ไมโครซอฟท์เผยทิศทางใหม่ Work–Life Integration เมื่อการทำงานและการดำรงชีวิตประสานกันอย่างลงตัว

ในปัจจุบัน ที่เทรนด์ของโลกที่เปลี่ยนไปสู่ยุคโมบายและคลาวด์ เศรษฐกิจเริ่มปรับเปลี่ยนมาอยู่บนพื้นฐานของความรู้และบริการ (Knowledge and Service based economy) มากขึ้น หลายๆ ธุรกิจจึงมีระบบการจัดการที่เปลี่ยนแปลงไป โดยให้ความสำคัญกับการทำงานนอกสถานที่ และใช้เทคโนโลยีเพื่อเอื้อให้การทำงานร่วมกันเป็นไปอย่างง่ายดายยิ่งขึ้น

จากผลสำรวจของพนักงาน 13 ประเทศในภูมิภาคเอเชีย จำนวน 5,000 คน ซึ่งในจำนวนนี้มีพนักงานในประเทศไทยจำนวน 400 คน พบว่าพนักงาน 47 คน จาก 100 คน มองว่าองค์กรช่วยผลักดันให้พวกเขาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดการทำงานร่วมกันและเกิดการสร้างสรรค์ใหม่ๆ ตลอดเวลา รวมถึงสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่พนักงา

“ไมโครซอฟท์มองว่าหากองค์กรมีนโยบายที่ให้ความสำคัญกับสวัสดิการควบคู่ไปกับการสนับสนุนความแตกต่างของไลฟ์สไตล์ของพนักงาน จะทำให้พนักงานจัดการชีวิตการทำงานและเรื่องส่วนตัวได้ดียิ่งขึ้น เทรนด์การทำงานยุคใหม่จึงไม่ได้มองถึงความสมดุลของงานและชีวิตส่วนตัว (Work-Life Balance) อีกต่อไป แต่จะเป็นผสานงานกับชีวิตเข้าด้วยกัน (Work–Life Integration) โดยใช้เทคโนโลยีในการเชื่อมต่อ” คุณศิริวรรณ ทองเหลือง ฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัท ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย จำกัด กล่าว

อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจพบว่าเพียง 3 ใน 10 ของคนทำงานในเอเชียสามารถผสานงานกับชีวิตส่วนตัวเข้าด้วยกัน พนักงานในประเทศไทยร้อยละ 69 ยังจำเป็นต้องเข้าออฟฟิศเพื่อใช้เครื่องมือที่มีเฉพาะในออฟฟิศเท่านั้น และร้อยละ 25 บอกว่าพวกเขาเข้าออฟฟิศเพื่อที่จะใกล้ชิดกับเพื่อนร่วมงานและหัวหน้างาน ซึ่งทำให้เห็นถึงช่องว่างในบริหารจัดการเพื่อให้ได้ประสิทธิผลจากการทำงานมากที่สุด

ไมโครซอฟท์ จึงมีแนวคิด “โลกยุคใหม่ของการทำงาน” เพื่อให้พนักงานทำงานนอกสถานที่และยังเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานภายในองค์กรได้ โดยมีแนวทางดังนี้

1) บริหารประสิทธิภาพของการทำงานแทนการเข้างาน จากการสำรวจพบว่าจากลักษณะการทำงานที่ต้องพบปะกับลูกค้า พนักงานร้อยละ 72 จะใช้เวลาอย่างน้อย 1 วันใน 5 วันทำงาน ในการทำงานนอกออฟฟิศ ดังนั้น หัวหน้างานควรศึกษาวิธีจัดการทีมให้มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะด้วยการตั้งตัวชี้วัดผลสำเร็จหรือ KPI และที่สำคัญคือเน้นไปที่การ

ประเมินผลการดำเนินงานและผลลัพท์ของงาน หัวหน้างานต้องแจ้งให้พนักงานทราบถึงความคาดหวังของตนเองและติดตามผลการดำเนินงานอยู่สม่ำเสมอ

2) สร้างการทำงานร่วมกันระหว่างทีม จากการสำรวจพบว่าร้อยละ 54 ของผู้ตอบแบบสอบถามรู้สึกว่าการทำงานร่วมกันอย่างทันท่วงที เช่น การแชร์ไอเดียระหว่างเพื่อนร่วมงาน การแลกเปลี่ยนข้อมูล เป็นสิ่งที่เกิดประโยชน์ต่อองค์กร การสร้างการทำงานร่วมกันทำให้เกิดการร่วมมือร่วมใจกันทำงาน องค์กรสามารถสนับสนุนการทำงานร่วมกันและความคิดสร้างสรรค์ได้ด้วยการสร้างหรือปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในการทำงาน รวมทั้งยกระดับเครื่องมือหรือเทคโนโลยีที่ใช้การทำงานร่วมกันเป็นทีมเพื่อทำลายกำแพงระหว่างพนักงานด้วยกัน

3) การเข้าถึงเทคโนโลยีอย่างเท่าเทียม พนักงานส่วนใหญ่ต้องการเข้าออฟฟิศเพียงเพื่อเชื่อมต่อกับอุปกรณ์และเครื่องมือ ในบางที่พนักงานระดับบริหารกลับมีเครื่องมือในการทำงานที่ดีกว่า สิ่งที่สำคัญคือพนักงานทุกคนจะต้องเข้าถึงเครื่องมือในการทำงานเพื่อให้พวกเขาทำงานได้อย่างยืดหยุ่นและทำงานจากนอกสถานที่ได้ แต่ในขณะเดียวกัน บริษัทก็ต้องมั่นใจว่าข้อมูลจะปลอดภัยและได้รับการปกป้อง

01
คุณศิริวรรณ ทองเหลือง ฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัท ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย จำกัด

“ไมโครซอฟท์เป็นบริษัทซึ่งมีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเพื่อการผสานงานกับชีวิตส่วนตัวเข้าด้วยกัน (Work-Life Integration) โดยเราจะเน้นประสิทธิภาพของงานแทนการเข้างาน ซึ่งพนักงานของไมโครซอฟท์ทุกคนเข้าใจ และไม่เกิดข้อครหาในหมู่เพื่อนร่วมงานด้วยกัน ซึ่งแน่นอนว่าตอบโจทย์ทิศทางการทำงานในยุคโมบายและคลาวด์ เราให้ความสำคัญและอิสระแก่พนักงานทุกคนในทุกลักษณะงานที่ทำ บางฟังก์ชั่น เช่น พนักงานขายที่ทำงานนอกสถานที่เป็นส่วนใหญ่ หรือพนักงานบางท่านที่อาจจะไม่สามารถเข้ามาทำงานได้ด้วยเหตุผลบางประการ เช่น ป่วยหรือคนในครอบครัวไม่สบาย หรือแม้แต่พนักงานหญิงที่ตั้งครรภ์ อย่างดิฉันเอง ที่ตอนนี้กำลังตั้งครรภ์ลูกแฝด ซึ่งโดยส่วนตัวนั้นมีความยากลำบากและอาจเสี่ยงต่ออันตรายในการเดินทางมาทำงาน แต่ก็ไม่อยากหยุดพักงานเนื่องจากเรายังต้องการทำงานเพื่อสร้างคุณค่าให้แก่ตนเองและเพื่อนร่วมงานอยู่ แทนที่จะอยู่เฉยๆ ไมโครซอฟท์มีเครื่องมือเพื่อช่วยและเปิดโอกาสให้พนักงานสามารถทำงานที่ไหนก็ได้เพียงเชื่อมต่ออินเทอร์เนต อย่างไรก็ดีแม้ทางไมโครซอฟท์จะให้อิสระในการทำงานนอกออฟฟิศอย่างเต็มที่ งานที่รับผิดชอบทั้งหมดนั้นจะต้องได้รับการลงมือทำและมีผลลัพท์ออกมาอย่างเป็นรูปธรรม” คุณศิริวรรณ ทองเหลือง ฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัท ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวเสริม

02

03
ไลฟ์สไตล์การทำงานของ คุณเมธัส เดชชุษณะนาถ ผู้จัดการฝ่ายเทคนิค บริษัท ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย จำกัด ที่สามารถได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งภายในออฟฟิสหรือนอกสถานที่

สำหรับเด็กรุ่นใหม่ที่โตมากับโลกดิจิทัลนั้น มองว่าแนวคิดการทำงานในโลกยุคใหม่นั้นมีผลดีกับตนเองและบริษัทได้เป็นอย่างมาก “การทำงานที่ไมโครซอฟท์สร้างโอกาสทำให้ผมได้เห็นนวัตกรรมใหม่ๆ มากมาย ให้ผมได้รับประสบการณ์ต่างๆ ที่ผมบอกได้เต็มปากว่า เพื่อนๆ ทุกคนต่างอิจฉาผมกันมาก ผมเข้ามาทำงานกับไมโครซอฟท์ภายใต้โครงการที่ชื่อว่า MACH หรือ Microsoft Academy for College Hires ซึ่งสร้างความตื่นเต้นให้ผมตลอดเวลา ผมได้มีโอกาสไปฝึกอบรมวิชาต่างๆ ทั้งในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ถึงแม้ว่าผมจะเป็นหนึ่งในพนักงานที่อายุน้อยที่สุดของไมโครซอฟท์ ประเทศไทย ด้วยอายุแค่ 22 ปี แต่ผมก็มีโอกาสได้เรียนรู้อะไรต่างๆ มากมาย และได้พบปะกับเพื่อนๆ ที่มีแนวคิดในทิศทางเดียวกันหลายคน จนทำให้การทำงานที่ไมโครซอฟท์ของผมมีมิติมากขึ้น เหมือนกับได้ผจญภัย เพราะมีคนคอยให้ข้อมูล แนะแนวและผลักดันให้ผมปฏิบัติจริงตลอดเวลา ผมต้องการเป็นพนักงานคุณภาพของไมโครซอฟท์ ไมโครซอฟท์เองก็ต้องการพนักงานที่มีคุณภาพเช่นกัน จึงไม่เคยมีวันไหนเลยที่ผมมาทำงานแล้วไม่สนุก เพราะที่ไมโครซอฟท์นั้นมีสิ่งใหม่ให้ต้องเรียนรู้อยู่เสมอ”

คุณเมธัส เดชชุษณะนาถ  ผู้จัดการฝ่ายเทคนิค บริษัท ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย จำกัด กล่าว “นอกจากนี้ ในแง่ของไลฟ์สไตล์การทำงาน โดยปกติชีวิตผมจะเจอลูกค้าเป็นหลัก และเทคโนโลยีที่ไมโครซอฟท์มี ก็สามารถตอบโจทย์การทำงานนอกสถานที่จริงๆ ให้ผมทำงานได้ทุกที่ ตัวอย่างง่ายๆ เช่น Skype for Business สำหรับการประชุม แถมยังสามารถให้เข้าถึงซอฟท์แวร์ภายในต่างๆขององค์กรได้อย่างปลอดภัย ซึ่งตอบโจทย์ Work–Life Integration สุดๆ เพราะที่ไมโครซอฟท์จะมองผลของงานเป็นเรื่องสำคัญ คุณต้องเคารพตัวเอง รู้จักพัฒนาตัวเอง เพราะไมโครซอฟท์เปิดกว้างและใจกว้างมากๆครับ และถึงแม้ว่าเราจะเป็นเด็กที่มีประสบการณ์น้อยกว่า หัวหน้าก็รับฟังเมื่อมีข้อเสนอแนะและยังเกิดการแก้ไข ซึ่งทำให้เรารู้สึกมีส่วนรวมในการดำเนินงานและความสำเร็จของไมโครซอฟท์อย่างแท้จริง” คุณเมธัส เดชชุษณะนาถ  ผู้จัดการฝ่ายเทคนิค บริษัท ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย จำกัด กล่าวสรุป

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here