ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่ งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (เลขาธิการ คปภ.) เปิดเผยว่า สำนักงาน คปภ. ได้ออกคำสั่งนายทะเบียนที่ 31/2566 เรื่อง หลักเกณฑ์การให้ความเห็ นชอบแบบและข้อความตารางกรมธรรม์ ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภั ยจากรถที่ไม่มีแถบโฮโลแกรม (Non-hologram) โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วั นที่ 15 กันยายน 2566 เป็นต้นไป โดยเป็นการเพิ่มรู ปแบบตารางกรมธรรม์ประกันภัยคุ้ มครองผู้ประสบภัยจากรถ เพื่อให้บริษัทประกันภัยที่มี ความพร้อมตามคำสั่งนายทะเบียนดั งกล่าว สามารถยื่นขอรับความเห็ นชอบแบบและข้อความตารางกรมธรรม์ ประกันภัย พ.ร.บ. แบบใหม่นี้ได้
ซึ่งจากเดิมเมื่อซื้อประกันภั ยรถภาคบังคับ หรือ ประกันภัย พ.ร.บ. จะได้รับหลักฐานที่สำคัญ คือ “ตารางกรมธรรม์ประกันภัย” ที่ระบุข้อมูลผู้เอาประกันภัย ข้อมูลรถ วันเริ่มต้น-สิ้นสุดความคุ้ มครอง ข้อมูลบริษัทประกันภัย และตัวแทนประกันภัยหรือนายหน้ าประกันภัยที่เสนอขาย ซึ่งปัจจุบันตารางกรมธรรม์ประกั นภัย พ.ร.บ. มี 3 รูปแบบ คือ รูปแบบแรก ตารางกรมธรรม์ประกันภัย พ.ร.บ. ที่มีแถบโฮโลแกรม (Hologram) รูปแบบที่สองตารางกรมธรรม์ประกั นภัย พ.ร.บ. แบบ PVR-Slip เพื่อใช้ในการออกกรมธรรม์ประกั นภัย พ.ร.บ. สำหรับรถจักรยานยนต์ของบริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด และรูปแบบที่ 3 ตารางกรมธรรม์ประกันภัย พ.ร.บ. ที่ไม่มีแถบโฮโลแกรม (Non-hologram) สำหรับการเสนอขาย ณ สถานที่จัดจำหน่ายที่ได้แจ้งต่ อนายทะเบียนไว้แล้วเท่านั้น อาทิ จุดบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิ สในร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ซึ่งการกำหนดให้หน้ าตารางกรมธรรม์ประกันภัย พ.ร.บ. ต้องมีแถบโฮโลแกรม (Hologram) สืบเนื่องมาจากจะช่วยป้องกั นการปลอมแปลงตารางกรมธรรม์ประกั นภัย พ.ร.บ. และสร้างความมั่นใจให้แก่ ประชาชนได้
เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิ ของประชาชน สำนักงาน คปภ. ได้จัดให้มีระบบฐานข้อมูลประกั นภัยรถภาคบังคับ (Compulsory Motor Insurance System : CMIS) ที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่ องเป็นไปตามมาตรฐานของการรั กษาความมั่นคงปลอดภัยด้ านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT security) และกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้ อมูลส่วนบุคคล และกำหนดให้บริษัทรายงานข้อมู ลการรับประกันภัยทันทีที่รั บประกันภัย ตามประกาศนายทะเบียน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการให้บริษั ทรายงานการรับประกันภั ยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 พ.ศ. 2565 ซึ่งขณะนี้บริษัทได้นำส่งข้อมู ลดังกล่าวเข้าฐานข้อมูล CMIS แล้ว จึงส่งผลให้ประชาชนผู้ใช้รถใช้ ถนนได้รับประโยชน์สูงสุด อาทิ โรงพยาบาล สามารถตรวจสอบข้อมูลการรับประกั นภัย พ.ร.บ. เพื่อให้การรักษาแก่ผู้ประสบอุ บัติเหตุจากรถได้ทันท่วงที อีกทั้ง ได้เชื่อมโยงระบบดังกล่าวกั บกรมการขนส่งทางบกผ่าน Web Service ด้วยช่องทาง Leased Line ซึ่งเป็นอินเทอร์เน็ตความเร็วสู งที่มีการเข้ารหัสข้อมูลทำให้มี ความปลอดภัย ส่งผลให้ประชาชนได้รับการบริ การที่สะดวก รวดเร็ว และครบวงจร ขณะเดียวกันกรมการขนส่งทางบกก็ ไม่ต้องเรียกเก็บหลักฐานส่วนท้ ายของตารางกรมธรรม์ประกันภัย พ.ร.บ. อีกต่อไป อันเป็นการปรับกระบวนการปฏิบัติ งานร่วมกันของทั้งสองหน่ วยงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิ ภาพและสอดคล้องกับนโยบายการเป็ นรัฐบาลดิจิทัล
สำนักงาน คปภ. มีความมั่นใจว่า ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและนวั ตกรรมที่นํามาขับเคลื่อน การดำเนินงานประกันภัย พ.ร.บ. ดังกล่าว จะทำให้ประชาชนมั่นใจได้ว่า ตารางกรมธรรม์ประกันภัย พ.ร.บ. ที่ไม่มี แถบโฮโลแกรม (Non-hologram) ที่บริษัทออกให้เป็นฉบับจริ งและประชาชนสามารถตรวจสอบความคุ้ มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย พ.ร.บ. ได้ทันทีหลังจากซื้อประกันภัย ดังนั้น เพื่อเป็นการยกระดับการดำเนิ นการ สำนักงาน คปภ. จึงออกคำสั่งนายทะเบียนที่ 31/2566 เรื่อง หลักเกณฑ์การให้ความเห็ นชอบแบบและข้อความตารางกรมธรรม์ ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภั ยจากรถที่ไม่มีแถบโฮโลแกรม (Non-hologram) ซึ่งถือเป็นการเพิ่ม “ตารางกรมธรรม์ประกันภัย พ.ร.บ. รูปแบบใหม่” โดยสาระสำคัญของคำสั่งนายทะเบี ยนดังกล่าว ได้กำหนดเงื่อนไขไว้ 2 ประการ เพื่อให้บริษัทประกันภัยที่มี ความพร้อมตามหลักเกณฑ์ที่สำนั กงาน คปภ. กำหนด สามารถยื่นขอรับความเห็ นชอบแบบและข้อความตารางกรมธรรม์ ประกันภัย พ.ร.บ. ที่ไม่มีแถบโฮโลแกรม (Non-hologram) ต่อนายทะเบียนได้ ดังนี้
1. กำหนดให้บริษัทประกันภัยต้องยื่ นรายงานตามประกาศนายทะเบียน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการให้บริษั ทรายงานการรับประกันภั ยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 พ.ศ. 2565 เพื่อให้สำนักงาน คปภ. มีฐานข้อมูลประกันภัยรถภาคบังคั บที่ถูกต้องครบถ้วนและเป็นปัจจุ บันแบบ Realtime ซึ่งจะส่งผลให้กรมการขนส่ งทางบกสามารถตรวจสอบข้อมู ลการทำประกันภัย พ.ร.บ. ผ่านระบบที่เชื่อมโยงกันไว้ได้ เพื่อยืนยันการทำประกันภัย พ.ร.บ. ของประชาชนก่อนชำระภาษี รถประจำปีในทุกช่ องทางของกรมการขนส่งทางบก โดยไม่ต้องแสดงหน้ าตารางกรมธรรม์ประกันภัย พ.ร.บ. อันเป็ นการอำนวยความสะดวกและลดระยะเวล าในการชำระภาษีรถประจำปี ของประชาชน
2. กำหนดให้บริษัทประกันภัยต้องจั ดให้มีช่องทางให้แก่ผู้เอาประกั นภัยตรวจสอบกรมธรรม์ประกันภัยคุ้ มครองผู้ประสบภัยจากรถได้ทันที และตลอดอายุความตามกฎหมาย หรือจนกว่าคดีจะถึงที่สุด โดยบริษัทประกันภัยต้องระบุช่ องทางการตรวจสอบไว้ในหน้ าตารางกรมธรรม์ประกันภัย พ.ร.บ. อาทิ วิธีการตรวจสอบผ่านแอพพลิเคชั่น หรือเว็บไซต์ของบริษัทประกันภัย เป็นต้น โดยประชาชนสามารถตรวจสอบความคุ้ มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย พ.ร.บ. หลังจากซื้อประกันภัยได้ทันที สำหรับแบบและข้ อความตารางกรมธรรม์ประกันภัย พ.ร.บ. ที่ไม่มีแถบโฮโลแกรม (Non-hologram) ต้องผ่านการพิ จารณาของคณะกรรมการผลิตภัณฑ์ (Product Governance Committee : PGC) ของบริษัทประกันภัยก่อนยื่นขอรั บความเห็นชอบจากนายทะเบียน เพื่อเป็นการส่งเสริมการดำเนิ นงานภายใต้หลักการกำกับดูแลกิ จการที่ดี (Good Corporate Governance)
“การเพิ่มตารางกรมธรรม์ประกันภั ย พ.ร.บ. รูปแบบใหม่ โดย “ไม่มีแถบโฮโลแกรม (Non-hologram)” ตามคำสั่งนายทะเบียนนี้ จะช่วยให้ประชาชนมั่นใจได้ว่า กรมธรรม์ประกันภัย พ.ร.บ. ที่บริษัทออกให้เป็นฉบับจริง และสามารถตรวจสอบความคุ้ มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย พ.ร.บ. หลังซื้อประกันภัยได้แบบ Realtime ตลอดจนช่วยลดต้นทุ นของการออกกรมธรรม์ประกันภัย พ.ร.บ. ให้แก่ภาคธุรกิจประกันภัย โดยการลดต้นทุนดังกล่าวจะเป็นปั จจัยสำคัญที่จะนำมาพิจารณาปรั บปรุงค่าเบี้ยประกันภัย พ.ร.บ. ในอนาคต ซึ่งถือเป็นการส่งเสริมให้ธุรกิ จประกันภัยขับเคลื่อนการดำเนิ นงานโดยคำนึงถึงแนวคิดการดำเนิ นธุรกิจอย่างยั่งยืน (Environmental Social and Governance : ESG) ไม่ว่าจะเป็นมิติทางสิ่งแวดล้อม (Environmental) ที่เริ่มปรับจากการออกกรมธรรม์ ประกันภัย พ.ร.บ. ในรูปแบบกระดาษที่มีแถบโฮโลแกรม (Hologram) มาเป็นรูปแบบกระดาษที่ไม่มี แถบโฮโลแกรม (Non-hologram) รวมไปถึงการเลือกรับกรมธรรม์ ประกันภัย พ.ร.บ. ในรูปแบบ e-Policy ซึ่งสอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้ ชีวิตของประชาชนในปัจจุบันที่ซื้ อประกันภัยในรูปแบบออนไลน์ และเลือกรับหลักฐานการทำประกั นภัยในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ มากขึ้น หรือมิติทางสังคม (Social) ที่สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ ประชาชนในการตรวจสอบกรมธรรม์ ประกันภัย พ.ร.บ. และความคุ้มครองตามกรมธรรม์ ประกันภัย พ.ร.บ. ได้ทันทีที่ซื้อประกันภัย หรือมิติทางธรรมาภิบาล (Governance) ที่ส่งเสริมการรับประกันภัย พ.ร.บ. ให้มีความโปร่งใสและตรวจสอบได้ ผ่านระบบเทคโนโลยี สารสนเทศและนวัตกรรมที่มี มาตรฐานของการรักษาความมั่ นคงปลอดภัยด้านเทคโนโลยี สารสนเทศ (IT security) พร้อมทั้งสนับสนุนให้ธุรกิ จประกันภัยปรับตัวเป็นดิจิทัล อันเป็นการสอดคล้องกับแผนพั ฒนาการประกันภัย ฉบับที่ 4 และแผนยุทธศาสตร์สำนักงาน คปภ. ระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2567 – 2569) อีกด้วย” เลขาธิการ คปภ. กล่าวในตอนท้าย