ไอ้แมงมุมอัพเกรด !! ก่อนหน้านู้น ผมเคยรีวิวเจ้า Archer C5400X เป็นเราเตอร์เกมมิ่งรุ่นแรกของ TP-Link ที่มาพร้อมดีไซน์แบบจัดเต็มมาก ๆ และอัดฟีเจอร์ด้านเกมมิ่งไว้พอควร แต่ในตอนนั้นผมได้ตั้งข้อสังเกตว่า “ทำไมถึงไม่มี Skin หรือหน้าตั้งค่า Config เท่ ๆ ตามสไตล์เกมมิ่ง” คือตัวเราเตอร์ดีไซน์อลังการมาก แต่หน้า Config กลับเป็นธีมสีขาวสลับฟ้าเหมือนรุ่นทั่ว ๆ ไป ดูไม่เกมมิ่งเลย จนล่าสุดใน TP-Link Archer AX11000 ครั้งนี้…..สมใจอยาก
TP-Link Archer AX11000 นับเป็นอีกก้าวของเราเตอร์เกมมิ่งจาก TP-Link รอบนี้เพิ่มมาตรฐานการเชื่อมต่อ 802.11ax หรือ Wi-Fi 6 ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเชื่อมต่อไร้สายมากขึ้น ในรุ่น TP-Link Archer AX6000 ที่เคยรีวิวไป หลายคนน่าจะได้เห็นประสิทธิภาพกันบ้างแล้ว ส่วนในรุ่นเกมมิ่งนี้ Wi-Fi 6 จะมีส่วนช่วยขนาดไหน และตัว TP-Link Archer AX11000 จะโหดสมหน้าตาหรือช่วยให้เราเล่นเกมออนไลน์ได้ลื่นขึ้นไหม ลองมาดูกันเลยครับ
สเปก TP-Link Archer AX11000
- The Fastest Gaming Router – AX11000 speed machine that delivers Wi-Fi Speeds Over 10 Gbps: 4804 Mbps (5 GHz Gaming) + 4804 Mbps (5 GHz) + 1148 Mbps (2.4 GHz)
- Game Accelerator – Detect and optimize gaming streams, to ensure your gaming stays immersive
- Game Protector – Keep your accounts and documents safe with Homecare™ security system powered by Trend Micro™.
- Game Statistics – Real-time latency, game duration and network resource allocation in a glance with fine-tuned UI.
- Ultra Connectivity – 2.5 Gbps WAN port and eight Gigabit LAN ports, 2 USB 3.0 in Type A and Type C provide extensive connectivity.
- Powerful Processing – 1.8 GHz Quad-Core CPU and 3 coprocessors ensure your network performance always at peak run.
- Highly Efficient – OFDMA increases the avg. throughput and reduces the lag.
- Easy and Smart – Link to your router via Bluetooth and set it up in minutes with the powerful Tether app.
คุณสมบัติเด่น
- เชื่อมต่อรวดเร็วด้วย WAN Port 2.5Gbps และ 8 Gigabit Lan Port
- 1GB RAM and 512 MB Flash
- ส่วนฮาร์ดแวร์เป็น 1.8 GHz Quad-core และยังมีอีก 3 โคโปรเซสเซอร์ ช่วยให้ส่งสัญญาณได้อย่างเสถียรและมีประสิทธิภาพ
- มี OFDMA ตามมาตรฐาน Wi-F-6
- มีระบบช่วยรักษาความปลอดภัย ด้วย TP-Link HomeCare ป้องกันการโจมตีจากไวรัสและมัลแวร์ โดย Trend Micro
- ตั้งค่าง่ายผ่านการเชื่อมต่อ Bluetooth ตั้งค่าโดยแอพฯ TP-Link Tether
- การรับประกันแบบ limited lifetime warranty
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
https://www.tp-link.com/th/home-networking/wifi-router/archer-ax11000/#specification
แกะกล่อง
กล่องตัวเครื่อง Archer AX11000 ดูดุเดือดกว่ารุ่น Archer C5400X ที่เคยรีวิวไปพอควร โดยมีการระบุหน้ากล่องเลยว่า มีความเร็วการเชื่อมต่อ LAN สูงถึง 2.5 Gbps กับสามารถเชื่อมต่อ Wi-Fi ได้สูงสุด 10 Gbps และความเร็วซีพียูระดับ 1.8 GHz ส่วนจุดสำคัญของรุ่นนี้คือมี Game Dashboard และ Game Accelerator ถือเป็น 2 ส่วนสำคัญ ที่ทำให้ Archer AX11000 เป็นเราเตอร์เกมมิ่งอย่างแท้จริง
ภายในกล่องก็ประกอบไปด้วยตัวเครื่อง Archer AX11000 , เสาสัญญาณ 8 เสา , ชุดไฟเลี้ยง , สาย LAN , ชุดคู่มือ และ การ์ดรหัส Wi-Fi ของตัวเครื่อง
ตัวชุดไฟเลี้ยงมีขนาดใหมญ่พอ ๆ กับชุดไฟเลี้ยงของโน๊ตบุ๊กบางรุ่นกันเลย ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจนัก เมื่อดูขนาดตัวเราเตอร์รุ่นนี้…
………..
วัสดุและดีไซน์
ช่วงนี้กระแสเกมมิ่งสำหรับมาแรง เชื่อว่าบางท่านคงมีชุดคอมฯ หรือโน๊ตบุ๊กเกมมิ่งวางเด่นเป็นสง่าอยู่ที่บ้านเป็นแน่ ฉะนั้นหากใครมี TP-Link Archer AX11000 ไปวางอยู่ใกล้ ๆ ก็จะช่วยเพิ่มความเป็นเกมมิ่งแบบ x 10 กันเลย คือยอมรับเลยว่าดีไซน์ของเราเตอร์รุ่นนี้ มันอลังการมากกกก ตัวเครื่องใช้วัสดุเป็นพลาสติกอย่างหนา ดูแข็งแรงมาก ๆ ทั้งยังมีสีดำเกือบทั้งตัว สลับกับสีแดงจากเสาสัญญาญทั้ง 8 ต้น ทำให้กลายเป็นสีดำแดง ซึ่งเป็นสีประจำชาติของอุปกรณ์เกมมิ่งไปแล้ว (สีจำประจำชาติอื่น ๆ ก็มี ดำเขียว ดำฟ้า ดำเหลือง คือหลัก ๆ ต้องมี ‘สีดำ’)
…..อย่างไรก็ตาม หน้าตาและวัสดุของตัว Archer AX11000 บอกตามตรงเลยว่า หากเอาไปวางคู่กับรุ่น Archer C5400X คือแยกยากออกแน่นอน มันเหมือนกันมาก ๆ ยกเว้นพอร์ดเชื่อมต่อด้านหลังและด้านหน้าที่มีความแตกต่างเล็กน้อย
หน้าตาตัวเครื่อง Archer AX11000 ก่อนประกอบเสาสัญญาณ
การประกอบตัวเสาก็ทำได้ง่ายมาก เพียงแค่นำรูตรงตัวเสาไปเสียบกับตัวเราเตอร์ ไม่ต้องหมุนหรือมีท่าพิสดารอะไร แค่นำไปประกบให้ตรงล็อคครบทั้ง 8 ต้น ก็เป็นอันเสร็จ
และนี้ก็คือ TP-Link Archer AX11000
ด้านหน้าตัวเราเตอร์มีปุ่ม Wi-Fi On/Off Button กับ LED On/Off Button และ WPS Button เหมือนกับรุ่น Archer C5400X ตัวก่อนหน้า
ส่วนที่แตกต่างคือ พอร์ตเชื่อมต่อ USB ซึ่งรุ่นก่อนจะเป็นพอร์ต USB-A 3.0 x 2 แต่รุ่นนี้จะเป็น USB-A 3.0 x 1 และอีกช่องเป็น USB Type-C 3.0 x 1 แทน เพื่อการเชื่อมต่อสำหรับทำ NAS หรือ Cloud Storage ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ส่วนด้านหลังเครื่องก็มีพอร์ต LAN 100/1000 หรือ Gigabit Ethernet มากถึง 8 ช่อง ส่วนพอร์ต WAN ก็มีการระบุเลยว่า รองรับการเชือมต่อระดับ 2.5 Gbps หรือ 2.5 Giga WAN ตามภาพ หากบ้านไหนใช้เน็ตจาก ISP (ผู้ใช้บริการเน็ต…ที่เราน่าจะรู้จักันดี) ความเร็วระดับ 1 Gbps ขึ้นไป ตัวเราเตอร์สามารถรองรับได้เต็มที่แน่นอน
จุดที่เป็นไม้ตายของ TP-Link Archer AX11000 คือ เสาสัญญาณทั้ง 8 ต้น ที่สามารถกระจายความเร็วได้สูงถึง 10756 Mbps หรือกว่า 10 Gbps กันเลย คือมันจะมีประโยชน์มาก ๆ หากบ้านไหนที่มีสมาชิกครอบครัวหลายคน แล้วต่างคนต่างใช้เน็ตกันทั้งบ้าน ไม่ก็กรณีร้านเกมหรือ Net Cafe ตัวเราเตอร์ก็มีความเร็วมากพอที่จะกระจายสัญญาณ Wi-Fi อย่างเสถียรได้ดี โดยตัวเสาจะให้สัญญาณ Wi-Fi ถึง 3 ช่อง แบ่งเป็น 2.4 GHz ความเร็ว 1148 Mbps กับ 5 GHz ความเร็ว 4804 Mbps และสุดท้าย 5 GHz Gaming ความเร็ว 4804 Mbps
และอย่างที่เกริ่นไปในตอนแรก ตัวเราเตอร์มาพร้อม Wi-Fi 6 ใครที่ใช้อุปกรณ์ที่รองรับ 802.11ax (ซึ่งจะมีในสมาร์ทโฟนกับโน้ตบุ๊กรุ่นที่ออกใหม่ในปีนี้แล้ว) จะได้ใช้เน็ต Wi-Fi ที่มีคุณภาพยิ่งกว่าเก่าแน่นอน อีกทั้งตัวเราเตอร์ยังมี OFDMA มาช่วยจัดการแบ่งสัญญาณให้เข้าถึงผู้ใช้ได้หลาย ๆ คน สามารถใช้งานเน็ตได้ไม่สะดุด
หากต้องกระจายสัญญาณจากที่กล่าวมา ก็ต้องใช้พลังงานการประมวลผลที่สูงแน่ ตัว Archer AX11000 จึงได้ยัดซีพียูที่มีความเร็วระดับ 1.8 GHz แบบ Quad-Core และยังมาพร้อม Coprocessor หรือชิปประมวลผลร่วมอีก 3 ตัว ที่จะมาช่วยเสริมซีพียูหลักให้ทำงานได้ต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพ เสริมด้วยแรมอีก 1GB และความ จำ Flash ขนาด 512MB ในตัว ทำ NAS หรือ Cloud Storage จากช่อง USB หรือต่อสาย LAN ครบ 8 ช่อง พร้อมใช้ Wi-Fi กันเยอะ ๆ ตัว Archer AX11000 คงบอก “ก็มาดิคร้าบ” (อยากจับเทสจริง ๆ แต่เสียดาย อุปกรณ์มีไม่มากพอ….)
การใช้งาน
ยอมรับเลยว่า TP-Link Archer AX11000 ถือเป็นเราเตอร์เกมมิ่งที่มากฟีเจอร์และมีดีไซน์โดดเด่นสะดุดตาจริง ๆ แต่เหนือสิ่งใดก็ไม่ว้าวเท่า Game Dashboard หรือหน้า UI สำหรับ Config ตัวเราเตอร์สไตล์เกมมิ่ง !!
ตัวเครื่องสามารถใช้แอปฯ TP-Link Tether ได้เช่นเคย แต่พอสั่งเชื่อมต่อกับตัว Archer AX11000 หน้า UI ของแอปฯ จะเปลี่ยนไปทันที จากโทนสีขาวสลับฟ้ากลายเป็นสีดำแดง ค่อยดูดุดันสมกับที่เป็นเราเตอร์เกมมิ่งขึ้นมาหน่อย
ส่วนรูปแบบการตั้งค่าจะคล้ายกับเราเตอร์ของ TP-Link ทั่ว ๆ ไป คือมีหน้าดูสถานะ หน้าตั้งค่า Wi-Fi กำหนดการใช้งานด้วย Parental Control ดูตั้งค่า Firewall ป้องกันการโจมตีจากไวรัสและมัลแวร์ (ใช้ Trend Micro) และหน้าตั้งค่าพื้นฐานอื่น ๆ
ส่วนหน้าตั้งค่า QoS ก็จะมีเพิ่มส่วนที่เป็นหัวข้อเกมมิ่งเข้ามา ในหน้านี้เราสามารถกำหนดได้เลยว่า จะให้ตัวเราเตอร์ทำงานโดยให้ความสำคัญกับเกมมิ่งมากที่สุด เพื่อให้เล่นเกมได้ลื่น ๆ แม้มีการแย่งใช้งานเน็ตจากหลายอุปกรณ์ ก็เลือกส่วน ‘เกมส์’ หรือไปดันในส่วน ‘กำหนดเอง’ ให้ดันในหัวข้อเกมส์ก็ได้ แต่ปกติตัวเราเตอร์จะปรับให้ความสำคัญกับการเล่นเกมออนไลน์มาก่อนแล้ว สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในหัวข้อ Game Accelerator
Game Dashboard (Web Version)
นอกจากในแอปฯ TP-Link Tether จะมีรูปแบบ UI ใหม่แล้ว ในหน้า Config ผ่านเว็บ ก็มีโทนสีดำแดงด้วยเช่นกัน หากแต่มีหน้าตาการแสดงค่าหรือสถานะต่าง ๆ ที่ละเอียดกว่า
Game Accelerator
หากเราเข้าหน้า Config ตัวเราเตอร์ผ่านเว็บ ในนี้เราก็จะเห็นตัวเลือกพิเศษอย่าง ‘Game Center’ จุดนี้เองคือหัวใจสำคัญของ TP-Link Archer AX11000 รุ่นนี้เลย มันจะมีหน้า Dashboard ที่แสดงสถานะการทำงานของตัวเราเตอร์แบบชัดเจนและดูง่าย อีกทั้งยังมีตัวเลือก Game Accelerator สามารถปรับให้ตัวเราเตอร์ กระจายสัญญาณเน็ตมายังอุปกรณ์ที่กำลังเล่นเกมโดยเฉพาะ ให้มีค่า Ping น้อย ๆ จะได้เล่นเกมออนไลน์ได้ไม่สะดุด จุดสังเกตคือ ตัวเราเตอร์จะเปิดใช้งานฟีเจอร์นี้มาให้ก่อนเลย
หากเปิดใช้งานตัวเราเตอร์ครั้งแรก ตัวเราเตอร์จะปล่อย Wi-Fi ออกมา 3 คลื่น 3 ชื่อด้วยกัน อาทิ TP-Link_6743 (2.4 GHz), TP-Link_6743_5G (5 GHz) และ TP-Link_6743_5G_Gaming (5 GHz) ซึ่งหากใครใช้งานแค่ Facebook, Line หรือท่องเว็บทั่ว ๆ ไป ก็เลือกใช้คลื่น 2.4 GHz หากดูหนังออนไลน์หรือ Youtube ก็เลือก 5 GHz ถ้าเล่นเกมก็เลือก 5G_Gaming
แต่ถ้าใครไม่ชอบความยุ่งยาก ก็สามารถปรับให้ตัวเราเตอร์รวมชื่อทั้ง 3 คลื่นให้เลือกชื่อเดียวก็ได้ ซึ่งหลังจากนี้ตัวเราเตอร์จะเลือกให้อัตโนมัติเลยว่า อุปกรณ์ไหนควรเชื่อมต่อแบบไหนเอง หากอยู่ในระบะนี้ควรใช้คลื่น 2.4 GHz หากพบว่ามีการเล่นเกม ก็จะใช้คลื่น 5G ให้โดยอัตโนมัติทันที
ประสิทธิภาพ
ในส่วนการทดสอบประสิทธิภาพครั้งนี้ จะขอเปลี่ยนรูปแบบเล็กน้อย จากเดิมเคยทดสอบในบ้านชั้นเดียว ในรุ่นนี้ก็จะขอเปลี่ยนสถานที่เป็นตึก 3 ชั้นแทน (ออฟฟิศที่ทำงาน) การทดสอบประสิทธิภาพสัญญาณก็จะใช้รูปแบบ ‘การแย่งเน็ต’ จาก 4 อุปกรณ์ แบ่งเป็น คอมฯ ตั้งโต๊ะ กับ NAS ผ่านสาย LAN กับสมาร์ทโฟน 2 เครื่องผ่าน Wi-Fi โดยคอมฯ ก็เปิด Youtube ดูวิดีโอระดับ 4K พร้อมกับสมาร์ทโฟนอีกหนึ่งเครื่อง NAS ก็โหลดไฟล์จาก Bit ส่วนสมาร์ทโฟนอีกรุ่น สามารถรองรับ Wi-Fi 6 ได้ ก็จะลองเล่นเกมออนไลน์แทน
บรรยากาศขณะทดสอบ
เปรียบเทียบการเชื่อมต่อระหว่างคลื่น 2.4 GHz และ 5 GHz ผ่าน ISP ที่ให้ความเร็ว 100/30 Mbps (ใจจริงอยากทดสอบ 1000/100 Mbps มาก แต่ยังไม่มีโอกาส – -) ในระยะใกล้กับตัวเราเตอร์ ผลการเทสคือ ทั้งสองคลื่นก็ได้ความเร็วตามที่ ISP ให้ แต่มีข้อสังเกตเล็กน้อยคือ คลื่น 5 GHz ดูมีความเสถียรกว่า
ลองทดสอบดาวโหลดไฟล์จาก NAS ขนาด 800MB จำนวน 135 ไฟล์ โดยมีทั้งไฟล์ภาพกับวิดีโอ ดาวโหลดเข้าสมาร์ทโฟน (ไม่มี Wi-Fi 6) ผลการเทสก็ใช้เวลาประมาณ 1 นาทีกว่า ๆ เท่านั้น
ต่อไปของจริงแล้ว คราวนี้จัดการตามที่เกริ่นไว้ในหัวข้อประสิทธิภาพ โดยมีการเปิดวิดีโอออนไลน์ระดับ 4K จาก 2 อุปกรณ์ ให้ NAS โหลด Bit และเล่นเกมออนไลน์ผ่านอุปกรณ์ที่รองรับ Wi-Fi 6
ลองทดสอบความเร็วผ่านคลื่น 5G (ที่เป็นชื่อ 5G_Gaming) คราวนี้จาก 100 Mbps ก็เหลือ 79 Mbps
เปิดเกม PUBG ขณะมีการทดสอบ ผลคือค่า ms ที่จะแสดงอยู๋ตรงมุมซ้ายล่าง (ยิ่งน้อยยิ่งดี) จะแกว่งสลับระหว่าง 40 ms – 100 ms กว่า ๆ แต่การเล่นเกมยังไหลลื่น ไม่มีอาการแลคให้เห็น
ลองเทสอีกเกมอย่าง SMC หรือ Super Mecha Champions คราวนี้ได้ค่า ms อยู่ประมาณ 98 – 140 ms แต่ก็เช่นเคย การเล่นยังคงไหลลื่น
ปิดท้ายด้วยการทดสอบความแรงสัญญาณ Wi-Fi จากตึกออฟฟิศ 3 ชั้น ซึ่งในออฟฟิศที่ทดสอบก็จะอุดมไปด้วยสารพัดสัญญาณ Wi-Fi เต็มไปหมด
โดยให้ตัว Archer AX11000 อยู่ชั้นบนสุด จากนั้นก็ค่อยไล่ลงมาทีละชั้นและทดสอบด้วยแอปฯ Wifi Analyzer ผ่านสมาร์ทโฟน (ไม่มี Wi-Fi 6)
เริ่มจากชั้นบนสุด หรือชั้นที่วางตัวเราเตอร์อยู่ ผลก็ไม่น่าแปลกใจนัก คุณภาพสัญญาณดีเยี่ยม ทว่าตัว Archer AX11000 ก็พุ่งสูงนำเราเตอร์ Wi-Fi ตัวอื่น ๆ ในออฟฟิศแบบเทียบไม่ติด ซึ่งคลื่น 2.4 GHz มีค่า dBm เพียง -23 เท่านั้น ส่วน 5 GHz ก็อยู่ราว ๆ -30 dBm
เมื่อลงมาที่ชั้นสอง เริ่มเห็นความต่าง ตัว Archer AX11000 ยังคงนำเช่นเคย แต่ค่า dBm ของคลื่น 2.4 GHz ก็ตกไปที่ -41 ส่วนคลื่น 5 GHz ก็อยู่ที่ -56 dBm
ปิดท้ายที่ชั้นแรก โดยห่างจากตัวเราเตอร์ถึง 2 ชั้น ก็เห็นความต่างชัดเจน แต่ก็ต้องยอมรับว่าตัวคุณภาพสัญญาณยังไม่ออกมาแย่มากนัก โดยคลื่น 2.4 GHz อยู๋ที่ -5- dBm ส่วนคลื่น 5 GHz ก็อยู่ที่ -77 dBm
สรุป
เมื่อก่อนเกมส่วนมากจะเป็นออฟไลน์ ปัจจุบันกลายเป็นเกมออนไลน์กันเกือบหมดแล้ว นับแต่นั้นมา เราเตอร์จึงมีบทบาทมาก ๆ ที่จะเข้ามาช่วยให้การเล่นเกมออนไลน์เป็นไปอย่างไหลลื่น (แต่อันดับหนึ่งคือ ISP หรือผู้ใช้บริการนะจ๊ะ : b) ช่วงเวลาที่เราจะเล่นเกมออนไลน์ได้ดีที่สุดก็คงไม่พ้นตอนอยู่บ้าน และปัญหายอดนิยมก็คงไม่พ้น การโดนแย่งเน็ต คนอยู่เยอะก็ใช้กันเยอะ เกมก็ยิ่งแลคตาม
TP-Link Archer AX11000 ก็นับเป็นเราเตอร์เกมมิ่งระดับ Hi-End สเปกภายในถือว่าสูงมาก ๆ ด้านดีไซน์คงไม่ต้องกล่าวอะไรมาก โคตรเท่ ส่วนสำคัญคือมี Wi-Fi 6 กับเสายาว 8 เมตร…เอ้ยมีเสาสัญญาณทั้งหมด 8 ต้น ที่จะมาช่วยให้รองรับการเชื่อมต่อได้หลายอุปกรณ์ ผลการเทสคือ
ตัวเราเตอร์มันเกิดมาเพื่อเล่นเกมจริง ๆ แค่หน้า UI ตอน Config ก็สวยงามตามสไลต์เกมมิ่ง ส่วนประสิทธิภาพด้านการกระจาย Wi-Fi ยังคงถึงไหนถึงกัน ทะลุทะลวงได้ไกลเช่นเคย ส่วนความเสถียร แม้จะมีการเรียกใช้เน็ตจากหลายอุปกรณ์ ก็ยังเล่นเกมต่อได้ไม่สะดุด และแม้ไม่ใช่อุปกรณ์ที่มี Wi-Fi 6 ก็ยังใช้งานได้ดีอยู่ ส่วนข้อสังเกตยังมีบ้างคือ ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่เอาเรื่อง ต้องหาพื้นที่ให้มันหน่อย กับราคาที่ตามสเปกเลย..
สำหรับตัว TP-Link Archer AX11000 ก็มีราคาอยู่ที่ 15,990 บาท มาพร้อมประกัน Limited Lifetime Warranty โดย TP-Link ประเทศไทย หาซื้อได้แล้วที่ร้านค้าไอทีชั้นนำหรือร้านค้าออนไลน์ Shopee , Lazada
Shopee http://bit.ly/2kMQNPW
Lazada http://bit.ly/2lUChpB
พิเศษเฉพาะช่วงนี้ รับไปเลยส่วนลด 1,000 บาท เมื่อใส่โค้ด TPLIAX012 เมื่อซื้อผ่านทาง TP-Link Shopee Mall หรือ TP-Link Official Store *โค้ดมีจำนวนจำกัด