อย่าใช้บ่อย หูฟังตัดเสียงรบกวน อาจกระทบสมองเด็ก

หูฟังตัดเสียงรบกวน

หูฟังตัดเสียงรบกวน (Noise-canceling headphones) กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นในยุคที่คนต้องการเสียงที่มีคุณภาพ แต่ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า หากใช้บ่อยเกินไป อาจกระทบสมองที่ยังพัฒนาการด้านการได้ยินไม่เต็มที่ ทำให้ฟังเสียงรอบข้างได้แย่ลงหรือเกิดความผิดปกติในการประมวลผลเสียงได้

ภาวะที่เรียกว่า Auditory Processing Disorder (APD) เกิดเมื่อสมองแปลความหมายของเสียงได้ยาก แม้ว่าหูของเราจะทำงานปกติ คนที่มี APD มักฟังเสียงหลายอย่างพร้อมกันไม่ได้ หรือจับใจความบทสนทนาในที่มีเสียงดังไม่ได้ดี

มีตัวอย่างของผู้ป่วยชื่อโซฟี อายุ 25 ปี พบว่าเธอเริ่มฟังคำพูดยาว ๆ หรือบรรยายในที่สาธารณะไม่เข้าใจ จนวินิจฉัยว่าเป็น APD ซึ่งคาดว่าการใส่หูฟังตัดเสียงรบกวนหลายชั่วโมงต่อวันเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้สมองของเธอขาดการฝึกแยกเสียงต่าง ๆ

เมื่อเด็กหรือวัยรุ่นใส่หูฟังตัดเสียงรบกวนเป็นเวลานาน พวกเขาจะไม่ได้สัมผัสกับเสียงภายนอกมากเท่าที่ควร สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการฟังและแยกแยะเสียง จึงไม่ได้รับการฝึกให้โฟกัสเสียงสำคัญ หรือตัดเสียงรบกวนอื่น ๆ ออกไปตามธรรมชาติ

สิ่งนี้ลดโอกาสในการพัฒนาทักษะกรองเสียง เพราะตามปกติสมองมนุษย์จะค่อย ๆ เรียนรู้ที่จะแยกเสียงไม่สำคัญออกจากเสียงหลัก (เช่น เสียงเพื่อนคุยกันในห้องเรียน ที่มีเสียงจอแจรอบข้าง) หากเด็ก ๆ ถูกตัดเสียงรบกวนส่วนใหญ่ทิ้งไปเป็นประจำ สมองอาจขาดทักษะที่จะกรองเสียงได้ดีในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยเสียงหลากหลาย

โดยทั่วไปแล้ว พัฒนาการด้านการฟังและการประมวลผลเสียง จะก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เด็กเล็กไปจนถึงช่วงวัยรุ่นตอนต้น (ประมาณ 2–15 ปี) ถือเป็นช่วงที่สมองกำลังเรียนรู้และจดจำวิธีแยกเสียงต่าง ๆ ในสภาพแวดล้อมรอบตัว หากช่วงเวลานี้ มีการใช้งานหูฟังตัดเสียงรบกวนอย่างต่อเนื่อง ยาวนาน 4-5 ชั่วโมงต่อวัน หรือในสภาพแวดล้อมที่ควรจะได้ฝึกฟัง กลับไม่ได้ฟัง

techspot