ความก้าวหน้าในการดำเนินงาน Smart City ของจังหวัดเป็นไปอย่างมีขั้นตอนและเป็นรูปธรรม ซึ่งปัจจุบันนี้จังหวัดได้มีการรวมตัวกันทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อจัดทำแผนพัฒนา Smart City ระดับจังหวัด มีการแบ่งหมวดการพัฒนา Khon Kean Smart City ออกเป็นทั้งหมด 6 ด้าน ได้แก่ Smart Mobility, Smart Living, Smart Citizen, Smart Economy, Smart Environment และ Smart Governance
เบื้องต้นจังหวัดขอนแก่นได้มีการพัฒนาด้าน Smart Mobility ไปซักระยะหนึ่งแล้วโดยมีการพัฒนา Smart Bus ให้ประชาชนได้ใช้บริหารในระบบขนส่งสาธารณะ ลำดับความสำคัญในการพัฒนาลำดับถัดมาสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ depa และภาคส่วนอื่นๆ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการการพัฒนา Smart Living โดยมุ่งเป้าไปที่การพัฒนาเป็น Health Care & MEDICAL HUB หรือ Smart Health Care & Medical Hub สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ DEPA ได้ประสานความร่วมมือกับ จังหวัดขอนแก่น โรงพยาบาลขอนแก่น โรงพยาบาลศรีนครินทร์ และเทศบาลนครขอนแก่น เพื่อประชุมหารือความต้องการด้านการแพทย์และสะท้อนสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละที่ จึงเห็นว่าแต่ละที่มีปัญหาสะสมมีทั้งคล้ายกันและต่างกัน และต่างมุ้งเน้นที่จะนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลไปช่วยสนับสนุนช่วยเหลือทางการแพทย์และการสาธารณสุขให้ประชาชนสะดวกและมีสุขภาพดีและเข้าถึงการรักษาได้อย่างทั่วถึง
นายมีธรรม ณ ระนอง ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิท้ล กล่าวว่า จังหวัดขอนแก่นและสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ depa เป็น Center ในการวางแนวทางดำเนินงาน Medical Hub หรือ Road map ด้าน Health Care & Medical โดยเฉพาะ เนื่องจากเป็นประเด็นสำคัญในการดูแลสุขภาพของประชาชนของประเทศ โดยอยากให้มีการวาง Infrastructure เพื่อรองรับ Big Data และเชื่อมโยงข้อมูลทางการแพทย์ในทุกมิติ ไปสู่ Data Analytic ให้เข้ากับการใช้บริการของประชาชนในทุกระดับ สะดวกทั้งแพทย์ สะดวกทั้งประชาชน
เบื้องต้น โรงพยาบาลขอนแก่นได้เตรียมความพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนการให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉินให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น โดยได้หารือกับ depa และ Start Up ที่จะเข้ามาช่วยพัฒนา Smart Ambulance ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเชื่อมโยงไปสู่การพัฒนาระบบไฟจราจรอัจฉริยะของจังหวัด ทำให้แพทย์จะสามารถช่วยชีวิตได้ระหว่างขนย้ายผู้ป่วยบนรถพยาบาลส่งผลให้ลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ช่วยฉุกเฉินขณะเดินทางได้ ซึ่งเดิมยังไม่มีระบบนี้ช่วยเหลือ ทั้งนี้ในที่ประชุมทีมแพทย์และ depa ยังได้วางแผนการพัฒนา Smart Health Care & Medical Hub ทั้งระบบ เริ่มตั้งแต่การดูแลสุขภาพก่อนป่วย ให้มีสุขภาพที่ดี และป่วยน้อยลง, วางแผนการพัฒนาระบบบริหารจัดการระหว่างเข้าพบแพทย์และระหว่างป่วย, และระบบบริหารจัดการชีวิตหลังป่วย ซึ่งเป็นภาพใหญ่ที่ต้องวาง Road Map ทั้งระบบ เพื่อให้สามารถติดต่อและเชื่อมโยงกันได้อย่างเป็นระบบ
โดยอาศัยความร่วมมือกับทุกโรงพยาบาลในพื้นที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการใช้ระบบ รวมไปถึงร้านขายยา และประชาชนทั่วไป ซึ่งระบบดังกล่าวจะมี Start Up เข้ามาช่วยพัฒนาระบบดังกล่าวให้สำเร็จเป็นลูกโซ่ร้อยเรียงกัน โดยอาศัยมาตรการการส่งเสริมจาก depa และที่สำคัญจะต้องมีการวาง Infrastructure เพื่อรองรับ Big Data ก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อสร้างเป็นเส้นทางให้ข้อมูลวิ่งและเชื่อมโยงกันได้อย่างคล่องตัว ซึ่งเบื้องต้นมีเป้าหมายที่จะเริ่มทำ Big data ด้าน Smart Health Care & Medical Hub ก่อนจึงไปเชื่อมโยงข้อมูลกับ Smart City ในด้านอื่น ๆ ทั้ง 6 ด้านให้ครบวงจร ประกอบด้วย Smart Mobility, Smart Living, Smart Citizen, Smart Economy, Smart Environment และ Smart Governance และเพื่อเตรียมความพร้อมให้มีการเชื่อมโยงข้อมูลอย่างเป็นระบบได้ทั้งประเทศ เพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์และสนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารประเทศให้เกิดความมั่งคั่งและยั่งยืนในระดับสากลต่อไป
depa จะสนับสนุนผ่านกองทุน เช่น กองทุนอินเตอร์เนชั่นแนลไซเซชัน กองทุนสตาร์ทอัพ ซึ่งเป็นลักษณะการลงเงินทุนร่วมกันในทุกมาตรการ สำหรับโครงการ Smart City ก็เช่นเดียวกัน เราจะส่งเสริมผ่านมาตรการต่างๆ เพื่อให้ผู้ประกอบการทั้งฝั่งดิจิทัลและผู้ประกอบการที่เป็นผู้ใช้ได้มีตัวช่วยในการต่อยอดผลงานนวัตกรรมและการนำไปใช้ให้เมืองกลายเป็นเมืองอัจฉริยะตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0
นายสมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า “Khon Kaen Smart City” มีโครงสร้างการพัฒนาที่โดดเด่นในลักษณะการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงของจังหวัด ท้องถิ่น เอกชน ประชาสังคม และได้รับการสนับสนุนจากหลายกระทรวง ทำให้ขอนแก่นสามารถขับเคลื่อนจังหวัดไปสู่รูปแบบ Smart City เพื่อมุ่งสู่ Global City ได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยได้รับการอนุมัติแผนพัฒนา Smart City (Phase 1) จาก คสช. ให้จัดตั้งบริษัทของ 5 เทศบาลแห่งแรกจากกระทรวงมหาดไทย ซึ่งทำให้เกิดความคล่องตัวในการทำงานพัฒนาของจังหวัดและท้องถิ่น ดำเนินการประชารัฐอย่างเข้มข้น และมีนโยบายเปิดกว้างให้กับนักลงทุน นำเสนอเทคโนโลยีทุก ๆ ด้านที่คิดว่าเหมาะสมกับบริบทของเมืองขอนแก่น และล่าสุดมีหลายสถานทูตติดต่อเข้ามาพูดคุยเกี่ยวกับการลงทุนในจังหวัดขอนแก่นเพื่อตอบโจทย์ให้เมืองมีความ Smart City ทั้ง 6 ด้าน เช่น สถานทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย, สถานทูตสเดนมาร์กประจำประเทศไทย, สถานทูตอังกฤษประจำประเทศไทย, สถานทูตไทยประจำประเทศอิสราเอล และสถานทูตไต้หวันประจำประเทศไทย เป็นต้น
ซึ่งจังหวัดขอนแก่นวางเป้าหมายและพยายามให้เห็นถึงการพัฒนาเมืองให้เป็นเมือง Smart City อย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นศูนย์กลางทางการลงทุน นึกถึงขอนแก่นให้ถึงเมืองแห่งการลุงทุน ซึ่งบริบทอื่นๆ ก็มีการสนับสนุนสอดรับซึ่งกันและกันได้ เช่น มาขอนแก่นมาลุงทุน มาประชุมก็มาเที่ยวได้ สามารถท่องเที่ยวขอนแก่นได้ด้วยโลกดิจิทัลเพราะภูมิศาสตร์ของจังหวัดมีสถานที่ท่องเที่ยวน้อยกว่าจังหวัดอื่นที่ภูมิศาสตร์เอื้ออำนวยต่อการท่องเที่ยวเป็นหลักแต่เราสร้างเมืองท่องเที่ยวได้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล นอกจากนั้นเมืองขอนแก่นยังมีระบบขนส่งสาธารณะที่ดีและปลอดภัย เป็นศูนย์กลางด้านการขนส่งก็ซึ่งอีกไม่นานก็จะมีขยายท่าเรือบกมายังจังหวัดขอนแก่น บริบาทเหล่านี้สามารถนำมาพัฒนาต่อยอดให้เข้ากับ Smart City ของเมืองขอนแก่นทั้ง 6 ด้านได้อย่างลงด้วย ด้วยอาศัยความร่วมมือทั้งภาครัฐบาล หน่วยงานรัฐและเอกชนในพื้นที่ รวมไปถึงภาคประชาชนในทุกๆ ชนชั้นที่จะเข้ามาช่วยกันพัฒนาและช่วยให้ระบบที่เราพัฒนาให้เมืองเป็นเมืองแห่งความสุขและปลอดภัยอย่างมีมูลค่าได้ในอนาคต
รศ.นพ.ชลธีป พงศ์สกุล รองคณบดีฝ่ายสารสนเทศ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า “Khon Kaen Smart City” มีการนำเทคโนโลยี Internet of Things หรือ IoT มาใช้กับสายรัดข้อมือเพื่อตรวจวัดความดัน ตรวจวัดชีพจร ซึ่งผู้ที่สวมใส่หากเกิดอาการความดันสูง-ต่ำ สายรัดข้อมือจะส่งสัญญาณไปที่โรงพยาบาล รถฉุกเฉินก็จะวิ่งไปรับได้ทันเวลาเพื่อรักษาพยาบาลตามขั้นตอนทางการแพทย์ต่อไปได้ หรือ การคัดเลือกครัวเรือนในชุมชนเขตเทศบาลนครขอนแก่นในการทดลองนำร่องติดตั้งอุปกรณ์ เพื่อเป็น Smart Home สำหรับอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง และอุปกรณ์ที่จะติดตั้งจะมีกล้อง CCTV ที่สามารถดูอาการหกล้ม เพื่อวางแผนในการดูแลรักษาผู้ป่วย หรือการติดตั้ง Censor/IoT เพื่อควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในบ้านเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ป่วย จากการอาศัยเครื่องมือในการจัดเก็บวิธีใช้ชีวิตและวิธีการดูแลสุขภาพจะสามารถนำไปสู่การวิเคราะห์โรคภัยไข้เจ็บได้ในอนาคตข้างหน้า
ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะนำมาสู่การการแจ้งเตือนเพื่อป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดโรคนั้นๆ ได้ในอนาคตในรายบุคคล ซึ่งหากทำได้จริงโดยภาพรวมจะสามารถทำให้ประชาชนเจ็บป่วยน้อยลง ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคในรายบุคคลได้จริง และยังสามารถลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลได้ในภาพรวมของประเทศได้อีกด้วย
นพ.รัฐระวี พัฒนรัตนโมฬี นายแพทย์ชำนาญการพิเศษและรองผู้อำนวยการศูนย์อุบัติเหตุและวิกฤตบำบัด รพ.ขอนแก่น กล่าวถึง แนวทางพัฒนา Smart Ambulance และศูนย์สั่งการทางการแพทย์ฉุกเฉินด้วยดิจิทัล เพื่อสนับสนุนการพัฒนา Smart Health Care & Medical Hub ว่า ปัจจุบันเรามีปัญหาและอุปสรรค โดยปัญหาหนึ่งคือการที่ผู้ป่วยไม่สามารถเข้าถึงการรักษาได้อย่างทันท่วงที เนื่องจากขณะเกินเหตุฉุกเฉินมีทั้งปัญหาประชาชนไม่สามารถบอกสถานที่ทั้งของตนเองได้อย่างชัดเชน ปัญหาผู้ป่วยอยู่คนเดียวเป็นลมหมดสติ ปัญหาโรงพยาบาลมีจำนวนแพทย์ผู้ชำนาญการน้อยและแทพยท์ผู้ชำนาญส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในโรงพยาบาลใหญ่ รวมทั้งปัญหาขาดการสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพในระหว่างหาตัวผู้ป่วยและขนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉิน
จากปัญหาดังกล่าวระบบดิจิทัลจึงเป็นอีกความหวังหนึ่งของทางการแพทย์ ที่จะเข้ามามีบทบาทในการช่วยสนับสนุนและแก้ไขปัญหาข้างต้นให้คลี่คลายลงได้ ซึ่งปัจจุบันในแต่ละสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาวิกฤตขณะที่แพทย์ผู้ชำนาญการมีจำนวนน้อยและกระจายตัวในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ซึ่งไม่เพียงพอต่อการรักษา และเจ้าหน้าที่พยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยบนรถพยาบาลต้องสื่อสารกับแพทย์ผู้ชำนาญผ่านระบบวิทยุสื่อสารโดยรับสารต่อมาจากคนรับรถอีกทอดหนึ่ง ทำให้ได้รับการสื่อสารที่ไม่ชัดเจนแม่นยำ ซึ่งสื่อสารได้แค่เสียง แพทย์ไม่สามารถเห็นสัญญาณชีพและสภาพผู้ป่วย การสั่งการรักษาเป็นไปด้วยความลำบาก
“เทคโนโลยีดิจิทัลในปัจจุบันสามารถปิดช่องว่าง จากการปรับปรุงเครื่องมือแพทย์ให้เชื่อมต่อ Internet of Things หรือ IoT และสามารถส่งสัญญาณชีพผู้ป่วยมาทาง เครือข่ายอินเทอร์เน็ต นำระบบการสื่อสารด้วยภาพและเสียง Video call เพื่อให้แพทย์ได้เห็นสภาพผู้ป่วยและสั่งการรักษาได้อย่างแม่นยำ และใช้ GPS Tracking เพื่อคาดการณ์เวลาที่รถพยาบาลจะมาถึง โดยระบบโครงข่ายการสื่อสารทางการแพทย์ผ่านทางระบบ Internet (Telemedicine) สามารถเชื่อมต่อทุกโรงพยาบาล เสมือนเป็นโรงพยาบาลเดียวกัน สอดคล้องกับนโยบายการแพทย์ฉุกเฉินไร้รอยต่อ”
นายกังวาน เหล่าวิโรจนกุล ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง (KKTT) จำกัด กล่าวว่า เป็นภาคเอกชนที่เข้ามามีบทบาทช่วยเหลือและสนับสนุน Smart City ของจังหวัดขอนแก่นเป็นอย่างมาก ซึ่ง KKTT มีทั้งกำลังคนและกำลังทรัพ ที่จะขับเคลือนการพัฒนาเมืองให้เป็นรูปธรรมได้อย่างชัดเจนและรวดเร็ว จนเป็นตัวอย่างให้กับจังหวัดอื่นๆ เช่น จังหวัดภูเก็ต จังหวัดเชียงใหม่ รวมไปถึงจังหวัดสระบุรี เพื่อเป็นตัวอย่างในการรวมกลุ่มภาคเอกชนและภาครัฐในการวางแผนและพัฒนาเมืองของตนให้เป็น Smart City ในบริบทของเมืองนั้นๆ และจากการผลักดันของกลุ่ม KKTT ทำให้เกิดการลงทุนในภาคประชาชนที่ยิ่งใหญ่ในระดับภูมิภาคเป็นครั้งแรกในประเทศไทย
นอกจากนี้ยังมี KKTS เพื่อพัฒนารถไฟรางเบาไว้ให้ประชาชนใช้ในระบบขนส่งสาธารณะ มี Jumb Up เพื่อสร้างเป็นทีมพัฒนา Khon Kane City Bus หรือ Smart Bus เพื่อเชื่อมโยงการพัฒนา Smart Mobility ของจังหวัดขอนแก่นให้มีการพัฒนารุดหน้าขึ้นเรื่อยๆ มีการจัดทำระบบขนส่งสาธารณะและให้บริหารระบบขนส่งในจังหวัดขอนแก่นและเชื่อมต่อในระดับภูมิภาค บริหารจัดการโครงการให้เกิดความต่อเนื่องและก่อให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจในตัวเมืองและรอบนอกได้ในเชิงพาณิชย์ รวมทั้งการดูแลและกำกับดูแลการบริการของคู่สัญญาต่าง ๆ การเดินรถ การซ่อมบำรุง การบริการ และงานพัฒนาเชิงพาณิชย์ เพื่อให้เกิดระบบขนส่งสาธารณะอย่างเต็มรูปแบบ และสร้างให้เกิดความยั่งยืนในระบบในพื้นที่ให้ได้อย่างแท้จริง
นายเจียมศักดิ์ ทองรุ่ง CEO บริษัท Jump Up จำกัด กล่าวว่า บริษัท Jump Up จำกัด เกิดจากการรวมตัวของผู้ประกอบการซอฟต์แวร์และนักลงทุนในท้องถิ่น เพื่อพัฒนานวัตกรรมด้านดิจิทัลหลายๆ ด้าน ซึ่ง Jump Up มีความชำนาญในการพัฒนา Smart Mobility เพื่อสนับสนุนให้เมืองเป็นเมือง Smart City อย่างเต็มรูปแบบ ก่อนหน้าที่ Jump Up ได้มีการพัมนา Smart Bus ให้กับจังหวัดขอนแก่นและขยายผลไปยังหัวเมืองหลัก เช่น
กรุงเทพมหานคร เพื่อให้มีระบบขนส่งมวลชนที่ทันสมัยทัดเทียมกับนานาประเทศ แต่ Jump Up ยังไม่หยุดการพัฒนานวัตกรรมดิจิทัลเพียงเท่านั้น ยังอยู่ในระหว่างการพัฒนา Smart Parking ให้กับเทศบาลนครขอนแก่น เพื่อลดปัญาที่จอดรถให้กับสถานที่ราชการที่มีสภาพแออัด และยังได้มีการวางแผนพัฒนานัตวัตกรรมดิจิทัลร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ depa เพื่อพัฒนาไปสู่ Hospital Smart parking ให้กับโรงพยาบาลศรีนครินทร์ และโรงพยาบาลขอนแก่น เพื่อลดการแออัดของที่จอดรถโรงพยาบาลที่มีอยู่อย่างจำกัดและไม่เพียงพอพร้อมกับเชื่อมโยงให้เข้ากับ Smart Bus ที่ได้พัฒนาไปแล้วเพื่อถ่ายเทความแออัดของรถไว้ภายนอกโรงพยาบาลแทนที่การนำรถเข้ามาจอดกระจุกตัวในโรงพยาบาลเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ยังได้มีการวางแผนเชื่อมโยงไปถึง Smart Q ไปพร้อมกับการได้ที่จอดรถให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกันในเรื่องของเวลา เพื่อลดเวลาการรอคอยที่ปัจจุบันประชาชนต้องเฝ้ารอคอย เพื่อเข้ารับรักษาเป็นเวลานานมากจนทำให้ประชาชนเกิดความตึงเครียดไปพร้อมกับผู้ป่วย ปัญหาเหล่านี้เทคโนโลยีดิจิทัลสามารถเข้ามาช่วยผ่อนปรนให้จากหนักเป็นเบาได้ ซึ่งอนาคตต่อไปหากจังหวัดขอนแก่นมี ระบบ Hospital Smart Parking และ Smart Q ใช้จะส่งผลให้การให้บริการของโรงพยาบาลมีความคล่องตัวมากขึ้นและส่งผลให้ประชาชนมีความสุขในการใช้บริการโรงพยาบาลได้มากยิ่งขึ้นไม่กระทบไปสู่สุขภาพจิตทั้งผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยได้ต่อไปในอนาคต
นายกฤษฎา อารัมภ์วิโรจน์ CEO บริษัท Jump Up จำกัด กล่าวว่า โครงการ Khon Kaen City Bus ได้ดำเนินการมาแล้ว 2 ปี โดยได้รับการสนับสนุนในทุกๆ ภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน นำมาซึ่งการออกแบบ Application ร่วมกัน ตั้งแต่การหยอดเหรียญ การทำงานของจอแสดงผลจนได้ Application KK transit คำนึงถึง ประโยชน์ของผู้โดยสารเป็นหลัก โดยผู้โดยสารจะรู้ว่า รถจะมาถึงที่สถานีกี่โมง ขอนแก่นซิตี้บัสมีหลายอุปกรณ์ บนรถ โดยเฉพาะระบบ internet of things มีระบบ Wifi เรียกรวม ๆ ว่าระบบ บริหารขนส่งมวลชนอัจฉริยะ ขณะนี้มี 21 คันที่วิ่งให้เป็นการฟรีในมหาวิทยาลัยขอนแก่น ส่วนในเมืองมีวิ่งอยู่ 10 คันที่มีการคิดค่าบริการ ทั้งหมดคือหนึ่ง ในสมาร์ทโมบิลิตี้ ขับเคลื่อน ขอนแก่น Smart City ให้เป็นจริงก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0