คิดยังไง หากคุณเป็นหัวหน้าแผนกการเงินและมีเจ้าของบริษัทโทรมาคุณในตอนกลางคืนแล้วบอกว่าให้รีบโอนเงินด่วนไปยังซัพพลายเออร์เพื่อให้เร่งผลิตสินค้า เสียงนั้นเป็นน้ำเสียงที่คุณคุ้นเคยดี โดยทั่วไปแล้วหลายคนก็คงจะยอมโอนถูกไหม ? เพราะมันอาจเป็นเรื่องปกติที่ทำอยู่บ่าย ๆ แต่ไม่ใช่กับเคสนี้
.
ตามรายงานของ Forbes ผู้จัดของธนาคารคนหนึ่งได้รับโทรศัพท์จากหนึ่งในกรรมคนหนึ่งของบริษัทให้โอนเงินจำนวน 35 ล้านดอลลาร์เพื่อเป็นทุนในการซื้อกิจการ แต่นั่นไม่ใช่กรรมการ แต่เป็นแฮกเกอร์ที่ใช้เทคโนโลยี Deepfake ปลอมเป็นเสียงที่คมชัดจนผู้จัดการธนาคารเชื่อและโอนเงินไปให้
.
นอกจากธุรกิจใหญ่ ๆ แล้ว ธุรกิจเล็ก ๆ ก็ไม่เว้นเช่นกัน ยังมีเคสดังกล่าวเกิดขึ้นอีกมากมาย ในปี 2019 Forbes รายงานว่า บริษัทพลังงานแห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรสูญเสียเงินไปประมาณ 243,000 ดอลลาร์ในกลอุบายดังกล่าว
.
Jake Moore ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์บอกกับ Forbes ว่า “ภาพและเสียงปลอมเป็นตัวแทนของการพัฒนาที่น่าสนใจของเทคโนโลยีแห่งศตวรรษที่ 21 ซึ่งก็ยอมรับว่ามันก็มีส่วนดีที่พัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวขึ้นมา แต่สิ่งที่น่ากลัวยิ่งกว่านั้นก็คือเทคโนโลยี Deepfake ดังกล่าวนั้นสามารถพบเห็นได้ง่ายทางออนไลน์ เพียงไปที่ไซต์อย่าง Resemble หรือ Descript ก็จะสามารรู้วิธีที่นักต้มตุ๋นพวกนี้ทำกันขึ้นมา
.
นอกจากนี้ เทคโนโลยีนี้ยังถูกใช้เพื่อแบล็กเมล์ ฉ้อโกง และการขโมยข้อมูลประจำตัวมากขึ้น และมีแนวโน้มว่าเสียงจะถูกใช้บ่อยกว่าวิดีโอ เพราะมันง่ายต่อการปรับแต่งมากกว่าการทำวิดีโอปลอมขึ้นมา ซึ่งต้องใช้ข้อมูลมากกว่า
.
เรื่องนี้ไม่ได้โดนกับแค่ธุรกิจนะครับ คนทั่วไปก็โดนเช่นกัน โดยการปลอมตัวเป็นคนใกล้ตัวหรือคนรู้จักเพื่อให้หลอกให้โอนเงินมาช่วยเหลือเรื่องด่วนมาก ๆ จนทำให้เหยื่อต้องรีบโอนให้ ซึ่งในประเทศไทยก็เคยเกิดเหตุดังกล่าวขึ้นมาแล้ว ก็ยังไม่ถึงขนาดใช้ Deepfake เป็นแค่การแต่งเรื่องขึ้นมาแล้วใช้หลอกลวงครับ
.
วิธีป้องกันเรื่องนี้คือ ทั้งธุรกิจและคนทั่วไปจะต้องมีการกำชับและตรวจสอบกับคนของคุณให้ดีก่อนจะมีการโอนเงินไปให้ หากเบอร์ที่โทรเข้ามาไม่ใช่เบอร์ที่ใช้ประจำ ก็ให้สงสัยไว้ก่อนว่าอาจจะเป็นพี่มิจ (ฉาชีพ) และให้โทรเช็คอีกครั้งครับ
.
ที่มาข้อมูล
https://www.forbes.com/sites/thomasbrewster/2021/10/14/huge-bank-fraud-uses-deep-fake-voice-tech-to-steal-millions/?sh=44d603247559