Smart Building คือการบริหารจัดการ การใช้พลังงานภายในอาคารได้อย่างคุ้มค่าที่สุด และทำให้อาคารแต่ละแห่งที่มีปัจจัยแตกต่างกันสามารถควบคุมได้ด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อก้าวสู่อาคารอัจฉริยะที่มีความทันสมัย
ในอดีต การจัดการการใช้พลังงานในส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับอาคารนับว่าเป็นสิ่งที่ยุ่งยากและใช้เวลานาน แต่ในปัจจุบัน การบริหารจัดการพลังงานในตึกสูงสามารถทำได้ง่ายมากขึ้นด้วยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี Internet of Things หรือ IoTเข้าไปเชื่อมต่ออุปกรณ์กับซอฟต์แวร์และบริการที่มีภายในอาคาร เพื่อสร้างนวัตกรรมที่ทำให้เกิดความคุ้มค่าและบริหารจัดการพลังงานได้ง่ายขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น การนำเซนเซอร์ไปติดตั้งที่ระบบปรับสภาพอากาศภายในอาคาร (Heating, Ventilation and Air Conditioning : HVAC) ทำให้สามารถควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสม ลดการใช้พลังงานที่เกินความจำเป็น ทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อตอบสนองผู้ใช้งานได้
ผสานนวัตกรรมเทคโนโลยีในการเชื่อมต่อและควบคุม ในทุกระดับ
ทั้งนี้ การนำเซนเซอร์ไปติดตั้งเป็นแค่ส่วนหนึ่งของการเริ่มต้นการสร้างอาคารอัจฉริยะ ซึ่งต้องมีการเก็บข้อมูลในส่วนต่างๆ ของอาคาร เพื่อนำมาประมวลผล แต่หากเราต้องการจะเปลี่ยนจากตึกธรรมดาไปเป็น Autonomous Building เราจำเป็นต้องผสานนวัตกรรมเทคโนโลยีในการเชื่อมต่อและควบคุมในทุกระดับ และทำความเข้าใจองค์ประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบบริหารจัดการตึกและอาคาร (Building Management System : BMS) เพื่อที่จะนำข้อมูลที่ได้จากเทคโนโลยี IoT ไปวิเคราะห์ และใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสร้างเป็นนวัตกรรม หรือบริการในรูปแบบใหม่ๆ ในรูปแบบของแอพพลิเคชั่น
BMS (Building Management System) คือ ระบบบริหารจัดการตึกและอาคาร ซึ่งเป็นเครือข่ายที่มีการรวบข้อมูลและระบบควบคุมเข้าด้วยกัน เพื่อการทำงานแบบอัตโนมัติ การเฝ้าตรวจและควบคุมระบบปรับสภาพอากาศ แสงสว่าง เครื่องสูบน้ำ และหน้าที่อื่นๆ ในตึกและอาคาร โดยเราจะสามารถควบคุมสภาพแวดล้อมภายในตึกนั้นๆ ได้แบบอัตโนมัติผ่านซอฟต์แวร์ชนิดพิเศษที่ทำงานควบคู่กับระบบ IoT
จากการวิเคราะห์ของสถาบัน McKinsey Global Institute พบว่า มูลค่าตลาดที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการอาคารมี มูลค่าสูงถึง 6 ล้านล้านเหรียญ ($6 trillion) โดยแบ่งออกเป็นระบบเซนเซอร์และอุปกรณ์อื่นๆ
เช่น ระบบเครือข่ายแสงสว่าง ระบบปรับสภาพอากาศ (HVAC) ระบบรักษาความปลอดภัย และการควบคุมการเข้าถึง รวมทั้งการเข้าถึง การควบคุมพลังงาน และการตรวจสอบ การเข้าถึงภายในอาคาร นอกจากนี้ การรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในอาคารและนำประมวลผลภาพควบคู่กับสภาพอากาศภายนอกอาคารสามารถลดสูญเสียพลังงานที่พบบ่อยในอาคารได้มากถึง 30 %
ทั้งนี้ การจะบรรลุเป้าหมายของการนำ IoT มาปรับใช้ จำเป็นต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ครอบคลุม เนื่องจากการใช้งาน IoT คือการเชื่อมต่ออาคารกับโลกอินเทอร์เน็ต หรือการเชื่อมต่อไปยังสถานที่ห่างไกล เพื่อที่จะควบคุมหรือเพื่อเก็บข้อมูลในส่วนต่างๆฉะนั้น ระบบความปลอดภัยบนไซเบอร์จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง และการนำโซลูชั่นต่างๆ มาทำงานร่วมกันจะต้องเป็นไปตามมาตรฐาน BACnet (Building automation and control networking protocol) ระบบบ้านอัจฉริยะและอาคารอัจฉริยะระดับมาตรฐานสากล (KNX) ซึ่งถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อใช้สําหรับการสื่อสารระหว่างระบบอาคารอัตโนมัติกับระบบควบคุมและการเข้าออกอาคาร ยังต้องเป็นไปตามมาตรฐานสากลอื่นๆ พร้อมทั้งยังต้องมีโปรโตคอลแบบเปิดเพื่อให้โซลูชั่นต่างๆ สามารถผนวกรวมและใช้งานร่วมกันได้
และนี่คือเหตุผลว่า ทำไมแพลทฟอร์ม EcoStruxure™ Building ถึงเป็นโซลูชั่นชั้นนำของ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เพราะจะช่วยให้โซลูชั่นด้าน IoT ต่างๆ สามารถเชื่อมต่อ เก็บข้อมูล วิเคราะห์ และดำเนินการได้แบบเรียลไทม์ ซึ่งสามารถนำไปใช้ในอาคารดาต้าเซ็นเตอร์ โรงงานอุตสาหกรรม และโครงข่ายไฟฟ้าเพื่อเมืองอัจฉริยะ และเมื่อนำแพลทฟอร์มดังกล่าวมาผนวกรวมเข้ากับระบบ BMS และอุปกรณ์ IoT ที่พร้อมใช้งานจะเพิ่มประสิทธิภาพในการเก็บข้อมูล ซึ่งจะเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้อาคารธรรมดาเปลี่ยนเป็น Smart Building ได้อย่างรวดเร็ว
การบำรุงรักษาแบบคาดการณ์ล่วงหน้า ส่วนหนึ่งของ Smart Building
ส่วนหนึ่งของโซลูชันที่มีประสิทธิภาพจะเกี่ยวข้องกับการบำรุงรักษาแบบคาดการณ์ล่วงหน้า ซึ่งจะตรวจพบปัญหาที่กำลังจะเกิดขึ้นก่อนที่จะกลายเป็นปัญหา เพราะเมื่อนำเซ็นเซอร์ที่ติดตั้งเพื่อเก็บข้อมูล และได้ข้อมูลมากพอที่จะนำมาประมวล
ข้อมูลที่เป็นผลลัพธ์จะสามารถคาดการณ์การสึกหรอของอุปกรณ์ต่างๆ ภายในอาคารได้อย่างแม่นยำ ซึ่งหมายความว่า จะมีสายที่โทรเข้ามาแจ้งปัญหาน้อยลงในตอนกลางคืน เพราะไม่มีอะไรผิดปกติหรือล้มเหลวอย่างกะทันหัน โดยผู้ดูแลอาคารจะรู้ปัญหาล่วงหน้าและแก้ไขมันก่อนที่จะเกิดขึ้น นอกจากนี้ การบำรุงรักษาล่วงหน้านั้นมีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่ามาก เพราะสามารถกำหนดเวลาการแก้ไข และไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินชดเชย กรณีหยุดทำงานโดยไม่ได้ตั้งใจ
ประสิทธิภาพอื่นๆ ที่มาพร้อมกับชุดเครื่องมือการใข้งาน IoT เราสามารถปรับควบคุมแสงสว่าง (HVAC) และระบบสภาพอากาศได้ทุกที่ ทุกเวลา จากห้องควบคุม เช่น สามารถทำงานร่วมกับระบบบริหารจัดการตึกและอาคาร (BMS) เพื่อให้มั่นใจว่าแอร์จะไม่ทำงาน หากไม่มีคนอยู่ในห้อง หรือใช้พื้นที่ตามกำหนดเวลา ทั้งนี้ ความสามารถนี้จะสร้างสภาพอากาศที่เหมาะเมื่อคาดการณ์แล้วว่าเรากลับถึงบ้านเมื่อไหร่
การพัฒนาเหล่านี้มีส่วนสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ควรพิจารณาตามที่ระบุไว้ในรายงานการวิจัย Navigant Research ในเรื่องของ “การรวมข้อมูลสำหรับอาคารอัจฉริยะ” (Data Integration for Intelligent Buildings) ว่าค่าใช้จ่ายของเซนเซอร์และอุปกรณ์สำหรับคำนวณผลลดลงก็จริง แต่ในขณะเดียวกัน ซอฟต์แวร์ในการจัดการก็มีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน และควรมีการประเมินความสามารถของผู้จัดจำหน่ายที่มีศักยภาพก่อนนำมาใช้งานจริง
** สามารถดาวน์โหลดข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหัวข้อ “Smart Buildings and the Internet of Things: Unlocking Value”
บทความโดย
Tracy L. Courtemanche
ที่มา : blog.schneider