[ได้เรื่อง] ในอวกาศมักเต็มไปด้วยปริศนา และบางครั้งปริศนานั้นก็มาในรูปแบบอุกกาบาตพุ่งเฉียดโลกมาแล้ว จึงไม่แปลกที่โลกเราจะมีระบบแจ้งเตือน ช่วยดูว่าจะอะไรมาเสี่ยงชนโลกอีกหรือไม่
ล่าสุด Vera C Rubin หอดูดาวที่สหรัฐฯ ได้ทดสอบอัลกอริทึมใหม่อย่าง HelioLinc3D สามารถระบุตำแหน่งของดาวเคราะห์น้อยที่เสี่ยงชนโลกได้ แต่ในการทดสอบครั้งแรก กลับพบก้อนหินอวกาศขนาดความยาวถึง 600 ฟุต (ราว ๆ 183 เมตร) มีแนวโน้มที่จะพุ่งชนโลก
HelioLinc3D ได้รับการทดสอบร่วมกับระบบแจ้งเตือนดาวเคราะห์น้อยกระทบพื้นโลกหรือ ATLAS ซึ่งเป็นระบบเตือนภัยล่วงหน้า ที่ได้รับทุนวิจัยจาก NASA และร่วมพัฒนาโดยมหาวิทยาลัยฮาวาย
ทว่าการทดสอบกลับพบหินอวกาศขนาดใหญ่ หรือในชื่อ [2022 SF289] ซึ่งมีความยาว 600 ฟุต กับเส้นผ่านศูนย์กลางกว่า 406 ฟุต และอาจเข้ามาในระยะ 5 ล้านไมล์จากวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ด้วย ล่าสุดถูกกำหนดให้เป็นดาวเคราะห์น้อยที่อาจเป็นอันตรายต่อโลกแล้ว
ในเว็บไซต์ Asteroid Launcher ก็มีระบุจุดปะทะของหิน 2022 SF289 นี้แล้ว ซึ่งหากเกิดการพุ่งชนจริง ๆ ก็จะมีความความเร็วโดยเฉลี่ยที่ 18 กม./วินาที และมุมตกกระทบ 45 องศา อาจสร้างเป็นหลุมอุกกาบาตที่กว้างกว่า 1,600 ฟุต ลึกเกือบ 340 ฟุตง และอาจเกิดคลื่นกระแทกพร้อมแรงลมกว่า 24 กม./วินาที คร่าชีวิตผู้คนได้นับล้านเลย
อย่างไรก็ตาม การเข้าใกล้โลกนั้นยังไม่เกิดขึ้นในใกล้ ๆ นี้แน่นอน และยังมีการคาดคะเนเส้นทางโคจรของตัวหินดังกล่าว พบระยะที่มันจะพุ่งใกล้โลกมากที่สุดคือ 140,000 ไมล์
ที่มา : Techspot