Home Blog Page 52

อัปเกรดใหม่ Aspire 3D 15 SpatialLabs จอ 3 มิติดูได้ด้วยตาเปล่า

[3D ส่งตรง] จากงานแถลงข่าว Acer Day 2024 ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 1-4 สิงหาคม 2567 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พระราม 9 ในงานทาง Acer ได้นำโน้ตบุ๊กที่น่าสนใจมาก ๆ รุ่นหนึ่งมาโชว์ โดยชูว่ามาพร้อมหน้าจอแบบพิเศษ ที่สามารถแสดงผลภาพ 3D ลอยออกจากหน้าจอ แบบที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ไม่ต้องใช้แว่นหรืออุปกรณ์เสริมอะไรเลย

และชื่อของโน้ตบุ๊กรุ่นนั้นคือ Acer Aspire 3D 15 SpatialLabs Edition มาพร้อมเทคโนโลยีระบบภาพ 3D เลนส์ออปติคอลแบบพิเศษ ผสานกับเทคโนโลยี Eye-tracking ซึ่งจะสแกนม่านตาผู้ใช้โดยตรง ทำให้มองเห็นภาพ 3D ลอยออกจากจอนั้นเอง

จากที่ได้ลองใช้งานด้วยตัวเองแล้ว ก็พบว่ามันลอยออกจริง ๆ ทั้งยังรองรับ ‘ทุกคอนเทนส์’ ไม่ว่าจะเป็นคลิป Youtube หรือไฟล์วิดีโอรูปภาพที่มีอยู่ได้อีกด้วย ซึ่งสามารถแปลงเนื้อหา 2D ให้เป็น 3D ได้ด้วยการใช้ AI มาช่วยประมวลผลนั้นเอง อย่างไรก็ตาม แอบรู้สึกว่าหากใช้งานไปนาน ๆ ก็มีปวดตาได้เหมือนกัน และน่าเสียดายที่ถ่ายไม่ติดกล้อง คือต้องไปลองใช้เองเท่านั้น

ด้านสเปก ตัวเครื่อง (ที่โชว์ในงาน) ก็มาพร้อมชิป Intel Core i7-13620H กับการ์ดจอ RTX 4050 6GB และแรม DDR5 32GB สเปกถือว่าแรง แต่ไม่ได้แรงแบบขั้นสุด ส่วนหน้าจอขนาด 15.6 นิ้ว ก็มีความละเอียด 4K เป็น IPS ส่วนที่น่าสนใจอีกอย่างก็คือ ส่วนที่เป็นจุดรวมเซ็นเซอร์ต่าง ๆ บริเวณขอบจอด้านบน ซึ่งนี่เองที่คือเบื้องหลังของเทคโนโลยีระบบภาพ 3D

ท้ายนี้ตัว Acer Aspire 3D 15 SpatialLabs Edition มีวางจำหน่ายในไทยแล้ว โดยพบในรุ่นเกมมิ่งตัว Top อย่าง Predator Helios หรือชื่อเต็ม ๆ คือ Acer Predator Helios 3D SpatialLabs Edition PH3D15-71-90NR พร้อมกับราคาหลักแสน ซึ่งก็ถือว่าสูงเอาเรื่องทีเดียว

อ่านฟรี แจกพิกัดหนังสือออนไลน์ เขียนโปรแกรม Java 300+ หน้า

หนอนหนังสือก็มา ให้อยากเก่งเรื่องเขียนโปรแกรม Java เซฟเก็บไว้เลยแจกพิกัดหนังสือออนไลน์จากจุฬาฯ อ่านได้ทุกที่จัดเต็มทุกเนื้อหา 

มีทั้งภาาาไทยและภาษาอังกฤษ เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด 300+ หน้า มาพร้อมเอกสารและวิดีโอเพื่อเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น 

สำหรับชาวไอทีคนไหนที่อยากอัปสกิลเรื่องเขียนโปรแกรม สามารถเข้าไปอ่านได้เลย

เริ่มเรียนเขียน โปรแกรม ฉบับวาจาจาวาเนื้อหามีทั้งหมด 10 หัวข้อ

“Learning Computer Programming using JAVA with 101 examples” เนื้อหามีทั้งหมด 12 หัวข้อ

ใครที่อยากเรียนการเขียนโปรแกรมสอนเป็นวิดีโอ เข้าไปดูได้ที่เว็บไซต์ของ techhub ได้เลยเรารวบรวมไว้ให้แล้ว

>> Techhub Productivity

 

#Java  #เขียนโปรแกรม #TechhubUpdate

ภารกิจใหม่ SpaceX สร้างยานทำลายล้าง ปลดประจำการสถานีอวกาศ NASA

สถานีอวกาศนานาชาติมีวันหมดอายุ SpaceX กำลังสร้างยานอวกาศพลังสูงขึ้นไปทำลายสถานีอวกาศนานาชาติของ NASA ที่ถูกใช้งานมานานถึง 23 ปี

NASA ประกาศว่าจะจ่ายเงินให้บริษัท SpaceX ของ Elon Musk สูงถึง 843 ล้านดอลลาร์เพื่อช่วยปลดประจำการสถานีอวกาศนานาชาติ

ยานอวกาศ Dragon ขนาดใหญ่พิเศษจะสามารถผลักสถานีอวกาศนานาชาติออกจากวงโคจรและกลับมาสู่ชั้นบรรยากาศ ส่วนชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่เผาไหม้ไม่หมดจะสู่ท้องทะเลตามที่วางแผนไว้

ปัจจุบันยานอวกาศ Dragon ของ SpaceX ทำหน้าที่ขนส่งนักบินอวกาศของ NASA และสินค้าไปกลับจากสถานีอวกาศนานาชาติอยู่แล้ว 

แต่จะต่อยอดให้ยานมีกำลังที่มากขึ้นด้วยการติดเครื่องยนต์โดยมีเชื้อเพลิงมากขึ้นถึง 6 เท่า เพื่อสร้างพลังงานเพราะการผลักสถานีอวกาศออกจากวงโคจรนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ล่าสุด SpaceX ได้เปิดเผยภาพยานลำใหม่ที่จะมาทำภารกิจในครั้งนี้ 

จุดหมายปลายทางสุดท้ายของสถานี ISS จะเป็นพื้นที่ห่างไกลในมหาสมุทร เช่น แปซิฟิกใต้ แต่ NASA ยังไม่ได้เลือกตำแหน่งที่แน่นอน  

ถือว่าเป็นโปรเจคที่ใหญ่มากโดยภารกิจทำลายสถานีอวกาศจะเริ่มในปี 2030 รอติดตามต่อไปว่าจะสำเร็จหรือไม่ 

 

ที่มา : businessinsider 

#SpaceX  #NASA #TechhubUpdate

ดูไบผลิตเอง เรือข้ามฟาก สุดล้ำ สร้างจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ

ดูไบผลิตเอง เรือข้ามฟากพลังงานไฟฟ้าลำแรกของโลก ที่สร้างจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ถูกแล่นออกจากท่าเรียบร้อยแล้ว

ใช้ได้จริงเรือไม้ Abra หน้าตาสุดคลาสสิกขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้ามาพร้อมมอเตอร์ 10 กิโลวัตต์และแบตเตอรี่ลิเธียม

เป็นโปรเจคใหม่จากสำนักงานทางหลวงและการขนส่งแห่งดูไบ (RTA) ได้เปิดตัวการทดลองใช้งานเรือไฟฟ้าลำแรกของโลก ผลิตด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ โดยเป็นการผสมผสานระหว่างเรือดังเดิมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้าด้วยกัน

ผลิตโดย Al Seer Marine ซึ่งเป็นองค์กรการเดินเรือระดับโลกของอาบูดาบี ร่วมกับบริษัทด้านเทคโนโลยีจากญี่ปุ่นและเยอรมนี

เรือลำนี้จะใช้รับส่งผู้โดยสารรองรับได้ 20 ที่นั่ง ทดลองที่สถานีขนส่งทางทะเล Sheikh Zayed Road แล้วจะขยายไปท่าเรือต่าง ๆ ที่เป็นจุดท่องเที่ยวภายในปี 2025

การใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติจะช่วยลดเวลาในการผลิตมากถึง 90% แถมมีต้นทุนที่ถูกลง ลดค่าใช้จ่ายและค่าบำรุงรักษาอีกด้วย รวมถึงสร้างยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อลดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของดูไบ

 

ที่มา : interestingengineering

#เครื่องพิมพ์3มิติ #TechhubUpdate

ให้ใช้ฟรี เปิดตัว AI Playground เครื่องมือ AI ใหม่ ค่าย Intel

[ไว้เทส Core Ultra] การมาของ ‘โน้ตบุ๊ก AI’ หลายคนมีคำถามว่า “ต่างจากโน้ตบุ๊กปกติยังไง ?” โดยเฉพาะโน้ตบุ๊กที่มาพร้อมชิป Intel ตัวใหม่อย่าง Core Ultra ล่าสุดทาง Intel ได้เปิดให้ท้าพิสูจน์ประสิทธิภาพแล้ว โดยการส่งตัว AI Playground ชุดเครื่องมือ Generative AI ที่รวมทั้งการสร้างภาพหรือโมเดลกราฟฟิกจากข้อความ , เพิ่มความคมชัดของรูปภาพ , สร้างโมเดลกราฟฟิก และ แชทบอต พร้อมเปิดให้ดาวน์โหลดใช้งานได้ฟรี

สำหรับตัว AI Playground เป็น Open-source เปิดให้ใช้งานได้ฟรี ๆ เลย ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นชุดซอฟต์แวร์ AI ที่จะดึงประสิทธิภาพ AI ในการ์ดจอ Intel Arc ของชิป Core Ultra โดยเฉพาะ ให้ประมวลผลฟีเจอร์ AI ที่คุ้นเคยกันดีอย่าง สร้างภาพหรือโมเดลกราฟฟิกจากข้อความ , เพิ่มความคมชัดของรูปภาพ , สร้างโมเดลกราฟฟิก และ แชทบอต

ในตัว AI Playground ก็ยังมีเครื่อง AI ชื่อดังอีกมากมายทั้ง Automatic111 และ LM Studio กับรองรับทั้ง Stable Diffusion 1.5 และ SDXL มาพร้อมการใช้งานง่าย ผู้ใช้ทั่วไปก็สามารถใช้งานได้ไม่ยาก แม้ไม่คุ้นเคยกับการใช้ Generative AI มาก่อนเลยก็ตาม

อนึ่งตัวซอฟต์แวร์ AI Playground จะรองรับเฉพาะโน้ตบุ๊ก Core Ultra-H หรือ 100H พร้อมแรม 8GB ขึ้นไปเท่านั้น แอบใช้สเปกสูงอยู่ระดับหนึ่งเหมือนกัน โดยเฉพาะ Core Ultra-H ที่มักใช้ในโน้ตบุ๊กเกมมิ่งไปเลย

สามารถดาวน์โหลดตัว AI Playground ได้ที่

ที่มา : Gameintel

ทำลายสถิติเดิม คอมพิวเตอร์ควอนตัมใหม่ H2-1 56 บิต ทำงานเร็วขึ้นร้อยเท่า

นักวิทยาศาสตร์จากบริษัทคอมพิวเตอร์ควอนตัม Quantinuum สามารถพัฒนาควอนตัมคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ H2-1 56 คิวบิต ที่ทำงานได้เร็วกว่าเดิม 100 เท่า

(สถิติเดิมทีเคยทำไว้เป็นเครื่อง Sycamore ของ Google เมื่อปี 2019)

พลังขับเคลื่อนเบื้องหลังคอมพิวเตอร์รุ่นนี้มาจากการจัดเรียงอย่างกลมกลืนของคิวบิตจำนวน 56 ตัว คิวบิตเหล่านี้เป็นหน่วยประมวลผลพื้นฐานของเครื่อง ช่วยให้มันสามารถคำนวณแบบขนานได้ด้วยกฎของกลศาสตร์ควอนตัมและการพันธะระหว่างคิวบิต

โดยประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ควอนตัมจะเพิ่มขึ้นตามจำนวนของคิวบิต เหมือนกับการเพิ่มเครื่องดนตรีเข้าไปในวงออเคสตรา ยิ่งมีเครื่องดนตรีมาก เสียงก็จะยิ่งอลังการ

ในการทดสอบ H2-1 นักวิทยาศาสตร์จาก Quantinuum ได้ใช้อัลกอริทึมที่รู้จักกันดีในการประเมินระดับสัญญาณรบกวนหรืออัตราข้อผิดพลาดของคิวบิต อย่าง Linear Cross Entropy Benchmark (XEB) ซึ่งให้ผลลัพธ์ระหว่าง 0 (มีข้อผิดพลาดทั้งหมด) ถึง 1 (ไม่มีข้อผิดพลาด)

H2-1 แสดงประสิทธิภาพได้อย่างยอดเยี่ยม มันทำคะแนน XEB ได้ประมาณ 0.35 ซึ่งหมายความว่ามันสามารถคำนวณได้อย่างถูกต้อง 35% ในกรอบของเวลาที่กำหนด ถือเป็นการพัฒนาที่ก้าวกระโดด หากเทียบกับคอมพิวเตอร์ควอนตัม Sycamore ของ Google ที่ทำคะแนน XEB ได้เพียง 0.002 ในปี 2019

สิ่งสำคัญคือ H2-1 ไม่ได้มีแค่พลังประมวลผลดิบที่ดีเท่านั้น แต่มันยังมีประสิทธิภาพด้านพลังงานด้วย โดยกินพลังงานน้อยกว่ารุ่นเดิมของบริษัทกว่า 30,000 เท่า ทำให้มันเป็นทางเลือกที่ยั่งยืนกว่าสำหรับการคำนวณในอนาคตครับ

ที่มา
dataconomy

อ่านข่าวเทคโนโลยีอื่น ๆ ได้ที่ Techhub 

กลับลำแล้ว Google ประกาศเดินหน้า ไม่ยกเลิก Third-party cookies

Third-party cookies

เกิดอะไรขึ้นเมื่อ Google เปลี่ยนใจไม่ยกเลิก ( Third-party cookies ) ใน Chrome แล้ว หลังจากที่เคยประกาศไว้ว่าจะยกเลิกภายในปี 2025

สำหรับ Third-party cookies หรือ คุกกี้บุคคลที่สาม คือเครื่องมือติดตามพฤติกรรมการท่องเว็บของเรา เช่น เว็บไซต์ที่เราเข้าชม สินค้าที่เราสนใจ หรือโฆษณาที่เราคลิก แถบโดยจะไม่แตกต่างจากคุกกี้ปกติ

แต่ Third-party cookies จะไม่ใช่ของเว็บนั้น ๆ โดยตรง แต่จะเป็นบุคคลหรือเว็บอื่น ๆ ที่พยายามจะติดตามข้อมูลของเราเหมือนกัน โดยมีเป้าหมายเพื่อรู้ข้อมูลสิ่งที่เรากดลิงก์ หรือสิ่งที่เราสนใจ ซึ่ง Google มีแผนจะยกเลิก และพยายามพัฒนาเครื่องมือที่ชื่อ Privacy Sandbox ที่ทำงานเหมือนกัน แต่มีความเป็นส่วนตัวมากกว่า

แต่ Privacy Sandbox ก็ได้รับการโต้แย้งจากหน่วยงานหลายแห่ง โดยมองว่า Google พยายามจะผูกขาดเครื่องมือมากเกินไป..

ย้อนกลับไปในปี 2020 Google เคยประกาศว่าจะยกเลิกการสนับสนุน Third-party cookies ใน Chrome ภายในปี 2022 แต่ก็เลื่อนมาหลายครั้งเนื่องจากเสียงคัดค้านและปัญหาทางกฏหมาย จนในที่สุด Google ก็ยอมธงขาวและประกาศว่า จะไม่ยกเลิก Third-party cookies แล้ว

ส่วน Privacy Sandbox นั้น Google ยังยืนยันว่าจะพัฒนาต่อไป เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ใช้มากขึ้นครับ

ที่มา
bleepingcomputer

อ่านข่าวเทคโนโลยีอื่น ๆ ได้ที่ Techhub 

เอาไว้สอยโดรน อังกฤษเปิดตัว อาวุธเลเซอร์ ใช้ต้นทุนยิงเพียง 10 เพนนี

อาวุธเลเซอร์

กองทัพอังกฤษทดสอบยิง อาวุธเลเซอร์ จากยานพาหนะเป็นครั้งแรก สามารถทำลายเป้าหมายด้วยระยะเวลาสั้น ๆ แถมยังช่วยประหยัดต้นทุนการยิงได้มาก

อาวุธนี้เป็นผลงานการพัฒนาของ Defence Science and Technology Laboratory (Dstl) ภายใต้โครงการ Laser Directed Energy Weapon (LDEW) ร่วมกับ Raytheon บริษัทด้านการป้องกันประเทศของสหรัฐฯ โดยมีแนวคิดที่จะช่วยให้กองทัพมีความได้เปรียบในการปฏิบัติการในสนามรบมากขึ้น

โดยในยุคที่โดรนถูกนำไปใช้เป็นอาวุธมากขึ้น การจะใช้ขีปนาวุธล็อกเป้ายิงก็ดูจะไม่คุ้ม หรือจะใช้ปืนยิงคลื่นรบกวนก็จะมีข้อจำกัดด้านระยะการยิง ทำให้อาวุธปืนเลเซอร์ กลายเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด

อาวุธเลเซอร์ที่อังกฤษพัฒนาขึ้นนี้ใช้ต้นทุนการยิงต่อครั้งเพียง 10 เพนนี (ประมาณ 5 บาท) สามารถติดตาม เข้าปะทะ และทำลายเป้าหมายได้ มันจึงเหมาะอย่างมากที่จะใช้เป็นอาวุธในการต่อต้านโดรน

ที่มา
ladbible

ติดตามอ่านข่าวเทคโนโลยีอื่น ๆ ได้ที่ > Techhub

 

สกมช. ร่วมกับ กองทุนดีอี จัดประชุมเสวนา สถานการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ในประเทศไทย เพื่อยกระดับการป้องกันทางไซเบอร์ให้หน่วยงานรัฐ

โดยงานเสวนานี้เป็นการกระตุ้นให้หน่วยงานต่างๆ ตระหนักถึงภัยคุกคามไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้น และนำเสนอแนวทางการป้องกันและรับมือที่เป็นรูปธรรมผ่านโครงการ GMS และ PCW โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือและการเตรียมความพร้อมของบุคลากร

สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ร่วมกับ กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จัดประชุมเสวนาในหัวข้อ “สถานการณ์ภัยคุกคามทาง    ไซเบอร์ในประเทศไทย และแนวทางในการตรวจจับ (Detection) พร้อมรับมือกับภัยคุกคามฯ (Response) กับสถานการณ์ในปัจจุบัน” ภายใต้โครงการจัดหาระบบวิเคราะห์การโจมตีบนเครือข่ายสำหรับตรวจจับภัยคุกคามทางไซเบอร์ (GMS) และโครงการจัดหาระบบตรวจจับพฤติกรรมและวิเคราะห์ข้อมูลอาชญากรรมทางไซเบอร์เชิงรุก (PCW) โดยจัดขึ้นในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 ณ โรงแรมเซ็นทารา ไลฟ์ ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซนเตอร์ แจ้งวัฒนะ ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ ห้องประชุมวายุภักษ์ 3 กรุงเทพมหานคร

พันตำรวจเอก ณัทกฤช พรหมจันทร์ ผู้อำนวยการ สำนักปฏิบิติการ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) กล่าวรายงานว่า สกมช.ได้มีโครงการจัดหาระบบวิเคราะห์การโจมตีบนเครือข่ายสำหรับตรวจจับภัยคุกคามทาง     ไซเบอร์ (GMS) และโครงการจัดหาระบบตรวจจับพฤติกรรมและวิเคราะห์ข้อมูลอาชญากรรมทาง ไซเบอร์เชิงรุก (PCW) สำหรับหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศและหน่วยงานภาครัฐ โดยสถานการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ต่อภาครัฐในปัจจุบันรุนแรง และซับซ้อนมากขึ้น สถิติการโจมตีทางไซเบอร์มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การจัดประชุมเสวนาครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อจัดเตรียมระบบวิเคราะห์การโจมตีบนเครือข่ายสำหรับตรวจจับภัยคุกคามทางไซเบอร์ และโครงการจัดหาระบบตรวจจับพฤติกรรมและวิเคราะห์ข้อมูลอาชญากรรมทางไซเบอร์เชิงรุก เตรียมทีมงานผู้เชี่ยวชาญเฝ้าระวัง สนับสนุนหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศและหน่วยงานภาครัฐที่สำคัญ ยกระดับมาตรการการป้องกันภัยทางไซเบอร์เชิงรุกพร้อมเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบ และการประเมินความเสี่ยง เพื่อลดผลกระทบจากการโจมตีที่อาจจะเกิดขึ้นต่อหน่วยงานได้ทันท่วงที และให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับหน่วยงานที่ต้องการเข้าร่วมทั้ง 2 โครงการได้รับทราบ โดยการเข้ารวมโครงการนี้จะไม่เสียค่าใช้จ่าย

พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัย         ไซเบอร์แห่งชาติ เป็นประธานในพิธีเปิด กล่าวว่า “วัตุประสงค์หลักการจัดงานครั้งนี้ อยากจะชวนให้หน่วยงานที่มีความพร้อม และความจำเป็นที่จะต้องเฝ้าระวังภัยคุกคามในรูปแบบต่าง ๆ ให้มาเข้าร่วมโครงการ โดยวันนี้จะได้รับทราบถึงลักษณะของภัยคุกคาม และนำเสนอทางออก โดยนำเสนอ 2 โครงการ ได้แก่โครงการระบบวิเคราะห์การโจมตีบนเครือข่ายสำหรับตรวจจับภัยคุกคามทาง    ไซเบอร์ (GMS) และโครงการจัดหาระบบตรวจจับพฤติกรรมและวิเคราะห์ข้อมูลอาชญากรรมทาง ไซเบอร์เชิงรุก (PCW)  แม้การเข้าร่วมโครงการ หน่วยงานจะไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่ต้องมีทีมงานที่มีความพร้อมจะร่วมทำงานกับทาง สกมช. เพื่อร่วมกันเข้าแก้ปัญหา สกมช.เตรียมปัจจัยทาง        เทคโนโลยี เครื่องมือ อุปกรณ์ให้ แต่ต้องการความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ในการเตรียมความพร้อมของคน มาทำงานร่วมกัน เพื่อประสบความสำเร็จในการเพิ่มความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้แก่หน่วยงานของท่าน และประเทศของเรา”

ต่อไปเป็นการเสวนา โดยตัวแทนของ 4 หน่วยงาน ได้แก่  พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ คุณตติยรัตน์ หอมสำอางค์ ผู้อำนวยการส่วนระบบโครงสร้างพื้นฐานสำนักเทคโนโลยีสารสนเทศ กรมที่ดิน คุณชูเกียรติ ประเสริฐสุข ผู้อำนวยการส่วนความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงการต่างประเทศ และ นพ.สุรัคเมธ มหาศิริมงคล ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในหัวข้อ “สถานการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ในประเทศไทย และแนวทางในการตรวจจับ (Detection) พร้อมรับมือกับภัยคุกคามฯ (Response) กับสถานการณ์ในปัจจุบัน” โดยกล่าวถึงภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่แต่ละหน่วยงานเคยประสบ และภารกิจของ สกมช. ตาม พรบ. การรักษาความมั่นคงไซเบอร์ พ.ศ.2562

คุณวีระยุทธ์ เพริดพราว ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ได้ชี้ให้เห็นข้อมูลจาก MITRE ATT&CK 2024 ซึงเป็นการสรุปข้อมูลกิจกรรมภัยคุกคามไซเบอร์ทั่วโลกในปี 2023 พบว่ามีกลุ่มคนแฮกเกอร์กว่า 4,000 กลุ่ม เป็นจำนวนแฮกเกอร์ล้านกว่าคน โดยมุ่งวัตถุประสงค์ต่าง ๆ กันทั้งที่ชัดเจนอย่างเช่นทางการเงิน และที่ไม่ชัดเจน พร้อมที่จะโจมตีหน่วยงานใด ๆ ได้ตลอดเวลา สกมช.จึงตั้งโครงการ GMS และ PWC ขึ้นมาเพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐ ตะหนักว่าตนมีความพร้อมรับการรับการโจมตีแค่ไหน และเพิ่มศักยภาพในการรับมือการโจมตี

“Ransomware เป็นตัวอย่างที่คุ้นเคยกันดี โดยมีการโจมตีหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วโลก นาทีละ 4 หน่วยงาน ถ้าเราไม่มีองค์ความรู้ที่ถูกต้อง เราจะรับมือย่างผิดวิธี ทำให้เพิ่มปัญหามากขึ้น ปัจจุบัน Ransomware ซับซ้อนขึ้น มีการโจมตีหลายละลอกเพื่อดูว่าหน่วยงานนั้นตอบสนองอย่างไร เดิมถ้า Server โดน มักจะทำการ Cleaned หรือ Formatted ขึ้น Backup กลับมา แต่ไม่รู้ว่า Ransomware ไปฝังตัวอยู่ที่ไหน ซุ้มดูอยู่ภายใน ทำให้การโจมตีละลอกถัดมารุนแรง และขยายวงกว้างมากขึ้น   ที่หนักที่สุดไม่มี Backup ให้ recover ถ้าเรามีการ backup ที่ไม่ดี การเตรียมพร้อมที่ไม่ดี รวมทั้งรูปแบบการตอบสนองภัยคุกคามที่ไม่ถูกวิธี จะซ้ำทำให้อาการหนักขึ้น”

ในงานเสวนา ได้กล่าวถึง MITRE ATT&CK คือฐานข้อมูลที่รวบรวมลักษณะเฉพาะ และสิ่งที่บ่งบอกว่ารูปแบบของภัยคุกคามการโจมตีเพื่อให้สามารถรับมือกับภัยคุกคามนั้นได้อย่างเหมาะสม การโจมตีทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นมากที่สุด 5 รูปแบบได้แก่ Malware, Ransomware, Web Application Hacking, Insider Privilege and Misuse และ Targeted Intrusions ถ้าสามารถระบุพฤติกรรมการโจมตีได้ตามตารางของ MITRE ATT&CK จะสามารถตอบสนองในรูปแบบที่เหมาะสมได้อย่างครอบคลุมสมบูรณ์ เข้าใจภาพรวม เห็นและตอบสนองภัยคุกคามไปในทิศทางเดียวกัน แล้วจะรับมือภัยคุกคามได้อย่างมีประสิทธฺภาพ

สกมช. นำเสนอโครงการจัดหาระบบวิเคราะห์การโจมตีบนเครือข่ายสำหรับตรวจจับภัยคุกคามทางไซเบอร์ (GMS) เพื่อต่อสู้กับภัยคุกคามไซเบอร์ที่รุนแรง และซับซ้อนขึ้นทุกวัน โดยใช้แนวทาง     ที่ช่วยหน่วยงานให้มากที่สุดด้วยการลงแรง และงบประมาณที่น้อยที่สุดกับหน่วยงานภาครัฐ          ที่มีความสำคัญที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของประเทศ และหน่วยงานภาครัฐที่สำคัญ โครงการนี้จะประกอบด้วย

  • NDR (Network Detection and Response) : ตรวจจับ Traffic ที่ต้องสงสัยและเป็นภัยคุกคามด้วย Machine Learning,
  • EDR (Endpoint Detection and Response) : ติดตั้งเพื่อช่วยยับยั้ง/หาสาเหตุเชิงลึกในระดับเครื่อง (Endpoint) ที่ก้าวหน้ามากขึ้น มากกว่า Antivirus แบบเดิม
  • ศูนย์เฝ้าระวังภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Security Operation Center) : แจ้งเตือน พร้อมให้คำปรึกษาในกรณีตรวจพบเหตุการณ์ที่อยู่ในข่ายเป็นภัยคุกคามฯ

การเข้าร่วมโครงการ GMS กับ สกมช. จะช่วยให้หน่วยงานต่าง ๆ ได้ประโยชน์คือ

  • ได้ทัพเสริม Border Security Monitoring (Improve MTTD) ช่วยระวังภัยจากภัยคุกคามภายนอกให้ตลอด 24 ชั่วโมง
  • เพิ่มการเห็นภัยคุกคามภายในหน่วยงาน (improve East-West Visibility)
  • ทีมช่วยสนับสนุนการรับมือและตอบสนองต่อภัยคุกคามไซเบอร์ (Fry-Away IR Team)
  • เกิดความร่วมมือและเครือข่ายในการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ทั้งในระดับหน่วยงานและระดับประเทศ (Center for Threat-Informed Defense)

คุณสฤษดิ์พงษ์ บับพาน ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ ได้ให้รายละเอียดของแผนการดำเนินงาน รูปแบบการติดตั้ง และการเตรียมความพร้อมของหน่วยงานที่ต้องการเข้าร่วมในโครงการ GMS

คุณชญา ลิมจิตติ ที่ปรึกษามูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย ได้บรรยายในหัวข้อ ลดภัยไซเบอร์ด้วยระบบชื่อโดเมน โดยปัจจุบันภัยไซเบอร์ที่เกี่ยวข้องกับชื่อโดเมนมีมากขึ้น จึงแนะนำแนวทางลดภัยไซเบอร์ด้วยระบบชื่อโดเมน โดยมีแนวทางดังนี้

  • ชื่อโดเมนที่ลงท้ายด้วย .com หรืออื่นๆ เสี่ยงกว่าที่ลงท้ายด้วย .th ซึ่งควบคุมดูแลโดยมูลนิธิศูนย์สารสนเทศไทย ผู้ใช้ต้องประเมินเองว่าเจ้าของ .com มีตัวตนจริงหรือไม่ และชื่อโดเมนนั้นเป็นมิจฉาชีพหรือไม่ และการใช้ https:// ใม่ช่วยลดภัยไซเบอร์
  • บริการของรัฐ / โครงการของรัฐ / หน่วยงานของรัฐ จดทะเบียนชื่อบริการ ชื่อโครงการหรือชื่อหน่วยงาน ด้วยชื่อโดเมนที่ลงท้ายด้วย th หรือ or.th
  • ถ้าใช้ชื่อเว็บเป็นภาษาไทย ควรใช้ .ไทย ตัวอย่างเช่น https://แบ่งปั่น.ไทย

คุณสาธิต ชัยวิวัฒน์ตระกูล ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ได้นำเสนอหลักการ แนวคิดและเทคโนโลยีที่ใช้ในโครงการตรวจจับพฤติกรรมและวิเคราะห์ข้อมูลอาชญากรรมทางไซเบอร์เชิงรุก (Proactive Cyber Watch : PCW) พร้อมกรณีศึกษา โดยโครงการนี้จะประกอบด้วย

  • DNS Security Service ป้องกันการโจมตีระบบเครือข่ายและการขโมยข้อมูลผ่านทาง DNS ซึ่ง 95% ของมัลแวร์จะใช้ช่องทาง DNS ในการโจมตี
  • Attack Surface Services แจ้งเตือนหน่วยงานก่อนที่ผู้ไม่หวังดี หรือกลุ่มแฮกเกอร์ โจมตีระบบจากมุมมองการเข้าถึงจากภายนอก (Internet Facing)
  • Threat Intelligence Service แจ้งเตือนจากข่าวกรองทางไซเบอร์ (Cyber Threat Intelligence) เมื่อมีข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลสำคัญ ข้อมูลความลับของหน่วยงานฯ รั่วไหล

คุณอรรถพงษ์ หาบสา ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ได้ให้รายละเอียดของแผนการดำเนินงาน รูปแบบการติดตั้งและการเตรียมความพร้อมเข้าร่วมในโครงการ

พันตำรวจเอก ณัทกฤช พรหมจันทร์ ผู้อำนวยการ สำนักปฏิบิติการ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) กล่าวสรุปว่า การเสวนาครั้งนี้ หน่วยงานภาครัฐที่เข้าร่วมจะได้รับทราบถึงแน้วโน้มสถานการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ต่อภาครัฐที่เพิ่มขึ้น และรับทราบถึงหลักการ แนวคิด และเทคโนโลยีของโครงการระบบวิเคราะห์การโจมตีบนเครือข่ายสำหรับตรวจจับภัยคุกคามทางไซเบอร์ (GMS) และโครงการระบบตรวจจับพฤติกรรมและวิเคราะห์ข้อมูลอาชญากรรมทางไซเบอร์เชิงรุก (PCW)

โดย GMS เปิดรับสมัครและคัดเลือกหน่วยงานเข้าร่วมโครงการในปีนี้ 100 หน่วยงาน โดยให้หน่วยงาน ตาม พ.ร.บ.ไซเบอร์ก่อน คือหน่วยงานที่มีโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ ถ้าโดนโจมตีจะกระทบต่อคนหมู่มาก กลุ่มที่ 2 หน่วยงานภาครัฐสำคัญ ตามด้วยหน่วยงานภาครัฐที่เคยถูกโจมตี โดยในปีที่ผ่านมามีหน่วยงานภาครัฐถูกโจมตีถึง 1,800 หน่วยงาน ส่วนในปีนี้มีถึง 1,500 หน่วยงานที่ถูกโจมตีและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนโครงการ PCW จะรับสมัครและคัดเลือก 200 หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนอีก 10 หน่วยงานที่ใหญ่ และสำคัญซึ่งถ้าถูกโจมตีมีผลกระทบต่อคนจำนวนมาก หลังจากวันนี้ทางหน่วยงานต่าง ๆ จะได้รับ QR แบบประสงค์ และแบบประเมินความพร้อมของหน่วยงาน ให้กรอกข้อมูลภายในวันที่ 28 กรกฎาคมนี้ ส่งเข้ามาเพื่อคัดเลือกเข้าร่วมทั้ง 2 โครงการ

 

กระทบหนัก เดลต้ายกเลิก 765 เที่ยวบิน ขอเวลาฟื้นฟูระบบหลังจอฟ้า

CrowdStrike

สายการบินเดลต้า เผชิญแรงกดดันเพิ่มมากขึ้น หลังต้องยกเลิกเที่ยวบินกว่า 700 เที่ยว ในวันจันทร์ เนื่องจากยังคงประสบปัญหาในการฟื้นฟูระบบจากเหตุ CrowdStrike

ตามข้อมูลจากเว็บไซต์ติดตามเที่ยวบิน FlightAware ระบุว่า ในวันจันทร์ สายการบินเดลต้าได้ยกเลิกเที่ยวบินประมาณ 765 เที่ยว และมีอีกราว 840 เที่ยวที่ล่าช้า

การเดินทางทางเครื่องบินนั้นหยุดชะงักลงเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา หลังจากซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัย CrowdStrike เกิดข้อผิดพลาด ส่งผลให้ระบบคอมพิวเตอร์ทั่วโลกใช้งานไม่ได้ และสายการบินเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุด

สำหรับ CrowdStrike เป็นบริษัทเทคโนโลยีความปลอดภัยทางไซเบอร์จากสหรัฐอเมริกา แต่การอัปเดตซอฟต์แวร์ที่ผิดพลาด ทำให้เกิดปัญหากับคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบ Windows และทำให้คอมพิวเตอร์หลายเครื่องใช้งานไม่ได้

นอกจากนี้ ยังมีสายการบินอื่นได้ที่ได้รับผลกระทบ บริษัทต่างชั้นนำต่าง ๆ รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐที่ใช้ซอฟต์แวร์ของ CrowdStrike เช่นกัน ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้ นับว่าหนักเอาเรื่อง

ที่มา
audacy

Hot Issue