คืนนี้เตรียมพบกับ ‘หลุมดำ’ ของจริง ผ่านกล้องโทรทรรศน์ Event Horizon ครั้งแรกของโลก

จากปกติ เรามักจะเห็น ‘หลุมดำ’ ในรูปภาพจำลองหรือภาพกราฟฟิกมาตลอด แต่ในคืนนี้เวลาประมาณ 20:00 น. หรือ 2 ทุ่ม จะมีการถ่ายภาพหลุมดำของจริง ผ่านกล้องโทรทรรศน์ทั่วโลก หรือ Event Horizon Telescope Collaboration (EHT) นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์กันเลย

หลุมดำ หรือ วัตถุปริศนาในเอกภพ ที่ปัจจุบันยังไม่มีใครสามารถไขความลับของมันได้เลย อีกทั้งยังไม่เคยมีใครถ่ายภาพหลุมดำได้จริง เนื่องจากหลุมดำจะไม่เปล่งแสงหรือรังสีใด ๆ เลย ทว่าสามารถตรวจพบได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์วิทยุ

ซึ่งล่าสุดมีโครงการนำกล้องโทรทรรศน์วิทยุความถี่สูงจากทั่วโลกหรือ EHT มารวมและเชื่่อมต่อเครือข่ายด้วยกันผ่านระบบ VLBI ทำให้เกิดเป็นกล้องโทรทรรศน์เสมือนจริงขนาดใหญ่พอ ๆ กับโลก และมีพลังพอที่จะสามารถส่องหลุมดำชนิด มวลยวดยิ่ง ในใจกลางกาแลคซีของเราได้ ส่วนภาพที่ได้นั้น ก็จะเป็นภาพ เงาของหลุมดำ ที่ทำให้เราพอมองเห็นรูปร่างของหลุมดำจริง ๆ เป็นครั้งแรกของโลกนั้นเอง

ในการสำรวจครั้งนี้ ทีมนักวิทยาศาสตร์จะทำการส่องหลุมดำ 2 จุดด้วยกัน อาทิ Sagittarius A* กับ M87 ซึ่งมีการสำรวจมาตั้งแต่ปี 2017 แล้ว ส่วนวันนี้เวลาประมาณ 2 ทุ่ม เราจะได้เห็นรูปร่างของหลุมดำกันจริง ๆ โดยสามารถติดตามการถ่ายทอดสดหรือติดตามข้อมูลได้ทาง National Science Foundation

**อัพเดต**

ภาพแรกของหลุมดำของจริงมาแล้ว

โดยเป็นภาพหลุมดำ Messier 87 (M87) หรือเงาของมัน ณ ใจกลางกาแลคซี่ ถ่ายโดยกล้องโทรทรรศน์ Event Horizon Telescope ในระยะห่างจากโลกถึง 55 ล้านปีแสง ใช้การถ่ายภาพจากกล้องโทรทรรศน์วิทยุ 8 ตัว ถ่ายแล้วรวมเป็นภาพเดียว 

สามารถดูภาพขนาดเต็มได้ที่ www.nsf.gov

ที่มา : The Vergeสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ Fan Page