Home Blog Page 18

ยิบอินซอย ประกาศทิศทางธุรกิจไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ผนึกพันธมิตรไอทีชั้นนำจัดงานใหญ่ ‘Cybersecurity Assemble’

บริษัท ยิบอินซอย จำกัด เปิดตัวทิศทางธุรกิจไซเบอร์ซีเคียวริตี้ โดยจัดตั้งทีมเน็ตเวิร์คและไซเบอร์ซีเคียวริตี้ เพื่อรุกตลาดในภาคการเงิน การธนาคาร โทรคมนาคม พลังงาน สุขภาพ การศึกษา รวมถึงองค์กรภาครัฐและเอกชนทุกขนาด ผนึกพันธมิตรไอทีชั้นนำระดับโลกกว่า 20 ราย จัดงานสัมมนาใหญ่ ‘Cybersecurity Assemble: Bridging the Cyber Divide’ สำหรับผู้บริหารด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

นายสุภัค ลายเลิศ กรรมการอำนวยการและประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัท ยิบอินซอย จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ปรับโครงสร้างหน่วยธุรกิจ โดยจัดตั้งทีมเน็ตเวิร์คและไซเบอร์ซีเคียวริตี้ (Network and Cybersecurity – NCS) ร่วมกับพันธมิตรด้านซีเคียวริตี้ชั้นนำระดับโลก พร้อมคัดเลือกบุคลากรที่มีความรู้และเชี่ยวชาญด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้เข้ามารองรับการเติบโตของตลาดและความต้องการของลูกค้าที่มีมากขึ้น

ยิบอินซอยเป็น Systems Integrator ชั้นนำของไทยที่มีประสบการณ์กว่า 7 ทศวรรษในการดูแลรักษาปกป้องระบบไอทีสำหรับองค์กร ตั้งแต่ออกแบบ วางระบบ และปรับแต่งระบบเทคโนโลยีให้เหมาะสมกับธุรกิจของลูกค้า ไปจนถึงการให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อสร้างความมั่นคงปลอดภัยให้กับระบบอินฟราสตรัคเจอร์ ระบบเครือข่าย การสื่อสาร คลาวด์ แอปพลิเคชัน ดาต้า และอุปกรณ์เชื่อมต่อ ด้วยการร่วมมือกับพันธมิตรมากมายและความรู้ความสามารถจากเหล่าวิศวกรด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้

นายสุภัค ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า การลงทุนเทคโนโลยีไซเบอร์ซีเคียวริตี้มีความจำเป็นมากขึ้นในทุกภาคส่วน ทั้งองค์กรภาครัฐและเอกชน ในด้านการเงินการธนาคารที่ทันสมัย อุตสาหกรรมที่ใช้หุ่นยนต์และเอไอ การแพทย์ที่รวดเร็วและแม่นยำ การศึกษาที่เข้าสู่ยุคดิจิทัล และงานวิจัยพัฒนาที่สร้างนวัตกรรมได้รวดเร็วขึ้น สิ่งเหล่านี้ทำให้ธุรกรรมดิจิทัลต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทั้งระยะสั้นและระยะกลาง รวมถึงต้องเพิ่มความพร้อมด้านความปลอดภัยและดำเนินงานอย่างรัดกุมตามมาตรฐานใหม่ๆ ของแต่ละอุตสาหกรรม

โดยมีมาตรฐานที่ต้องปฏิบัติตาม ได้แก่:

  • มาตรฐานการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ระบบคลาวด์ พ.ศ. 2567 โดยคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ [อ่านเพิ่มเติม](https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/pdf)
  • มาตรฐาน Information Security Management System (ISMS) เช่น ISO/IEC 27001 [อ่านเพิ่มเติม](https://www.iso.org/isoiec-27001-information-security.html) ซึ่งครอบคลุมด้านความมั่นคงของข้อมูล ความเป็นส่วนตัว และข้อมูลที่สามารถระบุตัวตนได้ (PII) โดยมีการปรับปรุงล่าสุดเมื่อปี 2022
  • มาตรฐานด้าน Operational Technology Security (OT Security) เช่น IEC 62443, NIST SP 800-82, NERC CIP, ISA/IEC 99 (ISA-99) เป็นต้น

การใช้งานเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น Generative AI ทำให้หลายภาคส่วนต้องหาแนวทางในการควบคุมและลดความเสี่ยงในการใช้เทคโนโลยีใหม่นี้ เช่น:

  • กรอบการจัดการความเสี่ยงด้านปัญญาประดิษฐ์: โปรไฟล์ปัญญาประดิษฐ์เชิงสร้างสรรค์ (Generative Artificial Intelligence Profile) โดย NIST ช่วยให้องค์กรสามารถระบุความเสี่ยงเฉพาะและจัดการความเสี่ยงตามเป้าหมายองค์กร [อ่านเพิ่มเติม](https://www.nist.gov/itl/ai-risk-management-framework)
  • พระราชบัญญัติ AI ของสหภาพยุโรป (EU AI Act): ประกาศใช้อย่างเป็นทางการและมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2024 เพื่อกำหนดกรอบการกำกับดูแลปัญญาประดิษฐ์ในสหภาพยุโรป มุ่งเน้นที่การพัฒนาและการใช้งาน AI อย่างรับผิดชอบ [อ่านเพิ่มเติม](https://artificialintelligenceact.eu/)
  • มาตรฐานความปลอดภัยสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าและยานพาหนะที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต: เช่น ISO/SAE 21434:2021 ซึ่งระบุถึงข้อกำหนดทางวิศวกรรมในการจัดการความเสี่ยงทางไซเบอร์ซีเคียวริตี้ในระบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของยานพาหนะ [อ่านเพิ่มเติม](https://www.iso.org/standard/html)

นอกจากนี้นายสุภัค ยังกล่าวเน้นถึงองค์ประกอบสำคัญของไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ซึ่งประกอบด้วย คน กระบวนการ และเทคโนโลยี โดยแต่ละองค์ประกอบมีบทบาทสำคัญในการสร้างความปลอดภัยที่ยั่งยืนและลดความเสี่ยงให้กับธุรกิจ ดังนี้:

  • คน (People)

ปัจจัยที่สำคัญที่สุดของระบบไซเบอร์ซีเคียวริตี้คือบุคลากร ซึ่งต้องมีความรู้ความสามารถในการป้องกันภัยคุกคามและการรับมือเมื่อเกิดเหตุการณ์ทางไซเบอร์ สถาบันหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการผลิตบุคลากรด้านนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการตอบสนองต่อความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันบุคลากรที่มีทักษะทางไซเบอร์ซีเคียวริตี้ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทำให้จำเป็นต้องมีการลงทุนในการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะของพนักงานที่มีอยู่ รวมทั้งสร้างแรงจูงใจให้กับเยาวชนให้สนใจในสายงานนี้มากขึ้น การมีบุคลากรที่พร้อมจะป้องกันและตอบสนองได้ทันท่วงทีจะช่วยเพิ่มความสามารถในการรับมือกับความเสี่ยงและเพิ่มความปลอดภัยให้กับองค์กรได้เป็นอย่างดี

  • กระบวนการ (Process)

กระบวนการด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้เป็นสิ่งที่ต้องได้รับการออกแบบและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การทำงานด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ในปัจจุบันต้องไม่จำกัดเพียงแค่ภายในองค์กรเท่านั้น แต่ยังต้องเชื่อมโยงและประสานงานกับคู่ค้า ลูกค้า และผู้ขายอย่างใกล้ชิด เพื่อให้เกิดการป้องกันที่ครอบคลุมทุกส่วน การตรวจสอบและประเมินความเสี่ยงเป็นประจำ การฝึกซ้อมเพื่อรับมือกับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงการกำหนดนโยบายและขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจน ล้วนเป็นสิ่งที่ต้องมีเพื่อให้การรักษาความปลอดภัยมีประสิทธิภาพ

  • เทคโนโลยี (Technology)

เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความปลอดภัยทางไซเบอร์ จากเดิมที่เคยใช้เทคโนโลยีในระบบปิดที่เน้นการป้องกันจากภายในองค์กร มาสู่ยุคที่ระบบต้องเชื่อมโยงกันผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งนำมาซึ่งความเสี่ยงที่ซับซ้อนและเพิ่มมากขึ้น เทคโนโลยีด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้จึงต้องถูกพัฒนาเพื่อให้ตอบสนองกับภัยคุกคามที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ไม่เพียงแต่ต้องเน้นไปที่การป้องกันการโจมตี (เช่น ระบบป้องกันมัลแวร์และไฟร์วอลล์) แต่ยังต้องรวมถึงการตรวจจับ การตอบสนองต่อเหตุการณ์ และการฟื้นฟูสภาพหลังการโจมตีด้วย และเทคโนโลยีในปัจจุบันเช่น การเข้ารหัสข้อมูล การใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) และแมชชีนเลิร์นนิง (ML) เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมที่ผิดปกติ การนำระบบวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) มาใช้เพื่อวิเคราะห์และทำนายความเสี่ยง รวมถึงการใช้ระบบคลาวด์ที่ต้องมีการจัดการความปลอดภัยที่เข้มงวดล้วนเป็นสิ่งสำคัญในการเพิ่มความมั่นใจในการทำธุรกรรมและการใช้งานระบบต่างๆ

การผสมผสานระหว่างคน กระบวนการ และเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ จะช่วยให้องค์กรสามารถรับมือกับความท้าทายด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ได้อย่างครบวงจรและยั่งยืน นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงจริยธรรมในการใช้งานและการให้บริการ การสร้างความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ และการใช้พลังงานสะอาด โดยการออกแบบด้านความปลอดภัย (Security by Design) ควบคู่กับแผนธุรกิจ

สำหรับการจัดงาน ‘Cybersecurity Assemble: Bridging the Cyber Divide’ ยิบอินซอยได้ร่วมมือกับพันธมิตรด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ชั้นนำระดับโลก เพื่อแบ่งปันความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ธุรกิจจำเป็นต้องปรับตัวอย่างทันทีเพื่อรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้นและทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น งานนี้นำเสนอความก้าวหน้าด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ รวมถึงการแก้ไขปัญหาความท้าทายที่เกิดขึ้นในภูมิทัศน์ไซเบอร์ปัจจุบัน ตั้งแต่กฎระเบียบและการบริหารความเสี่ยงไปจนถึงความก้าวหน้าล่าสุดในด้านเอไอ โดยมอบมุมมองที่ครอบคลุมเกี่ยวกับความมั่นคงทางไซเบอร์ การรวมตัวครั้งนี้เป็นการเชื่อมโยงผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมชั้นนำ เพื่อให้ธุรกิจมีเครื่องมือและข้อมูลเชิงลึกที่จำเป็นในการเติบโตในยุคดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา รวมถึงการเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคตของธุรกิจและการก้าวนำหน้าในเส้นทางนี้

นอกจากนี้ภายในงานสัมมนาฯ ยังได้รับเกียรติจากพลตรี ธีรวุฒิ วิทยากรณ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.)  และ กูรูทางด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ดร.โกเมน พิบูลย์โรจน์ และอาจารย์ปริญญา หอมเอนก เข้าร่วมเป็นวิทยากร ในครั้งนี้

มาจนได้ สาย USB4 2.0 ตัวแรกของโลก รองรับความเร็ว 80Gbps

แม้ว่ามาตรฐานของ USB4 2.0 จะออกมาตั้งแต่ปี 2022 แต่ก็ยังไม่มีฮาร์ดแวร์หรือเมนบอร์ดใด ที่รองรับการใช้งาน จนล่าสุด บริษัทญี่ปุ่น เปิดตัวสาย USB4 2.0 ที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการเป็นเจ้าแรกของโลก โดยจะวางจำหน่ายในญี่ปุ่นกลางเดือนธันวาคมนี้

สายที่เปิดตัวมา มี 2 รุ่น คือ รุ่นความเร็ว 80Gbps จ่ายไฟได้ 60W และรุ่นจ่ายไฟ 240W (48V/5A) ซึ่งแรงพอจะชาร์จโน้ตบุ๊กแรง ๆ ได้สบาย นอกจากนี้ สายยังรองรับ DisplayPort ที่รองรับการส่งข้อมูลภาพ 8K 60Hz ได้ด้วย

แต่กว่าที่ USB4 2.0 จะแพร่หลาย คงต้องใช้เวลาอีกพักใหญ่ เพราะตอนนี้ยังไม่มีเมนบอร์ดรุ่นไหนรองรับ แม้ว่ามาตรฐานนี้จะประกาศออกมาตั้งแต่ปี 2022 แล้วก็ตาม Microsoft เองก็เริ่มพัฒนา Windows 11 ให้รองรับ USB4 2.0 แล้ว แต่ผู้ผลิต PC และอุปกรณ์ต่างๆ ต้องปรับแต่งฮาร์ดแวร์ให้รองรับ

อนาคตของเทคโนโลยี USB4 2.0 นั้นค่อนข้างน่าสนใจนะ ในช่วงปลายปี 2024 หรือต้นปี 2025 อาจจะเริ่มปรากฏในอุปกรณ์ต่างๆ เช่น แล็ปท็อป สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต จอภาพ และอุปกรณ์ต่อพ่วง และจะกลายเป็นมาตรฐานหลักในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า นอกจากนี้ USB4 2.0 อาจถูกนำไปใช้ร่วมกับเทคโนโลยีอื่นๆ เช่น Thunderbolt และ DisplayPort เพื่อสร้างมาตรฐานการเชื่อมต่อที่ครอบคลุม และใช้งานได้หลากหลายยิ่งขึ้น

ที่มา

สุดแปลก คีย์บอร์ดแบบวงกลม Google จัดให้ กดได้ 2 ด้าน

Google โชว์คีย์บอร์ดสุดแปลก ผลิตที่ประเทศญี่ปุ่น แต่ไม่ยอมขาย

วันนี้ Google Japan ได้ประกาศการออกแบบแป้นพิมพ์ใหม่ซึ่งแก้ไข ปัญหาใหญ่ของแป้นพิมพ์ที่มีปุ่มอยู่เพียงด้านเดียว แป้นพิมพ์ Gboard สองด้านจะอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องเสมอ ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากแถบเมอบิอุส

และไม่ได้วางแผนที่จะผลิตอุปกรณ์ดังกล่าวขึ้นมาจริงๆ Google ได้เปิดเผยแผนการสร้างอุปกรณ์ของตนในรูปแบบโอเพนซอร์ส ซึ่งรวมถึงไฟล์ STL ที่พิมพ์ 3 มิติ เฟิร์มแวร์ และอื่นๆ อีกมากมาย และแผนดังกล่าวพร้อมให้ใช้งานบน GitHub แล้ว

Gboard สองด้านแสดงให้เห็นการใช้งานที่หลากหลาย เรียกว่าเป็นคีย์บอร์ดแบบ 360 องศาเราได้เห็นปุ่มต่างๆ ถูกใช้งานในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นงานออฟฟิศหรือไปจนถึงการทำงานด้านอวกาศ เป็นต้น

คีย์บอร์ดสองด้านมีปุ่มทั้งหมด 208 ปุ่มในรูปแบบออร์โธลิเนียร์ 26 x 8 บนแถบ Möbius แม้ว่าจะใช้ปุ่มแบบกลไก แต่สวิตช์ MX ไม่สามารถสลับเปลี่ยนได้

มีไฟ RGB สำหรับแต่ละปุ่ม เชื่อมต่อและจ่ายไฟผ่าน USB Type-C และมีน้ำหนักเบา แถมยังจัดทำ PDF พร้อมคำแนะนำในการสร้างคีย์บอร์ดออกมาด้วย

ปัจจุบันคีย์บอร์ดที่มีปุ่มเพียง 60% จะเป็นที่นิยมสำหรับวัยทำงาน เพราะขนาดกำลังพอดีและใช้งานได้สะดวก แต่ถ้า Gboard ถูกวางขายจริงก็น่าจะมีหลายคนอยากลองใช้กัน

 

ที่มา : tomshardware

#Google  #Gboard #TechhubUpdate

พลังงานสะอาด สวีเดนสร้างแพไฮบริด ผลิตไฟฟ้าให้บ้าน 1,000 หลัง

โรงไฟฟ้าพลังงานไฮบริดสามารถผลิตไฟฟ้าได้ 1,000 หลังคาเรือนต่อวัน มีกังหันลมและแผงโซลาร์เซลล์ สามารถผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 1 เมกะวัตต์ โดยมีกำลังการผลิตไฟฟ้าอยู่ที่ 40%

บริษัทพลังงานหมุนเวียนของสวีเดนตั้งเป้าที่จะผลิตพลังงานสะอาดมากขึ้นด้วย Hybrid Energy Converter (HEC) นวัตกรรมที่ใช้พลังงานจากคลื่น ลม และแสงอาทิตย์ร่วมกัน

HEC ของ NoviOcean ผลิตพลังงานด้วยโมดูลาร์ผลิต ติดตั้ง และบำรุงรักษาง่าย โดยพลังงานหมุนเวียนแบบไฮบริด และมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

สร้างแพรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีความยาว 38 เมตร แพลอยไปตามคลื่น โดยมีกระบอกสูบบรรจุน้ำอยู่ด้านล่างซึ่งเชื่อมกับทะเลด้วยแกนลูกสูบและสายเคเบิล

บนแพมีกังหันลมแนวตั้ง 6 ตัวที่ผลิตไฟฟ้าได้ 300 กิโลวัตต์ เสริมด้วยแผงโซลาร์เซลล์ ทำให้มีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมประมาณ 1 เมกะวัตต์

สามารถผลิตพลังงานได้แม้ในวันที่ไม่มีแสงแดดและไม่มีลมพัด และจ่ายไฟให้กับบ้านได้มากกว่า 1,000 หลังคาเรือนต่อวัน

และเตรียมพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวเพิ่มขึ้นและเตรียมจดสิทธิบัตรใน 20 ประเทศ เพื่อนำไปสร้างพลังงานให้มีมากพอต่อความต้องการในอนาคต

ที่มา :  interestingengineering
#พลังงานไฮบริด #TechhubUpdate

ป่วยก็เรียนได้ นอร์เวย์พัฒนาหุ่นยนต์ เข้าห้องเรียนแทนเด็ก

บริษัท No Isolation ของนอร์เวย์ได้พัฒนาหุ่นยนต์ AV1 สำหรับเด็กที่มีปัญหาด้านสุขภาพ ป่วยเรื้อรังและไม่สามารถไปโรงเรียนได้ 

หุ่นยนต์ตัวนี้จะทำหน้าที่เสมือนดวงตา หู และเสียงของเด็ก และช่วยให้เด็ก ๆ สามารถสื่อสารกับเพื่อนร่วมชั้นได้

หุ่นยนต์ AV1 มีลักษณะเหมือนหัวและลำตัวของมนุษย์ในเวอร์ชันเรียบง่าย หุ่นยนต์สามารถหมุนได้ 360 องศา มีกล้อง ไมโครโฟน และลำโพงในตัว คุณครูจะวางหุ่นยนต์ตัวนี้ไว้บนโต๊ะในห้องเรียน และให้เด็กนักเรียนที่ขาดเรียน สามารถ ควบคุมหุ่นยนต์จากระยะไกลจากการใช้แอป

นักเรียนสามารถพูดคุยกับครูหรือเพื่อนร่วมชั้นผ่านลำโพงได้ และมีตัวเลือกยกมือหากนักเรียนมีคำถาม หุ่นยนต์จะมีแสงแฟลชบนหัวเพื่อแสดงให้คนในห้องเรียนได้รู้

หุ่นยนต์ถูกใช้งานอยู่ 3,000 ตัวใน 17 ประเทศ ส่วนใหญ่ในสหราชอาณาจักรและเยอรมนี ซึ่งทั้งสองประเทศมีหุ่นยนต์ที่ใช้งานมากกว่า 1,000 ตัว

โรงเรียนสามารถเช่า AV1 ได้ในราคาประมาณ 150 ปอนด์ หรือประมาณ 6,571 บาท เพื่อนำหุ่นยนต์มาใช้งานในยามฉุกเฉินได้

ปัจจุบัน นักเรียนในอังกฤษมากกว่า 19% ขาดเรียนอย่างต่อเนื่องสาเหตุหลักคือป่วยและเกิดโรคระบาดตามมา จึงทำให้โรงเรียนคิดว่าแนวทางช่วยเหลือนักเรียนที่จำเป็นต้องขาดเรียนในระยะยาว

 

ที่มา : cnn

#หุ่นยนต์ #TechhubUpdate

ดักทางโจร ฟีเจอร์ใหม่ Android ล็อคตัวเครื่องเมื่อถูกขโมย

[เหลือเครื่องเปล่า] สิ่งสำคัญนอกจากตัวสมาร์ทโฟนเองแล้ว ก็ไม่พ้น ‘ข้อมูล’ และรวมไปถึงรหัสบัญชีต่าง ๆ ที่อาจมีค่ายิ่งกว่าซะอีก หากวันหนึ่งพลาดทำเครื่องหายหรือถูกขโมยขึ้นมา ความเสียหายคงไม่จบแค่ค่าตัวเครื่องแน่ ล่าสุดมีข่าวดีสำหรับผู้ใช้ Android หลัง Google เตรียมอัปเดตช่วยป้องกันการโจรกรรมดังกล่าวโดยเฉพาะ

Google เปิดตัว 3 ฟีเจอร์ใหม่อย่าง Theft Detection Lock ใช้ AI ช่วยตรวจจับความเคลื่อนไหวที่ผิดปกติของสมาร์ทโฟน เช่น หากพบว่าตัวเครื่องถูกกระชากออกอย่างแรง หรือโดนคว้าตัวเครื่องออกจากมือด้วยกำลัง ตัวระบบจะทำการล็อกอุปกรณ์โดยอัตโนมัติทันที

ถัดมาคือ Offline Device Lock ล็อกหน้าจอโดยอัตโนมัติ หากพบว่าหัวขโมยตัดการเชื่อมต่อเครือข่ายหรืออินเทอร์เน็ตเป็นเวลานาน เพื่อหลีกเลี่ยงการเรียกใช้ Find My Device ของผู้เสียหายนั้นเอง

สุดท้าย Remote Lock ช่วยล็อกตัวเครื่องทันทีด้วยมือ โดยขอแค่มีหมายเลขโทรศัพท์ และตอบคำถามเกี่ยวกับความปลอดภัย ก็สั่งล็อกหน้าจอจากระยะไกลได้เลย ไม่ต้องเสียเวลาเข้าบัญชี Google เหมือนก่อนแล้ว

สำหรับตัวฟีเจอร์ทั้ง 3 นี้ ผู้ใช้สามารถเปิดปิดการใช้งานด้วยตัวเองได้ โดยไปที่ Settings > Google > Personal & device safety จากนั้นก็หาตัวเลือก Theft Protection ซึ่งจะเลือกเปิดบางข้อหรือทั้งหมดเลยก็ได้

ท้ายตัวฟีเจอร์ยังอยู่ระหว่างทดสอบ โดยจะเปิดให้ผู้ใช้บางกลุ่มก่อน ซึ่งบางรายอาจมาไม่ครบทั้ง 3 ฟีเจอร์ก็มี แต่สำหรับผู้ใช้ Pixel ที่สมัคร Android เบต้าไว้ ก็จะได้ใช้งานครบทั้ง 3 ฟีเจอร์ก่อนใคร ส่วนผู้ใช้ทั่วไปรออัปเดตเร็ว ๆ นี้

ที่มา : Techspot

แว่นตาสุดล้ำ ซ้อนกล้องขนาดจิ๋ว ระบุตัวตนคนแปลกหน้าได้

[Beep Beep Beep] อาจเรียกได้ว่า “น่ากังวล” มากกว่า “ว้าว” หลังมีนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้พัฒนาแว่นตาวิเศษ สามารถระบุตัวตนของคนแปลกหน้าบนท้องถนนได้อย่างง่ายดาย บางรายเห็นได้ตั้งแต่ชื่อ หมายเลขโทรศัพท์ ยันที่อยู่บ้าน

ปัจจุบันเราสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีหลายตัวได้ไม่ยาก เพราะมีทั้งโปรแกรมสำเร็จรูป ทั้งฮาร์ดแวร์พร้อมประกอบ และบริการ AI ออนไลน์เสร็จสรรพ จึงไม่แปลกที่จะมี Gadget หรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ ตามมา เหมือนอย่างที่สองนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดอย่าง AnhPhu Nguyen และ Caine Ardayfio ได้พัฒนาอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งที่มีชื่อว่า “I-XRAY”

I-XRAY ถูกดัดแปลงมาจากแว่น Ray-Ban ของ Meta นี้เอง ซึ่งมีลักษณะเหมือนเป็นแว่นตาทั่วไป แต่มีการซ้อนกล้องขนาดเล็ก เพื่อถ่าย Live ลง Instagram ทว่าสองนักศึกษาฮาร์วาร์ดได้นำ ‘เทคโนโลยีที่มีในปัจจุบัน’ มาสร้างเป็นเครือข่ายสแกนใบหน้าแบบ Realtime ซะเลย โดยเริ่มจากการใช้ PimEyes บริการจดจำใบหน้า ที่สามารถใช้ภาพใบหน้าคนมาค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ เช่น ข้อมูลนักศึกษา หรือหน้าโปรไฟล์บนเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่มีบอกข้อมูล (ส่วนตัว) ไว้พร้อมสรรพ

ตัวแว่นมีการใช้โมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM) หรือ AI ช่วยประมวลผลด้วย โดยจะนำข้อมูลที่ได้จาก PimEyes มาสรุปเป็นข้อมูลส่วนตัวทั้งชื่อ อาชีพ และรายละเอียดส่วนตัวอื่น ๆ เช่น หมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่บ้าน ยันข้อมูลความสัมพันธ์ในครอบครัว กระทั่งดึงข้อมูลรูปถ่ายในวัยเด็กของบุคคลนั้น ๆ ได้ด้วย ซึ่งทั้งหมดจะแสดงผลผ่านจอสมาร์ทโฟนนั้นเอง

**อนึ่งตัวบริการ “PimEyes” นั้น จริง ๆ เอาไว้ใช้ค้นหาว่าเรามีภาพใบหน้าของตนเอง หลุดไปในเว็บหรือแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ไหนบ้าง ซึ่งไม่เพียงภาพใบหน้า แต่อาจมีด้วยข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ หลุดไปด้วย โดยหากพบเจอ ก็ทำการแจ้งให้เอาออกได้ภายหลัง**

เพื่อเป็นการยืนยัน สองนักศึกษาได้ถ่ายคลิปทดสอบการใช้งานลงใน X (หริอ Twitter เก่า) โชว์ให้เห็นเลยว่า ตัวแว่นสามารถบอกข้อมูลส่วนตัวของคนแปลกหน้าที่เพิ่งพบเจอได้จริง อย่างการเข้าไปทักชื่อจริงบุคคลในที่สาธารณะ เข้าไปพูดคุยอย่างสนิทสนมเสมือนเป็นคนรู้จัก (ซึ่งแน่นอนว่าไม่รู้จัก) อีกรายก็บอกชื่อสถานที่ทำงานแล้วตีเนียนว่ามาจากที่เดียวกัน อย่างไรก็ตาม ตัวแว่นก็ไม่ได้บอกข้อมูลถูกต้องเสมอไป

เรียกได้ว่าเป็นแว่นตาอัจฉริยะที่ทั้งล้ำและน่ากลัวในเวลาเดียวกัน โดยนาย AnhPhu Nguyen ออกมาบอกเลยว่า อาจมีบางคนนำไปใช้ในทางที่ผิด เช่นแอบค้นหาที่อยู่บ้านผู้หญิงในที่สาธารณะ จากนั้นก็แอบตามกลับบ้านด้วย ซึ่งแน่นอนว่าเป็นอะไรที่อันตรายมาก รวมถึงรู้ดีว่าตัวอุปกรณ์ทำให้เกิดข้อกังวลด้านความเป็นส่วนตัวมากแค่ไหน จึงบอกเบื้องหลังแค่พอสังเขป ส่วนรายละเอียดการพัฒนาก็ปกปิดเอาไว้

ท้ายนี้ทั้ง AnhPhu Nguyen และ Caine Ardayfio กล่าวว่าทั้งสองไม่ได้มีเจตนาพัฒนาตัว I-XRAY มาใช้งานจริง แต่เพื่อเป็นการเตือนว่าเทคโนโลยีในปัจจุบันสามารถทำแบบนี้ได้ และเข้าถึงได้ไม่ยาก (หากมีความเชี่ยวชาญพอ) ฉะนั้นสิ่งที่ควรระวังจริง ๆ คือ การเผลอ “ฝาก” ข้อมูลส่วนตัวในโลกโซเชียล

เช่น เขียนชื่อที่อยู่เบอร์โทร กับข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ บนแพลตฟอร์มออนไลน์อย่าง Facebook หรือ Instagram บางรายอาจถูกนำข้อมูลส่วนตัวไปเผยแพร่บนเว็บไซต์โดยไม่ยินยอมก็มี ซึ่งก็ต้องมาย้อนดูว่า เผลอไปสมัครบริการอะไรที่แปลก ๆ หรือไม่ จากนั้นก็แจ้งเตือนเว็บไซต์นั้น ๆ ให้รีบนำข้อมูลส่วนตัวของตนเองออกโดยไว ก่อนที่จะแจ้งความดำเนินกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ที่มา : Techspot

พบเทคนิคใหม่ ใช้ทรายบนดาวอังคาร สร้างบ้านนอกโลก

บ้านนอกโลก

นักวิจัยค้นพบวิธีเปลี่ยนทรายบนดาวอังคารและดวงจันทร์ให้เป็นอิฐแข็งแรงเทียบเท่าหินแกรนิต โดยใช้วัสดุนาโนที่ชื่อ “คาร์บอนนาโนทิวบ์” เพื่อเชื่อมประสาน รีโกลิธ (regolith) หรือเศษ หิน ดิน ทราย และฝุ่นผงบนพื้นผิวดาว กระบวนการนี้ใช้พลังงานและอุณหภูมิต่ำ เหมาะกับการใช้งานในอวกาศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการสร้างอาณานิคมบนดาวเคราะห์เหล่านี้ในอนาคต

อิฐจากรีโกลิธนี้ นอกจากจะแข็งแรงมากแล้ว ยังนำไฟฟ้าได้ จึงใช้เป็นเซ็นเซอร์ตรวจสอบความแข็งแรงของโครงสร้างอาคาร และเตือนภัยล่วงหน้าหากเกิดความเสียหาย

นอกจากนี้ เทคโนโลยีดังกล่าว ยังอาจนำมาใช้บนโลกโดยผสม “กราฟีน” ในคอนกรีตเพื่อเพิ่มความแข็งแรง ลดปริมาณการใช้วัสดุ และลดมลพิษจากอุตสาหกรรมการผลิตคอนกรีต

ก่อนหน้านี้ มีการวิจัยใช้วิธีพิมพ์ 3 มิติ สร้างอิฐจากรีโกลิธบนดวงจันทร์ผสมกับน้ำเกลือ เพื่อสร้างฐานที่มั่นบนดวงจันทร์ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดที่ว่า การสร้างอาณานิคมในอวกาศ จำเป็นต้องใช้วัสดุที่มีอยู่ ณ ที่นั้นให้มากที่สุดเพื่อลดการขนส่งจากโลก ซึ่งก็ทำได้สำเร็จ

การค้นพบนี้ ไม่เพียงปูทางสู่การตั้งถิ่นฐานในอวกาศนะ แต่อาจนำไปสู่การปฏิวัติวงการก่อสร้างบนโลก ซึ่งช่วยลดการใช้ทรัพยากร และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ที่มา
https://www.techspot.com/news/105019-scientists-discover-sand-mars-moon-can-turned-building.html

เอาเรื่อง Windows 11 ใหม่ โอนถ่ายไฟล์เร็วขึ้นด้วย ReFS

ReFS

Resilient File System หรือ (ReFS) เป็นระบบไฟล์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายใน Windows Server มาตั้งแต่ปี 2012 โดยเป็นอีกทางเลือกหนึ่งนอกเหนือจาก NTFS

ถึงแม้ว่า NTFS จะยังคงเป็นระบบไฟล์หลักสำหรับ Windows ทั่วไป แต่ ReFS ก็มีข้อดีเฉพาะตัวที่เหมาะกับศูนย์ข้อมูลและการจัดเก็บข้อมูลปริมาณมาก

จุดเด่นที่สุดของ ReFS คือเทคโนโลยี Block Cloning ที่ช่วยให้การคัดลอกไฟล์เร็วขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จากการทดสอบของ Microsoft พบว่าความเร็วในการคัดลอกไฟล์ขนาด 1MB เพิ่มขึ้น 18% และไฟล์ขนาด 1GB เพิ่มขึ้นถึง 94% เมื่อเทียบกับ NTFS แม้แต่การถ่ายโอนโฟลเดอร์ขนาดใหญ่ก็ยังเร็วขึ้น 80% โดยการคัดลอกไฟล์ขนาด 18GB ใช้เวลาเพียง 6 วินาที จากเดิมที่ใช้เวลามากกว่า 30 วินาที

และนอกจากความเร็วที่เพิ่มขึ้นแล้ว ReFS ยังมีระบบตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อมูลอัตโนมัติ เพื่อตรวจจับและแยกข้อมูลที่เสียหายโดยไม่กระทบต่อส่วนอื่นๆ ของไดรฟ์

อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก ReFS ไม่ได้ออกแบบมาสำหรับผู้ใช้ทั่วไป จึงมีข้อจำกัดบางประการ เช่น ไม่มีฟีเจอร์บางอย่างที่ผู้ใช้ทั่วไปคุ้นเคย เช่น การบีบอัดไฟล์และการเข้ารหัส และไม่สามารถใช้เป็นไดรฟ์สำหรับบูตระบบปฏิบัติการได้ ที่สำคัญที่สุดคือ ไม่สามารถแปลงไดรฟ์ระหว่าง ReFS และ NTFS ได้โดยตรง ต้องฟอร์แมตใหม่ทั้งหมด

ซึ่ง Microsoft ก็ได้แนะนำว่า ให้เก็บโปรเจกต์ที่ใช้งานอยู่บนไดรฟ์ ReFS และใช้ไดรฟ์ NTFS สำหรับระบบปฏิบัติการ แอพพลิเคชัน และข้อมูลส่วนตัว จะเหมาะสมที่สุดครับ

วิธีสร้าง ReFS Dev Drive (แนะนำให้อัปเดต Windows 11 เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดก่อนนะครับ)
1.ไปที่ การตั้งค่า Windows (Windows Settings)
2.เลือก ระบบ (System) > ที่เก็บข้อมูล (Storage) > การตั้งค่าที่เก็บข้อมูลขั้นสูง (Advanced Storage Settings) > ดิสก์และไดรฟ์ข้อมูล (Disks & volumes)
3.เลือก สร้าง Dev Drive (Create dev drive)
4.เลือกดิสก์ที่ต้องการใช้ (ต้องเป็นดิสก์เปล่าหรือดิสก์ที่คุณยินดีจะฟอร์แมตใหม่)
5.กำหนดขนาดของ Dev Drive
6. คลิก สร้าง (Create)

หลังจากสร้าง ReFS Dev Drive แล้ว เราก็สามารถย้ายโปรเจกต์งาน, ไฟล์เกม, หรือไฟล์อื่นๆ ที่ต้องการความเร็วในการอ่าน/เขียนสูง ไปไว้ในไดรฟ์นี้ได้เลย

ที่มา
https://www.techspot.com/news/104995-windows-11-latest-update-doubles-file-copying-speeds.html

อ่านข่าวอื่น ๆ ของ Techhub

How To สร้าง ปุ่ม Shutdown บนหน้าจอ บิดเครื่องได้ง่ายกว่าเดิม

จริง ๆ เราก็สามารถกด Shutdown ผ่านหน้าเมนูปกติบน Windows 11 ได้ แต่บางครั้งมันก็อาจดูน่าเบื่อ หรือไม่ทันใจ Techhub เลยจะมาสอนวิธีการสร้าง ปุ่ม Shutdown ไว้บนหน้าจอ ให้เรากดปิดเครื่องได้ง่าย ๆ

แต่ต้องบอกก่อนนะว่า ปุ่มนี้สามารถทำได้โดยไม่ต้องลงโปรแกรมเพิ่ม เป็นการเพิ่มไอคอนลงในหน้าจอ Desktop แล้วใส่คำสั่ง Shutdown ลงไป มาดูวิธีการทำกัน

วิธีเพิ่มปุ่ม Shutdown บนหน้าจอ

1.คลิกขวาที่หน้าจอ เลือกคำสั่ง New แล้วเลือก Shortcut

ปุ่ม Shutdown

2.ในหน้าสำหรับสร้าง Shortcut พิมพ์คำสั่ง shutdown /s /t 0 แล้วกด Next

ปุ่ม Shutdown

3.ตั้งชื่อปุ่ม ปิดเครื่อง จะตั้งอะไรให้ฮา ๆ ก็ได้นะเช่น ปิดมัน , ปิดแม่ง , ยกเลิกระบบ , นอน ฮ่า ๆ

4.จากนั้น กด Finish เพื่อยืนยัน 

ทีนี้ เราก็ได้จะได้ปุ่ม Shutdown มาแล้ว  แต่หน้าตามันจะดูไม่ต่อยเหมือนปุ่ม Shutdown เท่าไหร่ มาเปลี่ยนหน้าตามันกัน

วิธีเปลี่ยน ไอคอน

1.คลิกขวาที่ปุ่มแล้วเลือก Properties 

2.ด้านล่าง เลือก Change icon 

3.สามารถเลือกไอคอนที่เราต้องการแล้วกด OK ได้เลย

ปล.หากเราไม่ชอบไอคอนที่ Windows มีให้ ก็ไปโหลดไอคอนสวย ๆ มาจาก Google แล้วใช้ได้เหมือนกันนะ 

 

Hot Issue