มาดู 3D printer ที่เปลี่ยนใช้พลาสติก มาเป็นวัสดุเหลือใช้จากเบียร์

วงการ 3D printer มีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง ล่าสุดทางบริษัท 3Dom จากสหรัฐฯ ได้นำเอาเศษวัสพดุเหลือใช้จากการหมักเบียร์ มาทำเป็นวัสดุแบบใหม่ที่ใช้ในเครื่อง 3D printer จนออกมาเป็น โมเดลสามมิติจากธรรมชาติ (eco-friendly)
buzzed-beer-filament-stein_packaging-e1445531137839

ไอเดียดี 3Dom บริษัทที่เชี่ยวชาญการทำเส้นใยสังเคราะห์จากธรรมชาติ สัญชาติสหรัฐฯ ได้นำเอาวัสดุเหลือใช้ จากการหมักเบียร์ ที่ประกอบไปด้วย ฮอปส์ และ ข้าวบาร์เลย์ มาทำเป็นเส้น Filament หรือเส้นพลาสติกที่ใช้ในเครื่อง 3D printer แต่เปลี่ยนจากพลาสติกมาเป็นวัสดุข้างต้น ซึ่งมีชื่อเรียกว่า “Buzzed”

สำหรับเจ้า Buzzed ตัวนี้ สามารถนำไปใช้กับเครื่อง 3D printer รุ่นอะไรก็ได้ ขอแค่รองรับการปริ้นจาก PLA Filament (Polylactic Acid or Polylactide เป็นพลาสติกที่ได้จากการสกัดจากพืชชนิดต่างๆ)ได้ ก็ใช้ได้หมด ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องแบบเฉพาะเจาะจง

ทั้งนี้ เราสามารถสั่งซื้อ Buzzed ได้จากทางเว็บไซต์ของบริษัทได้เลย โดยมีราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 49 เหรียญฯ หรือประมาณ 1,700 บาทกว่าๆ หากใครสนใจสามารถสั่งซื้อได้ที่นี้ครับ 3domusa

อธิบายความหมายของ PLA Filament ซักนิด PLA ย่อมาจาก Polylactic Acid or Polylactide หมายถึง พลาสติกที่ได้จากการสกัดจากพืชชนิดต่างๆ อย่างกรณีนี้คือ ฮอปส์ และ ข้าวบาร์เลย์ ซึ่งหากเป็นวัสดุประเภทนี้ เวลาปริ้นงานออกมา ก็จะได้ชิ้นงานที่มีความเปราะกว่า ABS (แต่ยังมีความแข็งแรงอยู่ ไม่เปราะซะทีเดียว) สามารถที่เปลี่ยนรูปได้หากอยู่ในที่ที่มีความร้อนสูง แต่ก็มีข้อดีคือ เราสามารถนำไปใส่อาหาร หรือน้ำดื่มได้เลย เพราะเป็นวัสดุธรรมชาตินั้นเอง ต่างจากตัว ABS ที่ทำแบบ PLA ไม่ได้ เพราะมันมีน้ำมันเป็นส่วนประกอบ แต่ก็มีข้อดีคือ แข็งแรงกว่า และเงางามกว่า

ที่มา : The Next Web

 

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here