เผยวิสัยทัศน์ คุณหมอ ผู้ร่วมก่อตั้ง “myHealthGroup” สตาร์ทอัพ น้องใหม่  เป็นที่สนใจของ VC หลายรายในการร่วมทุน ใช้นวัตกรรมดูแลสุขภาพคนไทยผ่านแอปฯ   

“myHealthFirst” แอปพลิเคชั่น ที่เกิดจากแนวคิดและความตั้งใจของคุณหมอและวิศวกร ท่าน ประกอบด้วย นพ.เอกกร วงศ์หิรัญเดชา (หมอซันแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน anti-aging medicine and wellness care, ดร.ฤทธิชัย จิตภักดีบดินทร์ (ดร.ป๊อกวิศวกรคอมพิวเตอร์ปริญญาเอก ผู้เชี่ยวชาญด้าน AI และML, นพ.เอกทิตย์ กู้ไพบูลย์ (หมอหนึ่งประสาทศัลยแพทย์และธุรกิจศูนย์ดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคเรื้อรังและผู้ป่วยติดเตียง ร่วมกันพัฒนาแอปพลิเคชั่นสุขภาพ เพื่อช่วยให้คนไทยสามารถดูแลสุขภาพได้ทุกที่ บุคลากรทางการแพทย์ยังได้ข้อมูลสำคัญสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยกรณีเหตุฉุกเฉินได้ทันเวลา พบหมอได้รวดเร็ว

 นพ.เอกกร วงศ์หิรัญเดชา (หมอซันแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน anti-aging medicine and wellness care กล่าวถึงที่มาของการก่อตั้งบริษัท มาย เฮลท์ กรุ๊ป จำกัด หรือ MHG ว่า จริงแล้ว MHG เกิดขึ้นทีหลังแอปพลิเคชั่น myhealthFirst หลายคนที่รู้จักเราในยุคก่อตั้ง มักเรียกชื่อของ myHealth หรือ HealthFirst มากกว่า ซึ่งแนวคิดและความตั้งใจทั้งหมดมาจากคุณหมอและวิศวกร 3 ท่าน ดังกล่าวข้างต้น เพื่อให้มีแอปพลิเคชั่นสุขภาพ นวัตกรรมที่บันทึกผลการตรวจสุขภาพ ผลเลือด (checkup) ประวัติการรักษา ผ่าตัด ยาที่กินประจำ ประวัติแพทย์ จากโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่เราไปรักษาเพื่อให้สามารถดูแลสุขภาพของเราได้ทุกที่ และยังให้บุคลากรทางการแพทย์ได้ข้อมูลสำคัญ สามารถช่วยชีวิตเรากรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน (health information exchange;HIC) จนถึงสามารถบันทึกสัญญาณชีพของเราที่บ้าน เช่น ความดันโลหิตทุกเช้า อาหารที่ท่านกิน การออกกำลังกาย (complete patient portal)  และทั้งหมดเป็นที่มาของแอปพลิเคชั่น myHealhFirst (สุขภาพต้องมาเป็นอันดับแรก)

ตอนที่เริ่ม บริษัท มาย เฮลท์ กรุ๊ป จำกัด หรือ MHG ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลานั้น กระแส Healthtech Startup ในประเทศไทยเริ่มมีมาแล้ว แต่ในภาคใต้ยังไม่ค่อยมีใครพูดถึงไม่ค่อยเข้าใจวงการนี้มากนัก ส่วนใหญ่คุ้นเคยกับธุรกิจ SME จึงมองภาพไม่ออก จนกระทั่งมีการจัดสัมมนา Healthech สัญจรขึ้นที่คณะแพทยศาสตร์ หาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นโอกาสให้พวกเราได้เข้าร่วมสัมมนาจนพัฒนามาเป็นผู้บรรยายในภายหลัง

นพ.เอกกร กล่าวด้วยว่า ในปี 2561 เป็นปีแรกที่บริษัทฯเปิดตัวในงานสำคัญระดับประเทศหลายงาน เช่น งานสัมมนาเรื่อง อนาคตเศรษฐกิจไทยในยุคนวัตกรรมความท้าทายและโอกาส” จัดขึ้นโดยธนาคารโลกประจำประเทศไทย ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ และคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นำเสนอแอปพลิเคชั่น myHealthFirst อย่างเป็นทางการในงาน Startup Thailand 2018

ทั้งสองงานนี้ทำให้เราได้รู้จัก VC (ventures capital) หลายราย และปิดท้ายด้วยความสำเร็จแรกของ MHG สตาร์ทอัพน้องใหม่อย่างเรา โดยได้ทุนสนับสนุนโครงการ Songkhla Model จาก ธนาคารกสิกรไทย แทบจะเรียกได้ว่าได้ angle investor จริง ๆ (seed stage) จึงนับเป็นความโชคดีของพวกเราได้นักลงทุน angle fund จาก ธนาคารกสิกรไทย และทุนวิจัยของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ทำให้ได้เริ่มงานแรกตามที่ตั้งใจ คือ งาน สงขลา โมเดล (Songkhla Model) ประกอบด้วย โรงพยาบาลกรุงเทพหาดใหญ่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์โรงพยาบาลศิครินทร์ หาดใหญ่ และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา ทั้งที่ในขณะนั้นแทบยังไม่รู้จักกับ Business Model ของสตาร์ทอัพ และ MHG ยังสามารถขยายตัวได้ (Scalable) สามารถสร้างกำไรได้เรื่อย ๆ (repeatable)

ยุคที่เราเริ่มงานกับ ระบบการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูล (HIE) และ Smart Hospital  นั้น เป็นยุคเดียวกับที่ภาครัฐและหน่วยงานในกระทรวงสาธารณสุข กำลังให้ความสนใจเช่นกัน คือ ถ้าคนที่อยู่ในวงการ Healthtech คงคุ้นกับ แอปพลิเคชั่น H4Y ou, line MOPH Connect ทำให้มีโอกาสได้เข้าไปนำเสนองานในกระทรวงสาธารณสุข และต้องขอบคุณประสบการณ์ที่ทำให้เป็นจุดเปลี่ยนของแนวคิดที่ชัดเจนขึ้นและเติบโตมาถึงปัจจุบัน และจุดแข็งสำคัญเกือบทั้งหมด คือ ทีมแพทย์เฉพาะทาง ทีมพยาบาลและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบสาธารณสุขทั้งสิ้น ทำให้เราเข้าถึงปัญหาตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งานจริง อีกทั้ง ยังสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ที่หลากหลายในการให้บริการเป็นโซลูชั่น

ดร.ฤทธิชัย จิตภักดีบดินทร์ (ดร.ป๊อกวิศวกรปริญญาเอกผู้เชี่ยวชาญด้าน AI และ ML กล่าวว่า ปัจจุบัน MHG มีการพัฒนางาน 5 ส่วนหลักคือ ประกอบด้วย

1. Smart hospital system สำหรับโรงพยาบาลที่มีระบบ HIS (Hospital Information Systems) หรือ ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล แต่ต้องมีแอปพลิเคชั่น ระบบนัด ระบบคิว ระบบตรวจสุขภาพและรายงานผลผ่านแอปพลิเคชั่นระบบรวบรวมการสตรีมข้อมูลแบบเรียลไทม์จาก Internet of Medical Things (IoMT) ในโรงพยาบาลและที่บ้าน เช่น อุปกรณ์สวมใส่และอุปกรณ์เชื่อมต่อทางการแพทย์อื่น ๆ ที่ตรวจสอบการออกกำลังกายการนอนหลับและพฤติกรรมสุขภาพ รวมทั้งระบบ Smart IPD, Telemedicine, ระบบ SOS with real-time ambulance location เป็นต้น

2. Patient portal ส่วนนี้เป็นระบบที่สามารถบันทึกผลตรวจสุขภาพผลเลือดและยา เมื่อผู้ป่วยมารับบริการที่โรงพยาบาลและรวมกับผลการตรวจสัญญาณชีพที่บ้าน (IoMT myHealth Care at home) การออกกำลังกาย การทานอาหาร ทั้งหมดบันทึกผ่านแอปพลิเคชั่น myHealthFirst และยังสามารถปรึกษาอาการกับบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลโดยตรง เช่น คลินิกโรคเรื้อรัง (NCD; โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงหัวใจ และกายภาพบำบัด (Realtime clinic monitoring) ผ่านระบบ Telemedicine ในแอปพลิเคชั่นได้ทันที

3. Telemedicine ระบบแพทย์ทางไกลผ่าน Video call

4. NCDs monitoring platform ระบบติดตามสถานะสุขภาพของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดหัวใจ ผู้ป่วยสามารถวัดค่าสุขภาพและส่งข้อมูลของตัวเองได้รายวันผ่านเครื่องแท็บเล็ตที่มีการรับค่าอัตโนมัติจากอุปกรณ์วัดค่าสุขภาพต่าง ๆ เช่น เครื่องความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วเครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายเครื่องเจาะน้ำตาลในเลือด และเครื่องชั่งน้ำหนัก หรือบันทึกข้อมูลสุขภาพผ่าน  Application myHealthFirst ได้เช่นเดียวกัน  ซึ่งข้อมูลสุขภาพที่บันทึกจะส่งไปแสดงในระบบหลังบ้าน (myHealthWorld) สำหรับให้ทีมแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ผู้ดูแล เฝ้าสังเกตและติดตามข้อมูลสุขภาพ นอกจากนี้ยังมีระบบแจ้งเตือนอัตโนมัติ ไปยังผู้ป่วยและทีมดูแล เมื่อค่าสุขภาพมีความผิดปกติ และยังสามารถพูดคุยปรึกษาแพทย์แบบวิดีโอคอล ผ่านชุดอุปกรณ์(แท็บเล็ตหรือ Application myHealthFirst ได้

5. Corporate Wellness checkup system ส่วนที่บริษัทร่วมกับพาร์ทเนอร์ที่เป็นโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำ ออกให้บริการตรวจสุขภาพในโรงงานนิคมอุตสาหกรรม ผ่าน program myHealthMob สามารถรายงานผลจัดพิมพ์สูมบูรณ์แบบอย่างรวดเร็วผ่านระบบ web application myHealth World และ โมบาย แอปพลิเคชั่น myHealthFirst ทั้งยังสามารถวิเคราะห์ Big Data – ดูแลสุขภาพพนักงานผ่านระบบ myHealthPeek และ Smart nursing room

นพ.เอกทิตย์ กู้ไพบูลย์ (หมอหนึ่งประสาทศัลยแพทย์และธุรกิจศูนย์ดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคเรื้อรังและผู้ป่วยติดเตียง กล่าวว่า แอปพลิเคชั่น myHealthCare ช่วยให้เกิดการดูแลสุขภาพพนักงานที่ดี (health and productivity) ถือว่าตอบโจทย์การดูแลสุขภาพยุค  new normal ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 และหลังจากนี้ทาง MHG มองว่าการเข้าถึงการบริการทางสุขภาพและสาธารณสุขจะเปลี่ยนไปด้วยการให้บริการ ได้แก่

ในฝั่งผู้ให้บริการ (Health Care provider) ในสถานการณ์ที่ไม่มีการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 ยังเพิ่มโอกาสก้าวเข้าสู่ smart hospital service สามารถให้บริการที่หลากหลายดูแลสุขภาพทั้งในและนอกโรงพยาบาลติดตามผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้อย่างใกล้ชิด (Realtime clinic and IoMT), เพิ่มช่องทางการติดต่อให้แก่ผู้ป่วย (Telemedicine) โรคอย่างง่ายสามารถให้บริการผู้ป่วยนัดหมาย เปิดให้พบ(visit) ก่อนที่ผู้ป่วยจะเข้ามาที่โรงพยาบาลเพื่อลดการพบปะผู้คน เป็นต้น ส่วนในสถานการณ์ที่ยังมีการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 เป็นการเพิ่มโอกาสการเข้าดูแลผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยในกลุ่มโรงพยาบาลสนาม , Hospital and Home isolation และจากประสบการณ์ที่ MHG ได้รับความไว้วางใจให้บริการแก่โรงพยาบาลของรัฐ และโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำ สามารถเป็นเครื่องยืนยันถึงระบบที่มีประสิทธิภาพ

ในฝั่งผู้ป่วยหรือผู้รักสุขภาพทำให้เข้าถึงด้วยการให้บริการ myHealthFirst สามารถลดการเดินทาง ลดระยะเวลาในการไปปรึกษาแพทย์ที่โรงพยาบาล สามารถเลือกใช้บริการดูแลสุขภาพทั้งในและนอกโรงพยาบาล สามารถติดตามดูแลรักษาโรคเรื้อรัง (Realtime clinic and IoMT), รวมถึงบริการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ที่บ้าน Home isolation กับโรงพยาบาลชั้นนำ

 แม้ในปี 2564 โลกจะอยู่ในช่วงที่ประสบปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 รุนแรง ภาวะเศรษฐกิจไม่ดี แต่ด้วยบริการของ MHG ที่ตอบโจทย์ในสถานการณ์ฯ เราจึงเป็นสตาร์ทอัพที่สามารถสร้างรายได้เติบโตจากธุรกิจของเรา จนเป็นที่สนใจของ VC หลายราย และภูมิใจที่บอกกับทุกคนว่าเรามีโอกาสก้าวไป
กับองค์กรชั้นนำโดยเราสามารถ 
raise fund series A จาก Nexter Ventures บริษัทในเครือของ SCG นอกจากนี้ MHG ยังได้รับความไว้วางใจและเสียงตอบรับเป็นอย่างดี เมื่อร่วมงานไปกับหน่วยงานทั้งระดับประเทศและต่างประเทศ ได้แก่

            –  ร่วมกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และ SCG DoCare ให้บริการระบบดูแลผู้ป่วยโควิด-19 IoMT Home isolation และร่วมทำงานวิจัย

            –  ร่วมกับ SCG DoCare จัดทำระบบดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง IoMT Care Connect โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต

            –  ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และธนาคารกสิกรไทย จัดทำระบบดูแลผู้ป่วย โรงพยาบาลสนาม COVID-19 IoMT myHealthCare และร่วมทำวิจัย

            –  ร่วมกับภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดทำแอปพลิเคชั่น

            –  ร่วมกับ SCG DoCare จัดทำระบบดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม
.มหิดล

            –  ร่วมกับ SCG DoCare จัดทำระบบดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง สถาบันพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย

            –  ร่วมพัฒนาวิจัยอย่างต่อเนื่องการใช้งานระบบปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) หรือ AI ในทางการแพทย์ร่วมกับ Quadrant Health, USA.

สุดท้าย MHG หวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่ร่วมช่วยให้คนไทยและระบบสาธารณสุขไทยผ่านวิกฤติโควิด-19 ในครั้งนี้ไปได้และมีส่วนร่วมช่วยส่งเสริมสุขภาพยุค new normal ต่อไป

สำหรับการทำงานของ myHealthFirst แอปพลิเคชั่นที่อำนวยความสะดวกทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงฟังก์ชั่นการดูแลสุขภาพและการไปโรงพยาบาล ทำงานเป็นระบบโซลูชั่นตั้งแต่การรับบัตรคิวผ่านตู้คิวอัจฉริยะ(Kiosk) ระบบมีการเชื่อมต่อกันกับสถานพยาบาล ผู้ใช้งานเพียงแค่เสียบบัตรประชาชน พร้อมพบคุณหมอได้ทันที และยังสามารถดูคิวผ่านแอปพลิเคชั่นทางสมาร์ทโฟน  และตู้ Digital Signage (จอแสดงคิว)  โดยคิวของผู้ใช้งานจะส่งผ่าน Notification ผ่านทางแอปพลิเคชั่น myHealthFirst ทางสมาร์ทโฟนอยู่เสมอเมื่อใกล้ถึงคิว และเข้ารับบริการสามารถติดตามอาการได้สม่ำเสมอ โดยที่ผู้ป่วยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางมาโรงพยาบาล

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Link https://www.facebook.com/myhealthfirstofficial

หรือเข้าถึงแอปพลิเคชั่นได้ที่ QR Code