การวิจัยล่าสุดของแคสเปอร์สกี้แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงเชิงบวกระหว่างการนำการชำระเงินดิจิทัล (Digital Payment) มาใช้กับการตระหนักถึงความเสี่ยงและภัยคุกคามที่เกี่ยวข้องในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ผลการศึกษาเรื่อง “Mapping a secure path for the future of digital payments in APAC” พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเกือบทั้งหมดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (97%) ตระหนักถึงภัยคุกคามต่อแพลตฟอร์มการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์อย่างน้อยหนึ่งประเภท และผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนเกือบสามในสี่ ( 72%) ประสบกับภัยคุกคามที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีนี้อย่างน้อยหนึ่งประเภท
ความตระหนักถึงภัยคุกคามนี้อาจเป็นผลมาจากปริมาณการรายงานข่าวของสื่อเกี่ยวกับเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีที่แล้ว รวมถึงความพยายามร่วมกันของภาครัฐและเอกชนในการส่งเสริมความตระหนักด้านความปลอดภัยในช่วงที่มีกระแสการใช้โมบายแบ้งกิ้งและ e-wallet เพิ่มขึ้นในภูมิภาค
ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนมากกว่าหนึ่งในสี่ (37%) พบกลอุบายด้านวิศวกรรมสังคมผ่านทางข้อความหรือการโทร เว็บไซต์ปลอม (27%) ข้อเสนอและดีลปลอม (27%) และจำนวนหนึ่งในสี่ (25%) ระบุว่าพบการหลอกลวงแบบฟิชชิ่ง
ที่น่าสังเกตคือ การหลอกลวงด้วยวิธีวิศวกรรมทางสังคมเป็นภัยคุกคามที่พบได้มากที่สุดสำหรับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่ นั่นคืออินโดนีเซีย (40%) มาเลเซีย (45%) ฟิลิปปินส์ (42%) สิงคโปร์ (32%) และเวียดนาม (38%) ยกเว้นประเทศไทยที่มีภัยคุกคามสูงสุดคือเว็บไซต์ปลอม (31%)
การพบภัยคุกคามทางไซเบอร์มากขึ้นอาจสัมพันธ์โดยตรงกับระดับการตระหนักรู้ถึงภัยคุกคามที่สูงขึ้น การหลอกลวงทางวิศวกรรมสังคม เว็บไซต์ปลอม ข้อเสนอและดีลปลอม เป็นหนึ่งในภัยคุกคามที่พบได้บ่อยที่สุด โดยมีเปอร์เซ็นต์การตระหนักรู้ถึง 72%, 75% และ 64% ตามลำดับ
ประเภทของภัยคุกคาม กลโกงบัญชีธนาคาร บัตรเครดิต การแฮกบัญชีจากเหตุละเมิดข้อมูล แอปปลอมและหลอกลวง แรนซัมแวร์ ข้อเสนอและดีลปลอม
น้อยกว่า 100 ดอลลาร์สหรัฐ 23% 22% 27% 16% 24%
101-500 ดอลลาร์สหรัฐ 13% 8% 9% 8% 9%
501-1000 ดอลลาร์สหรัฐ 6% 6% 2% 5% 4%
1,001-5,000 ดอลลาร์สหรัฐ 6% 2% 2% 4% 1%
5,001-10,000 ดอลลาร์สหรัฐ 1% 4% 2% 5% 0%
มากกว่า 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ 3% 4% 3% 7% 4%
ไม่เสียเงินเลย 48% 53% 55% 55% 57%
เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสำรวจที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ทางไซเบอร์ที่เกี่ยวข้องกับการชำระเงินทางดิจิทัล
เมื่อพูดถึงผลกระทบทางการเงินจากเหตุการณ์ทางไซเบอร์ที่เกี่ยวข้องกับการชำระเงินทางดิจิทัล จำนวนเงินที่สูญเสียส่วนใหญ่อยู่ในช่วงน้อยกว่า 100 ดอลลาร์สหรัฐถึง 5,000 ดอลลาร์สหรัฐ โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนน้อยมากที่ระบุว่าสูญเสียเงินมากกว่า 5,000 ดอลลาร์สหรัฐ
ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ (52%) ยอมรับว่าสูญเสียเงินเนื่องจากการฉ้อโกงบัญชีธนาคารและบัตรเครดิต ในกลุ่มนี้ จำนวน 23% สูญเงินน้อยกว่า 100 ดอลลาร์สหรัฐ จำนวน 13% สูญเงินระหว่าง 101-500 ดอลลาร์สหรัฐ และจำนวน 48% ระบุว่าไม่เสียเงินจากภัยคุกคามนี้
ภัยคุกคาม 5 อันดับแรกที่ส่งผลให้เกิดการสูญเสียทางการเงินในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่บัญชีถูกแฮกเนื่องจากการละเมิดข้อมูล (47%) แอปปลอมและหลอกลวง (45%) แรนซัมแวร์ (45%) และข้อเสนอและดีลปลอม (43%)
ในขณะเดียวกัน ผลกระทบของภัยคุกคามทางไซเบอร์สำหรับการชำระเงินทางดิจิทัล ไม่เพียงแต่สร้างภาระทางการเงินให้กับผู้บริโภคเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบในมุมจิตวิทยาอีกด้วย
หลังจากประสบกับเหตุการณ์ทางไซเบอร์ ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนมากกว่าสองในสามจากภูมิภาค (67%) กล่าวว่ามีความตื่นตัวระแวดระวังมากขึ้น จำนวนมากกว่าหนึ่งในสี่ (32%) กังวลเรื่องการนำเงินที่หายไปกลับคืนมา
ผู้บริโภคยังกังวลเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของผู้ให้บริการ จำนวน 36% ระบุว่ายังเชื่อมั่นว่าธนาคารและผู้ให้บริการกระเป๋าเงินโมบายว่าจะแก้ปัญหานี้ได้ แต่ 18% ระบุว่าไม่ไว้วางใจผู้ให้บริการชำระเงินดิจิทัล นอกจากนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่าหนึ่งในสี่ (30%) ตำหนิตัวเองในเรื่องความผิดพลาดที่เกิดขึ้น และยังมีผู้ตอบแบบสอบถามส่วนน้อย (12%) ที่ยอมรับว่าเข้าใจผิดกับคู่สมรส สมาชิกในครอบครัว และเพื่อนเพราะเรื่องภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เกี่ยวข้องกับการชำระเงินทางดิจิทัล
นางสาวแซนดร้า ลี กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า “การนำการชำระเงินดิจิทัลมาใช้ดูเหมือนจะเป็นดาบสองคม โดยมีประโยชน์ที่ดีด้านความสะดวกสบาย และความเสี่ยงด้านความปลอดภัยไซเบอร์นั้นเป็นแง่มุมที่ไม่ค่อยพึงปรารถนา ในทางตรงกันข้ามเราเชื่อว่าการจัดหมวดหมู่การชำระเงินดิจิทัลแบบไบนารี่นั้นยังไม่ถึงเวลา การชำระเงินดิจิทัลนั้นไม่มีคุณลักษณะที่ดีหรือไม่ดีเช่นเดียวกับเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่อื่นๆ วิธีที่เราใช้งานจะเป็นตัวกำหนดการใช้การชำระเงินดิจิทัลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ การตระหนักถึงประโยชน์ของการชำระเงินทางดิจิทัลอย่างเต็มที่ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมด รวมทั้งรัฐบาล ผู้ให้บริการชำระเงินดิจิทัล ผู้ใช้ รวมถึงบริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ จะต้องทำงานร่วมกันเพื่อสร้างระบบการชำระเงินที่มีเสถียรภาพ ปลอดภัย และรองรับสภาพแวดล้อมในอนาคต”
สำหรับการดำเนินการหลังจากพบภัยคุกคาม ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนเกือบสองในสาม (64%) ระบุว่า ได้เปลี่ยนรหัสผ่านและการตั้งค่าความปลอดภัยอื่นๆ ในแอปธนาคารและกระเป๋าเงินโมบาย ผู้ตอบแบบสอบถามครึ่งหนึ่ง (50%) โทรหาธนาคารหรือบริษัทกระเป๋าเงินโมบายเมื่อเจอภัยคุกคาม และ 45% แจ้งสมาชิกในครอบครัวและเพื่อนฝูงเรื่องเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
การป้องกันความปลอดภัยทางไซเบอร์ดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคมากขึ้นหลังจากพบภัยคุกคาม ผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่าหนึ่งในสี่ (26%) ระบุว่าได้ติดตั้งโซลูชั่นรักษาความปลอดภัยบนอุปกรณ์ที่ติดมัลแวร์ ในขณะที่ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนเท่ากัน (26%) ระบุว่า ได้ติดตั้งโซลูชั่นไว้แล้วไม่ว่าอุปกรณ์จะติดมัลแวร์หรือไม่ก็ตาม
การเริ่มต้นใหม่ก็เป็นทางเลือกเช่นกัน ผู้ตอบแบบสอบถาม 15% ระบุว่าได้ดาวน์โหลดกระเป๋าเงินโมบายใหม่และสร้างบัญชีใหม่เพื่อความปลอดภัย
ผู้เชี่ยวชาญแคสเปอร์สกี้ขอแนะนำผู้ใช้การชำระเงินดิจิทัลในภูมิภาคเพื่อการใช้เทคโนโลยีได้อย่างปลอดภัย ดังต่อไปนี้
⦁ ระวังการสื่อสารปลอม และระมัดระวังเมื่อต้องส่งต่อข้อมูลที่ละเอียดอ่อน อย่าเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลที่เป็นความลับทางออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการร้องขอข้อมูลทางการเงินและรายละเอียดการชำระเงิน
ใช้คอมพิวเตอร์และการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต⦁ ของตน⦁ เองเมื่อจะชำระเงินออนไลน์ เพราะไม่มีทางรู้ได้เลยว่าคอมพิวเตอร์สาธารณะมีสปายแวร์ทำงานอยู่หรือไม่ ซึ่งจะบันทึกทุกสิ่งที่คุณพิมพ์บนแป้นพิมพ์ และการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตสาธารณะถูกสกัดโดยอาชญากรที่รอการโจมตี
ไม่⦁ แชร์รหัสผ่าน หมายเลข ⦁ PIN ⦁ หรือรหัสผ่านแบบใช้ครั้งเดียว (⦁ OTP) ให้ครอบครัวหรือเพื่อน แม้ว่าอาจดูเหมือนเป็นความคิดที่ดีหรือสะดวก แต่การทำเช่นนั้นเป็นการเปิดช่องให้อาชญากรไซเบอร์หลอกให้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลประจำตัวของธนาคาร ควรเก็บรหัสต่างๆ ไว้เป็นส่วนตัวและปกป้องข้อมูลส่วนตัวของคุณ
⦁ การนำผลิตภัณฑ์ด้านความปลอดภัยแบบองค์รวมมาใช้และมีขั้นตอนการปฏิบัติสามารถลดความเสี่ยงที่จะตกเป็นเหยื่อภัยคุกคามและรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูลทางการเงิน ใช้โซลูชันการรักษาความปลอดภัยที่เชื่อถือได้สำหรับการป้องกันที่ครอบคลุมจากภัยคุกคามที่หลากหลาย เช่น ⦁ Kaspersky Internet Security, ⦁ Kaspersky Fraud Prevention และใช้ ⦁ Kaspersky Safe Money เพื่อช่วยตรวจสอบความถูกต้องของเว็บไซต์ธนาคาร ระบบการชำระเงิน และร้านค้าออนไลน์ที่คุณเข้าใช้ เพื่อสร้างการเชื่อมต่อที่ปลอดภัย
อ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่ https://kas.pr/b6w8
ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ต้องการใช้แคสเปอร์สกี้เพื่อปกป้องอุปกรณ์ของตนได้ดียิ่งขึ้น สามารถดูโปรโมชั่นล่าสุดได้ที่ www.kasoshopping.com