Home Blog Page 3

อาลีบาบา คลาวด์ เปิดตัวโมเดล AI ใหม่ และปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานรองรับการประมวลผลด้วย AI

อาลีบาบา คลาวด์ ธุรกิจด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและหน่วยงานหลักด้านอินเทลลิเจนซ์ของอาลีบาบา กรุ๊ป ประกาศ ณ งาน Apsara Conference ซึ่งเป็นงานประชุมประจำปีครั้งสำคัญของบริษัทฯ ว่าได้นำเสนอ Owen 2.5 ซึ่งเป็นโมเดลด้านภาษาขนาดใหญ่ของบริษัทฯ ที่เพิ่งเปิดตัวล่าสุด มากกว่า 100 โมเดลให้กับชุมชนโอเพ่นซอร์สทั่วโลก

นอกจากนี้ อาลีบาบา คลาวด์ ยังได้เปิดตัวโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการสร้าง ทดสอบ และการใช้งานแอปพลิเคชันต่างๆ (full-stack infrastructure) ที่ออกแบบมาเพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการการประมวลผลที่ทรงพลังเพื่อใช้กับ AI ที่เพิ่มมากขึ้น โดยโครงสร้างพื้นฐานใหม่นี้ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์และบริการคลาวด์ล้ำหน้า ที่ช่วยให้การประมวลผล เครือข่าย และสถาปัตยกรรมศูนย์ข้อมูลมีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยมีจุดหมายเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม และการใช้โมเดล AI ต่าง ๆ ได้ในวงกว้าง

นายเอ็ดดี้ วู ประธานและซีอีโอของอาลีบาบา คลาวด์ อินเทลลิเจนซ์ กล่าวว่า “อาลีบาบา คลาวด์ ลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี AI และการสร้างโครงสร้างพื้นฐานระดับโลกของบริษัทฯ อย่างจริงจังในครั้งนี้ ด้วยเรามุ่งมั่นสร้างโครงสร้างพื้นฐาน AI แห่งอนาคต เพื่อให้บริการลูกค้าทั่วโลก และให้ลูกค้าของเราได้พบกับโอกาสทางธุรกิจอย่างไม่มีข้อจำกัด”

เผยโมเดลโอเพ่นซอร์ส 100 โมเดล

โมเดลโอเพ่นซอร์สต่าง ๆ ของ Owen 2.5 ที่เพิ่งเปิดตัวใหม่ มีพารามิเตอร์ตั้งแต่ขนาด 0.5 ถึง 72 พันล้านพารามิเตอร์ มีความรอบรู้มากขึ้น มีความสามารถด้านคณิตศาสตร์และการเขียนโค้ดอย่างมาก สามารถรองรับได้มากกว่า 29 ภาษา รองรับการใช้ AI ได้หลากหลายทั้งการใช้งานที่ edge หรือบนคลาวด์ ในทุกแวดวง ไม่ว่าจะเป็นวงการยานยนต์ วงการเกม ไปจนถึงการวิจัยทางวิทยาศาสตร์

ซีรีส์โมเดล Owen ซึ่งเป็นพอร์ตโฟลิโอของโมเดลภาษาขนาดใหญ่ที่เป็นเอกสิทธิ์ของอาลีบาบา คลาวด์ ประสบความสำเร็จอย่างงดงามตั้งแต่เปิดตัวครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายน 2566 ปัจจุบัน ยอดดาวน์โหลดโมเดลต่าง ๆ ของ Owen ทะลุ 40 ล้านครั้ง จากทุกแพลตฟอร์ม เช่น Hugging Face และ ModelScope ซึ่งเป็นชุมชนโอเพ่นซอร์สที่ตั้งขึ้นโดยอาลีบาบา ยิ่งไปกว่านั้นโมเดลเหล่านี้ยังเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการสร้างสรรค์โมเดลต่าง ๆ มากกว่า 50,000 รายการบน Hugging Face

Owen 2.5 จะโอเพ่นซอร์สโมเดลมากกว่า 100 รายการ กลุ่มผลิตภัณฑ์นี้ประกอบด้วย โมเดลพื้นฐาน (base models) โมเดลคำสั่ง (instruct models) และโมเดลเชิงปริมาณ (quantized models) ที่มีระดับความแม่นยำและวิธีการหลากหลาย ครอบคลุมการใช้งานรูปแบบต่าง ๆ เช่น ภาษา เสียง และ ภาพ พร้อมด้วยโค้ดเฉพาะทางและโมเดลทางคณิตศาสตร์ต่าง ๆ

นายจิงเหริน โซว ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของอาลีบาบา คลาวด์ อินเทลลิเจนซ์ กล่าวว่า “นับเป็นก้าวสำคัญของเราที่ได้เปิดตัวสิ่งที่เป็นการสร้างสรรค์ด้านโอเพ่นซอร์สที่กว้างขวางมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเสริมศักยภาพให้กับนักพัฒนาซอฟต์แวร์และองค์กรทุกขนาด ให้สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี AI ได้มากขึ้น และกระตุ้นการเติบโตให้กับชุมชนโอเพ่นซอร์ส  เรายังคงให้คำมั่นที่จะลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน AI ที่ล้ำหน้า เพื่อส่งเสริมให้อุตสาหกรรมหลากหลายสามารถนำเทคโนโลยี generative AI ไปใช้ได้อย่างกว้างขวาง”

คำบรรยายภาพ: จิงเหริน โซว ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของอาลีบาบา คลาวด์ อินเทลลิเจนซ์ เปิดตัวโมเดล open-sourced Qwen2.5 ใหม่ ณ งาน Apsara Conference 2024

อาลีบาบา คลาวด์ ยังได้ประกาศว่าได้อัปเกรด Qwen-Max ซึ่งเป็นโมเดลเรือธงที่บริษัทฯ เป็นเจ้าของ โมเดล Qwen-Max ที่ได้รับการเพิ่มประสิทธิภาพ แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพที่ทัดเทียมกันกับโมเดลที่ล้ำสมัยอื่น ๆ ในด้านต่าง ๆ เช่น ความเข้าใจภาษาและการใช้เหตุผล คณิตศาสตร์ และการเขียนโค้ด

Qwen2.5-Max แสดงให้เห็นถึงความทรงประสิทธิภาพในงานด้านต่าง ๆ เช่น คณิตศาสตร์และการเขียนโค้ด
เมื่อเทียบกับโมเดลล้ำสมัยรุ่นอื่น ๆ

ขยายขอบเขตความสามารถหลายรูปแบบ

นอกจากชุดโมเดลภาษาขนาดใหญ่ที่แพร่หลายแล้ว อาลีบาบา คลาวด์ ยังได้เปิดตัวโมเดลที่สามารถแปลงข้อความเป็นวิดีโอ (text-to-video) ใหม่ให้เป็นส่วนหนึ่งของโมเดลการสร้างรูปภาพในตระกูลทงอี้ ว่านเซี่ยง (Tongyi Wanxiang) โมเดลใหม่นี้สามารถสร้างวิดีโอคุณภาพสูงในรูปแบบที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นฉากสมจริง ไปจนถึงภาพเคลื่อนไหว 3 มิติ (3D animation) ทั้งยังสามารถสร้างวิดีโอจากคำสั่งที่เป็นข้อความภาษาจีนและภาษาอังกฤษ และแปลงภาพนิ่งเป็นวิดีโอที่มีการเคลื่อนไหว โมเดลนี้มีสถาปัตยกรรม diffusion transformer (DiT) ขั้นสูงเพื่อเพิ่มคุณภาพให้กับการสร้างวิดีโอใหม่

บริษัทฯ ยังกำลังทำการอัปเดตโมเดลภาษาภาพ (vision language model) ครั้งสำคัญ ด้วยการเปิดตัว Owen2-VL ซึ่งสามารถเข้าใจวิดีโอที่มีความยาวมากกว่า 20 นาที และสามารถตอบคำถามผ่านวิดีโอได้ Owen2-VL มาพร้อมความสามารถในการใช้เหตุผลและการตัดสินใจที่ซับซ้อน ได้รับการออกแบบมาสำหรับใช้ได้ทั้งกับโทรศัพท์มือถือ ยานยนต์ และ หุ่นยนต์ ช่วยให้การทำงานเฉพาะทางเป็นไปโดยอัตโนมัติ

อาลีบาบา คลาวด์ ยังได้เปิดตัว AI Developer ซึ่งเป็นผู้ช่วยด้าน AI ที่มี Qwen เป็นเทคโนโลยีหลักอยู่เบื้องหลัง ออกแบบมาสำหรับการเขียนโปรแกรม โดยสนับสนุนการทำงานแบบอัตโนมัติให้กับโปรแกรมเมอร์ เช่น การวิเคราะห์ความต้องการ การเขียนโปรแกรมโค้ด การระบุจุดบกพร่องของซอฟต์แวร์และทำการแก้ไข ความสามารถเหล่านี้ช่วยเพิ่มทักษะให้นักพัฒนา และช่วยให้มุ่งความสนใจกับงานสำคัญอื่น ๆ ได้มากขึ้น

การอัปเกรดโครงสร้างพื้นฐาน AI แบบฟูลสแตก

อาลีบาบา คลาวด์ ยังได้ประกาศการอัปเดตใหม่ ๆ จำนวนมากให้กับโครงสร้างพื้นฐาน AI แบบฟลูแสตก ครอบคลุมถึง สถาปัตยกรรมดาต้าเซ็นเตอร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการข้อมูล การเทรนและการอนุมานโมเดล ดังนี้

  • สถาปัตยกรรมดาต้าเซ็นเตอร์ยุคใหม่รองรับความต้องการการพัฒนา AI ที่กำลังพุ่งสูงขึ้น: อาลีบาบา คลาวด์ เปิดตัว CUBE DC 5.0 ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมดาต้าเซ็นเตอร์รุ่นใหม่ของบริษัทฯ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการและความหลากหลายของการประมวลผลสมรรถนะสูงที่เพิ่มขึ้นจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของ AI ทั่วโลก สถาปัตยกรรม CUBE ใหม่นี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานและการดำเนินงาน ด้วยชุดเทคโนโลยีขั้นสูงที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทฯ เช่น ระบบระบายความร้อนแบบไฮบริดด้วยลมและของเหลว (wind-liquid hybrid cooling system) สถาปัตยกรรมกระจายพลังงานกระแสตรงทั้งหมด (all-direct current power distribution architecture) และระบบบริหารจัดการอัจฉริยะ รวมถึงลดเวลาในการนำไปใช้ได้ถึง 50% เมื่อเทียบกับดาต้าเซ็นเตอร์แบบเดิมที่สร้างด้วยการออกแบบแบบแยกส่วนแล้วนำมาประกอบกัน (prefabricated modular)
  • โซลูชัน Open Lake เพื่อใช้ข้อมูลให้เป็นประโยชน์สูงสุด: การที่องค์กรต่าง ๆ เผชิญความท้าทายด้านการบริหารจัดการข้อมูลมหาศาลท่ามกลางการความต้องการด้าน generative AI ที่เพิ่มมากขึ้น อาลีบาบา คลาวด์ เปิดตัว Alibaba Cloud Open Lake ซึ่งสามารถบูรณาการเอนจิ้นบิ๊กดาต้าไปยัง
    โซลูชันครบวงจรหนึ่ง ๆ ได้อย่างราบรื่น จึงใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้เต็มประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการใช้งานกับ generative AI การผสานรวมเวิร์กโฟลว์ ประสิทธิภาพการทำงานที่มากขึ้น และการกำกับดูแลที่รัดกุมไว้บนแพลตฟอร์มเดียว ทำให้ใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยคอมพิวสตอเรจที่แยกกัน การกำกับดูแลข้อมูลที่ชัดเจน และประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาได้อย่างมาก
  • AI Scheduler พร้อมการเทรนและอนุมานโมเดลแบบองค์รวม: อาลีบาบา คลาวด์ เปิดตัว PAI AI Scheduler ที่มาพร้อมการเทรนและอนุมานโมเดลแบบบูรณาการ ซึ่งเป็นเอนจิ้นการจัดกำหนดการแบบคลาวด์-เนทีฟที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทฯ ที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรการประมวลผล การผสานรวมทรัพยากรการประมวลผลหลากหลาย การจัดการการกำหนดทรัพยากรที่ยืดหยุ่น การปรับเปลี่ยนงานได้แบบเรียลไทม์ และการกู้คืนข้อผิดพลาดอัตโนมัติ ไว้ด้วยกันอย่างชาญฉลาด ทำให้สามารถบรรลุอัตราการใช้ประโยชน์การประมวลผลที่มีประสิทธิภาพได้มากกว่า 90%
  • DMS สำหรับการบริหารจัดการเมตาดาต้าแบบองค์รวม: อาลีบาบา คลาวด์ เปิดตัว DMS: OneMeta+OneOps ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยให้บริหารจัดการแหล่งข้อมูลมากกว่า 40 ประเภทที่อยู่ในฐานข้อมูล คลังข้อมูล และดาต้าเล้ก บนสภาพแวดล้อมคลาวด์หลายแห่งได้เป็นหนึ่งเดียว เพื่อช่วยองค์กรบริหารจัดการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพและได้ใช้คุณประโยชน์ของข้อมูลเหล่านั้น แพลตฟอร์มนี้จะเพิ่มความเร็วในการใช้ข้อมูลได้ 10 เท่า เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการเปลี่ยนข้อมูลให้กลายเป็นความชาญฉลาดที่มีคุณค่าและองค์กรนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีนัยสำคัญ
  • บริการการประมวลผลแบบยืดหยุ่นที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น: อาลีบาบา คลาวด์ เปิดตัวอินสแตนซ์ Elastic Compute Service (ECS) สำหรับองค์กรเป็นรุ่นที่ 9 โดยอินสแตนซ์ ECS รุ่นล่าสุดนี้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพอย่างโดดเด่น ซึ่งรวมถึงเพิ่มความเร็วในการแนะนำการค้นหา 30% และเพิ่มประสิทธิภาพการอ่านและเขียน Queries Per Second (QPS) 17% เมื่อใช้กับผลิตภัณฑ์ด้านฐานข้อมูลต่าง ๆ เทียบกับรุ่นก่อนหน้า

การอัปเดตเหล่านี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้การสนับสนุนที่ครบวงจรแก่ลูกค้าและพันธมิตร เพื่อให้ลูกค้าและพันธมิตรได้รับประโยชน์สูงสุดจากเทคโนโลยีล่าสุดที่ใช้ในการสร้างแอปพลิเคชัน AI ทรงประสิทธิภาพ อย่างยั่งยืน และครอบคลุมมากขึ้น

 

ญี่ปุ่นเตรียมสร้างซูเปอร์คอมพ์ Fugaku Next ระดับ Zeta-class แรงพันเท่า

เผื่อใครไม่รู้นะว่า มีอยู่ไม่กี่ประเทศที่พยายามแข่งกันเป็นผู้นำด้านคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงระดับโลก หลัก ๆ ก็จะมี ญี่ปุ่น จีน แล้วก็สหรัฐอเมริกาครับ

โดยล่าสุดญี่ปุ่นเปิดเผยแผนการสร้างซูเปอร์คอมพิวเตอร์ “เซตต้า” (Zeta-class) เครื่องแรกของโลก หากทำสำเร็จ มันจะมีความสามารถในการประมวลผลอันล้ำสมัย ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นอย่างมาก

แต่ก่อนอื่น ญี่ปุ่นต้องหาทางรับมือกับอัตราการใช้พลังงานมหาศาลที่ตามมาด้วยเช่นกัน ซึ่งในระดับ Zeta-class จะมีประสิทธิภาพในการประมวลผลมากกว่า ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ชั้นนำในปัจจุบันถึงพันเท่า

โครงการนี้มีชื่อว่า “ฟูกาคุ เน็กซ์” ( Fugaku Next ) ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีของญี่ปุ่น (MEXT) คาดว่าจะใช้งบประมาณในการสร้างมากกว่า 750 ล้านดอลลาร์ และคาดว่าจะพร้อมใช้งานเต็มรูปแบบภายในปี 2030

อย่างไรก็ตาม ก่อนจะสร้าง Zeta-Class ญี่ปุ่นต้องเอาชนะความท้าทายเรื่องของการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่าเครื่องจักรระดับ “เซตต้า” ที่ใช้เทคโนโลยีในปัจจุบันอาจต้องใช้พลังงานเทียบเท่ากับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 21 โรง

แต่โครงการดังกล่าว วางแผนที่จะแก้ไขปัญหานี้โดยการนำเทคโนโลยีล่าสุดมาใช้ รวมถึง CPU ที่ออกแบบเฉพาะ และระบบหน่วยความจำแบนด์วิดท์สูง ซึ่งจะช่วยลดอัตราการใช้พลังงานลงไปได้มาก

สำหรับ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์แล้ว ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนและท้าทายที่สุดของมนุษยชาติ ซึ่งมีส่วนช่วยในการพัฒนาและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม แน่นอนว่า มันจะมีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศด้วยเช่นกันครับ

ที่มา
techspot

ให้ใช้ฟรี Whoscall เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ รู้ทันกลโกง ด้วย Scam Alerts

ใช้ได้ฟรี Whoscall ร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน เปิดตัวฟีเจอร์ ‘Scam Alert’ (เตือนภัยกลโกง) รับมือมิจฉาชีพที่มาในรูปแบบออนไลน์

Scam Alert เป็นฟีเจอร์ที่อยู่ภายในแอปฯ Whoscall ที่สามารถเข้าได้ผ่านแท็บการป้องกันและแท็บเตือนภัยกลโกงจะอยู่บริเวณแท็บด้านบนขวาของหน้าจอ

ภายในจะอัปเดทฟีดข่าวที่รวมข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมข้อมูลภัยกลโกงในรูปแบบต่าง ๆ บนแอปพลิเคชัน Whoscall แบบไม่มีค่าใช้จ่ายทั้งเวอร์ชันฟรีและพรีเมียม

ในฟีเจอร์เกี่ยวกับเตือนภัยกลโกงและรู้ทันมิจฉาชีพ อัปเดทข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว

วิธีการเปิดใช้งานให้เข้าไปที่ 

1.แอป Whoscall

2.ไปที่สัญลักษณ์ Protection

3.คลิกที่ปุ่มข้อความเตือนภัยกลโกงด้านบนขวา

4.กดเปิดแจ้งเตือนเตือนภัยแบบเรียลไทม์

สามาถใช้ได้แล้วทั้งใน iOS และ Android นอกจากฟีเจอร์ใหม่แล้วแอป Whoscall ยังตรวจสอบเบอร์ข้อมูลรั่วไหลได้อีก 

อ่านเพิ่มเติม >> https://www.techhub.in.th/whoscall-check-phone-number-for-dark-web/ 

#Whoscall #TechhubUpdate

ทุบสถิติ HaLow อุปกรณ์ส่งสัญญาณแบบใหม่ กระจาย Wi-Fi ได้ 15.9 กิโลเมตร

HaLow

บริษัทชื่อว่า Morse Micro ผู้พัฒนาชิปสำหรับ Wi-Fi ที่ชื่อว่า HaLow สร้างสถิติใหม่ด้วยการเชื่อมต่อ Wi-Fi ระยะไกลถึง 9.9 ไมล์ หรือประมาณ 15.9 กิโลเมตร

ระยะนี้ ได้ทุบสถิติเดิมที่เคยทำไว้ 1.8 ไมล์ หรือ 2.8 กิโลเมตรอย่างราบคาบ การทดสอบครั้งนี้เกิดขึ้นที่อุทยานแห่งชาติ Joshua Tree ซึ่งเป็นพื้นที่ ที่มีสัญญาณรบกวนต่ำ เพราะต้องการทดขีดจำกัดของ Wi-Fi โดยเฉพาะครับ

ผลการทดสอบพบว่า แม้จะอยู่ในระยะทางไกลถึง 15.9 กิโลเมตร แต่ระบบก็ยังมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลประมาณ 2 Mbps ซึ่งเหนือกว่าขีดจำกัดของ Wi-Fi ทั่วไปอย่างมาก

ทีนี้ จะเอาไปทำอะไร ? Wi-Fi ระยะไกลนี้เหมาะสำหรับการใช้งานแบบ peer-to-peer เช่น กล้องติดตัวและวิทยุสื่อสารสำหรับกิจกรรมกลางแจ้ง นอกจากนี้ ยังใช้ในการทำฟาร์มและเหมืองแร่ ซึ่งไม่จำเป็นใช้ SIM อีกต่อไป ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น

การพัฒนานับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญอย่างหนึ่งนะ เพราะหากสามารถพัฒนาให้สัญญาณมันแรงมากกว่านี้ ก็คงสามารถเอาประโยชน์ต่าง ๆ ได้มากขึ้น โดยเฉพาะกับใน Smart City ครับ

ที่มา
techspot

โดนใช้ไฟขุดคริปโต เจ้าของบ้าน Airbnb ออกกฏ พักแล้วห้ามขุดเหรียญ

ใช้ไฟขุดคริปโต

เอาคุ้มเลยนะ

เจ้าของบ้าน Airbnb ในสหรัฐฯ จำเป็นต้องเพิ่มกฎ “ห้ามขุดคริปโตฯ” หลังจากแขกคนหนึ่ง เข้าพักแล้วขุดคริปโต ทำให้มีบิลค่าไฟมากถึง $1500 (ประมาณ 49,000 บาท) แม้ว่าผู้เช่าจะดูแลบ้านอย่างดี แต่เขาก็ได้เงินจากการขุดคริปโตไปมากถึง 100,000 ดอลลาร์

เจ้าของบ้านได้ตรวจสอบกล้องวงจรปิดภายนอกบ้านและพบว่าผู้เข้าพักได้นำคอมพิวเตอร์ประมาณ 10 เครื่อง เข้ามาในบ้าน เจ้าของบ้านได้ส่งข้อความไปสอบถาม ซึ่งต่อมาได้ยอมรับว่า ทำเงินได้มากกว่า 100,000 ดอลลาร์จากการขุดคริปโตฯ ระหว่างที่พักอยู่

ปกติแล้ว เวลาที่เราจองห้องพักหรือโรงแรม ส่วนใหญ่แล้วค่าไฟหรือค่าน้ำ ก็จะถูกรวมไว้ในค่าใช้จ่ายรวมอยู่แล้ว ไม่ได้มีการมาคิดแยกเพิ่มถูก แม้ว่าเราจะเปิดแอร์ทั้งคืนทั้งวัน ก็ไม่ได้เสียเงินเพิ่ม แต่เคสข้างต้นนี่ ก็เกินไปหน่อยนึงนะ

ทั้งนี้ เรารู้กันอยู่แล้วว่า การขุดคริปโตฯ ต้องใช้ทรัพยากรจำนวนมาก ทั้งฮาร์ดแวร์ที่ทันสมัยและไฟฟ้าปริมาณมหาศาล รายงานจากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ เปิดเผยว่า “โรงงาน” ขุดคริปโตฯ 137 แห่ง ใช้พลังงานคิดเป็น 0.6% ถึง 2.3% ของการใช้พลังงานทั้งหมดในสหรัฐฯ ซึ่งคิดเป็นมูลค่าประมาณ 7.8 พันล้านถึง 30 พันล้านดอลลาร์ต่อปี

แต่ในเคสนี้ ยังดีที่ผู้เข้าพัก ยินดีที่จะจ่ายเงินค่าไฟคืนให้กับเจ้าของบ้าน แต่ถึงอย่างงั้น ก็จำเป็นต้องเพิ่มกฏเข้าไป เพราะอาจจะมีคนทำเลียนแบบ และไม่ยินดีจะจ่ายเงินให้ด้วย

ที่มา
extremetech

ดีลล่ม วงในเผย PlayStation 6 เกือบได้ใช้ชิป Intel

[ดีลล่ม] ปัจจุบันยังไม่ทราบว่า PS5 Pro ใช้ชิป AMD รุ่นไหน แต่ก่อนหน้านี้เราเกือบได้เห็น PS6 ที่ใช้ชิปจาก Intel แล้ว ทว่าสุดท้าย AMD ยังได้ไปต่อ

แหล่งข่าวไม่ระบุชื่อ เผยสองปีก่อน Intel เคยยื่นข้อเสนอกับทาวง Sony ในการออกแบบชิปประมวลผลบน PlayStation 6 แต่ไม่ประสบความสำเร็จ สุดท้ายทาง AMD ได้เป็นผู้ออกแบบชิปติดกันเป็นครั้งที่ 3 โดยใช้เซมิคอนดักเตอร์จาก TSMC เช่นเคย

อย่างไรก็ตาม ทางด้าน Reuters เผยอีกว่า ช่วงแรก Sony มีความสนใจที่จะใช้ชิป Intel สำหรับ PlayStation 6 หลัง Intel ได้ตั้งโรงงานผลิตแห่งใหม่ในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2021 โดยการประชุมกินเวลาไปหลายเดือน บ่งบอกเลยว่า Sony ให้ความสนใจอย่างจริงจัง

ทว่าสุดท้ายทาง Sony กับ Intel ไม่สามารถตกลงเรื่องผลกำไรได้ จนในที่สุดทาง AMD ได้ข้อเสนอไปแทน แม้จะเสนอราคาที่สูงกว่าก็ตาม

ส่วนนี้วิเคราะห์ได้ว่า ปัญหาจริง ๆ อาจเป็นเรื่องของ ‘ความเข้ากันได้’ จากตัวชิปประมวลผล ซึ่งต้องยอมรับว่า AMD ได้เปรียบในส่วนนี้ เพราะมีประสบการณ์มานานทั้งฝั่ง PlayStation และ Xbox การใช้ชิป Intel อาจต้องพัฒนาซอฟต์แวร์ใหม่มาเพื่อรองรับ จนอาจมีค่าใช้จ่ายมากกว่าในที่ท้ายที่สุด

ปัจจุบัน AMD ได้พัฒนาชิปให้กับกลุ่มเครื่องเล่นเกมคอนโซลหลายรุ่น จนทำกำไรได้อย่างมหาศาล ถึงขั้นที่เคยได้ PS4 ช่วยกู้สถานการณ์ตอนบริษัทเกือบล้มละลายมาแล้วด้วย หลังขายได้มากกว่า 117 ล้านเครื่อง

ที่มา : Techspot

ค่าไฟพุ่ง คนขับ Cybertruck โวย ชาร์จแบตนาน และอาจไม่คุ้ม

[แพงและนาน] ในตอนนี้ Cybertruck กระบะไฟฟ้าสุดล้ำจาก Tesla คงวิ่งโลดแล่นอยู่ทั่วสหรัฐฯ แล้ว หลังรอคอยกันมานาน อย่างไรก็ตาม มีผู้ใช้บางรายออกมาบ่นถึงการชาร์จไฟ เผยใช้เวลานานหากชาร์จเต็ม 100% และมีค่าไฟถูกกว่าน้ำมันแค่เล็กน้อย

utechpia.dev ผู้ใช้ Instagram เผยคลิปการชาร์จไฟ Cybertruck ตั้งแต่ 0 – 100% พบใช้เวลากว่า 90 นาที หรือประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง นับเป็นข้อเสียหลักของรถไฟฟ้าในปัจจุบัน ในขณะที่รถยนต์ไฮโดรเจนบางคัน ใช้เวลาเติมเพียงไม่กี่วินาทีเท่านั้น

 

ดูโพสต์นี้บน Instagram

 

โพสต์ที่แชร์โดย David Nguyen (@utechpia.dev)

นอกจากนี้ยังมีค่าไฟประมาณ 73 ดอลลาร์ฯ หรือประมาณ 2,500 บาทกันเลย ซึ่งถูกกว่าการเติมน้ำมันแบบเต็มถังเพียงเล็กน้อย ใด ๆ ก็ตาม ปัญหาจริง ๆ คือการใช้เวลาเติมแบบ 100% จาก 10% หรือ 20% ที่ยังนานเกินไป

สำหรับ Cybertruck ตัว Top ตามสเปกคือวิ่งได้ถึง 800 กม. ต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง ทว่ามี YouTube รายหนึ่ง เผยวิ่งจริงได้ประมาณ 80%

ที่มา : Supercarblondie

เดินป่าแบบล้ำ กางเกงติดมอเตอร์ ช่วยเพิ่มแรงได้ 40%

[Power Up] ขึ้นเขาลงเขาแบบล้ำ ๆ พบกับ Arc’tryx MO/GO กางเกงเดินป่าแบบ Exoskeleton เผยช่วยเพิ่มแรงขาของผู้ส่วมใส่ได้ถึง 40% และช่วยให้รู้สึกตัวเบาขึ้นด้วย

ปัจจุบันเทคโนโลยีประเภท Exoskeleton ที่มีการใช้โครงเสริมแรงภายนอก ถูกใช้บ่อยครั้งในทางการแพทย์ ซึ่งได้รับความนิยมมาหลายปีแล้ว แต่ในฝั่งผู้ใช้ทั่วไปพบเห็นไม่บ่อยนัก ล่าสุดทาง Arc’teryx และ Skip บริษัทย่อยจาก Google เปิดตัว Arc’tryx MO/GO ชูเป็นกางเกงเดินป่า ที่มาพร้อมพลับขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ตัวแรกของโลก

สำหรับตัว Arc’tryx MO/GO (ย่อมาจาก “Mountain Goat”) เผยมาพร้อมโครงคาร์บอนไฟเบอร์สั่งทำพิเศษ เสริมแรงด้วยมอเตอร์ที่ควบคุมด้วย AI อีกที ช่วยผสานหัวเข่าไปยังกล้ามเนื้อขาของผู้สวมใส่ จนรู้สึกเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย ทำให้สามารถปีนป่ายหรือเดินป่าได้ดีขึ้นถึง 40%

นอกจากจะช่วยให้เดินได้ดีขึ้นแล้ว ยังช่วยให้ผู้ส่วมใส่รู้สึกตัวเบาขึ้นด้วย โดยเบาขึ้นประมาณ 13 กก. แม้ว่าจะมีชุดแบตฯ หนัก 3 กก. ที่รอบเอวหรือขอบกางเกงอยู่ก็ตาม ซึ่งตัวแบตฯ ก็ใช้งานได้ประมาณ 3 ชั่วโมง และจะชาร์จใหม่โดยอัตโนมัติ ขณะที่ผู้สวมใส่กำลังเดินลงเขา

ส่วนการควบคุมด้วย AI นั้น เผยจะมีการประมวลผลแบบ Realtime โดยจะปรับการทำงานให้เข้ากับพื้นที่ภูมิประเทศและลักษณะการเดินของผู้สวมใส่ ซึ่งตัวผู้ใช้สามารถเปิด ‘โหมดความช่วยเหลืออัตโนมัติ’ ได้ โดยการแตะปุ่มที่ตัวกางเกง

ท้ายนี้ตัวกางเกง MO/GO เปิดราคาอยู่ที่ราว ๆ 5,000 ดอลลาร์ฯ หรือประมาณ 166,300 บาท คาดวางจำหน่ายในช่วงปีหน้า แต่ทั้งนี้ตัวกางเกาสามารถเช่าใช้งานได้ในป่าทางตะวันตกของสหรัฐฯ และแคนาดา โดยเปิดให้เช่าเดินป่าได้ 8 ชั่วโมงที่ 80 ดอลลาร์ฯ หรือประมาณ 2,700 บาทต่อครั้ง

ที่มา : Odditycentral , squamish

เกาหลีเริ่มแล้ว ใช้กล้องวงจรปิด ติด AI คาดการณ์อาชญากรรมล่วงหน้า

[จับล่วงหน้า] ราวกับเรื่องย่อในหนังแนว Sci-Fi ที่มีธีมตำรวจไล่ล่าคนร้าย (ในโลกอนาคต) แต่มันเกิดขึ้นจริง ๆ แล้วที่ประเทศเกาหลีใต้ เผยมีการใช้ AI ช่วยคาดการณ์เหตุอาชญากรรมล่วงหน้า ผ่านกล้องวงจรปิดแบบ Realtime เป็นการป้องกันก่อนเกิดเหตุ

สถาบันวิจัยอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคมของเกาหลีใต้เปิดตัว “Dejaview” ระบบวิเคราะห์ภาพจากกล้องวงจรปิด เพื่อตรวจจับเหตุอาชญากรรมล่วงหน้าได้ เผยใช้การพิจารณาจากทั้ง วัน เวลา สถานที่ บันทึกเหตุการณ์ในอดีต และตัวแปรต่าง ๆ เพื่อนำมาประเมินถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจริง

ทางด้าน TechXplore เผยตัว Dejaview มีหลักการทำงานสำคัญ 2 อย่าง อย่างแรกคือ การใช้ข้อมูลอาชญากรรมที่เคยเกิดขึ้น เช่น พื้นที่ห่างไกลในตอนกลางคืน ก็จะมีการตรวจจับเป็นพิเศษ โดยมีการใช้ข้อมูลปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ที่คล้ายคลึงกับเหตุอาชญากรรมในอดีต ในเวลาเดียวกัน

เมื่อตัดสินให้เป็นพื้นที่ความเสี่ยงสูง ทางเจ้าหน้าก็จะมีการติดตามอย่างใกล้ชิดมากขึ้น คอยสังเกตกล้องวงจรปิดในช่วงเวลานี้ พร้อมเตรียมทีมรอล่วงหน้า เพื่อให้ระงับเหตุได้ก่อนอย่างทันท่วงทีและเหมาะสม

อย่างที่สองคือ การคาดการณ์บุคคลที่มีความเสี่ยงสูง คอยสังเกตว่าจะมีแนวโน้มก่อเหตุซ้ำหรือไม่ ซึ่งจะมีการใช้ระบบวิเคราะห์พฤติกรรม พร้อมติดตามรูปแบบการเคลื่อนไหวอย่างเจาะจง เรียกได้คนเหล่านี้แม้จะถูกปล่อยตัวแล้ว แต่หากอยู่ในที่สาธารณะ ก็จะถูก AI จับตามองทันที

สำหรับเบื้องหลังของ Dejaview นั้น เผยมีการให้ AI เทรนข้อมูลจากคลิปกล้องวงจรปิดกว่า 32,000 คลิป ที่บันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ในช่วงเวลา 3 ปีที่ผ่านมา จนสามารถวิเคราะห์เหตุอาชญากรรมล่วงหน้า ที่มาจากเหตุการณ์คล้ายกันได้นั้นเอง

อย่างไรก็ตาม ตัวระบบถูกวิจารณ์เรื่องความเหมาะสม โดยเฉพาะเรื่องความเป็นส่วนตัว ซึ่งปัจจุบันมีการติดตั้งระบบดังกล่าวตามที่สาธารณะ เช่น สนามบิน โรงไฟฟ้า โรงงานต่าง ๆ และอาจนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ ภายในสิ้นปี 2025 นี้

นอกจากเกาหลีใต้ ยังมีอีกประเทศอย่างอาร์เจนตินา ที่ได้มีการติดตั้งระบบ AI ช่วยตรวจจับเหตุอาชญากรรมด้วยเช่นกัน ทว่าอาร์เจนตินาไม่ได้เอาแค่ข้อมูลจากกล้องวงจรปิดเท่านั้น แต่รวมไปถึงโซเชียลมีเดีย เว็บไซต์ และแม้แต่ Dark Web ด้วย

ที่มา : Techspot

ฟีเจอร์ยอดฮิต Nvidia ยืนยันเอง ไม่มี AI ไม่มีกราฟิกคอม

[ของมันต้องมี] จุดเด่นของชิปกราฟิกสำหรับเล่นเกมของ Nvidia คงหนีไม่พ้น DLSS เทคโนโลยีอัปสเกล (Upscaling) ที่ช่วยปรับปรุงความละเอียดของเกม ไปพร้อม ๆ กับดันค่าเฟรมเรต (fps) ให้สูงขึ้นตามไปด้วย ปัจจุบันกลายเป็นฟีเจอร์ยอดฮิต จนล่าสุดทางซีอีโออย่าง Jensen Huang ออกมาเผยเลยว่า ไม่มี AI ไม่มีกราฟิกคอมฯ

ย้อนกลับไปสัปดาห์ก่อน ในงาน Goldman Sachs Communacopia + Technology Conference ที่จัดขึ้นในซานฟรานซิสโก Jensen Huang ซีอีโอของ Nvidia ได้ออกมาเน้นย้ำถึงเรื่อง AI ว่า “เราไม่สามารถทำกราฟิกคอมฯ ได้อีกต่อไป หากไม่มีปัญญาประดิษฐ์”

ทางด้าน Jensen Huang ได้ยกตัวอย่างการใช้เทคโนโลยี AI มาช่วยประมวลผลพิกเซล จนได้ทั้งความเสถียรและคุณภาพ พร้อมเน้นย้ำถึงฟีเจอร์ DLSS ซึ่งถือเป็นวิวัฒนาการตามธรรมชาติ ของเทคโนโลยีกราฟิกกันเลย

สืบเนื่องจากเทคโนโลยีกราฟิกเริ่มมีศักยภาพมากขึ้น แต่ก็ใช้ทรัพยากรมากขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงต้องมีเทคโนโลยี AI เข้ามาช่วย เพื่อลดภาระดังกล่าว และช่วยให้รองรับได้หลากหลายแพลตฟอร์ม อาทิ คอนโซลพกพา ไปจนถึงเครื่อง PC

ปัจจุบัน DLSS มีคู่แข่งที่ให้ประสิทธิภาพคล้าย ๆ กันแล้วอย่าง FSR (FidelityFX Super Resolution) จาก AMD กับมี XeSS จาก Intel มี Auto Super Resolution จาก Microsoft และล่าสุด PSSR ของ PlayStation 5 Pro ซึ่งต่างก็เป็นเทคโนโลยี AI อัปสเกลเช่นกัน

โดยสรุปจึงกล่าวได้ว่า Jensen Huang เผย AI มีส่วนสำคัญที่ช่วยให้เกิดการพัฒนาชิปกราฟฟิกอย่างก้าวกระโดด ฉะนั้นหากไม่มี AI ก็คงไม่สามารถออกฟีเจอร์อะไรใหม่ ๆ ของเทคโนโลยีกราฟิกได้แล้วนั้นเอง

ที่มา : Techspot

Hot Issue