ก่อนหน้านี้สกุลเงินดิจิทัล อาจได้รับความสนใจอยู่ที่กลุ่มคนจำนวนไม่มากนัก แต่หลังจากที่ NFT (Non-Fungible Token) เข้ามา ทำให้กระแสของเงินดิจิทัลพุ่งทะยานขึ้นอีกครั้ง โดยนักลงทุนเชื่อว่า NFT จะเข้ามาเปลี่ยนพฤติกรรมให้คนเข้าถึงมากขึ้น เพราะเชื่อมต่อโลกเข้าด้วยกันแบบไม่จำกัด ทั้งศิลปะ เกม และดนตรี
ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาชุมชน NFT ในไทยเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยภาคธุรกิจเองก็สนใจใช้ NFT เป็นเครื่องในการสื่อสารกับลูกค้ามากขึ้น
งานศิลปะในรูปแบบ NFT กลายเป็นของสะสมที่มาแรงในวงการ
พิริยะ วัชจิตพันธ์ กรรมการและผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมนักสะสมงานศิลปะไทย เปิดเผนว่า NFT มีมูลค่ารวมในตลาดโลกกว่า 3 แสนล้านบาท พุ่งขึ้นกว่า 7 เท่า เมื่อเทียบกับช่วง 3 เดือนก่อนหน้า ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน โดยที่นักสะสมกลุ่มหนึ่งเริ่มมีความเชื่อว่า NFT จะเข้ามาเปลี่ยนวงการ จากงานศิลปะที่จับต้องได้ มาเป็นขายคู่กับ NFT แทน
ในอนาคตอันใกล้จะได้เห็นบรรยากาศการขายงานศิลปะ ในรูปแบบ VDO ART ที่มาพร้อม Certificate ให้กับนักสะสม รวมถึงการจัดแสดงผลงานศิลปะในบ้านผ่านสมาร์ททีวีในบ้าน ที่ออกแบบให้มีลูกเล่นหลากหลายขึ้น
“NFT จะทำให้วงการศิลปะในภาพรวมคึกคัก พิพิธภัณฑ์ในรูป Virtual หรือ Mataverse จะเปิดโอกาสให้คนเข้าถึงผลงาน และมีส่วนร่วมชื่นชมงานศิลปะมูลค่าสูงในรูปแบบออนไลน์ได้เช่นกัน”
สมาคมนักสะสมงานศิลปะไทย ย้ำว่า NFT ยังเติบโตได้อีกมาก และจะเปิดโอกาสให้นักสะสมงานศิลปะก้าวเข้ามาในโลกดิจิทัล เพราะ Supply มีจำนวนจำกัด บางชิ้นอาจมีแค่ชิ้นเดียวในโลก ขณะที่นักสร้างสรรค์ก็จะกระโดดเข้ามาทำให้ตลาดศิลปะดิจิทัลขยายใหญ่ขึ้น
: ชุบชีวิตภาพถ่าย
ณภัชป์ รัตนศักดิ์ เลขาธิการสมาคมถ่ายภาพฯ ก็เห็นว่า NFT จะเป็นโอกาสในการสร้างมูลค่าให้กับภาพถ่าย เพราะช่วยแก้ปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ภาพที่ถูกทำซ้ำได้ง่าย ซึ่งปัจจุบันวงการเองก็เริ่มปรับตัว หันมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับภาพถ่ายโดยสั่งพิมพ์ในจำนวนจำกัดแทน
ส่วนตัวเขาเองมองว่า NFT จะเป็นเครื่องมือที่ช่วย Track ไว้ว่าผลงานไหนเป็นของจริง รวมถึงช่วยเพิ่มมูลค่าของภาพถ่ายในตลาดใหม่ ด้วยภาพถ่ายที่เป็นเอกลักษณ์ ภาพประวัติศาสตร์ที่เข้าถึงได้ ซึ่งแตกต่างจากการขายภาพออนไลน์ ผ่าน Shutter Stock และ Getty Image ที่ช่างภาพส่วนใหญ่คุ้นเคย
: ธุรกิจโดดร่วมวง
หลายธุรกิจเริ่มวางแผนรันวงการด้วยสกุลเงินดิจิทัล ตั้งแต่ร้านกาแฟ ห้างสรรพสินค้า สายการบิน ไปจนคนถึงวงการอสังหาริมทรัพย์ ที่ต่างหันมายอมรับสกุลเงินดิจิทัลในการซื้อสินค้า
กลับกันธุรกิจที่มีคอนเทนต์ในมือก็เริ่มให้ความสนใจกับ NFT มากขึ้น ล่าสุดเวิร์คพอยท์ ซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็น Creative Content Creater ก็เล็งที่จะนำภาพความทรงจำ มาแปลงเป็น NFT เพิ่มโอกาสให้นักสะสมมีโอกาสได้ครอบครอง
วรุตม์ ลีเรืองสกุล กรรมการผู้จัดการ BECi ธุรกิจคอนเทนต์ดิจิทัลจากช่อง 3 มองว่าการนำ โมเมนต์พิเศษของศิลปิน หรือภาพเบื้องหลังละครที่คนสนใจ สามารถแปลงเป็น NFT ได้เช่นกัน
ขณะที่โมเดอร์นฟอร์ม แบรนด์เฟอร์นิเจอร์สัญชาติไทยที่เน้นการออกแบบ และพัฒนาฟังก์ชั่นการใช้งาน ก็มีแผนจะขายเฟอร์นิเจอร์ในรูปแบบ NFT รวมถึงจัดแสดงเฟอร์นิเจอร์ที่เคยคว้ารางวัลการออกแบบระดับโลก อย่าง Red Dot และ DEmark บน Matavease ด้วย
NFT จึงกลายเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่น่าสนใจ สำหรับธุรกิจที่ต้องการดึงคนรุ่นใหม่จากออนไลน์มาที่ออฟไลน์ให้ได้สำเร็จ
: ตลาดกลาง NFT สัญชาติไทย
ในต่างประเทศมีแพลตฟอร์มกลางซื้อขาย NFT ที่คนยอมรับ ในขณะที่ไทยกำลังจะมีแพลตฟอร์มแรก ชื่อ “JNFT” เข้ามาเป็นตลาดกลางซื้อขาย NFT ให้กับคนไทย ที่ไปไกลถึงตลาดโลกผ่าน Gukumarket แพลตฟอร์มคริปโตและมาร์เก็ตเพลส ที่โด่งดังในยุโรป ช่วยเพิ่มโอกาสเข้าถึงผลงาน NFT ของคนไทยได้มากขึ้น ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.)
JNFT จะเข้ามาเป็นพื้นที่เชื่อมต่อระหว่างนักสะสม นักสร้างสรรค์ และผู้ที่สนใจลงทุนในโลกดิจิทัลเอาไว้ในที่เดียว โดยมีศิลปินเป็นผู้สร้างสรรค์ผลงาน สร้าง NFT ขายบนแพลตฟอร์ม ให้กับนักสะสมที่เข้ามาใช้ประโยชน์ ในลักษณะ Open Market ที่ไม่ได้จำกัดอยู่แต่ในประเทศไทย ซึ่งจะเปิดให้ใช้งานจริงในวันที่ 25 ธ.ค. 64 โดยสามารถซื้อ ขาย ประมูลผลงานศิลปะดิจิทัลในระบบบล็อกเชนได้แบบไร้ศูนย์ (Decentralized) ผ่านการยืนยันสิทธิ์แทนการเป็นเจ้าของด้วยเหรียญ NFT ที่ไม่สามารถแทนหรือทำซ้ำได้
ครีเอเตอร์กลุ่มแรกที่เข้าร่วมในแพลตฟอร์ม JNFT อย่าง บอยท่าพระจันทร์
กับเหรียญยอดนิยม , Sunter กับผลงานสร้างสรรค์ ดิจิทัลอาร์ต ,โน้ต อุดม ที่มาพร้อมผลงาน NFT ล่าสุดซึ่งผลิตขึ้นเพื่อผลงานเดี่ยว ในปี 65 , ผลงานร่างแรกของ Yak The Giant King ภาพยนตร์แอนิเมชันสัญชาติไทยจากค่ายเวิร์คพอยด์ รวมถึงผลงานเพลงใหม่จากศิลปิน มัดหมี่-พิมดาว และโปสเตอร์คิวงานที่สร้างความฮือฮาบน IG ของปาล์มมี่ ก็ได้ถูกรวบรวมไว้บนแพลตฟอร์ม JNFT ด้วยเช่นกัน
: เปลี่ยนวงการนักสะสม
“NFT จะเข้ามาเปลี่ยนโลกของสะสม ศิลปะ เปลี่ยนรูปแบบการสื่อสารของธุรกิจกับกลุ่มคนรุ่นใหม่ได้มากขึ้น” วรพจน์ ธาราศิริสกุล CTO เจ เวนเจอร์ส จำกัด กล่าวย้ำ และบอกว่า สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อไปคือ เรื่องราวที่มีคุณค่าต่อจิตใจ และสามารถสร้างมีมูลค่าเมื่อเวลาผ่านไป อย่างผลงานศิลปะ เพลง ของสะสม จะถูกนำมา Mint หรือสร้างเป็น NFT ที่มีเรื่องราว เสนอขายบนแพลตฟอร์ม Marketplace ช่วยสร้างมูลค่าให้กับผลงาน และเข้าถึงนักสะสมได้มากขึ้น
JNFT พัฒนาโดยบริษัท เจ เวนเจอร์ส จำกัด ในเครือเจมาร์ท รองรับแพลตฟอร์มซื้อขายแลกเปลี่ยนที่คนไทยคุ้นเคย อย่าง Bitkub และ Satang โดยใช้จ่ายด้วยเหรียญ JFIN ที่สำหรับครีเอเตอร์ที่ขายผลงาน NFT บนแพลตฟอร์ม JNFT จะสร้างมูลค่าเพิ่มจากการเปลี่ยนมือ หรือขายต่อ NFT ที่รอบละ 10% โดยเสียค่าบริการสำหรับแพลตฟอร์มอยู่ที่ 5% เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม หัวใจสำคัญของ NFT คือการนำไปใช้เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ภายใต้ระบบคัดกรองคุณภาพ ที่มั่นใจได้เรื่องความปลอดภัย และน่าเชื่อถือ มี Smart contract หรือการทำสัญญาที่ถูกต้องและแม่นยำ สร้างประโยชน์ให้กับเจ้าของผลงาน นักสะสม และนักลงทุน
ดูเพิ่มเติม JNFT Marketplace (เริ่ม 25 ธ.ค. 64): http://jnft.digital