รีวิว : HP Elite X2 (2017) มาดใหม่ของแท็บเล็ตพีซี 2-in-1 ระดับองค์กร

HP Elite X2 รุ่น 2017 แท็บเล็ตพีซี 2-in-1 ระดับองค์กร ที่มาพร้อมสเปกใหม่อย่างซีพียู Intel Core และการออกแบบต่างจากเดิมเล็กน้อย

เมื่อปีที่แล้ว เคยได้ลองเล่นตัว HP Elite X2 มาแล้ว โดยตอนนั้นเป็นรุ่น 2016 และได้เขียนเป็นพรีวิวไปเรียบร้อย ล่าสุดก็ได้กลับมาจับมันอีกครั้ง แต่รอบนี้เป็นรุ่น 2017 ที่ได้มีการอัพเกรดสเปกใหม่ และมีการออกแบบต่างจากเดิมเล็กน้อย โดยรวมก็ยังคงเป็นแท็บเล็ตพีซี 2-in-1 ระดับองค์กร ที่เด่นในเรื่องความทนทาน มีชิป Cellular (ใส่ SIM ได้) และฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยที่สูงกว่าอุปกรณ์ทั่ว ๆ พอควร ส่วนจะเป็นยังไง ประสิทธิภาพดีขึ้นกว่าเดิมขนาดไหน มาติดตามรีวิวในครั้งนี้กันครับ

สเปก HP Elite X2 (2017) (ดูรายละเอียดสเปกแบบเต็ม ๆ ได้ที่นี้)

Display : หน้าขนาด 12.3 นิ้ว Diagonal ความละเอียด WQXGA+ (2736 x 1824) มาพร้อม Corning Gorilla Glass 4
CPU : Intel Core i5-7200U   
VGA :  Intel HD Graphics 620
RAM : 8GB LPDDR3-1866 
SSD : 256GB
Wireless :  Intel Dual Band Wireless-AC 8265 802.11 และ Bluetooth 4.2 Combo (vPro)
Port : USB 3.1 Type-C Thunderbolt x 1, USB 3.0 x 1, Micro SD x 1, SIM x 1 และ 3.5 mm headphone/microphone combo jack x 1
Webcam : กล้องหน้าความละเอียด 5 ล้านพิกเซล
Audio : ลำโพงคู่จาก Bang & Olufsen
Size :  11.81 x 8.65 x 0.36 in (เฉพาะตัวแท็บเล็ต) กับ 11.81 x 8.65 x 0.57 in (แท็บเล็ต + คีย์บอร์ด)
Batterry :  HP Long Life 4-cell, 47 Wh Li-ion
OS : Windows 10 Pro
Warranty : On-Site Service 3 ปี

แกะกล่อง

ต้องบอกก่อนว่า พวกอุปกรณ์ระดับ Commercial หรือองค์กรนั้น ส่วนมากจะต้องสั่งจอง โดยการสั่งจองนั้น เราสามารถเลิือกอุปกรณ์เสริมหรือสเปกเพิ่มเติมได้ ในรุ่นที่ผมรีวิวนี้ ก็มีอุปกรณ์เสริมเพิ่มมา 2 ตัวคือ HP USB 3.0 to Gigabit Adapter และ HP USB-C Travel HUB ดังนั้นอาจไม่ใช่ของแถม แต่เป็นของที่ถูกสั่งเพิ่มเข้ามานั้นเองครับ ที่เหลือก็เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ต้องมีในกล่องอย่าง

  • แท็บเล็ต HP Elite X2
  • เคสคีย์บอร์ด
  • ปากกา HP Active Pen
  • ชุดไฟเลี้ยงขนาด 65 W USB Type-C AC adapter
  • ชุดคู่มือ

ส่วนรายละเอียดการสั่งจองดูได้ที่นี้ HP Store (US)

วัสดุและการออกแบบ

ส่องกันที่ด้านหลังตัวเครื่องก่อนเลย HP Elite X2 รุ่นปี 2017 มาพร้อม Logo แบบใหม่ของ HP ที่มีลักษณะเป็นขีด ๆ 4 เส้น ชุปโครเมียมเงางาม ช่วยให้ตัวเครื่องดูมีความพรีเมี่ยมกว่ารุ่นก่อนมาก ๆ (รุ่นก่อนใช้ Logo รูปตัวอักษร HP ปกติ ดูธรรมดาสุด ๆ) ส่วนวัสดุก็เป็นโลหะผสมอลูมิเนียมแบบเดียวกับเครื่องบิน ที่มีความแข็งแรงทนทานเป็นพิเศษ ผ่านการทดสอบจาก Military Standard (MIL-STD) เหมือนเคย หายห่วงเรื่องความคงทน

ส่วนตัว HP Travel Keyboard หรือเคสคีย์บอร์ด ที่แถมมากับตัวเครื่อง

ประกอบร่าง !!

ชื่อรุ่นที่สลักอยู่บนเคสคีย์บอร์ด

กล้องหลังความละเอียด 8 ล้านพิกเซล พร้อมแฟลช LED และ Dual array microphone ไมโครโฟนคู่ ที่ด้านหลังก็มีที่สแกนด้านนิ้วมือออกแบบใหม่ จากเดิมเป็นขีดเล็ก ๆ ก็เปลี่ยนใหม่เป็นช่องสี่เหลี่ยมให้สแกนได้ง่ายขึ้น

ตัว Clickpad หรือ Mouse Pad บนคีย์บอร์ด รองรับการใช้งานแบบ Multitouch Gestures ด้วย กล้องหน้าความละเอียด 5 ล้านพิกเซล ส่วนกล้องหลัง 8 ล้านพิกเซล ข้าง ๆ กันก็มีเซ็นเซอร์วัดแสง และที่สแกนใบหน้ารองรับการทำงานร่วมกับ Windows Hollo ของ Windows 10 และสุดท้ายลำโพงคู่จาก Bang & Olufsen ที่ฝังอยู่ขอบมุมบนซ้ายขวาของหน้าจอเครื่อง

ขาตั้งแบบอลูมิเนียมอัลลอยด์ สามารถกางได้ 150 องศาเหมือนเคย

แม่เหล็กคียบอร์ดติดหน้าจอ ที่ช่วยดันคียบอร์ดให้สูงขึ้น จะได้เพิ่มง่ายกว่าเดิม

การใช้งาน

ในส่วนหน้าจอสัมผัสขนาด 12.3 นิ้ว ก็มาพร้อมความละเอียด WQXGA+ (2736 x 1824) เคลือบด้วยกระจก Corning Gorilla Glass 4 เพิ่มความทนทานและเงางาม ทั้งนี้ตรง Logo ก็เป็นแบบใหม่ด้วยเหมือนกัน

สำหรับหน้าจอ ก็สมกับที่เป็นอุปกรณ์ระดับองค์กร สวยงามคมชัดมาก แต่ถ้าใครใช้งานครั้งแรก อาจจะรำคาญเซ็นเซอร์วัดแสงบนตัวจอเล็กน้อย จนสุดท้ายต้องปิดแล้วปรับระดับความสว่างเอาเอง ซึ่งก็สู้แสงอาทิตย์ได้ดีครับ หากปรับความสว่างจนเกือบสุด

ด้านบนเป็นที่ระบายความร้อนตัวเครื่องเกือบทั้งแถบ ส่วนพอร์ตเชื่อมต่อหลัก ๆ ก็มี USB 3.1 Type-C Thunderbolt และ USB 3.0 อย่างล่ะช่อง นอกนั้นก็ Micro SD  กับช่องใส่ SIM ที่ต้องใช้เข็มแทงเพื่อดึงตัวถาดใส่ออกมา   

ตัวแท็บเล็ตและเคสคีย์บอร์ดที่ยืดกันด้วยแม่เหล็ก ที่มีแรงดูดพอควร ไม่หลุดออกง่าย ๆ แม้จะยกแค่ตัวเคสคีย์บอร์ดก็ตาม (แต่ก็อย่ายกแล้วเขย่าเป็นพอ…)

เคสคีย์บอร์ดโลหะผสมแบบตัวกับเครื่อง ทำให้มีน้ำหนักอยู้บ้าง ตัวแป้นพิพม์ก็มาพร้อมไฟ LED Backlit สีขาว (อมฟ้า) โดยรวมยังเหมือนกับรุ่น 2016 แทบไม่ต่างเลย

ตัวปากกา HP Active Pen ที่มาพร้อมเทคโนโลยีจาก Wacom ด้วย แต่ยังต้องใช้ถ่านขนาด AAAA หนึ่งก้อน และเชื่อมต่อตัวปากกาผ่าน Bluetooth

ตัวปากกายังคงรองรับแรงกดได้ 2048 ระดับเหมือนเคยครับ

ลองเทสปากกาแบบตามมีตามเกิด ก็พอวาดรูปกับเขียนตัวอักษรได้ดีระดับหนึ่ง

ประสิทธิภาพ

จากสเปกที่มีแต่ซีพียู Intel ตระกูล Core M จนโดนสบประมาทพอควร พามารุ่นปี 2017 ก็เพิ่มตัว Core I เข้ามาแล้ว โดยรุ่นที่รีวิวนี้ก็ใช้ซีพียู Intel Core i5-7500U พร้อมแรม 8ฺGB และ SSD ขนาด 256GB

รายละเอียดสเปกจาก GPU-Z

ลองวัดประสิทธิภาพด้วย Cinebench R15 ก็ได้คะแนน OpenGL ไป 28.87 fps และ CPU กับคะแนนไป 277 cb ตามสภาพซีพียูที่มีรหัส U ตามท้าย แต่ดูดีกว่าซีพียู Intel ตระกูล Core M ในรุ่นก่อน

โปรแกรมจำลองการเข้ารหัสหรือแปลงไฟล์ เพื่อเทสพลังซีพียูอีกตัว ได้ความเร็วที่ 11.06 fps ถือว่าไม่แรงมาก ตามสเปกของแท็บเล็ตพีซี 2-in-1 ที่เน้นใช้งานแบบพกพามากกว่า

ทดสอบความเร็วอ่าน/เขียนของ SSD ขนาด 256GB แบบ M2 ก็ต่ามภา่พเลยครับ สูงอยู่

แม้ประสิทธิภาพจะไม่สูงมากนัก แต่ในเรื่องการระบายความร้อนต้องขอชมเลย ทำได้ดีมาก แม้จะลองใช้งานหนัก ๆ อย่างการเล่นเกม ความร้อนก็ยังอยู่ที่ระดับ 59 – 66 องศาเท่านั้น ทั้งนี้ในเรื่องแบตฯ ก็มีอายุการใช้งานได้ยาว ๆ 7-8 ชั่วโมง ถ้าเชื่อมต่อ 3G/4G ด้วย ก็ราว ๆ 6-7 ครับ

เนื่องจากตัวเครื่องมีที่ใส่ SIM จึงมีการเชื่อมต่อผ่านชิป Cellular เป็นอีกตัวเลือกในนี้ด้วย

และสำหรับโปรแกรมด้านความปลอดภัยที่ติดมากับตัวเครื่อง HP Elite X2 ก็ตามนี้เลย

โปรแกรมปรับเสียงจาก Bang & Olufsen กับ HP Client Security สำหรับตั้งค่าที่สแกนลายนิ้วมือ และ HP WorkWise ตัวช่วยด้านความปลอดภัย

สรุป

หากพูดถึงแท็บเล็ตพีซี 2-in-1 ในตอนนี้ หลายคงคงนึกถึง Surface Pro ก่อนแน่ แต่ด้วยที่ HP Elite X2 เป็นสินค้าระดับองค์กร ทำให้ได้เปรียบในเรื่องวัดสุที่หรูหราทนทานกว่า ทั้งยังมีฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยมากมายด้วย จึงถือเป็นอีกทางเลือก สำหรับใครอยากได้อุปกรณ์ที่สุดในด้านนี้จริง ๆ แน่นอนว่าต้องแลกกับราคาที่บวกเพิ่มไปไม่น้อย อย่างตัว HP Elite X2 (2017) ที่เริ่มต้นก็ประมาณ 35,XXX แล้ว ส่วนรุ่นที่ผมรีวิวนี้ ก็อยู่ที่ 48,XXX บาทกันเลย อย่าลืมว่ามันมีชิป Cellular ที่รองรับการใช้งาน 4G LTE Modem ในตัวด้วย ทำให้มีราคาเพิ่มขึ้นเยอะ

ข้อดี

  • หน้าจอสวยคม สว่างสดใสมาก
  • Logo แบบใหม่ของ HP ช่วยเพิ่มจุดเด่นได้เยอะ
  • ตัวเครื่องแข็งแรงทนทานพอสมควร งานประกอบแน่นหนาดี
  • ระบบระบายความร้อนดีงามมาก
  • แบตฯ ใช้งานได้ยาว
  • มีชิป Cellular ในตัว และพอร์ตความเร็วสูง Thunderbolt ด้วย

ข้อสังเกต

  • ประสิทธิภาพยังถือว่าธรรมดา
  • โดยรวมแทบไม่ต่างจากรุ่นก่อนหน้าเลย
  • ราคาต่อสเปกแพงมาก และหาซื้อยาก
  • ตัวเครื่องเป็นอลูมิเนียมทั้งจอและคีย์บอร์ด ทำให้มีน้ำหนักเยอะกว่าที่คิด