ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า โลกเราไม่จำเป็นต้องมีพาสเวิร์ดอีกต่อไป

พาสเวิร์ด

biometric verification ระบบยืนยันตัวตนที่จะเข้ามาแทนที่การใช้งานรหัสผ่าน ลดความซ้ำซ้อน เพิ่มความปลอดภัยและความรวดเร็วในการขอรับบริการต่าง ๆ

รหัสผ่านนั้นเป็นสิ่งที่มีมีมาตั่งแต่โบราณกาลนานมากแล้ว (ท่าจะนานจริง)  ในนลักษณะการผ่านด่านทหารองครักษ์ เพื่อเข้าไปในบริเวณ โดยต้องให้รหัสผ่านหรือคำสัญลักษณ์ ทหารองครักษ์จะอนุญาตให้คนหรือกลุ่มคนผ่านเข้าไปได้

แต่ปัจจุบันเราประยุกค์ใช้รหัสผ่านในการ Access เข้าใช้งานระบบอะไรหลาย ๆ อย่าง (Access Thing)  ไม่ว่าจะเป็น การใช้งานคอมพิวเตอร์ส่วนตัว การล๊อกอินเกม การทำธุรกรรมการทางการเงินผ่านแอป การซื้อของออนไลน์ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนใช้พาสเวิร์ดแทบทั้งสิ้น

โดยรหัสผ่านถูกใช้เพื่อระบุตัวตนกับองค์รักษ์ (ระบบคอมพิวเตอร์) ให้เราเข้าไปทำกิจกรรมต่าง ๆ ข้างต้นได้ เป็นวิธีที่ล้ำหน้าที่สุดในการยืนยันตัวตนในยุคนี้   แต่ปัญหาของการใช้งานพาสเวิร์ดคือเรื่องของความปลอดภัย ผู้คนมักเผลอให้รหัสกับผู้ไม่หวังดี บางทีก็ถูกแฮกหรือตั้งรหัสผ่านที่คาดเดาได้ง่าย  และปัญหาเบสิกก็คือการลืมพาสเวิร์ดไปดื้อ ๆ  ซึ่งนี่คือจุดอ่อนใหญ่

แต่มีข่าวดีเกิดขึ้น เมื่อหลายประเทศเริ่มพัฒนารูปแบบการยืนยันตัวตนในวิธีอื่น หนึ่งในนั้นคือระบบ “biometric verification” เป็นการตรวจสอบตัวตนผ่านระบบไบโอเมตริกซ์ โดยประเมินลักษณะทางชีวภาพที่แตกต่างกัน เช่น ลายนิ้วมือ ใบหน้า ม่านตา DNA และลายเซ็นทางดิจิทัล

ประโยชน์คือ มันจะทำให้พาสเวิร์ดหายไป ไม่ต้องลืม เพราะสิ่งที่เราจะใช้งานยืนยันคือลักษณะทางชีวภาพ  เพื่อให้เห็นภาพง่าย ๆ ลองนึกถึงการปลดล๊อคมือถือผ่านใช้ลายนิ้วมือ แต่ระบบนี้กำลังพัฒนาไปสู่การใข้งานในระดับประเทศที่จะส่งให้ผู้คนสามารถใช้งานการระบุตัวตนได้ง่ายขึ้นและรวดเร็วขึ้น

ปัจจุบันมีหลายประเทศที่กำลังเริ่มพัฒนา และบางประเทศก็ทำสำเร็จแล้ว เช่น ประเทศเอสโตเนีย  โดยเริ่มพัฒนาการยืนยันตนเองของประชาชนผ่านระบบดิจิทัลโดยใช้ Smart ID โดยที่ประชาชนสามารถใช้ในการขอบริการจากภาครัฐผ่านเว็บไซต์ได้แทบทุกบริการ  ซึ่งสามารถเลือกใช้การยืนยันด้วย PIN  หรือลายเซ็นดิจิทัลได้

นอกจากนี้ในประเทศอินเดีย ประเทศที่มีประชากรเป็นดับสองของโลก ก็เริ่มพัฒนาระบบการยืนยันตัวตนผ่านระบบไบโอเมตริกซ์เพื่อขจัดความล่าช้าเวลาประชาชนมาขอรับบริการภาครัฐ โดยมีแผนจะใช้เป็นลายนิ้วมือในการยืนยันตัวบุคคล

ทั้งนี้ในประเทศไทย กระทรวง DE ได้มอบหมายเรื่อง biometric verification ให้กับสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) รับผิดชอบเรื่องดังกล่าว โดยจัดตั้งเป็นโครงการ Digital ID ที่จะจัดทำระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนเพื่อช่วยลดความซ้ำซ้อน ความสิ้นเปลืองทั้งเวลาและทรัพยากร  ภาระแก่ผู้ประชาชนและผู้มีหน้าที่ในการตรวจสอบความถูกต้องและยืนยันตัวตน

และถ้าถามว่าอีกนานไหม ก็คงไม่นานเท่าไหร่ เพราะเราเริ่มเห็นสัญญาณแล้วว่าภาครัฐกำลังเริ่มทำอย่างจริงจัง และเอกชนบางรายก็เริ่มขยับแล้ว เช่นบริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือรายหนึ่ง ได้เปิดให้บริการ  Biometric-KYC ให้คนเข้าไปลงทะเบียนยืนยันตัวตัวผ่านการสแกนใบหน้า