Home Blog Page 22

ที่แรกในโลก เปิดตัวโรงแรมสุดล้ำ สร้างจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ

อยากไปพักไหมโรงแรมสร้างจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติแห่งแรกของโลก มีชื่อว่า “El Cosmico” ที่กำลังจะสร้างเสร็จและเตรียมเปิดใช้งานในปี 2026 ในเมืองมาร์ฟา รัฐเท็กซัส บนพื้นที่กว่า 60 เอเคอร์

โรงแรมเริ่มสร้างตั้งแต่ปี 2024 โดยใช้เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติขนาดใหญ่ ใช้ซีเมนต์แบบพิเศษ สร้างจากพื้นดินดิบเข้ากับเทคโนโลยีล้ำยุคที่ทำงานได้อย่างรวดเร็ว ยั่งยืน และมีประสิทธิภาพมากกว่าการก่อสร้างสมัยใหม่

ICON บริษัทสถาปัตยกรรมที่มีชื่อเสียงระดับโลก ออกแบบ El Cosmico เป็นโรงแรมแคมป์กราวด์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเป็นรูปทรงโค้ง แต่มีความแข็งแรงและทนทาน

การใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติมาขึ้นรูปโรงแรมจะทำให้การสร้างเป็นไปอย่างรวดเร็ว ประหยัดเวลาก่อสร้างไปได้เยอะ แถมช่วยลดต้นทุนได้อีก

มีทั้งห้องพัก สระว่ายน้ำ สปา และสิ่งอำนวยความสะดวกส่วนกลางแบบครบครัน มีประเภทห้องให้เลือกตั้งแต่ 1,500 -2,500 ตารางฟุต

โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2026 ราคาห้องพักเริ่มต้นที่ 200 ดอลล่าร์ หรือประมาณ 6,500 บาทเท่านั้น

 

ที่มา : iconbuild  

#เครื่องพิมพ์3มิติ #TechhubUpdate

เทียบชั้นรถสปอร์ต เอสยูวีไฟฟ้า IONIQ 5N มากับความเร็วแรง 265 km/h

[นิยามใหม่] สมรรถนะจากสนามแข่ง เปิดราคา IONIQ 5N อย่างเป็นทางการ รถยนต์ไฟฟ้าที่จะมาสร้างระดับมาตรฐานใหม่ ให้แก่วงการยานยนต์ทั้งในด้านพละกำลัง ความเร็ว และเทคโนโลยีการขับขี่ที่เหนือคู่แข่ง

หลังเปิดตัว IONIQ 5 รถเอสยูวีไฟฟ้ารุ่นมาตรฐานไปก่อนหน้า ในที่สุดทาง Hyundai (ประเทศไทย) ได้เผยราคาของ IONIQ 5N แล้ว โดยมีราคาวางจำหน่ายที่ 3,790,000 บาท ซึ่งถือได้ว่าเป็นความทะเยอทะยานครั้งใหญ่ของวงการรถไฟฟ้ากันเลย กับราคาที่ชนรถสปอร์ตหลาย ๆ แบรนด์ พร้อมชูเรื่องสมรรถนะสูง และพลังขับขี่ที่เร้าใจเช่นกัน

สำหรับ IONIQ 5N เผยมาพร้อมเร็วสูงสุดถึง 265 กม./ชม. ด้วยกำลังขับเคลื่อน 601 แรงม้า และสามารถเสริมการทำงานด้วยโหมด N Grin Boost เพิ่มกำลังสูงสุดเป็น 641 แรงม้า มอบอัตราเร่งจาก 0-100 กม./ชม. ในเวลาเพียง 3.4 วินาที ก้าวข้ามขีดจำกัดรถยนต์ไฟฟ้าทั่วไปไปเรียบร้อย

นอกจากสมรรถนะสูงแล้ว IONIQ 5N มาพร้อมแบตเตอรี่ Lithium-ion ความจุ 84 kWh ให้ระยะขับเคลื่อนได้สูงสุดที่ 448 กม. รองรับการชาร์จเร็ว (Ultra-fast charging) สูงสุด 350 kW จาก 10 – 80% ในเวลาเพียง 18 นาที ส่วนการชาร์จแบบกระแสสลับ (AC) สูงสุด 10.5 KW จาก 10 – 100% ในเวลา 7 ชม. 21 นาที

ทั้งนี้ทาง Hyundai ยังได้เปิดบริการ E-Pit สถานีชาร์จไฟแบบ Ultra-fast charging ที่ IONIQ Lab โดยมาพร้อมกับแรงดันไฟฟ้าสูงสุด 800 โวลต์ / 350 กิโลวัตต์ สามารถชาร์จไฟเพียง 5 นาที ให้ขับขี่ IONIQ 5 ไปได้ไกลอีก 100 กิโลเมตร โดยสงวนสิทธิ์การให้บริการสำหรับผู้ใช้รถ IONIQ 5, IONIQ 6 และ IONIQ 5N เท่านั้น

ไม่ต้องพึ่งคน ยานสำรวจใต้น้ำสุดล้ำ ลดเสี่ยงได้ ใช้ AI ช่วยนำทาง

บริษัท Beam รวมกิจการของบริษัทเทคโนโลยีเปิดตัวยานยนต์ใต้น้ำอัตโนมัติ (AUV) แห่งแรกของโลกที่ขับเคลื่อนด้วย AI เรือดำน้ำขนาดเล็กสามารถทำงานใต้น้ำแบบซับซ้อนได้โดยไม่ต้องพึ่งคน ยานสำรวจสามารถทำงานได้ 2 in 1 ทั้งแบบอัตโนมัติและควบคุมระยะไกล

โดรนใต้น้ำติดตั้งสิ่งที่เรียกว่า edge AI ซึ่งเป็นการนำโมเดล AI มาใช้งานภายในอุปกรณ์แทนที่จะเชื่อมโยงเข้ากับอุปกรณ์ผ่านระบบคลาวด์ คล้ายกับโมเดล AI เชิงสร้างสรรค์ เช่น ChatGPT 

การระบุตำแหน่ง AI ในพื้นที่ช่วยเพิ่มความเร็วในการประมวลผลข้อมูล ประหยัดพลังงาน AUV สามารถทำงานได้แม้ไม่มี Wi-Fi เพราะการทำงานนอกชายฝั่งไม่สามารถพึ่งพาการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา

โมเดล AI ทำหน้าที่เหมือนสมองของยานสำรวจใต้น้ำ ได้รับการฝึกจากชุดข้อมูลขนาดใหญ่ที่รวบรวมจากโครงการนอกชายฝั่ง อัลกอริทึมได้เรียนรู้ที่จะตรวจจับปัญหา เช่น การกัดเซาะ เป็นต้น รวมถึงให้ AI เรียนรู้และเก็บข้อมูลใหม่ๆ ต่อไป

เมื่อไม่นานมานี้ Beam ได้นำโดรนใต้น้ำไปทดสอบที่ Seagreen ซึ่งเป็นฟาร์มกังหันลมนอกชายฝั่งที่มีก้นทะเลลึกที่สุดในโลกแถวประเทศสกอตแลนด์ 

ในหนึ่งวัน AUV ได้สำรวจฐานทั้งหมดของกังหันลมที่ติดอยู่กับพื้นทะเลลึก 58 เมตรใต้ผิวน้ำได้สำเร็จ

ถือว่าช่วยลดเวลาการตรวจสอบได้ถึงครึ่งหนึ่ง แทนที่จะต้องให้คนคอยควบคุมยานใต้น้ำแต่ละลำ ระบบอัตโนมัติช่วยให้มนุษย์สามารถทำงานที่ซับซ้อนมากขึ้น และลดความเสี่ยงของมนุษย์ได้อีก

 

ที่มา : thenextweb

#ยานสำรวจใต้น้ำ #AI #TechhubUpdate

สุดเจ๋ง โดรนรถเข็นบินได้ เคลื่อนย้ายของไปทุกที่

เกาหลีกำลังพัฒนา “Palletrone” รถเข็นบินได้ เคลื่อนย้ายของไปทุกที่ออกแบบมาเพื่อขนส่งสินค้าทางอากาศโดยอาศัยปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับเทคโนโลยี

กลไกการทำงานของสิ่งนี้ค่อนข้างตรงไปตรงมา Palletrone จะพยายามรักษาระดับการหมุนและการเอียงไว้ที่ตรงกลางอยู่เสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นพื้นที่แนวราบและมั่นคงสำหรับการใช้ของ

โดรนจะทำตามคำสั่งควบคุมวิถีการบินแนวนอน แนวตั้ง และมีระบบประมวลผลแยกสำหรับรับคำสั่งในการทรงตัว จึงมีแขนใบพัดภายในที่สามารถหมุนได้ตามแรงขับเวกเตอร์ในทุกทิศทาง 

หากมีสิ่งของที่คาดเดาไม่ได้มากมายวางอยู่เหนือใบพัดจะส่งผลต่อประสิทธิภาพของโดรนเล็กน้อยด้วยการบินช้าลง 5%

โดยทดสอบด้วยการให้โดรนบินข้างหน้าเหมือนเรากำลังซื้อของอยู่ในห้าง ผลออกมาว่าโดรนสามารถรองรับน้ำหนักได้ 3 กิโลกรัม และทำตามคำสั่งได้อย่างถูกต้อง

ในอนาคตผู้คิดค้นจะต่อยอดให้โดรนรถเข็นใช้งานได้จริงในด้านโลจิสติกส์หรือด้านการแสดง เพื่อเคลื่อนย้ายของหรือปรับเปลี่ยนมุมมองสำหรับถ่ายทำ

 

ที่มา : spectrum

#TechhubUpdate

JUPITER แพลตฟอร์มสุดล้ำ เปลี่ยนโฉมสถานีชาร์จ EV

JUPITER

รถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV ได้กลายเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะเดียวกัน ความต้องการสถานีชาร์จ EV ที่มีประสิทธิภาพและครอบคลุมก็เพิ่มสูงขึ้นตาม และต้องยอมรับว่า ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าส่วนใหญ่ ยังกระจุกตัวกันอยู่ในเมืองใหญ่ สถานีชาร์จตามต่างจังหวัด ก็มีแค่บางสถานีบริการน้ำมันเท่านั้น ทำให้เรามักเห็นปัญหาการรอคิวชาร์จโดยเฉพาะในช่วงเทศกาล

แต่ด้วยความสามารถของแพลตฟอร์ม ทำให้การบริหารจัดการ จองคิวใช้งานทำได้ง่ายขึ้น Techhub พาทุกคนมาทำความรู้จักกับ JUPITER แพลตฟอร์มบริหารจัดการสถานีชาร์จ EV ที่ครบวงจร ของ PTT Digital Solutions ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการและผู้ใช้ EV ในตอนนี้

แพลตฟอร์ม ช่วยให้ผู้ใช้ EV สามารถเข้าถึงบริการได้อย่างสะดวกสบาย ไม่ต้องไปต่อคิวในเวลาเร่งรีบ

ในส่วนผู้ประกอบการ แพลตฟอร์ม จะกลายเป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจที่ทรงพลัง ที่สามารถดึงดูดลูกค้า โดยเฉพาะในยุคที่ EV กำลังเฟื่องฟูมากขึ้น การมีสถานีชาร์จอื่นนอกจากภายในปั๊ม โดยเฉพาะในธุรกิจต่าง ๆ  จะช่วยสร้างรายได้ และสร้างความแตกต่างให้กับธุรกิจได้อย่างน่าสนใจ

สำหรับ JUPITER ไม่ได้เป็นเพียงแค่แพลตฟอร์มนะ แต่เป็นโซลูชันที่ครอบคลุมทุกด้านของการบริหารจัดการสถานีชาร์จ EV ตั้งแต่ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ไปจนถึงแอปพลิเคชัน เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถบริหารจัดการสถานีชาร์จได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1.ฮาร์ดแวร์ที่ยืดหยุ่น รองรับทุกความต้องการ

แพลตฟอร์มสามารถรองรับการเชื่อมต่อกับตู้ชาร์จหลากหลายแบรนด์ (Multi Brand Hardware) ทำให้ผู้ประกอบการสามารถเลือกใช้ตู้ชาร์จที่เหมาะสมกับงบประมาณและความต้องการของธุรกิจได้อย่างอิสระ ไม่ว่าจะเป็นตู้ชาร์จ AC Wallbox, DC Wallbox หรือ DC Fast Charging ก็สามารถเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์ม ได้อย่างราบรื่น

2.ซอฟต์แวร์ที่ทรงประสิทธิภาพ บริหารจัดการได้อย่างมืออาชีพ

ระบบบริหารจัดการสถานีชาร์จของ JUPITER ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถควบคุมและติดตามสถานะการทำงานของสถานีชาร์จได้แบบเรียลไทม์ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบสถานะการใช้งาน การจัดการการจอง การชำระเงิน หรือการแก้ไขปัญหาต่างๆ ก็สามารถทำได้ง่ายๆ ผ่านระบบ

3.แอปพลิเคชันที่ใช้งานง่าย ตอบโจทย์ผู้ใช้ EV

แอปพลิเคชัน EV Station PluZ ที่เชื่อมต่อกับแพลตฟอร์ม ช่วยให้ผู้ใช้ EV สามารถค้นหาสถานีชาร์จที่ใกล้ที่สุด จองเวลาชาร์จ ชำระเงิน และติดตามสถานะการชาร์จได้สะดวก รวดเร็ว ผ่านสมาร์ทโฟน นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์อื่นๆ ที่น่าสนใจ เช่น การเปรียบเทียบ Carbon Footprint และการรับสิทธิประโยชน์ต่างๆ

จุดเด่นของ Jupuiter แบ่งออกเป็นสอง 2 ส่วน

ผู้ประกอบการที่ติดตั้งสถานีชาร์จ

สามารถกำหนดราคาได้อย่างยืดหยุ่น  ผู้ประกอบการสามารถกำหนดราคาค่าบริการชาร์จได้เองตามอัตราค่าไฟฟ้า On Peak และ Off Peak รวมถึงกำหนดวันและเวลาล่วงหน้าได้ตามต้องการ เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและสร้างรายได้ที่เหมาะสม

  • Data Roaming ระบบให้บริการข้ามเครือข่าย รองรับ Protocol หลากหลาย ผู้ประกอบการจึงสามารถใช้ Intelligence EV Platform เชื่อมต่อกับฮาร์ดแวร์ชนิดไหน ลักษณะใด จากผู้ผลิตใดก็ได้
  • Real-Time Data & Monitoring ระบบข้อมูลเรียลไทม์และมอนิเตอร์ ผู้ประกอบการสามารถติดตามและมอนิเตอร์การทำงานของตู้ชาร์จ รวมถึงผลการดำเนินงานได้ตลอดเวลา ง่ายต่อการบริหารจัดการหลังบ้าน และควบคุมต้นทุนได้แบบเบ็ดเสร็จ
  • Maintenance Management สามารถเชื่อมต่อกับระบบบริหารจัดการงานซ่อมบำรุง โดยผู้ประกอบการสามารถวางแผนบริหารจัดการงานซ่อมบำรุงอุปกรณ์ภายในสถานีชาร์จแบบ Predictive Maintenance หรือการคาดการณ์ล่วงหน้า จากการเก็บข้อมูลเชิงสถิติการทำงานของอุปกรณ์ เพื่อให้สถานีชาร์จ ทำงานได้อย่างไม่สะดุด

ผู้ใช้บริการสถานีชาร์จ – การชาร์จไฟกับระบบ JUPITER ดีกว่าอย่างไร

  • Real-Time Data Status ผู้ใช้งานสามารถทราบสถานะการชาร์จขณะใช้บริการได้อย่างเรียลไทม์ รวมไปถึงสามารถทราบสถานะของตู้ชาร์จเมื่อต้องการใช้บริการผ่านจากแอปพลิเคชัน
  • Charger Station and Location ผู้ใช้งาน สามารถทราบตำแหน่งสถานีชาร์จ EV และแหล่งอำนวยความสะดวกภายในพื้นที่ได้อย่างแม่นยำ
  • Multi Type Charging รองรับการชาร์จหลากหลายรูปแบบ โดยสามารถกำหนดการชาร์จแบบกำหนดเวลา กำหนดปริมาณไฟฟ้า จำนวนเงิน และยังสามารถเลือกการชาร์จแบบพรีเมี่ยม เพื่อลดระยะเวลาการชาร์จได้อีกด้วย
  • Multi Type Payment อันนี้เด็ดสุด ระบบรองรับการจ่ายเงินหลากหลายรูปแบบ ผู้ใช้งานสามารถเลือกชำระค่าบริการได้หลากหลายช่องทาง ทั้งบัตรเครดิต บัตรเดบิต E-Wallet หรือว่าจะจ่ายผ่าน QR Payment ก็ได้
  • Loyalty Membership & Promotion ระบบสมาชิกและโปรโมชัน ผู้ใช้งานสามารถสะสมคะแนนการใช้งาน หรือเลือกใช้โปรโมชันส่วนลดต่าง ๆ ผ่านแอปพลิเคชันได้
  • Carbon Footprint คำนวณคาร์บอน ผู้ใช้บริการสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ โดยจะทราบว่ามีการใช้พลังงานไปเท่าไหร่ในการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแต่ละครั้งเมื่อเปรียบเทียบกับการเติมน้ำมัน

ตัวอย่างความสำเร็จ Bolt EV Station

Scada Automation เป็นหนึ่งในบริษัทที่ประสบความสำเร็จในการนำแพลตฟอร์ม JUPITER ไปใช้กับธุรกิจสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า อย่าง Bolt EV Station  ซึ่งก่อนหน้านี้ ได้เล็งเห็นโอกาสในการเติบโตของตลาด EV จึงเริ่มให้บริการสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าอย่าง Bolt EV Station เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ EV ที่เพิ่มขึ้น

Scada Automation ได้มีการนำเข้าอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ สำหรับสถานีชาร์จ แต่สิ่งสำคัญคือแพลตฟอร์มที่จะเข้ามาช่วยเชื่อมต่อระหว่าง ตู้ชาร์จกับผู้ใช้งานให้เข้าถึงกันโดยง่าย จึงได้เลือกใช้ JUPITER ซึ่งแพลตฟอร์มบริการจัดการตู้ชาร์จแบบครบวงจร  โดย PTT Digital และ Scada Automation ได้มีการพัฒนาซอฟต์แวร์หลายอย่างร่วมกัน ทำให้ผลลัพธ์ของการใช้งาน เป็นไปอย่างราบรื่นและไม่ค่อยเกิดปัญหาตามมาภายหลัง

จุดแข็งของ Bolt EV Station จะมุ่งเน้นการให้บริการที่รวดเร็ว สะดวกสบาย และมีคุณภาพ ด้วยเครือข่ายสถานีชาร์จที่ครอบคลุมและเทคโนโลยีที่ทันสมัย เน้นตั้งสถานีตามจุดชาร์จตามจุดแวะพักต่าง ๆ ที่อาจไม่ใช้ตามปั๊ม ทำให้มีเครือข่ายสถานีชาร์จที่ครอบคลุม ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าสามารถเข้าถึงบริการได้ง่าย ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน

หลังจากนำแพลตฟอร์ม มาใช้ Scada Automation สามารถบริหารจัดการสถานีชาร์จ Bolt EV Station  ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถลดปัญหาและข้อผิดพลาดในการดำเนินงาน มีส่วนช่วยเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าได้มากขึ้น และด้วยฟีเจอร์ที่ครบครัน แพลตฟอร์มจึงมีส่วนช่วยให้ธุรกิจสถานีชาร์จ EV เติบโตอย่างยั่งยืน

คิดว่าทั้งหมดที่เล่ามา หลายคนน่าจะเห็นภาพคร่าว ๆ แล้วนะครับว่า ธุรกิจสถานีชาร์จนั้นมีโอกาสเติบโตได้อย่างมาก สำหรับผู้ประกอบการต่าง ๆ ก็จะมีส่วนช่วยเพิ่มมูลค่าของธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญ และการมีแพลตฟอร์มอย่าง JUPITER เข้ามาช่วย ก็นับสามารถบริหารจัดการได้แบบ All in One Management Platform ซึ่งมีส่วนช่วยให้ผู้ใช้งานเข้าถึงสถานีชาร์จได้โดยง่ายผ่านแอปพลิเคชั่นอย่าง EV Station PluZ

ไปดูตัวอย่างถอดแบบโมเดลธุรกิจ EV Charger การลงทุนโซลูชันพลังงานแห่งอนาคตของ Bolt EV Station

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ส่วนการตลาด PTT Digital

โทร : 065 986 5596

Email : marketing@pttdigital.com

รู้หรือไม่ 10 เหตุผลที่ Windows 11 จำเป็นต้องมี TPM 2.0

การเปิดตัว Windows 11 มาพร้อมกับความต้องการขั้นต่ำที่เข้มงวดขึ้น หนึ่งในนั้นคือ TPM 2.0 (Trusted Platform Module) ซึ่งเป็นชิปความปลอดภัยที่ฝังอยู่ในเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์หลายรุ่น ความต้องการนี้สร้างความสับสนและกังวลให้กับผู้ใช้จำนวนมาก แต่เบื้องหลังความต้องการนี้ Microsoft ก็มีเหตุผลสำคัญที่ต้องการให้ TPM 2.0 เป็นส่วนหนึ่งของ Windows 11  มีอะไรบ้าง มาดูกัน

1. ต้องการรากฐานความปลอดภัยที่แข็งแกร่ง

TPM 2.0 ทำหน้าที่เป็นเสมือนตู้นิรภัยขนาดเล็กภายในคอมพิวเตอร์ของเรา มันสามารถเก็บข้อมูลสำคัญ เช่น คีย์เข้ารหัส, รหัสผ่าน, และข้อมูลไบโอเมตริก ได้อย่างปลอดภัย โดย TPM 2.0 ช่วยให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลเหล่านี้ได้รับการปกป้องจากการโจมตีของมัลแวร์และแฮกเกอร์

2. ปกป้องการบูตระบบ

หลายคนน่าจะรู้จักระบบ Secure Boot ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ทำงานร่วมกับ TPM 2.0 เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของระบบปฏิบัติการและไดรเวอร์ต่างๆ ในระหว่างการบูตเครื่อง ช่วยป้องกันมัลแวร์จากการแก้ไขหรือแทนที่ไฟล์ระบบที่สำคัญ และเพื่อให้แน่ใจว่า เรากำลังบูตเข้าสู่ระบบที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้

3. ป้องกันการโจมตีระดับเฟิร์มแวร์

ปัจจุบัน การโจมตีระดับเฟิร์มแวร์เป็นภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ TPM 2.0 ช่วยให้ Windows 11 สามารถตรวจสอบความสมบูรณ์ของเฟิร์มแวร์ในระหว่างการบูตเครื่อง ซึ่งช่วยป้องกันมัลแวร์จากการฝังตัวในระดับลึกของระบบได้

4. รองรับการเข้ารหัสด้วยฮาร์ดแวร์

TPM 2.0 สามารถสร้างและจัดเก็บคีย์เข้ารหัสได้โดยตรงบนชิป ซึ่งช่วยเพิ่มความปลอดภัยของข้อมูลที่เข้ารหัสได้อย่างมาก เนื่องจากคีย์เหล่านี้ไม่สามารถเข้าถึงได้โดยซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ที่พยายามจะขโมยข้อมูล

5. รองรับการใช้ Windows Hello ที่สมบูรณ์แบบมากขึ้น

Windows Hello เป็นคุณสมบัติการเข้าสู่ระบบด้วยใบหน้า, ลายนิ้วมือ, หรือรหัส PIN ที่ปลอดภัย TPM 2.0 มีบทบาทสำคัญในการจัดเก็บและปกป้องข้อมูลไบโอเมตริกที่ใช้ในการตรวจสอบสิทธิ์

6. เพิ่มความปลอดภัยให้กับแอปพลิเคชัน

นักพัฒนาสามารถใช้ TPM 2.0 เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับแอปพลิเคชันของตนได้ ตัวอย่างเช่น เพื่อใช้ในการ การเข้ารหัสอีเมล โดยสามารถใช้ในการสร้างและจัดเก็บคีย์สำหรับการเข้ารหัสและถอดรหัสอีเมล ซึ่งช่วยให้มั่นใจได้ว่าเฉพาะผู้รับที่ถูกต้องเท่านั้นที่สามารถอ่านอีเมลได้

นอกจากนี้ TPM 2.0 สามารถใช้ในการยืนยันตัวตนของผู้ใช้และอุปกรณ์ ก่อนที่จะอนุญาตให้เชื่อมต่อกับเครือข่าย VPN ซึ่งช่วยป้องกันการเข้าถึงเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต

7. รองรับเทคโนโลยีอื่น ๆ ในอนาคต

TPM 2.0 เป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรม ซึ่งหมายความว่ามันจะยังคงเป็นส่วนสำคัญของระบบรักษาความปลอดภัยในอนาคต การมี TPM 2.0 บนเครื่องของเรา จะช่วยให้สามารถใช้งานคุณสมบัติและเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เน้นความปลอดภัยได้ในอนาคต

8. ปกป้องข้อมูลขององค์กร

สำหรับผู้ใช้ในองค์กร TPM 2.0 มีความสำคัญอย่างยิ่งในการปกป้องข้อมูลที่ละเอียดอ่อน มันสามารถใช้ในการเข้ารหัสฮาร์ดไดรฟ์, ตรวจสอบความถูกต้องของอุปกรณ์, และควบคุมการเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญ

9. ลดความเสี่ยงจากมัลแวร์

การศึกษาแสดงให้เห็นว่าคอมพิวเตอร์ที่มี TPM 2.0 และ Secure Boot มีโอกาสติดมัลแวร์น้อยลงอย่างมาก ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงต่อการสูญเสียข้อมูล, การหยุดชะงักของระบบ, และความเสียหายทางการเงิน

10. สร้างความมั่นใจในระบบนิเวศของ Windows

สุดท้าย การกำหนดให้ TPM 2.0 เป็นข้อกำหนดขั้นต่ำ นั่นหมายความว่า Microsoft กำลังผลักดันให้อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งจะช่วยสร้างระบบนิเวศ Windows ที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้มากขึ้นสำหรับทุกคนนะ

สรุปก็คือ TPM 2.0 เป็นมากกว่าแค่ชิ้นส่วนฮาร์ดแวร์ แต่ถือเป็นส่วนสำคัญของความปลอดภัยบน Windows 11   ซึ่ง Microsoft ตระหนักถึงภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในโลกดิจิทัล และ TPM 2.0 เป็นเครื่องมือสำคัญในการปกป้องผู้ใช้และข้อมูลของพวกเขาครับ ดังนั้น หากใครซีเรียสก็หาคอมที่มี TPM 2.0  มาใช้งานเถอะ แต่หากไม่คิดมาก ก็หาวิธีลงและใช้งานในแบบต่าง ๆ กันไปละกัน

ฟาร์มแนวตั้ง แบบใหม่ ใช้ AI ควบคุมแสงและอาหาร ใช้พื้นที่น้อยลง ผลิตได้มากขึ้น

ฟาร์มแนวตั้ง

ที่เมืองริชมอนด์ รัฐเวอร์จิเนีย บริษัทสตาร์ทอัพชื่อว่า Plenty กำลังปลูกสตรอว์เบอร์รี่ในลักษณะฟาร์มแนวตั้ง โดยใช้หอคอยแนวตั้งสูง 30 ฟุต (9 เมตร) และใช้พื้นที่เพียง 40,000 ตารางฟุต หรือเทียบเท่ากับประมาณ 4.5 สนามฟุตบอล

ที่สำคัญ สตรอว์เบอร์รี่ที่ปลูกให้ผลผลิตมากกว่าสี่ล้านปอนด์ (1.8 ล้านกิโลกรัม) นี่เป็นการใช้ที่ดินและทรัพยากรน้อยกว่าการทำฟาร์มสตรอว์เบอร์รี่แบบดั้งเดิมมาก และแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของการทำฟาร์มแนวตั้ง

ที่สำคัญ Plenty มีการใช้ AI ควบคุมแสง อุณหภูมิ และความชื้นให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการทำฟาร์มแนวตั้งในร่ม โดย AI จะทำหน้าที่หลักๆ คือ

1.เก็บข้อมูลและวิเคราะห์ AI จะรวบรวมข้อมูลจากเซ็นเซอร์ต่างๆ ภายในฟาร์ม เช่น ความเข้มของแสง อุณหภูมิ ความชื้น ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ และข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของพืช จากนั้น AI จะนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์เพื่อทำความเข้าใจสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน และคาดการณ์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

2. เรียนรู้และปรับตัว AI จะเรียนรู้จากข้อมูลที่เก็บมา และปรับตัวให้เข้ากับรูปแบบการเจริญเติบโตของพืชแต่ละชนิด ยิ่ง AI มีข้อมูลมากขึ้นเท่าไหร่ ก็จะยิ่งสามารถปรับแต่งสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับความต้องการของพืชไ

3.ควบคุมสภาพแวดล้อม เมื่อ AI วิเคราะห์และเรียนรู้แล้ว ก็จะสามารถควบคุมระบบต่างๆ ภายในฟาร์มได้อย่างอัตโนมัติ เช่น แสง ปรับความเข้มและระยะเวลาของแสงให้เหมาะสมกับช่วงการเจริญเติบโตของพืช อาจใช้แสง LED ที่สามารถปรับแต่งสเปกตรัมแสงได้ เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตและเพิ่มผลผลิต

อุณหภูมิ รักษาอุณหภูมิให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสมสำหรับพืชแต่ละชนิด เพื่อให้พืชเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่

ความชื้น ควบคุมความชื้นในอากาศและดิน เพื่อป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืช และส่งเสริมการดูดซึมน้ำและสารอาหารของพืช

เห็นแบบนี้ น่าทำในไทยเหมือนกันนะ พื้นที่เพาะปลูกในไทยก็เริ่มน้อยลงเรื่อย ๆ แล้วด้วย

ที่มา
https://newatlas.com/manufacturing/world-first-vertical-strawberry-farm-plenty/

ปฏิวัติวงการ ชิปแบบบาง โค้งงอได้ ใช้งานกับแมชชีนเลิร์นนิ่ง

ชิปแบบบาง

Startup หน้าใหม่อย่าง Pragmatic Semiconductor เปิดตัวไมโครโปรเซสเซอร์ Flex-RV  ชิปแบบบาง ซึ่งมีความยืดหยุ่นและต้นทุนถูกว่าชิปปกติ ผลิตจากวัสดุ IGZO แทนซิลิคอน ชิปนี้สามารถนำไปใช้งานกับแมชชีนเลิร์นนิ่งได้ แม้จะถูกม้วนงอก็ไม่เป็นอะไรครับ

IGZO ย่อมาจาก Indium Gallium Zinc Oxide เป็นวัสดุกึ่งตัวนำชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติพิเศษหลายอย่าง เช่น ความโปร่งใส ความยืดหยุ่น และการนำไฟฟ้าที่ดี ทำให้เหมาะสำหรับนำมาใช้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ต้องการความยืดหยุ่นสูง เช่น หน้าจอสัมผัสแบบโค้งงอ หรือชิปแบบโค้งงอก็ทำได้

IGZO มีข้อได้เปรียบที่สำคัญเหนือซิลิคอนตรงที่สามารถผลิตบนพื้นผิวพลาสติกได้โดยตรงที่อุณหภูมิต่ำ ช่วยลดความซับซ้อนและต้นทุนในการผลิตเมื่อเทียบกับชิปซิลิคอนที่ต้องมีบรรจุภัณฑ์พิเศษเพื่อป้องกันการแตกหักจากการงอ

สำหรับชิป Flex-RV แม้ว่าประสิทธิภาพจะไม่สูงมาก แต่มันจะถูกออกแบบมาให้ใช้กับอุปกรณ์ที่เน้นใช้พลังงานต่ำ เช่น อุปกรณ์ทางการแพทย์แบบใช้แล้วทิ้ง อุปกรณ์สวมใส่เพื่อสุขภาพ หุ่นยนต์ขนาดเล็ก หรือใช้เป็นส่วนต่อประสานระหว่างสมองกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งทำให้ช่วยลดต้นทุนการผลิตลงได้อย่างมาก

คิดว่าในอนาคต น่าจะมีการนำชิปดังกล่าวไปประยุกต์ใช้งานในด้านต่าง ๆ มากขึ้นครับ โดยเฉพาะกับ Neuralink หรือหุ่นยนต์ขนาดเล็กที่จะถูกส่งเข้าไปในร่างกายเรา

ที่มา
https://www.techspot.com/news/104914-bendable-32-bit-microprocessor-costs-less-than-buck.html

ผลสำรวจชี้ คนต้องการอัปเกรดคอมใหม่ มากกว่า ฟีเจอร์ AI ที่โปรโมต

ฟีเจอร์ AI

ไหนใครซื้อเพราะ AI จริง ๆ บ้าง ยกมือ

แม้ผู้คนจะแห่ซื้อคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งชิป AI กันมากขึ้น แต่ดูเหมือนว่าเหตุผลหลัก ๆ กลับไม่ได้เกี่ยวข้องกับความสามารถด้าน AI ของมันสักเท่าไหร่

รายงานจาก IDC Research เผยว่า ยอดขายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกในปี 2024 คาดว่าจะเติบโตขึ้น 2.6% คิดเป็นจำนวน 398.9 ล้านเครื่อง ซึ่งรวมถึงคอมพิวเตอร์ที่โฆษณาว่ามีชิปประมวลผล AI (NPU) ด้วย

แต่รายงานยังบอกถึงสิ่งที่น่าสนใจคือ แม้ผู้ผลิตโน้ตบุ๊ก จะพยายามโปรโมตความสามารถของ AI ในคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ๆ แต่ดูเหมือนผู้ใช้ส่วนใหญ่ซื้อเพราะต้องการคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่หรืออัปเกรดเครื่องเดิม ไม่ได้ต้องการฟีเจอร์ AI เป็นพิเศษ จึงเกิดคำถามว่า AI ถ้ามีมาให้นั้น เราได้ใช้งานจริง ๆ ขนาดไหน หรือส่วนใหญ่ก็ยังใช้ AI จากแพลตฟอร์มหลัก ๆ อย่าง ChatGPT หรือ Gemini

HP เองก็พยายามนำเสนอประโยชน์ของ AI ในเครื่องพิมพ์ โดยยกตัวอย่างฟีเจอร์ Perfect Output ที่ช่วยจัดหน้าเอกสารจากเว็บไซต์ บทความ สูตรอาหาร ให้พิมพ์ออกมาสวยงาม ไม่ต้องเสียเวลาจัดรูปแบบเอง ซึ่งน่าจะโดนใจใครหลายๆ คนที่เคยหงุดหงิดกับการพิมพ์เอกสารจากเว็บ รวมถึงการพิมพ์สเปรดชีทที่มักมีปัญหาข้อมูลขาดๆ เกินๆ

จากรายงานก็สรุปได้ ตอนนี้คนซื้อคอมพิวเตอร์ AI เพราะอยากได้คอมพิวเตอร์เครื่องใหม่เท่านั้น ไม่ได้ตื่นเต้นกับ AI มากนัก ส่วน AI จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการใช้งานคอมพิวเตอร์ในอนาคตหรือไม่ คงต้องรอดูกันต่อไปครับ

ที่มา
https://www.techspot.com/news/104880-people-buying-ai-pcs-but-not-their-ai.html

ไม่อยากให้พลาด ลุ้นดูดาวหางใกล้โลก จื่อจินซาน-แอตลัส

ต้นเดือนตุลาคมนี้ มาลุ้นดูดาวหางจื่อจินซานแอตลัส ด้วยตาเปล่า ถ้าพลาดต้องรอไปอีก 80,660 ปีข้างหน้า

NARIT ชวนดูดาวหางจื่อจินซานแอตลัสหรือ C/2023 A3 (Tsuchinshan-ATLAS) ต้นเดือนตุลาคมนี้เป็นช่วงที่เหมาะแก่การสังเกตการณ์ที่สุดคือช่วงดาวหางโคจรใกล้โลกวันที่ 13 .. 67 ให้สังเกตได้ทางทิศตะวันตก หลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปแล้ว 

ดาวหางจื่อจินซานแอตลัส ถูกค้นพบครั้งแรกช่วงต้นปี พ.. 2566 โดยนักดาราศาสตร์จากหอดูดาวจื่อจินซานในประเทศจีน และระบบเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์ ATLAS ประเทศแอฟริกาใต้

ขณะนี้ดาวหางจื่อจินซานแอตลัส อยู่ระหว่างวงโคจรของดาวพุธและดาวศุกร์ และจะเข้าใกล้ ดวงอาทิตย์ที่สุดในวันที่ 28 กันยายน 2567 ระยะห่างประมาณ 58.6 ล้านกิโลเมตร ซึ่งจะได้รับรังสีพลังงานสูงจากดวงอาทิตย์จนทำให้ปลดปล่อยฝุ่นและแก๊สออกมามากยิ่งขึ้น และอาจเกิดเป็นหางที่พุ่งยาวไปในอวกาศได้ไกลหลายล้านกิโลเมตร

จากนั้นดาวหางจะโคจรเข้าใกล้โลกที่สุดในวันที่ 13 ตุลาคม 2567 ระยะห่าง 70.6 ล้านกิโลเมตรช่วงดังกล่าวดาวหางจะมีความสว่างปรากฏบนท้องฟ้ามากที่สุด คาดว่าจะสว่างกว่าดาวศุกร์และอาจชมได้ด้วยตาเปล่า ก่อนที่ดาวหางจะโคจรออกห่างจากโลกไปเรื่อย ๆ และจะโคจรกลับมาอีกครั้งในอีก 80,660 ปีข้างหน้า

ผู้สนใจชมดาวหางจื่อจินซานแอตลัส สามารถรับชมได้นานถึงวันที่ 13 ตุลาคม

ช่วงนี้ – 6 ตุลาคม 2567 จะสังเกตดาวหางได้ทางทิศตะวันออก ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นจากขอบฟ้าจากนั้นดาวหางจะโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ไม่สามารถสังเกตได้ 

และจะสังเกตได้อีกครั้งประมาณวันที่ 11 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป โดยจะเปลี่ยนมาปรากฏทางทิศตะวันตก (ช่วงหัวค่ำ)

ช่วงที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการสังเกตการณ์คือวันที่ 13 ตุลาคม 2567 ซึ่งเป็นช่วงเข้าใกล้โลกที่สุด ดาวหางจะปรากฏสว่างและอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ชิดขอบฟ้าจนเกินไป แต่ต้องขึ้นอยู่กับสภาพท้องฟ้าในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย

#ดาวหาง #ดาวหางจื่อจินซานแอตลัส #TechhubUpdate

Hot Issue