ต่อจาก Part พรีวิว รอบนี้มาพบกับ รีวิว Linksys EA8300 Max-Stream AC2200 เราเตอร์ Wi-Fi ที่มาพร้อมการปล่อยสัญญาณ 3 ความถี่หรือ Tri-Band ในตัวเดียว แบ่งเป็น 2.4 GHz กับ 5 GHz + 5 GHz เหมาะสำหรับบ้านขนาดกลาง – ใหญ่ ที่อุดมไปด้วยอุปกรณ์ไร้สายหลาย ๆ ตัว (หรือครอบครัวมีหลายสมาชิก) และมักมีการใช้งาน Wi-Fi พร้อม ๆ กัน ทั้งนี้ตัว EA8300 ยังมีเทคโนโลยีจาก Linksys ที่รองรับสถานการณ์นี้นอกเหนือจาก Tri-Band ด้วยเหมือนกัน อาทิ Advance Beamforming, Linksys Smart Connect และ Seamless Roaming ก็มีส่วนช่วยให้สัญญาณมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นอีก
รายละเอียดสเปก Linksys EA8300 Max-Stream
- Tri-Band AC2200 – ความเร็ว 2.4 GHz : 400 Mbps, 5 GHz : 867 Mbps และ 5 GHz : 867 Mbps
- หน่วยประมวล Quad-Core 716Mhz (เทียบเท่า 1.4Ghz Dual-Core) 32-bit ทำงานร่วมกับ ARMv7 , 5.5K DMIPS
- หน่วยความจำ 256MB
- เสาสัญญาณประสิทธิภาพสูง 4 เสา
- เทคโนโลยี MU-MIMO (Wireless-AC Wave 2) รองรับเนื้อหา 4K และการเชื่อมต่ออุปกรณ์หลาย ๆ ตัวพร้อมกัน
- เทคโนโลยี Advance Beamforming เพิ่มความเสถียรของสัญญาณ
- Linksys Smart Connect เลือกย่านความถี่อัตโนมัติ
ฟีเจอร์โดยรวม
แกะกล่อง
ในกล่องก็มาพร้อมตัวเราเตอร์, สาย LAN, ชุดคู่มือ และชุดไฟเลี้ยง ที่มีหัวแปลงปลั๊กไฟให้อีก 4 แบบเลย
วัสดุและการออกแบบ
หน้าตาของ Linksys EA8300 ยังออกแบบในสไตล์เดิมที่คุ้นเคย ตัวเครื่องใช้วัสดุพลาสติกสีดำทั้งตัว ทำให้มีน้ำหนักเบา มีช่องระบายความร้อนทั้งข้างบนและล่าง
พอร์ตเชื่อมต่อด้านหลังประกอบได้ด้วย Gigabit WAN x 1 กับ Gigabit LAN x 4 ทั้งสองพอร์ตนี้จะมีไฟ LED แจ้งเตือนสถานะการเชื่อมต่อด้วย ที่เหลือก็มี USB 3.0 x 1 และช่องต่อไฟเลี้ยง ส่วนปุ่ม Reset (ที่สามารถกดได้เลย ไม่ต้องเอาเข็มจิ้ม) กับเปิดปิดเครื่องก็อยู่ด้านหลังเช่นกัน
เสาส่งสัญญาณประสิทธิภาพสูง 4 เสา มาพร้อม 3 ย่านความถี่ Tri-Band ในความเร็ว AC2200 (867 Mbps 5GHz + 867 Mbps 5 GHz + 400 Mbps 2.4 GHz) สามารถกระจายสัญญาณ Wi-Fi ได้ 3 แบบอาทิ 2.5Ghz กับ 5GHz ที่แยกเป็นแบบ 5GHz Lo และ 5GHz Hi
ตรงบริเวณพลาสติกเงามีช่องไฟ LED บอกสถานะตัวเครื่อง
รายละเอียดตัวเครื่องและชื่อรหัส Wi-Fi เริ่มต้นอยู๋ด้านหลังตัวเครื่อง
ปุ่ม WPS (Wifi Protection System) ที่ซ่อนตรงฝั่งขวามือของตัวเครื่อง
การ Setup
การติดตั้งหรือตั้งค่าเครื่องครั้งแรก ทำได้ง่ายมาก เริ่มแรกก็ต่อสาย Power และสาย LAN กับตัว Modem Router ที่มีอยู่เข้ากับตัวเครื่อง Linksys EA8300 ตามพื้นฐานเลย
ไฟ LED แจ้งเตือนสถานะที่พอร์ตเชื่อมต่อด้านหลัง
หลังต่อสายอะไรเรียบร้อยแล้ว ก็เข้าสู่หน้าตั้งค่าหรือ Config ได้ทางเว็บ linksyssmartwifi.com หากมีการเชื่อมต่อตัวเครื่องเข้ากับคอมฯ ที่ใช้อยู่ มันจะเข้าสู่หน้าตั้งค่าใช้งานครั้งแรกก่อนเลย
การตั้งค่าครั้งแรกก็ไม่มีอะไรมาก มันจะให้เราตั้งชื่อรหัส Wi-Fi และรหัสเข้าหน้า Config ของตัวเครื่อง
การใช้งาน
หลังตั้งค่าใช้งานครั้งแรกเสร็จแล้ว ก็เข้าสู่หน้า Config อย่างเป็นทางการ ในหน้าแรกมันจะแสดงค่าสถานะต่าง ๆ ของตัวเครื่องแทบจะครบครันกันเลย
ทั้งนี้หากเราสร้างชื่อรหัสเข้าหน้า Config ตัวเครื่องแล้ว ก็สามารถเอามา Log-In ผ่านแอพฯ Linksys Smart Wi-Fi บนสมาร์ทโฟนได้ด้วย ในหน้าเราสามารถตั้งค่าการใช้งานได้ละเอียดพอ ๆ กับหน้าเว็บ ต้องยอมรับว่า Linksys ทำหน้าตั้งค่าได้สวยงามทั้งบนเว็บและบนสมาร์ทโฟนเลยครับ
ประสิทธิภาพ
ทดสอบความแรงของคลื่น Wi-Fi
ทดสอบความเร็วผ่านเว็บ ก็ได้ค่าความเร็วตามที่ใช้บริการจริง แม้จะอยู่ห่างตัวเครื่องก็ตาม
สรุป
ในรีวิวนี้ไม่ได้ทดสอบฟีเจอร์และประสิทธิภาพมากนัก เนื่องด้วยอุปกรณ์ที่มีน้อยนิดเพียง 2 อย่าง ทำให้ไม่ได้เห็นประสิทธิภาพของตัวเครื่องจริง ๆ ไม่เหมือนกันรอบพรีวิว ที่มีโอกาสเทสการเชื่อมต่อของอุปกรณ์พร้อมกันเกือบ 40 ตัวกันเลย ผลเทสครั้งนั้นก็ได้ออกมาว่า “ใช้ได้” สามารถให้สัญญาณได้แรงและเสถียรแทบไม่มีตกหล่น ส่วนการเทสรอบนี้จะเน้นไปทางการตั้งค่าที่เป็นอีกจุดเด่นหนึ่ง ต้องขอชมเลยว่า ตั้งค่าง่ายมาก หน้า UI ก็สวยงามน่าใช้จริง ๆ ส่วนฟีเจอร์พื้นฐานก็มีมาให้ครบ ท้้ง Parental Controls, Guest Network และ QoS สำหรับราคา Linksys EA8300 ก็อยู่ที่เพียง 6,990 บาท ครับ
ข้อดี
- เป็นเราเตอร์ Tri-Band ที่ถูกคุ้มที่สุดเท่าที่เคยเห็น
- ประสิทธิภาพเครื่องสูงพอควร แม้จะเป็นรุ่นเริ่มต้นของซีรีย์นี้ก็ตาม
- การติดตั้งและตั้งค่าง่ายมาก หน้า Config ก็สวยงามมากเช่นกัน
- มีเทคโนโลยีที่รองรับการเชื่อมต่อหลาย ๆ อุปกรณ์มากมาย
ข้อสังเกต
- ระบบ Linksys Smart Connect เลือกย่านความถี่ที่เชื่อมต่ออัตโนมัติ อาจทำให้สับสนอยู่บ้าง
- คลื่น 2.4 GHz ไม่ได้แรงจนสุดตามที่คาดไว้