กระแสเงินดิจิทัลหรือ คริปโต ที่เคยมาแรง กำลังถูกเบรกหัวทิ่ม เมื่อสกุลเงินในโลกเสมือนเข้าข่ายไม่ปลอดภัย และมีความเสี่ยงสูง ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องรีบหาแนวทางรับมือ
หลังจากที่เอกชนโดดร่วมวง เปิดรับชำระสินค้าด้วยเงินดิจิทัล ขณะที่แพลตฟอร์มเทรดก็มีกระแสแรงขึ้นไม่ต่างกัน
กรมสรรพากรของไทยดูเหมือนจะเป็นหน่วยงานภาครัฐรายแรกๆ ที่ออกมาประกาศเรียกเก็บรายได้จากกำไรที่เกิดขึ้นจากเงินดิจิทัลในอัตรา 15% ท่ามกลางความงุนงงของบรรดานักลงทุนเพราะกฎเกณฑ์นี้ไม่ครอบคลุมถึงรายจ่ายหากขาดทุน
ขณะที่ล่าสุด ก.ล.ต. และธนาคารแห่งประเทศไทย ออกมารับฟังความคิดเห็น ห้ามใช้สกุลเงินดิจิทัลเพื่อซื้อขายสินค้า และบริการ โดยให้เหตุผลว่าเป็นสกุลเงินที่มีความผันผวนสูง มีความเสี่ยงต่อการฟอกเงิน การโจรกรรมทางไซเบอร์
สถานการณ์นี้เกิดขึ้นในลักษณะเดียวกับกับหลายประเทศ ส่วนประเทศไหนจะรับมือกับดิจิทัลเทรนด์นี้อย่างไร Techhub พาไปส่องเทรนด์คริปโตกัน
สหรัฐ
ร่างกฎหมายถือครองคริปโต ให้นักลงทุนรายงานสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีมูลค่ามากกว่า 10,000 ดอลลาร์ต่อกรมสรรพากร
เกาหลีใต้
ให้ประชาชนเปิดเผยข้อมูลการลงทุนคริปโต สำหรับผู้ที่มีเงินฝากคริปโตมากกว่า 500 ล้านวอน
สิงคโปร์
ออกกฎหมายกำกับเหรียญที่เข้าข่าย E-money และห้ามโฆษณาซื้อขายคริปโต ในที่สาธารณะ และห้ามจ้างอินฟลูเอนเซอร์เพื่อโฆษณา
จีน
ไม่สนับสนุนอุตสาหกรรมเหมืองคริปโต แต่ออกหยวนดิจิทัล (CBDC) รองรับการซื้อขาย NFT ผ่านแพลตฟอร์มกลางของประเทศ
ไทย
เตรียมร่างกฎหมาย ไม่สนับสนุนให้ใช้คริปโตชำระค่าสินค้า
และบริการ ขณะที่สรรพากรมีแผนจัดเก็บภาษี 15% จากรายได้ หารได้กำไรจากคริปโต
รู้ยัง : เอลซัลวาดอร์ประเทศแรกที่ใช้ bitcoin เป็นเงินที่ถูกกฎหมาย และไนจีเรียเป็นประเทศที่มีผู้ใช้คริปโตมากที่สุด
#TechhubINFO #Crypto #คริปโต