SIPA เดินหน้าสานต่อโครงการคุ้มครองคุ้มครองซอฟต์แวร์ฝีมือคนไทย

สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ซิป้า เดินหน้าสร้างภูมิคุ้มกันทรัพย์สินทางซอฟต์แวร์ไทย พร้อมเร่งสร้างความรู้ความเข้าใจให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์เข้าใจถึงการรักษาสิทธิ์ คุ้มครองสิทธิ์ในผลงานอย่างตอเนื่อง

sipa-01

สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ซิป้า พร้อมส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศเพื่อให้เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักของการพัฒนาเศรษฐกิจไทย ด้วยการเดินหน้าพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันของผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทยให้สามารถแข่งขันและดำเนินธุรกิจร่วมกับผู้ประกอบการในประเทศสมาชิกอาเซียน พร้อมสร้างภูมิคุ้มกันในการรักษาผลงานแนวคิดจากฝีมือคนไทย

สร้างระบบคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับซอฟต์แวร์

ตลอดระยะเวลาตั้งแต่ปี 2552 จนถึงปัจจุบัน ซิป้าได้เดินหน้าสร้างความเข้าใจให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์เข้าใจถึงการรักษาสิทธิ์ คุ้มครองสิทธิ์ของทรัพย์สินทางปัญญาที่ตนเองเป็นผู้คิดค้นเอง จนถึงการนำไปใช้ประโยชน์อื่น ๆ ในเชิงพาณิชย์ได้ โดยส่งเสริมให้ผู้ที่เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์หรือบริการซอฟต์แวร์มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาผลิตภัณฑ์หรือบริการซอฟต์แวร์ที่ตนเองได้พัฒนาคิดค้นขึ้นจนนำไปสู่การจดแจ้ง สร้างกระบวนการในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาประเภทซอฟต์แวร์อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะนำไปสู่การส่งเสริมผลิตภัณฑ์หรือบริการซอฟต์แวร์ในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ และส่งเสริมให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ถือเป็นอีกแนวทางที่จะช่วยสร้างบรรยากาศสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อการสร้างสรรค์งาน สร้างมูลค่าเพิ่มจากความคิดสร้างสรรค์ สอดรับกับนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) ของรัฐบาลที่จะยกระดับเศรษฐกิจของประเทศด้วยสินค้าและบริการด้านดิจิทัล

สร้างศูนย์ One Stop Service ให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย

ดังนั้น เพื่อให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถสร้างผลงานด้วยความมั่นใจ ซิป้าจึงได้เปิดศูนย์ One Stop Service ขึ้นโดยมุ่งให้คำปรึกษาด้านกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งในด้านการคุ้มครองสิทธิ์ การยื่นขอสิทธิบัตร การจดเครื่องหมายการค้า การถูกฟ้องร้อง ร่วมถึงช่วยประสานงานในการดำเนินคดีแก่นักพัฒนาซอฟต์แวร์ บริษัทซอฟต์แวร์ ที่ได้รับความเดือดร้อน พร้อมกับสนับสนุนการจัดอบรมการอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ในลิขสิทธิ์ (Software Licensing Agreement) ให้แก่นักพัฒนาและผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ไทย รวมถึงจัดทำวิจัยและพัฒนาระบบต้นแบบการประเมินมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญาประเภทซอฟต์แวร์เพื่อใช้ในการทำธุรกิจ

และนอกเหนือการจัดอบรม สัมมนา ส่งเสริม สนับสนุน เพื่อพัฒนาศักยภาพความรู้ความสามารถด้านทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับซอฟต์แวร์ ซิป้ายังเดินหน้าผลักดันกฎหมายและมาตรการเกี่ยวกับคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่ทันสมัย บังคับใช้ได้จริง เพื่อคุ้มครองซอฟต์แวร์ไทยอย่างเป็นรูปธรรม และสร้างความแข็งแกร่งในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาประเภทซอฟต์แวร์อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทั้งหมดนี้จะนำไปสู่การส่งเสริมผลิตภัณฑ์หรือบริการซอฟต์แวร์ในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ และลดผลกระทบในเชิงพาณิชย์ภาพรวมของประเทศอย่างยั่งยืน โดยจากแนวทางที่ซิป้าได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้วันนี้ตลาดซอฟต์แวร์สำเร็จรูปและบริการซอฟต์แวร์ในปี 2558 ที่ผ่านมามีมูลค่าเติบโตถึง 52,561 ล้านบาท โดยเติบโตรวมอยู่ที่ 1.2% และมีแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

sipa-02

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here