ปัจจุบัน ต้องยอมรับว่า แบตลิเธียมไออนได้รับความนิยมอย่างมาก ตั้งแต่การใช้ใน Smartphone ไปจนถึงรถยนต์ไฟฟ้า
แต่แบตลิเธียม ก็มีอายุการใช้งานของมัน และค่อนข้างจะที่จะสร้างมลพิษไม่น้อย ผู้ผลิตหลายแบรนด์จึงพยายามที่หาวัสดุใหม่มาทดแทนกับแร่กราไฟท์
แต่ในระหว่างที่รอให้เทคโนโลยีอื่น ๆ พัฒนา นักวิทยาศาสตร์ ทีมนักวิจัยจากยุโรปฯ จึงได้คิดค้นวิธีชาร์จแบบพิเศษที่ช่วยให้แบตเตอรี่ชนิดนี้ทำงานได้นานขึ้นกว่าเดิม
โดยวิธีการชาร์จแบบเดิมนั้น จะใช้กระแสไฟฟ้าคงที่ หรือ constant current (CC) ไหลเข้าไปในแบตเตอรี่ แต่การศึกษาชี้ว่า วิธีนี้ทำให้เกิดชั้นฟิล์ที่หนาขึ้นบนขั้วไฟฟ้า (anode) ของแบตเตอรี่ ส่งผลให้ความจุลดลง นักวิจัยจึงพัฒนาวิธีชาร์จแบบใหม่ด้วยชาร์จกระแสไฟฟ้าเป็นพักๆ หรือ pulsed current (PC) คล้ายกับชีพจรหัวใจ และพบว่า วิธีนี้ช่วยลดความหนาของชั้นฟิล์ม และลดการแตกร้าวของวัสดุขั้วไฟฟ้า ทำให้แบตเตอรี่คงประสิทธิภาพได้นานขึ้น
ผลการทดสอบเบื้องต้นชี้ว่า วิธีชาร์จแบบ PC ช่วยยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ลิเธียมไออนเชิงพาณิชย์ได้ถึง 2 เท่า โดยยังคงความจุไว้ได้ถึง 80%
นอกจากนี้ นักวิจัยยังได้ทดลองใช้เครื่องยิงอนุภาคทรงพลังของยุโรปอย่าง เบสซี่ 2 (BESSY II) และ เพทรา 3 (PETRA III) พบว่า การชาร์จด้วยกระแสไฟฟ้าเป็นรูปคลื่นสี่เหลี่ยม (square-wave) ช่วยให้ลิเธียมไอออนกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอภายในแบตเตอรี่ ส่งผลต่อการลดแรงกดภายในและการแตกร้าวของวัสดุ
คาดหวังนะว่า ผู้ผลิตแบตเตอรี่จะนำวิธีการนี้ไปใช้งานกับแบตของตน ซึ่งน่าจะช่วยลดการใช้แร่กราไฟท์ และช่วยสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้นครับ
ที่มา
techspot