ในโลกปัจจุบัน พลาสติกมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง ตั้งแต่ขวดและบรรจุภัณฑ์ไปจนถึงพรม และแว่นตานิรภัย แต่ก็ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า มันมีประโยชน์มากมาย ใช้งานง่าย และทนทาน แต่อีกด้าน คือมันกำลังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก
แนวคิดที่จะนำพลาสติกมารีไซเคิลนั้นเกิดขึ้นมานานแล้ว แต่ข่าวร้ายคือ พลาสติกแบบผสมส่วนใหญ่เกือบ 90% ไม่ได้ถูกรีไซเคิล แต่กลับถูกฝังในหลุมฝังกลบหรือเผาทำลาย เพราะการผลิตพลาสติกใหม่มักจะถูกกว่าและง่ายกว่าการรีไซเคิลของเก่า
แต่ตอนนี้ที่ Oak Ridge National Laboratory (ORNL) หรือห้องปฏิบัติการแห่งชาติโอ๊คริดจ์ นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา organocatalyst (ออร์กาโนคาตาลิสต์) ซึ่งสามารถสลายพลาสติกผสมให้เป็นโมโนเมอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งโมโนเมอร์เหล่านี้เป็นส่วนประกอบของพลาสติก ทำให้สามารถนำกลับมา เพื่อใช้สร้างพลาสติกเกรดเชิงพาณิชย์ได้ใหม่
สำหรับ organocatalyst คือตัวเร่งปฏิกิริยาที่ประกอบด้วยสารอินทรีย์เป็นหลัก ตัวเร่งปฏิกิริยาทั่วไปมักทำจากโลหะหรือสารอินทรีย์บางชนิด แต่ organocatalyst นั้นทำจากสารอินทรีย์ล้วนๆ ด้วยเหตุนี้ จึงมีแนวโน้มที่จะปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าตัวเร่งปฏิกิริยาแบบดั้งเดิม
ซึ่งตัวเร่งปฏิกิริยาดังกล่าว ไม่ได้ทำงานแค่กับพลาสติกประเภทเดียวเท่านั้น มันสามารถย่อยสลายกับโพลิเมอร์หลายชนิดได้ ซึ่งรวมถึงที่ขวดน้ำ เชือก หรือแว่นตานิรภัย โพลีเมอร์เหล่านี้คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 30% ของการผลิตพลาสติกทั่วโลก
การวิจัยของ ORNL ระบุว่าวิธีการนี้จะผลิตก๊าซเรือนกระจกน้อยลงถึง 95% ต้องการพลังงานในการย่อยสลายน้อยลง 94% ลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลลงได้ถึง 96% ซึ่งกระบวนการเร่งปฏิกิริยาใช้เวลาเพียงสองชั่วโมงและหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีที่รุนแรง ซึ่งทำให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างมากครับ อยากให้มีการมาใช้ในเชิงพาณิชย์ไว ๆ เสียทีนะ เพราะตอนนี้ โลกเราจะไม่ไหวแล้ว…
ที่มา
onegreenplanet