รีวิวเครื่องพิมพ์ฉลาก brother PT-D200 รุ่น “Rilakkuma” มาพร้อมลวดลายหรือสัญลักษณ์ของ Rilakkuma ถึง 34 แบบ และกรอบข้อความ Rilakkuma ถึง 22 แบบ ให้แฟนคลับหรือผู้ใช้ได้เลือกสรรค์อย่างจุใจ
เครื่องพิมพ์ฉลาก หรือเรียกแบบเพราะ ๆ ว่า Label Printer เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้เราสร้างฉลากหรือสติ๊กเกอร์ข้อความ สำหรับติดบนวัตถุและอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และยังมาพร้อมลวดลายสำเร็จรูปมากมาย ช่วยให้เราออกแบบตัวฉลากตามความคิดสร้างสรรค์ โดยไม่ต้องมานั่งวาดเองให้เสียเวลาด้วย ตรงจุดนี้เองจึงเป็นที่มาของ brother PT-D200RK เครื่องพิมพ์ฉลากรุ่นสุดมุ้งมิ้ง ที่มาพร้อมลวดลายของ “Rilakkuma” มากมาย เพื่อเอาใจแฟนคลับเจ้าหมี (คุมะ) ขี้เกียจตัวนี้โดยเฉพาะ
สำหรับ P – Touch รุ่น D200RK (หรือ PT-D200RK) จาก brother ตัวนี้ ก็มาพร้อมลวดลายหรือสัญลักษณ์ของ Rilakkuma ถึง 34 แบบ และกรอบข้อความ Rilakkuma ถึง 22 แบบ ให้ผู้ใช้ได้เลือกสรรค์อย่างจุใจ ทั้งนี้ก็ยังมีลวดลายอื่น ๆ ให้เลือกใช้อีกมากมายอีกด้วยเหมือนกัน
รายละเอียด brother PT-D200RK
- พิมพ์เทป TZe ความกว้างสูงสุด 12 มิลลิเมตร (แถมฟรีเทปลามิเนต TZe-RY31 ยาว 5 เมตร 1 ชุด)
- พิมพ์ตัวอักษรได้ 2 บรรทัด
- ความเร็วในการพิมพ์ 20 มิลลิเมตร/วินาที
- กรอบข้อความ ภายในตัวเครื่อง 97 กรอบ (รวมกรอบข้อความ Rilakkuma 22 แบบ)
- สัญลักษณภายในตัวเครื่อง 651 สัญลักษณ์ (รวมสัญลักษณ์ Rilakkuma 34 แบบ)
- ใช้ถ่านขนาด AAA จำนวน 6 ก้อน
- ขนาดตัวเครื่อง 165x155x68 มิลลิเมตร
แกะกล่อง
ดีไซน์
รูปร่างก็ยังคงสไตล์แบบรุ่น P – Touch เช่นเคย ตัวเครื่องไม่ใหญ่มาก ใช้พลาสติกทั้งตัว น้ำหนักเบาถือมือเดียวได้สบาย แต่ที่สะดุดตาก็ต้องเป็นสีตัวเครื่อง ที่ใช้สีน้ำตาลตัดเหลืองตามธีม Rilakkuma ทำให้ตัวเครื่องดูมุ้งมิ้งน่ารักไม่แพ้รุ่น Kitty ที่เคยทำก่อนหน้าเลยครับ
ตัวคีย์บอร์ดเป็น QWERTY (ใครเคยใช้ Blackberry จะคุ้นเคยดี) ตัวปุ่มเป็นยาง ซึ่งออกแบบให้นู้นเฉียงรับกับแป้นพิมพ์ที่สไลค์ลงมาด้วย ทำให้กดพิมพ์ง่ายขึ้น
หน้าจอ ไม่มีไฟในตัว ทำให้ต้องพึงแสงในการมอง และหากยกตัวเครื่องสองมือต้องต้องเพ่งหามุมดี ๆ ในการมองหน่อยถึงจะเห็นจอชัด ๆ
ปุ่มกดสำหรับตัดฉลาก ที่วางตำแหน่งให้ตรงกับนิ้วชี้หรือนิ้วโป้งเป๊ะ ๆ
ด้านหลังตัวเครื่อง ก็จะเป็นตำแหน่งปริ้นฉลากนี้เอง ทั้งนี้ยังมีช่องเสียบไฟเลี้ยง DC-in-9V ด้วย (แต่ไม่แถมชุดไฟเลี้ยงให้) และช่องรองรับสายคล้องกันหาย
ใต้เครื่องเป็นที่ถอดฝาหลังเพื่อเปลี่ยนตัวเทปลามิเนตนี้เอง และตัวฝาหลังก็ยังมีช่องสี่เหลี่ยมใส คอยระบุว่าเราใช้เทปลามิเนตแบบไหนอยู่ด้วย
การใช้งาน
ตัว PT-D200RK สามารถออกแบบข้อความบนฉลากได้หลากหลายมาก ๆ ในเครื่องยังมีสัญลักษณ์และกรอบข้อความนอกเหนือจากลาย Rilakkuma ให้เลือกอีกเพียบ เราสามารถนำเอาลายต่าง ๆ มาประกอบเป็นข้อความบนฉลากได้อย่างไม่รู้จบ (รูปแบบมันเยอะจริง ๆ ครับ) ดังนั้นผมจะลองไล่ดูทีล่ะฟังก์ชั่น เพื่อขอดูไปเลยว่ามันทำอะไรได้บ้าง และใช้ยังไง
กำหนดภาษา
สลับเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาไทยได้
พิมพ์นามบัตรจิ๋ว
ในปุ่ม Menu จะมีคำสั่ง Name Label หรือฟอร์แมตสำหรับทำนามบัตรให้เลือกในนี้ด้วย
เลือกรูปแบบตัวอักษร
กำหนดรูปแบบตัวอักษร อยากได้ตัวอักษรใหญ่ เล็ก หรือแนวตั้งก็ทำได้
Rilakkuma !!
กรอบข้อความและสัญลักษณ Rilakkuma ที่มีเฉพาะในเครื่องพิมพ์ฉลากรุ่น D200RK นี้เท่านั้น
เลือก Layout ข้อความ
สำหรับใครที่อยากได้สติ๊กเกอร์ติดขอบเก๋ ๆ ก็ลองมาดูในฟังค์ชั่นนี้ได้
ปรับความห่างของข้อความ
หากตอนพิมพ์งานแล้วรู้สึกว่าตัวอักษรมันห่างกันไป ก็สามารถปรับใหม่ในนี้ได้
บันทึกผลงาน
ตัวเครื่องสามารถบันทึกตัวข้อความฉลากที่เราออกแบบได้ 9 รูปแบบ (หรือ 9 slot)
พิมพ์ผลงาน
ก่อนกดพิมพ์งาน มันจะถามก่อนว่าอยากได้งานกี่ Copies และสามารถดูตัวอย่างผลงานก่อนพิมพ์ได้ (ปุ่มไอคอนรูปแว่นขยาย) เมื่อพิมพ์งานออกมาแล้ว ให้เรากดปุ่มตัดตัวเทปออก เท่านี้เราก็ได้ฉลากข้อความตามที่ต้องการแล้ว
ตัวอย่างผลงาน
สรุป
ตัวเครื่องใช้งานง่ายกว่าที่คิด ทำความคุ้นเคยไม่นาน ก็ออกแบบตัวฉลากได้ตามที่ต้องการแล้ว ด้วยตัวเครื่องที่อ้วนอวบอยู่แล้ว พอมาเป็นสีเหลืองน้ำตาลก็ช่วยเพิ่มความมุ้งมิ้งเขาไปอีก สำหรับฟังก์ชั่นภายในเครื่องก็มีให้เลือกใช้หลายอย่างมาก ๆ จนเลือกใช้ไม่หมด ส่วนลายพิเศษอย่าง Rilakkuma ก็ทำออกมาได้น่ารักจริง ๆ กระนั้นก็ยังมีลายอื่น ๆ ที่น่าสนใจอยู่หลายแบบ แต่ก็ต้องติเรื่องหน้าจอที่แอบดูยากไปนิด เพราะไม่มีไฟในตัว (เข้าใว่าแลกกับใช้พลังงานเครื่องให้น้อยลง) กับมีช่องเสียงไฟเลี้ยงแต่ไม่มีชุดไฟเลี้ยงมาให้ แต่ก็ให้อภัยในความสามารถของมันครับ สำหรับค่าตัวของ brother PT D200RK Rilakkuma ก็อยู่ที่ 2,590 บาทเท่านั้น
ข้อดี
- ตัวเครื่องน่ารักน่าถนอมมาก เหมาะสำหรับสาว ๆ
- ใช้งานง่ายกว่าที่คิด (อาจจะงง ๆ ช่วงแรก แต่พอชินแล้วจะมันมือมาก)
- มีฟังก์ชั่นหลากหลาย
- มีลวดลายให้เลือกมากมาย โดยเฉพาะลาย Rilakkuma
- ตัวเทปลามิเนตมีความเหนียวพอควร และไม่ทิ้งคราบกาวบนวัตถุ
ข้อเสีย
- จอดูยากไปนิด