“So, You’re Launching a Startup” รวมคำแนะนำสตาร์ทอัพไทยที่ประสบความสำเร็จ ด้วย AWS Cloud ช่วยสร้างธุรกิจใหม่ให้เกิดขึ้นได้จริง

อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (Amazon Web Services: AWS) จัดงานเสวนาออนไลน์ที่มีชื่อว่า “So, You’re Launching a Startup” แบ่งปันมุมมองและคำแนะนำที่ใช้ได้กับสตาร์ทอัพทุกคนที่กำลังต้องการเริ่มต้นธุรกิจ รวมถึงวิธีที่ AWS Cloud ช่วยสร้างธุรกิจใหม่ให้เกิดขึ้นได้จริง

ร่วมงานโดยผู้ก่อตั้งและซีอีโอจากสองสตาร์ทอัพไทยที่ประสบความสำเร็จ และเป็นตัวอย่างของการเป็นผู้นำด้านการใช้นวัตกรรมดิจิทัล คุณมิ้นท์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชนิกานต์ ว่องวิริยะวงศ์ ผู้ก่อตั้งและซีอีโอ ของ EATLAB และคุณท็อป จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและ Group CEO ของ บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์

คุณอรรณพ ศิริติกุล หัวหน้าฝ่ายขาย อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส กล่าวว่า “ที่ AWS เรามองเป็นแนวโน้มว่าปีนี้จะเป็นปีที่สำคัญของสตาร์ทอัพหน้าใหม่ในไทยที่เกิดบน Cloud วันนี้เราจะมาพูดถึงสิ่งที่ทุกคนต้องเตรียมพร้อมสำหรับความสำเร็จในช่วงแรกสุดของเส้นทางการเริ่มต้นธุรกิจ”

จากข้อมูลของ CB Insights ในไตรมาส 3 ปีพ.ศ. 2564 แสดงให้เห็นว่าปีนี้เป็นปีที่สำคัญสำหรับสตาร์ทอัพหน้าใหม่ที่เกิดบนคลาวด์ในประเทศไทย

  • 96.4 ล้านเหรียญสหรัฐ (เพิ่มขึ้น 36.8% เทียบกับปี 2563 และ 24.3% ของเงินทุนทั้งหมดของไทยในปี 2564) ในการระดมทุนจากทั้งหมด 41 ดีล (เพิ่มขึ้น 5.1% เมื่อเทียบปีต่อปี) สำหรับ Early Stage Startup (ESS) ในไทย ตั้งแต่มกราคม-ตุลาคม พ.ศ. 2564
  • สตาร์ทอัพ Fintech ยังคงครองส่วนแบ่งการระดมทุนที่ใหญ่ที่สุดในปี 2564 สำหรับ ESS ในประเทศไทย (73.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 52.4% เมื่อเทียบปีต่อปี) โดยได้รับแรงหนุนจาก Easy Sunday (45 ล้านเหรียญสหรัฐ) รองลงมาคือสตาร์ทอัพ Ecommerce, Travel & Logistics (13.1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 14.6% เมื่อเทียบปีต่อปี)

ในช่วงเวลาที่ท้าทายนี้ เราเห็นบริษัททุกขนาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสตาร์ทอัพแสดงความต้องการที่จะปรับไปอยู่บนคลาวด์อย่างรวดเร็ว เพื่อใช้ประโยชน์จากความคล่องตัวและความยืดหยุ่นที่คลาวด์มอบให้ได้

AWS ทำงานร่วมกับสตาร์ทอัพมากมาย และสิ่งที่น่าตื่นเต้นมากเกี่ยวกับโลกของสตาร์ทอัพคือความรวดเร็วในการเริ่มต้นธุรกิจเพื่อตอบสนองความต้องการที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปของสังคม สตาร์ทอัพนั้นมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและบ่อยครั้งที่ช่วยแก้ปัญหาหรือจัดการกับช่องว่างทางโครงสร้างในสังคม โควิด-19 ได้พิสูจน์แล้วว่าโรคระบาดเป็นหนึ่งในความท้าทายที่มีผลกระทบมากที่สุดในชีวิตของเราและคนทั้งโลก และได้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของทุกคนไปอย่างสิ้นเชิง บริษัทสตาร์ทอัพที่เราร่วมงานด้วยได้ใช้ประโยชน์จากคลาวด์เพื่อคิดค้นโซลูชันใหม่ ๆ เพื่อช่วยลูกค้าตลอดจนสังคมโดยรวมท่ามกลางช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงนี้

เราเห็นสตาร์ทอัพในหลายอุตสาหกรรมนำเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น ได้แก่:

  • การเพิ่มขึ้นของ telehealth: สตาร์ทอัพทั่วเอเชีย อาทิ Raksa ในประเทศไทย HaloDoc ในอินโดนีเซีย และ MICIN ของญี่ปุ่นที่ใช้คลาวด์เพื่อให้เข้าถึงการดูแลสุขภาพได้ง่ายและทั่วถึงมากขึ้น โดยให้คำปรึกษาจากแพทย์ผ่านทางออนไลน์ หรือช่วยให้จองนัดฉีดวัคซีนโควิดได้ผ่านมือถือ
  • อนาคตของธุรกิจด้านการเงิน: พฤติกรรมทางสังคมเปลี่ยนไปอย่างมากในปีที่ผ่านมา ซึ่งรวมถึงวิธีที่เราจัดการเงินเพื่อซื้อสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการชำระเงินแบบไร้สัมผัส การซื้อก่อนจ่ายทีหลัง การเข้าถึงสินเชื่อที่ง่ายขึ้น การชำระเงินออนไลน์ที่ง่ายขึ้นและความปลอดภัยที่มีมากขึ้น หรือการแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัล สตาร์ทอัพ fintech ได้ช่วยนำทางผู้บริโภคในช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมนี้ ด้วยการนำเสนอบริการที่เป็นนวัตกรรมและขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีที่มอบประสบการณ์อันยอดเยี่ยมให้แก่ผู้ใช้ ซึ่ง fintech เป็นหนึ่งในกลุ่มธุรกิจที่มีเงินทุนมากที่สุดในเอเชียในขณะนี้                          
  • การช่วยให้อุตสาหกรรมดั้งเดิมใช้ประโยชน์จากดิจิทัล: ในช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา หลายแห่งในเอเชียประสบปัญหากับการปิด-เปิดประเทศ รวมถึงมาตรการล็อกและคลายล็อกดาวน์ โดยพบว่าลูกค้าไม่สามารถซื้ออาหารที่ต้องการหรือรับประทานอาหารที่ร้านอาหารได้ เราเห็นการนำอีคอมเมิร์ซมาใช้เพิ่มขึ้นเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงสิ่งที่ต้องการได้ นอกจากนี้ สตาร์ทอัพยังช่วยให้ธุรกิจแบบดั้งเดิมสามารถสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ได้ด้วยตัวเอง เพื่อให้เกิดประโยชน์จากดิจิทัล ซึ่งเป็นการมอบโอกาสใหม่ ๆ ให้แก่ธุรกิจอย่างร้านอาหาร สตาร์ทอัพอย่าง EATLAB สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ บน AWS Cloud เพื่อช่วยให้ร้านอาหารมีความสามารถด้าน AI เพื่อให้เข้าใจความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจโดยอาศัยข้อมูล

คลาวด์เป็นเทคโนโลยีที่ดีที่สุดในการสร้างสตาร์ทอัพ และนำเสนอสภาพแวดล้อมที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อให้สตาร์ทอัพเติบโต การเริ่มต้นสตาร์ทอัพไม่เคยเป็นเรื่องง่ายแบบนี้มาก่อน ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

ไม่มีค่าใช้จ่ายล่วงหน้า: AWS เสนอค่าบริการที่ใช้ตามจริงตามการใช้งาน สตาร์ทอัพไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินล่วงหน้าสำหรับความคาดการณ์การใช้งาน และไม่ต้องจ่ายล่วงหน้าสำหรับโครงสร้างพื้นฐานด้านการประมวลผล ซึ่ง AWS คิดค่าบริการตามการใช้งานที่ใช้จริง

เปิดตัวได้เร็วขึ้น: โครงสร้างพื้นฐานตามความต้องการของ AWS ช่วยให้สตาร์ทอัพสามารถเปิดการใช้งานบริการบนคลาวด์ได้ในเวลาไม่กี่นาที แทนที่จะเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือนเพื่อตั้งค่าฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ แบบเดิม ระบบคลาวด์เพิ่มความคล่องตัวเพราะความเร็วเป็นสิ่งสำคัญในธุรกิจสตาร์ทอัพ

ทดลองได้บ่อยด้วยความเสี่ยงต่ำ: ด้วยข้อดีด้านต้นทุนและประสิทธิภาพของระบบคลาวด์ สตาร์ทอัพสามารถทำการทดลองได้บ่อย และล้มเหลวโดยมีความเสี่ยงที่ต่ำกว่าได้อย่างรวดเร็ว สตาร์ทอัพสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ด้วยการทดสอบสมมติฐาน ซึ่งสมมติฐานของพวกเขาอาจจะยังไม่ถูกต้องหรือไอเดียเหล่านั้นอาจไม่สำเร็จ แต่ข้อดีที่ของระบบคลาวด์คือสตาร์ทอัพสามารถทดลองในขนาดเล็ก และทำซ้ำหลาย ๆ ครั้งได้ โดยไม่ต้องเสี่ยงในเรื่องของการลงทุนล่วงหน้าในเซิร์ฟเวอร์หรือค่าใช้จ่ายต่อเนื่องใด ๆ หากสตาร์ทอัพตัดสินใจยกเลิกเซิร์ฟเวอร์นั้น ซึ่งประโยชน์สูงสุดคือการทดลองบ่อย ๆ จะช่วยเพิ่มโอกาสในการค้นหาทิศทางที่ถูกต้องสู่ความสำเร็จ

มุ่งเน้นที่การสร้างคุณค่าของธุรกิจหลัก: สตาร์ทอัพสามารถมุ่งเน้นไปที่การสร้างคุณค่าของธุรกิจหลักได้ สตาร์ทอัพควรมีความเชี่ยวชาญและมุ่งเน้นไปที่บริการและผลิตภัณฑ์ที่มอบให้แก่ลูกค้า ไม่ใช่ที่การจัดเตรียม ปฏิบัติการ และการบำรุงรักษาฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ ด้วยการให้ AWS ดูแลงานสิ่งเหล่านี้และให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยี สตาร์ทอัพสามารถลงทุนทรัพยากรที่มีจำกัดในการขยายธุรกิจได้มากยิ่งขึ้น

จะเห็นได้ว่าข้อดีเหล่านี้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อระบบนิเวศของสตาร์ทอัพ นอกจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีในช่วงต้นค.ศ. 2000 เช่น open source และ horizontal computing แล้ว ในช่วงกลางค.ศ. ​​2000 AWS คลาวด์คอมพิวติ้งได้ทำให้การเริ่มต้นสตาร์ทอัพมีต้นทุนที่ถูกลงอย่างมาก

บริการคลาวด์มีความคุ้มค่าอย่างไม่น่าเชื่อ และช่วยให้สตาร์ทอัพเข้าถึงการประมวลผลได้อย่างรวดเร็วตามที่ต้องการ ด้วยค่าบริการตามการใช้งานจริง โดย Marc Andreessen ธุรกิจการร่วมลงทุนใน Silicon Valley กล่าวว่า “AWS Cloud ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการใช้แอปพลิเคชันอินเทอร์เน็ตพื้นฐานจากประมาณ 150,000 ดอลลาร์ต่อเดือน เหลือเพียง 1,500 ดอลลาร์ต่อเดือน ซึ่งแตกต่างถึง 100 เท่า”

ที่ AWS เราช่วยผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพในหลายด้านเพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขามีความพร้อมเพื่อความสำเร็จตั้งแต่เริ่มต้น ได้แก่

  • คุณมีทักษะที่จำเป็นหรือไม่?

คำตอบสำหรับคำถามนี้อาจจะเริ่มต้นด้วยคำว่า “ไม่” ถึงแม้สตาร์ทอัพจำนวนมากเกิดขึ้นมาจากวิสัยทัศน์ของผู้ก่อตั้ง แต่ความพยายามของทีมมีความสำคัญมากต่อความสำเร็จ สิ่งที่ผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพหลายคนตระหนักดีก็คือ แม้ว่าพวกเขาจะบุคลากรที่มีทักษะที่หลากหลายในการเริ่มธุรกิจ แต่ทักษะที่จำเป็นเหล่านั้นสามารถเปลี่ยนแปลงไปได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพต้องคำนึงถึงความสำคัญในการเรียนรู้อยู่ตลอดทั้งสำหรับตนเองและทีม

นั่นเป็นเหตุผลที่ AWS ให้สตาร์ทอัพเข้าถึงทรัพยากรด้านการเรียนรู้ที่หลากหลาย ตั้งแต่เนื้อหาหลักสูตรทางเทคนิคไปจนถึงโอกาสในการแบ่งปันความรู้

ตัวอย่างเช่น ในประเทศไทยเมื่อเร็ว ๆ นี้ AWS ได้ร่วมกับ Found8 & Malaysian Global Innovation and Creativity Center สนับสนุนความคิดริเริ่มจัด Meet The VCs เพื่อมอบโอกาสให้กับ tech startups ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อพบกับ VCs ผ่านการประชุมแบบ 1:1

  • คุณมีคอนเนคชั่นที่ใช่หรือไม่?

เห็นได้ชัดว่าการสร้างสตาร์ทอัพไม่ใช่สิ่งที่สามารถทำได้ด้วยตัวเองเพียงลำพัง แต่ในขณะเดียวกันสตาร์ทอัพอาจไม่มีทุนเพียงพอที่จะว่าจ้างทีมงานที่ต้องการ ผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพหลายคนยังไม่รู้ว่าจะพึ่งใครในช่วงแรกของการสร้างธุรกิจ และลักษณะการทดลองธุรกิจสตาร์ทอัพสามารถนำไปสู่หลายเส้นทาง

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านสตาร์ทอัพของ AWS สร้างคอนเนคชั่นระหว่างผู้ก่อตั้งและผู้เกี่ยวข้องที่มีความสำคัญต่อการสร้างธุรกิจในช่วงเริ่มต้น เช่น บริษัทร่วมทุนหรือแหล่งเงินทุนต่าง ๆ นอกจากนี้ เรายังแนะนำสตาร์ทอัพให้กับลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ของเราเพื่อช่วยปลดล็อกโอกาสในการสร้างรายได้ใหม่เมื่อสตาร์ทอัพเติบโตขึ้น ไม่มีคำว่าเร็วเกินไปสำหรับการสร้างเครือข่าย เพราะไม่มีผู้ก่อตั้งที่ประสบความสำเร็จได้เพียงลำพัง

  • คุณสร้างธุรกิจอย่างถูกต้องหรือไม่?

สตาร์ทอัพจะไม่สามารถอยู่ได้นานหากไม่มีพื้นฐานเทคโนโลยีที่แข็งแกร่ง และลูกค้ากลุ่มแรก ๆ จะไม่รอนานหากแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์มีปัญหาขัดข้องอยู่เสมอ นอกจากนี้ ตัวเลือกด้านเทคโนโลยีที่เลือกใช้และประกอบเข้าด้วยกันมีส่วนสำคัญ ไม่เพียงแต่ในสิ่งที่ธุรกิจนำเสนอเท่านั้น แต่ยังรวมถึงค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของสตาร์ทอัพอีกด้วย

การสร้างสตาร์ทอัพยังหมายถึงความรับผิดชอบในการรักษาข้อมูลของลูกค้าให้ปลอดภัย เรื่องความปลอดภัยเป็นสิ่งที่ทำให้สตาร์ทอัพสูญเสียความไว้วางใจจากลูกค้าได้เร็วที่สุด

การสร้างสตาร์ทอัพอย่างถูกวิธี หมายถึงการสร้างความมั่นใจว่าคุณกำลังสร้างบริษัทที่ให้ความสำคัญกับการรักษาความปลอดภัยตั้งแต่แรกเริ่ม เราเรียกสิ่งนี้ว่าการออกแบบด้านการรักษาความปลอดภัย หมายความว่าการรักษาความปลอดภัยเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนา ไม่ใช่สิ่งที่มาแก้ไขในภายหลัง สตาร์ทอัพที่สร้างมาเพื่อการดำเนินงานในระยะยาวจะมีคำถามว่า ‘เราสามารถสร้างธุรกิจได้อย่างปลอดภัยหรือไม่’ ตั้งแต่ก่อนที่จะเริ่มเปิดตัว ถ้าคำตอบคือไม่สตาร์ทอัพจะหาทางอื่น

ที่ AWS ความปลอดภัยบนระบบคลาวด์มีความสำคัญสูงสุดเสมอ และเราทำงานร่วมกับลูกค้าสตาร์ทอัพของเราเพื่อให้แน่ใจว่าสถาปัตยกรรมด้านเทคโนโลยีและข้อมูลของลูกค้ามีความปลอดภัย นั่นหมายความว่าสตาร์ทอัพควรคำนึงถึงการออกแบบด้านการรักษาความปลอดภัยอยู่เสมอ

ไอเดียที่ยอดเยี่ยมเป็นเพียงก้าวแรกสู่ความสำเร็จ สตาร์ทอัพต้องสร้างบนพื้นฐานที่ถูกต้องตั้งแต่เริ่มต้น และนี่คือสิ่งที่ทีม AWS ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพ ในการที่จะประสบความสำเร็จด้วยเครื่องมือที่ดีที่สุด เพื่อให้แน่ใจว่าสถาปัตยกรรมด้านเทคโนโลยีของพวกเขาได้รับการพัฒนาขึ้นมาอย่างยอดเยี่ยม ปลอดภัย และพร้อมที่จะรองรับการขยายขนาดเมื่อสตาร์ทอัพเติบโตขึ้น

ทีม AWS Startup ให้คำแนะนำต่าง ๆ นี้ผ่านสิ่งที่เรียกว่า “Well Architected Review” ที่เป็นบริการฟรีสำหรับลูกค้าของเรา ช่วยสตาร์ทอัพตรวจสอบสถานะของปริมาณงานและเปรียบเทียบกับแนวทางปฏิบัติของสถาปัตยกรรมด้านเทคโนโลยีล่าสุดที่ดีที่สุดของ AWS ให้แนวทางที่สอดคล้องกันสำหรับลูกค้าและคู่ค้าในการประเมินสถาปัตยกรรมด้านเทคโนโลยี มีการใช้ในการตรวจสอบปริมาณงานนับหมื่นที่ดำเนินการโดยทีม AWS solutions architecture และให้คำแนะนำด้านการออกแบบที่ปรับขนาดได้ตามความต้องการของแอปพลิเคชันเมื่อเวลาผ่านไป

เครื่องมือ AWS Well Architected Review สร้างขึ้นบนหลัก 5 ประการ ได้แก่

  • Operational Excellence: หลัก operational excellence มุ่งเน้นที่ระบบการทำงานและการตรวจสอบเพื่อสร้างมูลค่าทางธุรกิจ และปรับปรุงกระบวนการและขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง จุดที่สำคัญ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงแบบอัตโนมัติ การตอบสนองต่อเหตุการณ์ และการกำหนดมาตรฐานเพื่อจัดการการดำเนินงานประจำวัน
  • Security Pillar: เน้นการปกป้องข้อมูลและระบบ จุดที่สำคัญ ได้แก่ การรักษาความลับและความสมบูรณ์ของข้อมูล การระบุและจัดการว่าใครสามารถทำอะไรได้บ้างด้วยการจัดการสิทธิ์ การปกป้องระบบ และการกำหนดการควบคุมเพื่อตรวจจับเหตุการณ์ด้านความปลอดภัย
  • Reliability Pillar: มุ่งเน้นเรื่องปริมาณงานที่ดำเนินไปตามที่คาดหวังอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ ปริมาณงานที่ยืดหยุ่นจะฟื้นตัวอย่างรวดเร็วหากเกิดความล้มเหลวในการตอบสนองต่อความต้องการของธุรกิจและลูกค้า จุดที่สำคัญ ได้แก่ การออกแบบระบบแบบกระจาย การวางแผนการกู้คืน และวิธีจัดการกับการเปลี่ยนแปลง
  • Performance Efficiency Pillar: มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการประมวลผลอย่างมีประสิทธิภาพ จุดที่สำคัญ ได้แก่ การเลือกประเภทและขนาดของทรัพยากรที่เหมาะสมตามความต้องการของปริมาณงาน การตรวจสอบประสิทธิภาพ และการตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่เพื่อคงประสิทธิภาพไว้ตามความต้องการทางธุรกิจ
  • Cost Optimization Pillar: มุ่งเน้นที่การหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น จุดที่สำคัญ ได้แก่ ความเข้าใจและการควบคุมว่างบประมาณถูกใช้ไปอย่างไร การเลือกประเภททรัพยากรที่เหมาะสมที่สุดและจำนวนที่ถูกต้อง การวิเคราะห์การใช้จ่ายตามช่วงเวลา และการปรับขนาดเพื่อตอบสนองความต้องการทางธุรกิจโดยไม่เกินงบประมาณ

AWS มีเครื่องมือที่ลูกค้าสามารถใช้เพื่อจัดการการใช้คลาวด์ด้วยตนเองได้ ดังนี้

  1. AWS Cost Explorer ช่วยให้ผู้ใช้สามารถจัดการการใช้จ่ายได้ดีขึ้น และตั้งการเตือนเมื่อถึงเกณฑ์ที่กำหนด
  2. AWS Trusted Advisor เครื่องมือออนไลน์ที่ช่วยให้สตาร์ทอัพลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพ และปรับปรุงความปลอดภัยโดยตรวจสอบการใช้โครงสร้างพื้นฐานและบริการของพวกเขา และให้คำแนะนำเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
  • คุณพร้อมที่จะเริ่มธุรกิจแล้วหรือไม่?

จากที่กล่าวมา ดูเหมือนมีอะไรที่ต้องทำมากมาย ซึ่งมันก็เป็นเช่นนั้นจริง ๆ แต่สิ่งที่ดีเกี่ยวกับสตาร์ทอัพคือความสามารถในการค่อย ๆ เริ่มต้นและเรียนรู้ไปพร้อมกับการเติบโต ซึ่งตราบใดที่สตาร์ทอัพมีพื้นฐานที่ถูกต้อง เช่น มั่นใจว่าออกแบบด้านความปลอดภัยอย่างดีตั้งแต่แรกเริ่ม มันจะไม่ส่งผลกระทบมากนักเมื่อเกิดความผิดพลาด เพราะผลที่ตามมาจะมีเพียงเล็กน้อย

สตาร์ทอัพที่ดีที่สุดไม่ได้ทำสิ่งที่ถูกต้องตลอดเวลา อันที่จริงแล้ว ส่วนใหญ่มักจะทำผิดพลาดอยู่บ่อย ๆ แต่มันคือวิธีที่สตาร์ทอัพพยายามลดผลกระทบของผลลัพธ์ที่ไม่ดีและเรียนรู้จากมัน ซึ่งทำให้สามารถลองใหม่ได้ นี่คือสิ่งที่ทำให้สตาร์ทอัพที่ยอดเยี่ยมแตกต่างจากที่อื่น

AWS เสนอโปรแกรมที่หลากหลายเพื่อสนับสนุนลูกค้าของเราในทุกช่วงเวลาของธุรกิจ ตั้งแต่เริ่มต้นบน AWS เติบโตและขยายธุรกิจไปถึงจุดที่กำหนด

สำหรับการสร้างธุรกิจในระยะเริ่มแรก AWS มีโปรแกรม AWS Activate ที่ให้สิทธิประโยชน์มากมายแก่สตาร์ทอัพที่มีคุณสมบัติ รวมถึง AWS เครดิต การสนับสนุนทางเทคนิค และการฝึกอบรม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชนิกานต์ ว่องวิริยะวงศ์ ผู้ก่อตั้งและซีอีโอจาก EATLAB กล่าวว่า “เราได้รับการสนับสนุนจาก AWS ในส่วนของเครดิตในโปรแกรม AWS Activate ในตอนที่เริ่มสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ ทำให้เราไม่มีแรงกดดันในเรื่องของค่าใช้จ่าย และการทดลองที่อาจจะยังมีความไม่แน่ใจว่าจะเป็นที่ต้องการของลูกค้าหรือไม่ รวมถึงการที่ทีม AWS มาช่วยเหลือในเรื่องการเตรียมการสัมภาษณ์ และการขายงาน การเจรจาต่าง ๆ เกี่ยวกับโอกาสทางการตลาดในระยะแรก ในฐานะที่เราวางตัวว่าเราเป็น SaaS ให้กับร้านอาหาร แต่เวลามองจริง ๆ  เราเป็นโซลูชันที่แก้ปัญหาด้านประสิทธิภาพในอุตสาหกรรมร้านอาหารทั้งอุตสาหกรรม ซึ่งพอเราวางตำแหน่งไว้เช่นนั้น ทำให้ขนาดตลาดเปลี่ยนไป มุมมองในการสร้างธุรกิจของเราก็เปลี่ยนไปด้วย”

พันธกิจของ EATLAB คือทำให้ AI สามารถเข้าถึงได้สําหรับทุกองค์กร

เทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนแปลงโลก

ได้รับปริญญาเอกด้าน AI จาก MIT, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชนิกานต์ ว่องวิริยะวงศ์ (มิ้นท์) ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ EATLAB ต้องการเปลี่ยนเทคโนโลยีคล้ายระเบิดปรมาณูนี้ให้กลายเป็นพลังที่ดี อัลกอริทึม AI ของเธอมุ่งเน้นไปที่การจับภาพความสุขของผู้คนและเปลี่ยนให้เป็นข้อมูลเชิงลึกทางธุรกิจเท่านั้น หลังจากสร้างแบบจําลองการคาดการณ์หลายร้อยแบบต่อวันสําหรับ Wall Street เธอออกจากอาชีพที่ประสบความสําเร็จเพื่อช่วยอุตสาหกรรมร้านอาหารที่ผู้คนจํานวนมากได้รับประโยชน์จากความสามารถของเธอ เธอก่อตั้งบริษัท EATLAB Co. Ltd. ในปีพ.ศ. 2561 โดยมีภารกิจที่จะทําให้ทุกองค์กรมีกําไร และต่อมาได้เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ตามคําเชิญของรัฐบาลสิงคโปร์เธอได้ย้ายไปที่สิงคโปร์และเปลี่ยนชื่อเป็น EATLAB International Pte จํากัด ในปีพ.ศ. 2562

การเดินทางของเรา

เริ่มต้นด้วยการใช้ AI กับการศึกษาเพื่อตรวจสอบการมีส่วนร่วมและความสุขของนักเรียน คุณมิ้นท์เริ่มใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในการจัดการวิดีโอข้อความและข้อมูลตัวเลข เมื่อพบว่านักเรียนของเธอหลายคนไม่สามารถจ่ายค่าเล่าเรียนของพวกเขาได้ เธอเริ่มมองลึกลงไปว่าทําไมมันถึงเป็นเช่นนั้น ผู้ปกครองส่วนใหญ่ทํามาหากินโดยการขายอาหารบนถนนหรือเปิดร้านอาหารขนาดเล็ก พวกเขาต้องช่วยพ่อแม่ในการขายอาหาร อย่างไรก็ตามเมื่อเธอมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือพวกเขามากขึ้น เธอตระหนักถึงปัญหาที่ยังไม่คลี่คลายมากมายเพียงเพราะพวกเขาเป็นประชากรที่ถูกทอดทิ้ง เธอเริ่มจัดระบบเครื่องมือและกระบวนการที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการรายย่อยเหล่านี้ดําเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

“สิ่งที่ AWS แตกต่างจากผู้ให้บริการคลาวด์รายอื่น ๆ คือ ในฐานะที่ Bitkub เป็นธุรกิจ Fintech การยินยอมเห็นพ้อง หรือ ความร่วมมือ (Compliance) ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เริ่มแรกผู้มีอำนาจในการออกกฎหมาย (Regulator) จะมีความกลัวในเรื่องคลาวด์ ซึ่งการกลัวสิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนเป็นเรื่องปกติ แต่ AWS เป็นรายแรกที่ผลักดันให้คลาวด์คอมพิวติ้งเป็นที่ยอมรับในประเทศไทย เป็นผู้ที่เริ่มทำให้ผู้มีอำนาจในการออกกฎหมายเกิดความเข้าใจ อีกทั้งยังเป็นที่แรกที่ทำให้บริษัทใหญ่ ๆ ปฏิบัติตามกฎของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) ย้ายจากเซิร์ฟเวอร์แบบดั้งเดิมไปสู่คลาวด์ โดยที่บริษัทเหล่านั้นต้องใช้คลาวด์ที่ผู้มีอำนาจในการออกกฎหมายได้ให้การยอมรับแล้ว” จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้ก่อตั้งและกรุ๊ปซีอีโอจาก Bitkub กล่าว

คุณท๊อปได้ใช้เวลาทำงานส่วนใหญ่กับคริปโทเคอร์เรนซีและอุตสาหกรรมเทคโนโลยีบล็อกเชน เขาได้ร่วมก่อตั้ง coins.co.th ตลาดซื้อขายบิทคอยน์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ก่อนที่บล็อกเชนจะถือกำเนิดขึ้น คุณท๊อปเคยทำงานด้านวาณิชธนกิจ (investment banker) ที่ปรึกษาด้านการเงิน และทำงานให้กับธนาคารแห่งประเทศไทย เขาเป็นวิทยากร อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในผู้เชี่ยวชาญชั้นนำของไทยด้านบิทคอยน์และ open blockchain โดยเขาได้จบปริญญาโทด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ประเทศสหราชอาณาจักร ปัจจุบันเขาเป็นผู้ร่วมก่อตั้งและ Group CEO ของบริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BCGH) บริษัทเกี่ยวกับบล็อกเชนและคริปโทเคอร์เรนซีที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย นอกจากนี้ เขายังมีตำแหน่งกรรมการบอร์ดบริหารและรองนายกสมาคมฟินเทคประเทศไทย

บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BCGH)

ก่อตั้งในเดือนกุมภาพันธ์ 2561 บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BCGH) เป็นสตาร์ทอัพที่ได้รับเงินทุนระดับ seed fund ที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์สตาร์ทอัพไทย บริษัท บิทคับ แคปปิตอล กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ประกอบด้วย 4 หน่วยธุรกิจ – แพลตฟอร์มซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล, ให้คำปรึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีบล็อกเชนสำหรับองค์กร (ทั้งหน่วยงานรัฐบาลและเอกชน), ให้ความรู้ด้านเทคโนโลยีบล็อกเชนและสินทรัพย์ดิจิทัล และระบบเทรดอัตโนมัติด้วยอัลกอริทึม หน่วยธุรกิจเหล่านี้ถูกดำเนินการโดยบริษัทที่ต่างกันออกไป โดยที่บริษัท บิทคับ ออนไลน์ จำกัด มีหน้าที่ดูแลแพลตฟอร์มซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในสี่บริษัทคริปโตเคอเรนซี่ของไทยที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลโดยกระทรวงการคลัง บริษัท บิทคับ บล็อกเชน ให้บริการคำแนะนำเกี่ยวกับ ICO บริษัท บิทคับ บล็อกเชน อาคาเดมี่ จัดเวิร์คช็อปให้ความรู้ด้านบล็อกเชน และบริษัท บิทคับ แคปปิตอล จะทำหน้าที่เป็น venture capital ที่จัดการด้านการลงทุน