มทร.ธัญบุรี พัฒนาพื้นที่ 6 จังหวัด รวมทั้งหมด 156 ตำบล ด้วยการใช้องค์ความรู้ นวัตกรรม ร่วมกับระบบเศรษฐกิจบีซีจี เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และยกระดับคุณภาพสินค้าเชิงพื้นที่ ย้ำชัด “ส่งเสริมการจ้างงานบัณฑิตและประชาชนในพื้นที่”รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เป็นประธานเปิดกิจกรรมการจัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้า “U2T Market Fair by RMUTT” โครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล BCG ECONOMY ภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG ณ ลานกิจกรรม
ชั้น G ตึกแดงวินเทจ กทม.รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) เปิดเผยว่า จากความสำเร็จที่ผ่านมาของ “โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1ตำบล 1มหาวิทยาลัย)” ซึ่ง มทร.ธัญบุรี ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการดังกล่าวโดยการใช้องค์ความรู้ วิทยาศาสตร์ วิจัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สำคัญหลายด้าน ทั้งเทคโนโลยีการผลิต การพัฒนาความรู้ด้านสินค้า สมาร์ทฟาร์ม เกษตรอินทรีย์ การจัดการท่องเที่ยว การแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร การทำตลาดดิจิทัล รวมถึงการท่องเที่ยวชุมชน ซึ่งมีกระแสและเสียงตอบรับที่ดีเกิดการหมุนเวียนด้านเศรษฐกิจ การจ้างงาน การพัฒนาสินค้าผลิตภัณฑ์ และบริการต่าง ๆ จนล่าสุด มทร.ธัญบุรี ได้รับความไว้วางใจและความเชื่อมั่นในคุณภาพจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ BCG Economy ให้ร่วมดำเนินงานหลักใน “โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG” เพื่อพัฒนารายพื้นที่ด้วยยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ BCG โดยเฉพาะด้านการผลิตและการบริการ รวมถึงการเพิ่มและรักษาระดับการจ้างงานบัณฑิตและประชาชนในพื้นที่
โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG จะมุ่งเน้นการเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการด้าน BCG ในพื้นที่ด้วยองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเพิ่มการจ้างงานบัณฑิตที่พึ่งจบการศึกษาและประชาชนในพื้นที่ เพื่อพัฒนาฐานข้อมูล Thailand Community Big Data (TCD) ให้มีความสมบูรณ์ครอบคลุมในทุกพื้นที่ของประเทศ รวมถึงพัฒนากำลังคนให้มีทักษะที่จำเป็นต่อการทำงานในปัจจุบันและทักษะที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ BCG
“มทร.ธัญบุรี รับผิดชอบพื้นที่ดำเนินการทั้งหมด 6 จังหวัด คือ จังหวัดปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว และฉะเชิงเทรา ซึ่งจัดทำเป็นโครงการย่อยรายตำบลรวม 156 ตำบล และเชื่อมั่นว่าศักยภาพและความพร้อมของ มทร.ธัญบุรี จะกระตุ้นให้เกิดการจ้างงานตามภาระ สร้างการมีส่วนรวมในการพัฒนา ส่งเสริมและผลักดันผลิตภัณฑ์และบริการของชุมชนสู่ตลาดอย่างเป็นระบบ รวมถึงพัฒนาฐานข้อมูล และคาดหวังในโครงการนี้จะช่วยให้เกิดการฟื้นตัวจากวิกฤตโควิด ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และยกระดับคุณภาพสินค้า ผลิตภัณฑ์ การบริการให้ดียิ่งขึ้นด้วยการเพิ่มรายได้แก่ชุมชนรายตำบลผ่านการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้วย BCG” อธิการบดี มทร.ธัญบุรี กล่าวสรุป.