Home Blog Page 26

Smart Bubble e-hydrofoil แท็กซี่พลังงานไฟฟ้า แล่นเหนือพื้นน้ำได้

เห็นรถไฟฟ้ากันมามากแล้ว Techhub อยากพามาดูเรือไฟฟ้ากันบ้างดีกว่าฮะ เผื่อในอนาคต เราอาจต้องใช้เรือแทนรถ (ว่าไปนั่น)

บริษัท SeaBubbles ในฝรั่งเศส เปิดตัว Smart Bubble แท็กซี่น้ำไฮโดรฟอยล์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ ซึ่งสามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ 7 คน พร้อมนักบิน 1 คน สามารถแล่นด้วยความเร็วสูงสุด 30 กม./ชม. และมีระยะการแล่นประมาณ 1.25 ชั่วโมงต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง

เทคโนโลยีไฮโดรฟอยล์ (Hydrofoil Technology) หรือปีกใต้น้ำ เป็นเทคโนโลยีที่ถูกใช้เพื่อยกเรือขึ้นเหนือผิวน้ำเมื่อเรือแล่นด้วยความเร็วที่กำหนด ทำให้ลดแรงเสียดทานระหว่างตัวเรือกับน้ำ ส่งผลให้เรือสามารถแล่นได้เร็วขึ้น ประหยัดพลังงานมากขึ้น และลดแรงสั่นสะเทือนจากคลื่น ทำให้การเดินทางราบรื่นและสะดวกสบายมากขึ้น

เมื่อ Bubble เร่งความเร็วถึง 6 นอต (11 กม./ชม.) ตัวถังใยคอมโพสิตของมันจะถูกยกขึ้นจากน้ำบนฟอยล์คาร์บอนไฟเบอร์สามชิ้นที่กางออกโดยอัตโนมัติ หนึ่งชิ้นที่ด้านหน้าและสองชิ้นที่ด้านหลัง จากนั้นจะแล่นด้วยความเร็ว 12 นอต (22 กม./ชม.) โดยใช้เซ็นเซอร์ไจโรสโคปและระดับความสูงเพื่อวัดมุมเอียงและมุมกลิ้งอย่างต่อเนื่อง ทำให้ตัวเรือมีความเสถียร คนเมาเรือ ต้องชอบสิ่งนี้แน่

สำหรับ แท็กซี่น้ำ หรือ ยานพาหนะทางน้ำสำหรับขนส่ง กำลังเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ แม้ในปัจจุบัน ยังจำกัดเฉพาะคนบางกลุ่ม แต่ก็ถือว่า ได้เข้ามาช่วยแก้ปัญหาบางอย่าง เช่น เรื่องการจราจรบนถนน ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยว และการเป็นระบบไฟฟ้า ก็ทำให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า

ที่มา
newatlas

คู่แข่ง Neuralink ควบคุมบ้านผ่านความคิด ไม่ต้องฝั่งชิปในสมอง

Neuralink

Elon มีหนาว ๆ บ้างล่ะ…

Synchron บริษัทด้านเทคโนโลยีระบบประสาท ได้พัฒนา Brain-computer interface (BCI) ช่วยให้ผู้ป่วยอัมพาตสามารถควบคุมอุปกรณ์สมาร์ทโฮมได้ด้วยความคิด จากผลทดสอบ ผู้เข้าร่วมการทดลองที่เป็นโรค ALS สามารถเปิดไฟ เลือกชมรายการทีวี และสั่งงานอื่นๆ ผ่าน Alexa ได้เพียงแค่คิดเท่านั้น ซึ่งอินเทอร์เฟซของ Synchron จะแปลงความคิดของเขาเป็นคำสั่งที่ส่งไปยัง Alexa ซึ่งติดตั้งอยู่บนแท็บเล็ต

ALS หรือ Amyotrophic Lateral Sclerosis เป็นโรคเกี่ยวกับระบบประสาทที่ทำให้เซลล์ประสาทควบคุมการเคลื่อนไหวเสื่อมสภาพลง ส่งผลให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงลงเรื่อยๆ จนเป็นอัมพาตในที่สุด

ข้อได้เปรียบที่สำคัญของ Synchron คือ BCI ของพวกเขาสามารถฝังได้โดยไม่ต้องผ่าตัดกะโหลกศีรษะ ทำให้เข้าถึงได้ง่ายกว่าและปลอดภัยกว่า BCI ของ Neuralink ซึ่งต้องผ่าตัดกระโหลกและทำการฝังชิป นอกจากนี้ Synchron ยังมีผู้เข้าร่วมทดลองมากกว่า Neuralink นั่นแปลว่า มันมีความปลอดภัย และมีวิธีการที่ง่ายกว่า

Synchron ใช้วิธีการฝังชิปที่เรียกว่า “Stentrode” ซึ่งเป็นขดลวดที่สามารถขยายตัวเองได้พร้อมกับอิเล็กโทรดที่ฝังอยู่ โดยจะสอด Stentrode เข้าไปยังพื้นผิวของสมองผ่านทางหลอดเลือดดำตรงคอ ทำให้ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ วิธีการนี้มีข้อดีคือมีความปลอดภัยสูงกว่าการผ่าตัดเปิดกะโหลก และสามารถทำได้โดยคลินิกที่หลากหลายกว่า เนื่องจากไม่จำเป็นต้องใช้แพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านศัลยกรรมสมอง

ทั้งนี้ Synchron ได้รับทุนสนับสนุนจากบุคคลสำคัญอย่าง Bill Gates และ Jeff Bezos ถึงแม้ว่าจะยังต้องใช้เวลาอีกนานกว่าที่ BCI จะพร้อมสำหรับการใช้งานเชิงพาณิชย์ แต่เทคโนโลยีนี้ก็แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะรักษาผู้ป่าวยที่เป็นอัมพาทครับ

ที่มา
newatlas

หุ่นยนต์ในอนาคต มีฟีเจอร์อะไรที่จำเป็นบ้าง มาทายกัน

หุ่นยนต์ในอนาคต

ต้องยอมรับว่า โลกแห่งอนาคตอันใกล้นี้ จะเต็มไปด้วย AI และหุ่นยนต์ที่ถูกสร้างมาเพื่อใช้ในบริบทต่าง ๆ  มากมาย เทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างก้าวกระโดด จะทำให้หุ่นยนต์มีความสามารถหลากหลายและพร้อมที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น

ยกตัวอย่าง Humanoids ของ Tesla ที่ตอนนี้ ได้ถูกนำไปใช้จริงในโรงงานผลิตรถยนต์ กับงานที่ต้องทำเป็นประจำ หรือทำซ้ำซาก ซึ่งสามารถทดแทนแรงงานคนบางส่วนได้  หรือหุ่นยนต์อย่าง iRonCub ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อติดเครื่องยนต์เจ็ท ไว้สำหรับทำภารกิจกู้ภัย 

นี่ยังไม่รวม หุ่นยนต์ดูดฝุ่นในบ้าน ไปจนถึงหุ่นยนต์แขนกลในโรงงานอุตสาหกรรม  ซึ่งความก้าวหน้าของ AI ทำให้หุ่นยนต์สามารถเรียนรู้และปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างรวดเร็ว และในอนาคตอันใกล้นี้ เราอาจได้เห็นหุ่นยนต์ที่มีความสามารถทัดเทียม หรือแม้แต่เหนือกว่ามนุษย์ในหลาย ๆ ด้าน

หุ่นยนต์ในอนาคต

ลองมาคิดกันเล่น ๆ นะว่า ในอนาคตหุ่นยนต์ในยุคนั้นจะมีอะไรล้ำ ๆ มากกว่าที่ตอนนี้ Techhub อยากชวนทุกคน มาลองจินตนาการ ถึงหุ่นยนต์ในอนาคตว่าจะมีส่วนเข้ามาช่วยอะไรเราได้บ้าง เช่น เป็นหุ่นยนต์รับใช้ หุ่นยนต์สำหรับเลี้ยงสัตว์ หุ่นยนต์ที่มีตาเลเซอร์เปิดกระป๋องเงาะ (จะเวอร์ไปไหน) หรือหุ่นยนต์อื่น ๆ ในแบบที่เราจะจินตนาการออก ซึ่งสามารถตอบโจทย์การใช้งานเฉพาะตัวบุคคล (ฮั่นแน่ รู้นะคิดอะไรอยู่) 

หรือออกลองนึกไม่ออก ลองนึกสถานการณ์เล่น ๆ ก็ได้ว่า หากเราต้องเป็นหุ่นยนต์ที่ต้องติดเกาะอยู่คนเดียว เราจำเป็นต้องเป็นหุ่นยนต์ที่มีสกิลอะไรเพื่อเอาตัวรอดบ้าง อย่างตอนนี้ที่คิดได้ ก็น่าจะเป็นสกิลจำเป็น ไว้สำหรับผลิตไฟฟ้า กับทรัพยากรที่มีจำกัดละนะ (ไม่งั้นแบตหมดละแย่เลย)  

ใครมีจินตนาการล้ำ ๆ มาแชร์กันนะ Techhub มีให้ลุ้นรางวัลตั๋วหนังสำหรับชมหนังเรื่อง The Wild Robot” หุ่นยนต์ผจญภัยในป่ากว้าง พร้อมเสื้อยืด Techhub ลายเท่ ๆ กันไปเลย อย่ารอช้า รีบหน่อย ของรางวัลมีจำนวนจำกัด

สำหรับหนัง “The Wild Robot” หุ่นยนต์ผจญภัยในป่ากว้าง เป็นเรื่องราวการผจญภัยครั้งยิ่งใหญ่และการเดินทางของหุ่นยนต์ ROZZUM รุ่น 7134 หรือเรียกสั้น  ๆ ว่า “รอซ” ซึ่งเรืออับปางและติดอยู่บนเกาะร้างที่ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ รอซต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่โหดร้าย ค่อย  ๆ สร้างความสัมพันธ์กับสัตว์บนเกาะ และกลายเป็นแม่บุญธรรมของลูกห่านกำพร้าตัวหนึ่ง

ในเวอร์ชั่นภาษาไทย ได้ นิโคล และทิกเกอร์ เทริโอ ผู้ให้เสียงพากย์ไทย “รอซ” และ “ไบรท์บิล” ใน The Wild Robot หุ่นยนต์ผจญภัยในป่ากว้าง ภาพยนตร์เข้าฉาย 17 ตุลาคม ในโรงภาพยนตร์

ใครอยากดูหนัง The Wild Robot หุ่นยนต์ผจญภัยในป่ากว้าง รอบพิเศษก่อนใคร

ร่วมสนุกได้ที่ Facebook Techhub 

สู้กลับ จีนใช้ดาวเทียม Starlink ตรวจจับเครื่องบินล่องหน

Starlink

หมดกัน F-22

เรารู้กันดีว่า เครื่องบินอย่าง F-22 หรือ F-35 มีความสามารถในการหลบเลี่ยงการตรวจจับจากเรดาห์ ทำให้มันกลายเป็นเหมือนเครื่องบินที่ล่องหนได้

แต่ตอนนี้ จีนสามารถพัฒนาเครื่องมือที่สามารถตรวจจับเครื่องบินล่องหนดังกล่าว โดยใช้ดาวเทียม Starlink ถือเป็นการตบหน้าอเมริกาอย่างแรง ที่สามารถใช้เทคโนโลยีในประเทศตัวเอง เพื่อตรวจจับเครื่องบินที่ผลิตในประเทศตัวเอง

ในการทดลองนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้โดรน DJI Phantom 4 Pro ซึ่งมีขนาดประมาณเหยี่ยวตัวนึง เพื่อจำลองเครื่องบินล่องหน ซึ่งตัวโดรนนี้มีพื้นที่สะท้อนเรดาร์ใกล้เคียงกับเครื่องบินรบล่องหนจริง แต่แทนที่จะใช้การปล่อยคลื่นเรดาร์จากภาคพื้นดินตามปกติ นักวิทยาศาสตร์ตรวจจับโดรนโดยการวิเคราะห์สัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้าจากดาวเทียม Starlink ที่โคจรผ่านฟิลิปปินส์

วิธีการตรวจจับนี้ใช้หลักการกระเจิงไปข้างหน้า โดยวัตถุ เช่น เครื่องบินหรือโดรน จะรบกวนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากดาวเทียม ทำให้เกิดการรบกวนสัญญาณเล็กน้อย ซึ่งจะถูกจับและวิเคราะห์เพื่อระบุตำแหน่งของวัตถุ เทคนิคนี้ไม่จำเป็นต้องให้เรดาร์ปล่อยสัญญาณ ทำให้ฝ่ายตรงข้ามตรวจจับหรือรบกวนได้ยาก

ด้วยดาวเทียมมากกว่า 6,000 ดวงในวงโคจร เครือข่ายดาวเทียม Starlink ถือว่ามีขนาดใหญ่มาก ซึ่งพวกมันปล่อยสัญญาณความถี่สูงเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่กว้าง แม้ว่าสัญญาณเหล่านี้จะถูกเข้ารหัสและไม่สามารถใช้งานได้สำหรับลูกค้าในจีน แต่ทีมวิจัยก็สามารถสร้างเครื่องรับโดยใช้อุปกรณ์ที่หาซื้อได้ทั่วไปเพื่อจับและประมวลผลข้อมูล (แน่ะ เก่งซะจริง)

อย่างไรก็ตาม การทดลองของจีนแสดงให้เห็นว่าการใช้สัญญาณดาวเทียมจากบุคคลที่สาม เช่น สัญญาณจาก Starlink สามารถหลีกเลี่ยงคุณสมบัติการล่องหนเหล่านี้ได้ ทำให้สามารถตรวจจับเครื่องบินดังกล่าวได้โดยง่าย  ซึ่งถ้าหากจะหลีกเลี่ยงการตรวจจับ  ก็ต้องทำให้เครื่องบินไม่ปล่อยคลื่นรบกวนเลย ซึ่งมันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ….

ที่มา
tomshardware

เซฟเก็บไว้เลย คอร์สเรียนสร้างเว็บฟรี เข้าใจพื้นฐาน ใช้งาน CSS ได้

เซฟเก็บไว้คอร์สเรียนฟรีสำหรับชาว IT เรียนรู้แนวคิดสากลของการพัฒนาเว็บ เข้าใจพื้นฐานของ CSS และรูปแบบคำสั่ง รวมถึงการสร้างหน้าเว็บในฐานะนักพัฒนาซอฟต์แวร์ระดับจูเนียร์

เรียนได้ยาว ๆ แบบไม่มีสะดุด อย่าลืมลงทะเบียนก่อนด้วยนะ มีหลักสูตรไหนน่าสนใจบ้างไปดูกัน 

HTML Essentials (Beginner)

หลักสูตรเรียนรู้ออกแบบ จัดโครงสร้าง และปรับแต่งหน้าเว็บโดยใช้ HTML ซึ่งเป็นภาษาพื้นฐานของเว็บ คุณจะเข้าใจแนวคิดพื้นฐานของเทคโนโลยีการพัฒนาเว็บ

CSS Essentials (Beginner/Intermediate)

ปรับแต่งหน้าเว็บโดยใช้ CSS ได้ จะได้เรียนรู้แนวคิดพื้นฐานและขั้นสูง เพื่อปรับปรุงความน่าสนใจและการใช้งานของเว็บไซต์ของคุณ

ใครที่อยากเป็น Web Developer หรืออยากมีสกิลด้านนี้โดยเฉพาะ อย่าลืมเข้าไปเรียนกันนะ 

นอกจากเนื้อหาที่แนะนำไปแล้ว ยังมีคอร์สเรียนอีกมากมายให้ได้อัปสกิลกันที่ จิ้มลิ้งก์เลย >> techhub productivity  

#HTML #CSS #IT #เรียนฟรี #TechhubUpdate

ไปไกลแล้ว Google โชว์ความเจ๋ง DeepMind ใช้ AI สอนหุ่นยนต์ทำงานยาก

DeepMind ของ Google เปิดตัวระบบ AI รุ่นใหม่ ออกแบบมาเพื่อช่วยให้หุ่นยนต์เรียนรู้และทำงานที่ซับซ้อนซึ่งต้องอาศัยการเคลื่อนไหวที่แม่นยำและชำนาญ

สอนหุ่นยนต์สามนิ้ว DEX-EE ให้ผูกเชือกรองเท้าและจัดการงานที่ซับซ้อนมากขึ้น แถมประสบความสำเร็จมากกว่า 98% 

AI จะควบคุมและสั่งงานได้จากระยะไกลเพื่อรวบรวมข้อมูล ฝึกฝนช่วยให้หุ่นยนต์เรียนรู้งานใหม่ ๆ ทดสอบหุ่นยนต์ในการจำลองสถานการณ์ขึ้นมาในหลายรูปแบบ

เพื่อทดสอบให้หุ่นยนต์ผูกเชือกรองเท้า ใส่เกียร์ เปลี่ยนชิ้นส่วนหุ่นยนต์ แขวนเสื้อ หรือทำความสะอาดห้องครัวได้สำเร็จ

โดยใช้ระบบ ALOHA Unleashed และ ระบบ DemoStart ควบคุมมือหุ่นยนต์ เพิ่มความท้าทายที่ซับซ้อนใส่นิ้ว ข้อต่อ และเซ็นเซอร์เพิ่มมากขึ้น

ในอนาคต Google จะพัฒนาเทคโนโลยีต่อไปเรื่อยๆ เพื่อสักวันหนึ่งหุ่นยนต์และ AI จะถูกเอาไปใช้ในงานอุตสาหกรรมหรือช่วยเหลือมนุษย์

 

ที่มา : interestingengineering  

 #หุ่นยนต์  #AI  #DeepMind #TechhubUpdate

เกิดเหตุไม่คาดคิด เพจเจอร์ระเบิดพร้อมกัน คาดโดนรีโมตจากระยะไกล

เมื่อวันที่ 17 กันยายน ที่ผ่านมาเพจเจอร์ได้เกิดระเบิดขึ้นต่อเนื่องนาน 1 ชั่วโมงในตอนใต้ของทางเลบานอนที่ผู้คนส่วนใหญ่เป็นกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ 

ได้มีวิดีโอวงจรปิดบันทึกเหตุการณ์ได้ทันขณะที่ประชาชนกำลังซื้อของในร้านขายของ อุปกรณ์พกพาขนาดเล็กหรือเพจเจอร์ที่วางอยู่ข้างแคชเชียร์เกิดระเบิดขึ้น

กระทรวงสาธารณสุขของเลบานอนระบุว่า ยอดผู้เสียชีวิต 9 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บประมาณ 2,800 ราย

ล่าสุดนิวยอร์กไทมส์รายงานว่าอิสราเอลได้ซ่อนวัตถุระเบิดไว้ในเครื่องรับส่งวิทยุโกลด์อพอลโลที่ผลิตในไต้หวัน ก่อนที่จะนำเข้ามายังเลบานอนโดยวัตถุระเบิดดังกล่าวถูกฝังไว้ข้างๆ แบตเตอรี่พร้อมสวิตช์ที่สามารถสั่งให้จุดระเบิดได้จากระยะไกล

หลายคนอาจตั้งคำถามว่าทำไมประเทศเลบานอนยังคงใช้เพจเจอร์อยู่?

ส่วนหนึ่งเพราะความขัดแย้งระหว่างฮิซบอลเลาะห์และอิสราเอล ที่ต้องคำนึงเรื่องากรติดต่อสื่อสาร ติดตามตำแหน่ง การดักฟังต่าง ๆ หลายคนในประเทศจึงกลับมาใช้เพจเจอร์อีกครั้ง

ในขณะที่รัฐบาลอิสราเอลได้ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าวโดยบอกว่าเป็นข้อมูลเท็จ ไม่ได้แสดงความคิดเห็นโดยตรงจากการระเบิดครั้งนี้

ถึงแม้ว่าจะกลับมาใช้เทคโนโลยีรุ่นเก่าแล้วแต่ก็ยังเกิดเหตุไม่คาดฝันที่สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก 

 

ที่มา : reuters

#เพจเจอร์  #TechhubUpdate

อาลีบาบา คลาวด์ เปิดตัวโมเดล AI ใหม่ และปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานรองรับการประมวลผลด้วย AI

อาลีบาบา คลาวด์ ธุรกิจด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและหน่วยงานหลักด้านอินเทลลิเจนซ์ของอาลีบาบา กรุ๊ป ประกาศ ณ งาน Apsara Conference ซึ่งเป็นงานประชุมประจำปีครั้งสำคัญของบริษัทฯ ว่าได้นำเสนอ Owen 2.5 ซึ่งเป็นโมเดลด้านภาษาขนาดใหญ่ของบริษัทฯ ที่เพิ่งเปิดตัวล่าสุด มากกว่า 100 โมเดลให้กับชุมชนโอเพ่นซอร์สทั่วโลก

นอกจากนี้ อาลีบาบา คลาวด์ ยังได้เปิดตัวโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการสร้าง ทดสอบ และการใช้งานแอปพลิเคชันต่างๆ (full-stack infrastructure) ที่ออกแบบมาเพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการการประมวลผลที่ทรงพลังเพื่อใช้กับ AI ที่เพิ่มมากขึ้น โดยโครงสร้างพื้นฐานใหม่นี้ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์และบริการคลาวด์ล้ำหน้า ที่ช่วยให้การประมวลผล เครือข่าย และสถาปัตยกรรมศูนย์ข้อมูลมีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยมีจุดหมายเพื่อสนับสนุนการพัฒนาที่ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม และการใช้โมเดล AI ต่าง ๆ ได้ในวงกว้าง

นายเอ็ดดี้ วู ประธานและซีอีโอของอาลีบาบา คลาวด์ อินเทลลิเจนซ์ กล่าวว่า “อาลีบาบา คลาวด์ ลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี AI และการสร้างโครงสร้างพื้นฐานระดับโลกของบริษัทฯ อย่างจริงจังในครั้งนี้ ด้วยเรามุ่งมั่นสร้างโครงสร้างพื้นฐาน AI แห่งอนาคต เพื่อให้บริการลูกค้าทั่วโลก และให้ลูกค้าของเราได้พบกับโอกาสทางธุรกิจอย่างไม่มีข้อจำกัด”

เผยโมเดลโอเพ่นซอร์ส 100 โมเดล

โมเดลโอเพ่นซอร์สต่าง ๆ ของ Owen 2.5 ที่เพิ่งเปิดตัวใหม่ มีพารามิเตอร์ตั้งแต่ขนาด 0.5 ถึง 72 พันล้านพารามิเตอร์ มีความรอบรู้มากขึ้น มีความสามารถด้านคณิตศาสตร์และการเขียนโค้ดอย่างมาก สามารถรองรับได้มากกว่า 29 ภาษา รองรับการใช้ AI ได้หลากหลายทั้งการใช้งานที่ edge หรือบนคลาวด์ ในทุกแวดวง ไม่ว่าจะเป็นวงการยานยนต์ วงการเกม ไปจนถึงการวิจัยทางวิทยาศาสตร์

ซีรีส์โมเดล Owen ซึ่งเป็นพอร์ตโฟลิโอของโมเดลภาษาขนาดใหญ่ที่เป็นเอกสิทธิ์ของอาลีบาบา คลาวด์ ประสบความสำเร็จอย่างงดงามตั้งแต่เปิดตัวครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายน 2566 ปัจจุบัน ยอดดาวน์โหลดโมเดลต่าง ๆ ของ Owen ทะลุ 40 ล้านครั้ง จากทุกแพลตฟอร์ม เช่น Hugging Face และ ModelScope ซึ่งเป็นชุมชนโอเพ่นซอร์สที่ตั้งขึ้นโดยอาลีบาบา ยิ่งไปกว่านั้นโมเดลเหล่านี้ยังเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดการสร้างสรรค์โมเดลต่าง ๆ มากกว่า 50,000 รายการบน Hugging Face

Owen 2.5 จะโอเพ่นซอร์สโมเดลมากกว่า 100 รายการ กลุ่มผลิตภัณฑ์นี้ประกอบด้วย โมเดลพื้นฐาน (base models) โมเดลคำสั่ง (instruct models) และโมเดลเชิงปริมาณ (quantized models) ที่มีระดับความแม่นยำและวิธีการหลากหลาย ครอบคลุมการใช้งานรูปแบบต่าง ๆ เช่น ภาษา เสียง และ ภาพ พร้อมด้วยโค้ดเฉพาะทางและโมเดลทางคณิตศาสตร์ต่าง ๆ

นายจิงเหริน โซว ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของอาลีบาบา คลาวด์ อินเทลลิเจนซ์ กล่าวว่า “นับเป็นก้าวสำคัญของเราที่ได้เปิดตัวสิ่งที่เป็นการสร้างสรรค์ด้านโอเพ่นซอร์สที่กว้างขวางมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเสริมศักยภาพให้กับนักพัฒนาซอฟต์แวร์และองค์กรทุกขนาด ให้สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี AI ได้มากขึ้น และกระตุ้นการเติบโตให้กับชุมชนโอเพ่นซอร์ส  เรายังคงให้คำมั่นที่จะลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน AI ที่ล้ำหน้า เพื่อส่งเสริมให้อุตสาหกรรมหลากหลายสามารถนำเทคโนโลยี generative AI ไปใช้ได้อย่างกว้างขวาง”

คำบรรยายภาพ: จิงเหริน โซว ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของอาลีบาบา คลาวด์ อินเทลลิเจนซ์ เปิดตัวโมเดล open-sourced Qwen2.5 ใหม่ ณ งาน Apsara Conference 2024

อาลีบาบา คลาวด์ ยังได้ประกาศว่าได้อัปเกรด Qwen-Max ซึ่งเป็นโมเดลเรือธงที่บริษัทฯ เป็นเจ้าของ โมเดล Qwen-Max ที่ได้รับการเพิ่มประสิทธิภาพ แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพที่ทัดเทียมกันกับโมเดลที่ล้ำสมัยอื่น ๆ ในด้านต่าง ๆ เช่น ความเข้าใจภาษาและการใช้เหตุผล คณิตศาสตร์ และการเขียนโค้ด

Qwen2.5-Max แสดงให้เห็นถึงความทรงประสิทธิภาพในงานด้านต่าง ๆ เช่น คณิตศาสตร์และการเขียนโค้ด
เมื่อเทียบกับโมเดลล้ำสมัยรุ่นอื่น ๆ

ขยายขอบเขตความสามารถหลายรูปแบบ

นอกจากชุดโมเดลภาษาขนาดใหญ่ที่แพร่หลายแล้ว อาลีบาบา คลาวด์ ยังได้เปิดตัวโมเดลที่สามารถแปลงข้อความเป็นวิดีโอ (text-to-video) ใหม่ให้เป็นส่วนหนึ่งของโมเดลการสร้างรูปภาพในตระกูลทงอี้ ว่านเซี่ยง (Tongyi Wanxiang) โมเดลใหม่นี้สามารถสร้างวิดีโอคุณภาพสูงในรูปแบบที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นฉากสมจริง ไปจนถึงภาพเคลื่อนไหว 3 มิติ (3D animation) ทั้งยังสามารถสร้างวิดีโอจากคำสั่งที่เป็นข้อความภาษาจีนและภาษาอังกฤษ และแปลงภาพนิ่งเป็นวิดีโอที่มีการเคลื่อนไหว โมเดลนี้มีสถาปัตยกรรม diffusion transformer (DiT) ขั้นสูงเพื่อเพิ่มคุณภาพให้กับการสร้างวิดีโอใหม่

บริษัทฯ ยังกำลังทำการอัปเดตโมเดลภาษาภาพ (vision language model) ครั้งสำคัญ ด้วยการเปิดตัว Owen2-VL ซึ่งสามารถเข้าใจวิดีโอที่มีความยาวมากกว่า 20 นาที และสามารถตอบคำถามผ่านวิดีโอได้ Owen2-VL มาพร้อมความสามารถในการใช้เหตุผลและการตัดสินใจที่ซับซ้อน ได้รับการออกแบบมาสำหรับใช้ได้ทั้งกับโทรศัพท์มือถือ ยานยนต์ และ หุ่นยนต์ ช่วยให้การทำงานเฉพาะทางเป็นไปโดยอัตโนมัติ

อาลีบาบา คลาวด์ ยังได้เปิดตัว AI Developer ซึ่งเป็นผู้ช่วยด้าน AI ที่มี Qwen เป็นเทคโนโลยีหลักอยู่เบื้องหลัง ออกแบบมาสำหรับการเขียนโปรแกรม โดยสนับสนุนการทำงานแบบอัตโนมัติให้กับโปรแกรมเมอร์ เช่น การวิเคราะห์ความต้องการ การเขียนโปรแกรมโค้ด การระบุจุดบกพร่องของซอฟต์แวร์และทำการแก้ไข ความสามารถเหล่านี้ช่วยเพิ่มทักษะให้นักพัฒนา และช่วยให้มุ่งความสนใจกับงานสำคัญอื่น ๆ ได้มากขึ้น

การอัปเกรดโครงสร้างพื้นฐาน AI แบบฟูลสแตก

อาลีบาบา คลาวด์ ยังได้ประกาศการอัปเดตใหม่ ๆ จำนวนมากให้กับโครงสร้างพื้นฐาน AI แบบฟลูแสตก ครอบคลุมถึง สถาปัตยกรรมดาต้าเซ็นเตอร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การบริหารจัดการข้อมูล การเทรนและการอนุมานโมเดล ดังนี้

  • สถาปัตยกรรมดาต้าเซ็นเตอร์ยุคใหม่รองรับความต้องการการพัฒนา AI ที่กำลังพุ่งสูงขึ้น: อาลีบาบา คลาวด์ เปิดตัว CUBE DC 5.0 ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมดาต้าเซ็นเตอร์รุ่นใหม่ของบริษัทฯ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการและความหลากหลายของการประมวลผลสมรรถนะสูงที่เพิ่มขึ้นจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของ AI ทั่วโลก สถาปัตยกรรม CUBE ใหม่นี้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานและการดำเนินงาน ด้วยชุดเทคโนโลยีขั้นสูงที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทฯ เช่น ระบบระบายความร้อนแบบไฮบริดด้วยลมและของเหลว (wind-liquid hybrid cooling system) สถาปัตยกรรมกระจายพลังงานกระแสตรงทั้งหมด (all-direct current power distribution architecture) และระบบบริหารจัดการอัจฉริยะ รวมถึงลดเวลาในการนำไปใช้ได้ถึง 50% เมื่อเทียบกับดาต้าเซ็นเตอร์แบบเดิมที่สร้างด้วยการออกแบบแบบแยกส่วนแล้วนำมาประกอบกัน (prefabricated modular)
  • โซลูชัน Open Lake เพื่อใช้ข้อมูลให้เป็นประโยชน์สูงสุด: การที่องค์กรต่าง ๆ เผชิญความท้าทายด้านการบริหารจัดการข้อมูลมหาศาลท่ามกลางการความต้องการด้าน generative AI ที่เพิ่มมากขึ้น อาลีบาบา คลาวด์ เปิดตัว Alibaba Cloud Open Lake ซึ่งสามารถบูรณาการเอนจิ้นบิ๊กดาต้าไปยัง
    โซลูชันครบวงจรหนึ่ง ๆ ได้อย่างราบรื่น จึงใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้เต็มประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการใช้งานกับ generative AI การผสานรวมเวิร์กโฟลว์ ประสิทธิภาพการทำงานที่มากขึ้น และการกำกับดูแลที่รัดกุมไว้บนแพลตฟอร์มเดียว ทำให้ใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยคอมพิวสตอเรจที่แยกกัน การกำกับดูแลข้อมูลที่ชัดเจน และประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาได้อย่างมาก
  • AI Scheduler พร้อมการเทรนและอนุมานโมเดลแบบองค์รวม: อาลีบาบา คลาวด์ เปิดตัว PAI AI Scheduler ที่มาพร้อมการเทรนและอนุมานโมเดลแบบบูรณาการ ซึ่งเป็นเอนจิ้นการจัดกำหนดการแบบคลาวด์-เนทีฟที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทฯ ที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรการประมวลผล การผสานรวมทรัพยากรการประมวลผลหลากหลาย การจัดการการกำหนดทรัพยากรที่ยืดหยุ่น การปรับเปลี่ยนงานได้แบบเรียลไทม์ และการกู้คืนข้อผิดพลาดอัตโนมัติ ไว้ด้วยกันอย่างชาญฉลาด ทำให้สามารถบรรลุอัตราการใช้ประโยชน์การประมวลผลที่มีประสิทธิภาพได้มากกว่า 90%
  • DMS สำหรับการบริหารจัดการเมตาดาต้าแบบองค์รวม: อาลีบาบา คลาวด์ เปิดตัว DMS: OneMeta+OneOps ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยให้บริหารจัดการแหล่งข้อมูลมากกว่า 40 ประเภทที่อยู่ในฐานข้อมูล คลังข้อมูล และดาต้าเล้ก บนสภาพแวดล้อมคลาวด์หลายแห่งได้เป็นหนึ่งเดียว เพื่อช่วยองค์กรบริหารจัดการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพและได้ใช้คุณประโยชน์ของข้อมูลเหล่านั้น แพลตฟอร์มนี้จะเพิ่มความเร็วในการใช้ข้อมูลได้ 10 เท่า เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการเปลี่ยนข้อมูลให้กลายเป็นความชาญฉลาดที่มีคุณค่าและองค์กรนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีนัยสำคัญ
  • บริการการประมวลผลแบบยืดหยุ่นที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น: อาลีบาบา คลาวด์ เปิดตัวอินสแตนซ์ Elastic Compute Service (ECS) สำหรับองค์กรเป็นรุ่นที่ 9 โดยอินสแตนซ์ ECS รุ่นล่าสุดนี้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพอย่างโดดเด่น ซึ่งรวมถึงเพิ่มความเร็วในการแนะนำการค้นหา 30% และเพิ่มประสิทธิภาพการอ่านและเขียน Queries Per Second (QPS) 17% เมื่อใช้กับผลิตภัณฑ์ด้านฐานข้อมูลต่าง ๆ เทียบกับรุ่นก่อนหน้า

การอัปเดตเหล่านี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้การสนับสนุนที่ครบวงจรแก่ลูกค้าและพันธมิตร เพื่อให้ลูกค้าและพันธมิตรได้รับประโยชน์สูงสุดจากเทคโนโลยีล่าสุดที่ใช้ในการสร้างแอปพลิเคชัน AI ทรงประสิทธิภาพ อย่างยั่งยืน และครอบคลุมมากขึ้น

 

ญี่ปุ่นเตรียมสร้างซูเปอร์คอมพ์ Fugaku Next ระดับ Zeta-class แรงพันเท่า

เผื่อใครไม่รู้นะว่า มีอยู่ไม่กี่ประเทศที่พยายามแข่งกันเป็นผู้นำด้านคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงระดับโลก หลัก ๆ ก็จะมี ญี่ปุ่น จีน แล้วก็สหรัฐอเมริกาครับ

โดยล่าสุดญี่ปุ่นเปิดเผยแผนการสร้างซูเปอร์คอมพิวเตอร์ “เซตต้า” (Zeta-class) เครื่องแรกของโลก หากทำสำเร็จ มันจะมีความสามารถในการประมวลผลอันล้ำสมัย ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นอย่างมาก

แต่ก่อนอื่น ญี่ปุ่นต้องหาทางรับมือกับอัตราการใช้พลังงานมหาศาลที่ตามมาด้วยเช่นกัน ซึ่งในระดับ Zeta-class จะมีประสิทธิภาพในการประมวลผลมากกว่า ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ชั้นนำในปัจจุบันถึงพันเท่า

โครงการนี้มีชื่อว่า “ฟูกาคุ เน็กซ์” ( Fugaku Next ) ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีของญี่ปุ่น (MEXT) คาดว่าจะใช้งบประมาณในการสร้างมากกว่า 750 ล้านดอลลาร์ และคาดว่าจะพร้อมใช้งานเต็มรูปแบบภายในปี 2030

อย่างไรก็ตาม ก่อนจะสร้าง Zeta-Class ญี่ปุ่นต้องเอาชนะความท้าทายเรื่องของการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่าเครื่องจักรระดับ “เซตต้า” ที่ใช้เทคโนโลยีในปัจจุบันอาจต้องใช้พลังงานเทียบเท่ากับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 21 โรง

แต่โครงการดังกล่าว วางแผนที่จะแก้ไขปัญหานี้โดยการนำเทคโนโลยีล่าสุดมาใช้ รวมถึง CPU ที่ออกแบบเฉพาะ และระบบหน่วยความจำแบนด์วิดท์สูง ซึ่งจะช่วยลดอัตราการใช้พลังงานลงไปได้มาก

สำหรับ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์แล้ว ถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนและท้าทายที่สุดของมนุษยชาติ ซึ่งมีส่วนช่วยในการพัฒนาและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม แน่นอนว่า มันจะมีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศด้วยเช่นกันครับ

ที่มา
techspot

ให้ใช้ฟรี Whoscall เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ รู้ทันกลโกง ด้วย Scam Alerts

ใช้ได้ฟรี Whoscall ร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน เปิดตัวฟีเจอร์ ‘Scam Alert’ (เตือนภัยกลโกง) รับมือมิจฉาชีพที่มาในรูปแบบออนไลน์

Scam Alert เป็นฟีเจอร์ที่อยู่ภายในแอปฯ Whoscall ที่สามารถเข้าได้ผ่านแท็บการป้องกันและแท็บเตือนภัยกลโกงจะอยู่บริเวณแท็บด้านบนขวาของหน้าจอ

ภายในจะอัปเดทฟีดข่าวที่รวมข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมข้อมูลภัยกลโกงในรูปแบบต่าง ๆ บนแอปพลิเคชัน Whoscall แบบไม่มีค่าใช้จ่ายทั้งเวอร์ชันฟรีและพรีเมียม

ในฟีเจอร์เกี่ยวกับเตือนภัยกลโกงและรู้ทันมิจฉาชีพ อัปเดทข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว

วิธีการเปิดใช้งานให้เข้าไปที่ 

1.แอป Whoscall

2.ไปที่สัญลักษณ์ Protection

3.คลิกที่ปุ่มข้อความเตือนภัยกลโกงด้านบนขวา

4.กดเปิดแจ้งเตือนเตือนภัยแบบเรียลไทม์

สามาถใช้ได้แล้วทั้งใน iOS และ Android นอกจากฟีเจอร์ใหม่แล้วแอป Whoscall ยังตรวจสอบเบอร์ข้อมูลรั่วไหลได้อีก 

อ่านเพิ่มเติม >> https://www.techhub.in.th/whoscall-check-phone-number-for-dark-web/ 

#Whoscall #TechhubUpdate

Hot Issue