เมื่อก่อนเราเตอร์มักมีดีไซน์คล้าย ๆ กันหมด รูปร่างคือยังไงก็ได้แต่ขอประสิทธิภาพไว้ก่อน ปัจจุบันมี Router จากหลาย ๆ แบรนด์ เรื่มใส่ใจเรื่องดีไซน์กันมากขึ้น เพื่อให้ตัวเราเตอร์ไม่ใช่แค่อุปกรณ์ แต่เป็นเหมือนของตกแต่งขึ้นหนึ่งกันเลย รีวิวนี้มาพบกับ TP-Link Archer A10 เราเตอร์ทรงสวย ที่มาพร้อมสเปกแรงไม่แพ้ดีไซน์ โดยมาพร้อมความเร็วระดับ AC2600 แบ่งเป็น 5GHz ความเร็ว 1733Mbps และ 2.4GHz ความเร็ว 600Mbps ทั้งนี้ยังมีฟีเจอร์ยอดนิยมอย่าง MU-MIMO, Band Steering และ Airtime Fairness สุดท้ายชิป NitroQAM ที่จะมาช่วยเพิ่มความเร็วของสัญญาณ Wi-Fi ให้แรงขึ้นอีก
สเปก TP-Link Archer A10
- ซีพียู : MediaTek MT7621AT (880 MHz, 2 cores)
- Wireless : IEEE 802.11ac/n/a 5GHz IEEE 802.11b/g/n 2.4GHz
- ความเร็วสูงสุด : 2600 Mbps แบ่งเป็น 2.4 GHz + 600 Mbps กับ 5 GHz + 1,733 Mbps
- เสาสัญญาณ : 3 External Antennas และ 1 Internal Antenna (ในตัว)
- พอร์ต : LAN x 4 และ WAN x 1
- ระบบความปลอดภัย : Enable/Disable SSID Broadcast, 64/128-bit WEP, WPA/WPA2, WPA-PSK/WPA-PSK2 encryptions, QSS, Wireless MAC Filter
- ฟีเจอร์ : MU-MIMO, Band Steering, Airtime Fairness และ NitroQAM
- ขนาด : 216 x 164 x 36.8 mm
แกะกล่อง
- Wireless Router Archer A10 ตัวเครื่อง
- Power Adapter ชุดไฟเลี้ยง
- RJ45 Ethernet Cable สาย LAN x 1
- Quick Installation Guide ชุดคู่มือ
วัสดุและดีไซน์
หน้าตาตัว TP-Link Archer A10 มาในโทนสีดำล้วน พร้อมผิวมันเงาตัดกับผิวด้านที่เป็นช่องระบายความร้อน กับใส่ตำแหน่งไฟ LED แจ้งสถานะผ่ากลาง สรุปคือ เอาไปวางตั้งกับโซนโชว์ของประดับในบ้านหรือออฟฟิตได้เลยครับ
TP-Link Archer A10 ก็มาพร้อมเสาสัญญาณ 4 เสาด้วยกัน
ส่วนเสาตัวที่ 4 ก็อยู่ข้างใน ซึ่งช่วยให้ตัว TP-Link Archer A10 สามารถกระจายสัญญาณ Wi-Fi ได้ครอบคลุมขึ้น และรองรับการใช้งานได้ถึง 60 อุปกรณ์กันเลย
พอร์ต LAN x 4 และ WAN x 1 แบบ 10/100/1000Mbps ทั้งหมด โดยแยกช่อง LAN กับ WAN กันชัดเจน
ด้านข้างก็มีปุ่มเปิดปิด Wi-Fi ยามไม่ใช้งาน กับปุ่ม Reset และ WPS
ตรงช่องหรือตะแกงระบายความร้อนตัวเครื่อง หากสังเกตดี ๆ จะเห็นการเล่นลวดลายเป็นมุมทะแยงด้วย ดูสวยงามไปอีกแบบ
นอกจากด้านบนแล้ว ก็มีแผงระบายความร้อนใต้เครื่องด้วยเช่นกัน
การใช้งาน
การติดตั้งใช้งานครั้งแรกก็เหมือนเคย นำตัว TP-Link Archer A10 มาต่อกับ Modem Router ประจำบ้าน จากนั้นก็ต่อ Wi-Fi จากตัวเครื่อง และเปิดแอพฯ ‘Tether’ ขึ้นมา (โหลดและติดตั้งฟรี ทั้ง Android กับ iOS)
ตั้งค่าชื่อและรหัส Wi-Fi สำหรับเชื่อมต่อใหม่ให้เรียบร้อย
จากนั้นก็เข้าสู่หน้าตั้งค่าของ TP-Link Archer A10 ผ่านแอพฯ Tether
ลองใช้งานส่วน Parental Control หรือฟีเจอร์ควบคุมการใช้งานเน็ต ในตัว TP-Link Archer A10 หลังเพิ่มบํญชีใช้งานเสร็จ มันจะให้เราระบุชื่อเว็บที่ต้องการ Block ทันที จากนั้นก็ตามการกำหนดเวลาใช้งานในแต่ละวันอย่างละเอียด และระบุตัวอุปกรณ์ที่ต้องการควบคุม ซึ่งหลังตั้งค่าอะไรเสร็จ ก็สามารถเซพการตั้งค่าทั้งหมด แล้วทำเป็นปุ่มเปิดปิดฟีเจอร์นี้ สำหรับอุปกรณ์นี้ได้ภายหลัง
ฟีเจอร์อื่น ๆ ก็มี ปุ่มเช็คประสิทธิภาพตัวเราเตอร์ในปุ่มเดียว, ตั้งค่า Guest Wi-Fi, แปลงชื่อและรหัส Wi-Fi เป็น QR-Coed และสลับโหมดการทำงานตัวเราเตอร์ระหว่าง Wi-Fi Router กับ Access Point
ประสิทธิภาพ
ในการเทสประสิทธิภาพรอบนี้ ก็จะวัดความแรงกับความเสถียรเหมือนเคย
โดยตัวเครื่องจะอยู่ที่ห้องทำงาน ส่วนการทดสอบจะลองไปอยู่ที่ฝั่งห้องนอน เพื่อดูว่าตัว TP-Link Archer A10 จะส่งสัญญาณ Wi-Fi มาถึงหรือไม่ และจะตกไปขนาดไหน
รอบแรกลองวัดสัญญาณ Wi-Fi ผ่านคลื่น 2.4GHz จากระยะใกล้ ก็ได้ความเร็วตามที่สมัคร (100/30) และสัญญาณ Wi-Fi แรงกว่าตัว Modem Router ประจำบ้าน (T*** home2G_sBG) ชัดเจน
สุดท้ายลองไปยืนฝั่งห้องนอนที่อยู่ห่างออกไปพอควร ลองเชื่อมต่อผ่านคลื่น 2.4GHz ก็มีสัญญาณตกไปประมาณ -62 dBm วัดความเร็วได้ 66.3 Mbps ตามสภาพ
ทว่าลองเชื่อมต่อผ่านคลื่น 5GHz ตัวสัญญาณตกไปถึง -76 dBm ตามสภาพคลื่น ที่สัญญาณไม่ได้ส่งได้ไกลเหมือนคลื่น 2.4GHz แต่ความเร็วกลับได้เกิน 100Mbps ขึ้นไปซะงั้น แม้จะอยู่ห่างจากตัวเครื่องค่อนข้างมากก็ตาม
สรุป
TP-Link Archer A10 เปิดราคามาที่ 3,990 บาท (บอกราคาตั้งแต่เริ่มเลยละกัน) ในราคานี้ เราได้เราเตอร์ความเร็วระดับ AC2600 พร้อมฟีเจอร์ MU-MIMO, Band Steering, Airtime Fairness และ NitroQAM กับดีไซน์สวยหรู และเสาสัญญาณถึง 4 ต้น ซึ่งสามารถกระจายสัญญาณ Wi-Fi ได้ครอบคลุมดี โดยส่วนที่น่าตกใจคือ ตัวคลื่น 5Ghz มีความเสถียรกว่าที่คิด แม้ตัวสัญญาณจะอ่อนลงจากความห่าง แต่ก็ยังได้ความเร็วตามเกณฑ์ 100/30 จากการทดสอบก็พอจะเห็นกันแล้ว ดังนั้นสำหรับใครที่อยากได้เราเตอร์ดี ๆ สักตัว เอาแบบไม่ถูกจนเกินไป แต่ก็ไม่แพงจนเกินไปเช่นกัน TP-Link Archer A10 ก็เป็นคำตอบที่ดีเลยครับ