นักวิจัยเกาหลีใต้กำลังพัฒนาแบตเตอรี่นิวเคลียร์ที่ใช้คาร์บอนกัมมันตรังสี (radiocarbon) ซึ่งมีศักยภาพในการใช้งานยาวนานหลายทศวรรษโดยไม่ต้องชาร์จซ้ำ เพื่อแก้ปัญหาข้อจำกัดของแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนในปัจจุบัน
แบตนิวเคลียร์ นี้ใช้คาร์บอน-14 ที่ปล่อยรังสีเบต้า ซึ่งมีความปลอดภัยกว่ารังสีแกมมา สามารถกักเก็บได้ง่าย และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน
ทีมวิจัยได้ปรับปรุงประสิทธิภาพของแบตเตอรี่โดยการใช้สารกึ่งตัวนำจากไทเทเนียมไดออกไซด์ และวางคาร์บอน-14 ไว้ทั้งในขั้วบวกและขั้วลบ ทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการแปลงพลังงานได้มากขึ้น
อายุการใช้งานยาวนาน โดยมีครึ่งชีวิตมากถึง 5,730 ปี หมายความว่าแบตเตอรี่นี้อาจใช้งานได้นานนับพันปีโดยไม่ต้องเปลี่ยน
แม้ว่าประสิทธิภาพการแปลงพลังงานของจะต่ำกว่าแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนที่ใช้ในปัจจุบัน แต่ความทนทานและอายุการใช้งานที่ยาวนานทำให้มันนำไปประยุกต์ใช้ได้ในหลาย ๆ ด้านทั้ง
1.เครื่องกระตุ้นหัวใจ (pacemakers) อาจใช้งานได้ตลอดชีวิตของผู้ป่วย โดยไม่ต้องผ่าตัดเปลี่ยนแบตเตอรี่
2.เซ็นเซอร์ระยะไกล ในสภาพแวดล้อมที่ท้าทาย
3.ดาวเทียม ที่ต้องการพลังงานในระยะยาวในอวกาศ
4.โดรนหรือรถยนต์ไร้คนขับ
รอดูเลยครับ…
ที่มา