ไม่พบสารปนเปื้อน ญี่ปุ่นเก็บตัวอย่างปลา รอบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

ปลอดภัยจริงหรอ ญี่ปุ่นไม่พบสารอันตรายในปลา หลังปล่อยน้ำบำบัดหลายล้านลิตร

เมื่อหลายวันก่อนญี่ปุ่นออกมาประกาศ มีแผนเริ่มปล่อยน้ำเสียบำบัดลงสู่มหาสมุทรมากถึง 1.3 ล้านตัน คาดจะใช้เวลาถึง 30 ปี

เริ่มจากบริษัท โตเกียว อิเล็กทริก พาวเวอร์ (TEPCO) ที่ปล่อยน้ำเสียนิวเคลียร์บำบัดที่ใช้ระบายความร้อนให้กับเครื่องปฏิกรณ์ที่เสียหายในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ

ที่เกิดจากคลื่นสึนามิเมื่อปี 2554 ทำให้คลื่นซัดเข้าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ผู้ปฏิบัติงานต้องสูบน้ำทะเลเข้าไปเพื่อทำให้เชื้อเพลิงที่ละลายเย็นลง

ระยะเวลา 12 ปีกระบวนการทำความเย็นอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดน้ำปนเปื้อนมากกว่า 130 ตันต่อวัน น้ำเสียที่มีไอโซโทปกัมมันตภาพรังสี ที่เรียกว่าทริเทียมและอาจมีสารกัมมันตภาพรังสีอื่น ๆ

จึงจำเป็นต้องทยอยปล่อยน้ำเสียที่ถูกบำบัดลงในทะเลโดยตรง ไม่ผ่านเมืองหรือท่อระบายน้ำภายในประเทศ

ชาวประมงและประเทศเพื่อนบ้านเกิดความกังวล ในขณะที่หน่วยงานเฝ้าระวังนิวเคลียร์ของสหประชาชาติกล่าวว่าขั้นตอนดังกล่าวได้รับมาตรฐานความปลอดภัยระดับโลก

รัฐบาลญี่ปุ่นยืนยันไม่พบปริมาณไอโซโทป ในตัวอย่างปลาที่ถูกตรวจสอบ โดยเก็บตัวอย่างปลา ในรัศมี 5 กิโลเมตรที่อยู่ใกล้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์

หน่วยงานวางแผนที่จะเก็บตัวอย่างปลาทุกวันเพื่อการวิเคราะห์และให้ข้อมูลอัปเดตเกี่ยวกับผลลัพธ์ต่อไปอีกประมาณหนึ่งเดือน

รวมถึงกระทรวงสิ่งแวดล้อมยังเก็บตัวอย่างน้ำทะเลภายในรัศมี 50 กม. จากโรงงานมาตรวจสอบด้วย

เรื่องนี้ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่และกระทบต่อสิ่งแแวดล้อมเหมือนกัน เพราะหลายคนก็รู้สึกถึงความไม่ปลอดภัย หากบริโภคปลาที่มีสารปนเปื้อนในอนาคต

ที่มา : asia.nikkei

#น้ำเสียบำบัด #โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ #TechhubUpdate