โนเกีย เน็ตเวิร์คส์ (Nokia Network) เปิดตัวสถาปัตยกรรมโครงข่ายสื่อสารไร้สาย ยุคที่ 5 (5G) ที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ เพื่อก้าวผ่านข้อจำกัดของเครือข่ายแบบเดิมที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ทันทีตามความต้องการ
สถาปัตยกรรมแบบใหม่นี้สามารถเปลี่ยนแปลงลักษณะและคุณสมบัติต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและอัตโนมัติ ตามความต้องการบริการที่หลากหลาย, ตามปริมาณข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ตามเวลา สถานที่ และลักษณะการเชื่อมต่อของอุปกรณ์ในเครือข่าย ซึ่งรวมถึงเครือข่ายขนส่งข้อมูล โดยลูกค้าจะได้รับบริการที่มีคุณภาพมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด อันเนื่องมาจากการปรับปรุงการเชื่อมต่อที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที ซึ่งจะนำสู่การเปลี่ยนแปลงรูปแบบกระบวนการทางธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างก้าวกระโดด ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมการผลิต ไปจนถึงอุตสาหกรรมยานยนต์ และการดูแลสุขภาพ โดยผู้ให้บริการสามารถนำเสนอฟังก์ชั่นการทำงานของเครือข่ายให้กับอุตสาหกรรมต่างๆ ภายใต้รูปแบบธุรกิจการให้บริการเครือข่ายเสมือน (Network-as-a-Service)
5G จะเป็นเทคโนโลยีที่มากกว่าระบบคลื่นวิทยุแบบใหม่
การสร้างระบบแบบใหม่ที่โดดเด่นเพื่อตอบสนองความต้องการในอนาคตและการใช้งานแบบเฉพาะราย ไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องของทางเลือก หากแต่โอกาสที่แท้จริงคือการพัฒนา 5G ให้เป็นระบบเหนือระบบ สามารถตอบทุกโจทย์ความต้องการ และจัดหาบริการแบบไร้รอยต่อจากมุมมองของผู้ใช้งานสถาปัตยกรรมของโนเกียใช้แนวทางการพัฒนา “ระบบเหนือระบบ” เพื่อบูรณาการและสร้างความสอดคล้องของอุปกรณ์ต่างๆ ภายในเครือข่ายที่มีความแตกต่างและเป็นอิสระต่อกัน เพื่อความสำเร็จ
ในการเพิ่มความสามารถของเครือข่ายและเพิ่มคุณสมบัติในการทำงานให้สูงขึ้นเมื่อเทียบกับเครือข่ายในปัจจุบัน โดยแทบทุกฟังก์ชั่นการทำงานของเครือข่ายจะถูกกำหนดด้วยซอฟต์แวร์ ทั้งนี้เทคโนโลยีที่ชาญฉลาด (cognitive technologies) นี้จะควบคุมและส่งเสริมการทำงานของเครือข่ายโดยอัตโนมัติ ขณะเดียวกันก็สามารถส่งเนื้อหาและกระจายการประมวลผลให้ครอบคลุมทั้งเครือข่าย โดยจะคำนึงถึงจุดที่ผู้ใช้งานมีความต้องการมากที่สุด
แม้ว่าปัจจุบันยังไม่ได้มีการกำหนดมาตรฐานของเทคโนโลยีสื่อสารไร้สาย 5G ไว้อย่างชัดเจนก็ตาม แต่แนวคิดแบบองค์รวมข้างต้นก็ให้ภาพที่ชัดเจนเกี่ยวกับแนวโน้มสถาปัตยกรรม 5G ในอนาคต ทั้งนี้องค์ประกอบหลายองค์ประกอบที่กล่าวข้างต้นได้มีการพัฒนาสำเร็จและใช้งานจริงแล้ว
การทำงานหลักๆ ของสถาปัตยกรรม
• เครือข่ายแยกส่วน (Network Slicing): เป็นการสร้างเครือข่ายย่อยเสมือนอิสระหลายๆ ส่วนภายในโครงสร้างเดียวกัน (หน่วยของเครือข่าย) โดยแต่ละหน่วยจะทำงานเฉพาะเจาะจงตามการทำงานที่หลากหลาย ตามความต้องการของลูกค้าแต่ละราย และอย่างเป็นอิสระต่อกัน
เพื่อให้บริการตามโจทย์ความต้องการที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงได้อย่างไม่ติดขัด, เพื่อให้ระบบมีความเชื่อถือได้, และเพื่อรองรับปริมาณข้อมูลมหาศาลและการติดต่อสื่อสารแบบเคลื่อนที่
• หน่วยจัดการประสบการณ์แบบพลวัต (Dynamic Experience Management – DEM) : แต่ละกระบวนการย่อยใน DEM สามารถปรับปรุงคุณภาพการบริการลูกค้าได้แม้ในขณะที่โครงข่ายมีความหนาแน่นมาก โดยใช้ทรัพยากรน้อยลงกว่าเดิมถึง 30% หรือน้อยกว่า ทั้งนี้ในเครือข่ายปัจจุบันได้มีการใช้งาน DEM แล้ว
• การเชื่อมต่อที่กำหนดโดยบริการ (Service-determined connectivity) : การเชื่อมต่อในเครือข่ายปัจจุบันจะกำหนดว่าบริการใดที่มีความเป็นไปได้ ขณะที่อุปกรณ์และบริการที่อยู่บนเทคโนโลยีโครงข่าย 5G จะไม่ถูกจำกัดอยู่เฉพาะการเชื่อมต่อไอพีแบบจุดต่อจุดอีกต่อไป โดยลูกค้าสามารถเลือกเส้นทางการเชื่อมต่อได้อย่างอิสระตามความต้องการของบริการจริง การเพิ่มความสามารถของบริการให้กำหนดการเชื่อมต่อได้นี้ จะช่วยให้เครือข่ายสามารถสร้างความมั่นใจในเรื่องระยะเวลาการเชื่อมต่อข้อมูลอย่างไม่ติดขัด และรับประกันความเชื่อถือได้ของระบบ
• การส่งต่อทราฟฟิกอย่างรวดเร็ว (Fast traffic forwarding) : โซลูชั่น Nokia AirFrame Data Center Solution* ของโนเกีย เป็นโซลูชั่นที่ช่วยสร้างความสามารถด้านโครงสร้างคลาวด์แบบกระจายของโทรคมนาคม ซึ่งจะสนับสนุนให้ภาคธุรกิจต่างๆ เช่น ยานยนต์ และภาคอุตสาหกรรม สามารถสร้างบริการใหม่ๆ ที่มีความสำคัญยิ่ง
• โมบิลิตี้ ออน ดีมานด์ (Mobility on demand) : ตอบสนองความต้องการการใช้งานแบบเคลื่อนที่ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นจากมาตรวัดแบบอยู่กับที่ของบริษัทสาธารณูปโภค หรือจะเป็นรถไฟความเร็วสูง โดยทั่วไปกลุ่มผู้ใช้งานแบบเคลื่อนที่ที่อยู่กับที่ ไม่ได้เคลื่อนไหวไปมามีเพียง 30% ของผู้ใช้บริการทั้งหมดเท่านั้น ดังนั้นระบบนี้จึงสร้างโอกาสให้สามารถใช้ทรัพยากรของเครือข่ายอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นได้
แนวคิดสถาปัตยกรรมโครงข่ายสื่อสารยุคใหม่ 5G
จากการพิสูจน์แนวคิดในหลายๆ ด้าน ได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถของสถาปัตยกรรมใหม่นี้ ดังนี้
• หนึ่งในส่วนสำคัญที่สุดของแนวคิดด้านเครือข่ายแยกส่วนของโนเกีย คือซอฟต์แวร์สามารถตระหนักรู้เอง (self aware software) โดยสามารถกำหนดการขนส่งบนเครือข่ายได้โดยอัตโนมัติ เพื่อให้ปรับเปลี่ยนตัวเองตามความต้องการของบริการที่เปลี่ยนแปลงไป ตลอดจนความต้องการในส่วนของเครือข่ายที่แตกต่างกัน และตอบโจทย์การใช้งานของลูกค้า
• แนวคิดนี้บรรลุผลสำเร็จได้ด้วยเทคโนโลยีด้านเครือข่ายการจัดการตนเองหรือ Self-Organizing Networks (SON) สำหรับโซลูชั่นเครือข่ายขนส่งที่มีการผสมผสานกับเทคโนโลยีเครือข่ายที่กำหนดโดยซอฟต์แวร์ (SDN) จากผู้ค้าหลากหลายรายซึ่งจะทำงานครอบคลุมทั่วทั้ง SDN domains โดยที่การควบคุมเครือข่ายไม่จำเป็นต้องสื่อสารกับอุปกรณ์ควบคุม SDN ทุกตัว เนื่องจากจะมีการใช้การเชื่อมต่อเครือข่าย (API) จากจุดเดียว
• โนเกีย เน็ตเวิร์คส์ เปิดตัว API ที่ปรับเปลี่ยนได้เพื่อใช้งานกับส่วนย่อยในเครือข่ายชุมสายเสมือน เพื่อสร้างความสามารถในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเครือข่ายชุมสายในช่วงเวลาที่คอมพิวเตอร์กำลังทำงาน ซึ่งนับเป็นการก้าวล้ำหน้าอย่างเห็นได้ชัดในยุคที่องค์ประกอบของเครือข่ายทุกวันนี้ต้องการเวลาหลายๆ ชั่วโมงหรืออาจหลายวันในการปรับเปลี่ยนค่าการทำงานใหม่ ผลลัพธ์ที่ได้คือ เครือข่ายชุมสายสามารถปรับตัวรับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ เช่น การสร้างการแยกส่วนใหม่ๆ ของเครือข่าย หรือรูปแบบข้อมูลแบบเคลื่อนที่ไม่ว่าจะในทันที
หรือตามต้องการ
นายโวลเกอร์ ไซเกลอร์ หัวหน้าฝ่ายสถาปัตยกรรม ของโนเกีย เน็ตเวิร์คส์ กล่าวว่า “โนเกีย เน็ตเวิร์คส์ คือผู้นำอุตสาหกรรมที่ทำงานด้านสถาปัตยกรรม 5G ครอบคลุมที่สุด ผ่านโครงการต่างๆ ได้แก่ โครงการ 5G NORMA (5G Novel Radio Multiservice adaptive network Architecture) ภายใต้สมาพันธ์ความร่วมมือภาครัฐ-เอกชนด้านโครงสร้างพื้นฐาน 5G (5G-PPP association)
ด้วยสถาปัตยกรรมที่มีความชาญฉลาดและการใช้ประโยชน์สูงสุดจากระบบคลาวด์ชั้นนำ สำหรับการเข้าสู่ยุค 5G เราได้กำหนดโครงร่างของสถาปัตยกรรมแบบครบวงจร ซึ่งจะสร้างให้เกิดความสามารถในการปรับเปลี่ยนให้กับลูกค้าเฉพาะรายได้อย่างชาญฉลาด และในรูปแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน เพื่อตอบโจทย์ความสามารถที่ถูกจำกัด, ต้นทุนความปลอดภัย, และการใช้พลังงาน สถาปัตยกรรมใหม่นี้จะช่วยขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจผ่านรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ ครอบคลุมทุกภาคธุรกิจ เช่นการให้บริการเครือข่ายเสมือน (Network-as-a-Service) ในอุตสาหกรรมอื่นๆ เพื่อใช้ฟังก์ชั่นการทำงานในเครือข่ายได้ตามความต้องการ”
ทราบหรือไม่
โนเกีย เน็ตเวิร์คส์ ทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำหลายแห่งในยุโรป สหรัฐอเมริกา และจีน เพื่อสร้างให้เทคโนโลยี 5G มีความสามารถรองรับความต้องการสูงสุดในอนาคตเท่าที่จะเป็นไปได้ นอกจากนี้ยังดำเนินโครงการเชิงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับ 5G อีกมากมาย สำหรับในยุโรป โนเกียเป็นประธานสมาพันธ์ความร่วมมือภาครัฐ-เอกชนด้านโครงสร้างพื้นฐาน 5G (5G-PPP association) และจัดทำโครงการนวัตกรรมเกี่ยวกับ 5G หลายโครงการ ร่วมกับผู้ให้บริการรายใหญ่ๆ ได้แก่ ไชน่า โมบาย, เอ็นทีที โดโคโม, โคเรีย เทเลคอม, เอสเค เทเลคอม และดอยช์ เทเลคอม