ผืนน้ำแข็งสุดเวิงว้างบนดาวพลูโต ภาพถ่ายล่าสุดจากยาน New Horizons

NASA เผยภาพถ่ายดาวพลูโตในระยะ 48,000 ไมล์ (77,000 กิโลเมตร) จากยาน New Horizons เผยให้เห็นผิวน้ำแข็งสุดเวิงว้างตรงบริเวณขอบปานรูปหัวใจหรือ Tombaugh Regio ที่เห็นภาพรวมได้ชัดกว่าภาพก่อนขึ้นไปอีก และเห็นหลุมอุกกาบาตแล้วด้วย !!

nh-pluto-mountain-range
ผ่านมาเกือบ 10 วันแล้ว นับตั้งแต่ตอนที่ยานสำรวจ New Horizons บินผ่านดาวพลูโตในระยะที่ใกล้ชิดที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยตอนนี้ตัวยานได้บินห่างออกจากดาวพลูโตไปไกลพอสมควรแล้ว และเตรียมที่จะสำรวจแถบไคเปอร์กันต่อ แต่ระหว่างนั้น ตัวยานก็ได้ส่งภาพถ่ายดาวพลูโตมาอีกภาพ โดยเป็นภาพถ่ายขาวดำในระยะ 48,000 ไมล์ (77,000 กิโลเมตร) ซึ่งแสดงให้เห็นถึง ผืนน้ำแข็งอันเงียบสงัด เต็มไปด้วยเทือกเขาสูงใหญ่มากมาย แต่ในรอบนี้เราเริ่มเห็นหลุมอุกกาบาตของดาวพลูโตกันแล้ว จากที่ตอนแรกคิดว่าไม่มี โดยหลุมนั้นอยู่ตรงบริเวณพื้นที่สีดำที่มีร่องรอยเห็นได้ชัด สำหรับภาพนี้ถูกถ่ายด้วยกล้อง Long Range Reconnaissance Imager (LORRI) ของยาน ซึ่งถูกส่งมายังโลกเมื่อวันที่ 20 ก.ค ที่ผ่านมา โดยภาพนี้ถูกถ่าย ณ บริเวณแถวๆขอบของปานรูปหัวใจหรือที่ตอนนี้ถูกเรียกว่า Tombaugh Regio นี้เอง

puto h 2
เราเคยมีความเชื่อว่า ดาวพลูโตน่าจะเป็นก้อนน้ำแข็งที่เต็มไปด้วยหลุมอุกกาบาต แต่หลังจากที่มีภาพถ่ายเมื่อวันที่ 14 ก.ค ทำให้เราพบว่า บนดาวพลูโตนั้นกลับมีหลุมอุกกาบาตน้อยมาก โดยเฉพาะตรงบริเวญทุ่งน้ำแข็งในภาพบนนี้ ที่เรียกได้ว่า “ไม่มีเลย” เฉพาะตรงบริเวญปานรูปหัวใจเท่านั้น จึงถือว่าน่าแปลกมาก เพราะเท่ากับว่าดาวพลูโตนั้น มีการเปลื่ยนแปลงสภาพพื้นผิวอยู่ตลอดเวลา คำถามคือ ดาวพลูโตไปเอาพลังงานมาจากไหน ?

จากข้อมูลทั้งหมดนี้ ยังเป็นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น ที่เชื่อว่าทาง NASA น่าจะมีอีกหลายภาพ ซึ่งอาจจะยังไม่เปิดเผยหรือติดตามอยู่ในตัวยาน New Horizons อยู่ก็ได้ ยังไงก็ตาม ข้อมูลภาพที่ได้มาเผยให้เราเห็นแค่นี้ ก็นับว่าเป็นประโยชน์มากๆ แล้ว ที่ทำให้เราได้รู้จักดาวเคราะห์ไกลสุดกู๋ดวงนี้ขึ้นเยอะ

ที่มา : NASA 

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here