงไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์นั้นเอง ทว่าปัญหานี้เองนั้น ก็เริ่มพบวิธีแก้ไขแล้ว
นักวิจัยจากทั้งสองมหาวิทยาลัยดังกล่าว ได้ทดสอบโดยการนำแบตฯ Solid-State ขนาด 300mAh ติดตั้งวัสดุอิเล็กโทรดขั้วบวกชนิดใหม่ ผลลัพธ์ที่ได้คือ แบตฯ กลับไม่มีการเสื่อมคุณภาพเลย แม้จะมีการชาร์จซ้ำหลายร้อยรอบก็ตาม
Neeraj Sharma รองศาสตราจารย์จาก UNSW กล่าวว่า ตัวแบตฯ ที่มีการใส่วัสดุใหม่นี้ ทำให้สามารถชาร์จได้มากกว่า 400 รอบ แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพ ที่เหนือกว่าการใช้วัสดุเดิมในแบตฯ Solid-State และยังประหยัดต้นทุนกว่ามาก ๆ ด้วย จุดนี้อาจเป็นฟันเฟืองสำคัญ ในการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าระดับ Hi-End ได้เลย
ทั้งนี้เหล่านักวิจัยกล่าวด้วยว่า แบตฯ แบบ lithium-ion ได้บรรลุศักยภาพสูงสุดของมันแล้ว ต่อไปแบตฯ Solid-State จะมาแทนที่ กลายเป็นมาตรฐานใหม่ในวงการอุตสาหกรรมในที่สุด และจะไม่ใช่เฉพาะในวงการรถยนต์ไฟฟ้าด้วย นั้นหมายความว่า สมาร์ทโฟนหรืออุปกรณ์พกพาอื่น ๆ อาจมาพร้อมฟีเจอร์ใหม่ ๆ ที่ตอบรับกับความจุแบตฯ ที่มากขึ้นนั้นเอง
ที่มา : Techspot