บริษัท เอ็นทีที จำกัด (NTT Ltd.) ผู้ให้บริการเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก เปิดเผยว่า ศูนย์ดาตาเซ็นเตอร์ Cyberjaya 5 (CBJ5) ซึ่งเป็นศูนย์ข้อมูลแห่งที่ 5 ในเขตไซเบอร์จายา ได้รับ Uptime Tier III Certificate of Design Documents และ Tier III Certificate of Constructed Facility ขณะเดียวกันยังได้รับการรับรอง TIA-942 Rated-3 โดย EPI ซึ่งเป็น ANSI/TIA-942 CAB (Conformity Assessment Body) เพียงแห่งเดียวที่ได้รับอนุญาตภายใต้ TIA-942 Accreditation Scheme อย่างเป็นทางการ
การผ่านการรับรอง UPTIME Tier III แสดงให้เห็นว่า ศูนย์ CBJ5 มีมาตรฐานตรงตามข้อกำหนดด้านประสิทธิภาพ (Performance) และความเชื่อถือได้ (Reliability) ในด้านการให้บริการและการทำงานของระบบศูนย์ข้อมูลที่ทำงานได้ตลอดเวลาโดยไม่มีการหยุดชะงัก ทำให้มั่นใจได้ถึงระดับความปลอดภัยสูงสุดในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ซึ่งใบรับรอง TIA-942 Rated-3 ยังยืนยันว่า ศูนย์ CBJ5 สามารถทำการบำรุงรักษาให้เป็นไปตามแผน โดยไม่ต้องหยุดการทำการและไม่รบกวนระบบการทำงานใดๆ
นาย Oka Hiroshi เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำมาเลเซีย และ นาย Zulkarnain Mohd Yasin ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกำกับดูแล จาก Malasian Communications and Multimedia Commission (MCMC) ได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการประกาศความสำเร็จครั้งนี้
“เรามั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่า การได้รับการรับรองของศูนย์ CBJ5 ในครั้งนี้ ผนวกกับการลงทุนของเอ็นทีทีในโครงการเคเบิลใต้น้ำประสิทธิภาพสูงที่จะสามารถดึงดูดนักลงทุนและบริษัทต่างๆ จากนอกประเทศเข้ามาได้มากขึ้น และจะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้ประเทศในฐานะที่เป็นศูนย์กลางทางธุรกิจและเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันยังเป็นการช่วยสนับสนุนโครงการ MyDIGITAL ที่จะเปลี่ยนมาเลเซียให้เป็นผู้นำด้านเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาค” นาย Oka Hiroshi กล่าว
พร้อมกันนั้น นาย Zulkarnain Mohd Yasin ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกำกับดูแล MCMC ยังได้กล่าวแสดงความยินดีกับความสำเร็จของเอ็นทีทีว่า “เอ็นทีทีมาเลเซียประสบความสำเร็จในการดำเนินงานศูนย์ดาต้าเซ็นเตอร์ในเขตไซเบอร์จายามานานกว่า 24 ปี การเป็นที่ยอมรับและความสำเร็จที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นถึงมาตรฐานที่เอ็นทีทีดำเนินการตลอดมา”
ศูนย์ CBJ5 ได้รับการรับรอง หลังจากผ่านการตรวจสอบอย่างเข้มงวดในเรื่องของสิ่งอำนวยความสะดวกและการดำเนินงานภายในศูนย์ข้อมูลโดย Uptime Institute และ EPI ซึ่งดำเนินการเสร็จสิ้นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา
นอกจากนี้ ศูนย์ CBJ5 ยังมีหลักปฏิบัติที่เป็นไปตามแนวปฏิบัติมาตรฐานสากลต่างๆ เช่น Payment Card Industry และ Data Security Standard (PCI DSS) รวมทั้ง Threat and Vulnerability Risk Assessment (TVRA) และ Data Center Risk Assessment (DCRA) ซึ่งได้ดำเนินการตามกรอบการบริหารความเสี่ยงด้านเทคโนโลยี (RMiT) ของ Bank Negara Malaysia (BNM)
นาย Henrick Choo ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารของ NTT Ltd. Malaysia กล่าวถึงความสำเร็จในครั้งนี้ว่า “การผ่านการรับรองเหล่านี้ ทำให้ลูกค้าของเอ็นทีที เช่น BFSIs มั่นใจได้ว่าศูนย์ข้อมูลของเราทำงานด้วยมาตรฐานคุณภาพสูงสุด เขตไซเบอร์จายามีเครือข่ายไฟเบอร์ความเร็วสูงที่อำนวยความสะดวกในการเชื่อมต่อระหว่างลูกค้าเพื่อสร้างระบบดิจิทัลที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีความสำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อบริษัทต่างๆ กำลังก้าวเข้าสู่การใช้งานระบบคลาวด์แบบไฮบริดเพื่อตอบสนองความต้องการในการอัปเกรดและการใช้โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งความต้องการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลและการใช้อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อรองรับการทำงานระยะไกลในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19”
นาย Matsuo Ryuichi รองประธานบริหาร Global Data Centers Division ของ NTT Ltd กล่าวเสริมว่า “เราเชื่อว่าการเชื่อมต่อที่มีประสิทธิภาพและโครงสร้างพื้นฐานที่มีเสถียรภาพและเชื่อถือได้ เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจมีความต่อเนื่อง นอกเหนือจากลูกค้าสามารถเข้าถึงบริการของเอ็นทีทีได้ทั่วโลกแล้ว ลูกค้ายังได้รับบริการจากผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ ควบคู่ไปกับโซลูชันที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของลูกค้า โดยเอ็นทีทีมีศูนย์ข้อมูลที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง มีพนักงานที่มีทักษะทางเทคนิคและสามารถแก้ไขปัญหาเชิงรุก ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าแอปพลิเคชันราคาแพง หรือประสบปัญหาระบบเครือข่ายที่ไม่เสถียร ทำให้มั่นใจได้วู่กค้าจะได้รับบริการที่มีความยืดหยุ่น สามารถกู้คืนระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
ศูนย์ CBJ5 เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2564 โดยศูนย์ข้อมูลแห่งใหม่นี้มีการออกแบบให้มีขนาดกะทัดรัดและเป็นโมดูลาร์ รองรับ Tier IV* ลูกค้าสามารถปรับขยายความต้องการใช้งานของระบบศูนย์ข้อมูลได้ตามความต้องการ นอกจากนี้ยังมีระบบระบายความร้อนสูงถึง 15kW/rack และมีระบบ Cooling Wall ซึ่งเป็นระบบแรกที่ให้ประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่เหมาะสมรองรับความต้องการของกลุ่ม Hyperscalers และลูกค้าองค์กรระดับไฮเอนด์ในประเทศมาเลเซีย
*Uptime Institute ได้แบ่งประเภทของศูนย์ข้อมูลออกเป็นสี่ระดับขึ้นอยู่กับความพร้อมในการให้บริการ ระดับ I มีความพร้อมใช้งานต่ำที่สุด ในขณะที่ระดับ IV มีความพร้อมใช้งานสูงสุด