มาตั้งแต่ต้นปี “ฝนดาวตกควอดรานติดส์” ต้อนรับปีใหม่ เที่ยงคืนของวันนี้เตรียมรอดู
มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หลังเที่ยงคืนของวันศุกร์ที่ 3 มกราคม 2568 ตั้งแต่เวลา 02:00 น. เป็นต้นไป จนถึงรุ่งเช้าของวันเสาร์ที่ 4 มกราคม 2568 จะเกิดปรากฏการณ์ “ฝนดาวตกควอดรานติดส์”
ศูนย์กลางการกระจายอยู่ระหว่างกลุ่มดาวเฮอร์คิวลีส (Hercules) กลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ (Boötes) และกลุ่มดาวมังกร (Draco)
เริ่มสังเกตได้จากทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ปีนี้คาดมีอัตราการตกสูงสุด 80 ดวงต่อชั่วโมง สามารถชมด้วยตาเปล่าได้ทั่วประเทศ แต่ต้องเป็นสถานที่ท้องฟ้ามืดสนิทไม่มีแสงไฟหรือแสงจันทร์รบกวน
ฝนดาวตกควอดรานติดส์ เป็นฝนดาวตกที่เกิดขึ้นเป็นประจำของทุกปี และมักมีอัตราการตกสูงสุดในช่วงวันที่ 3 – 4 มกราคม สาเหตุเกิดจากโลกเคลื่อนที่ตัดเข้ากับสายธารเศษอนุภาคที่ดาวเคราะห์น้อย 2003 EH1
เมื่อโลกโคจรผ่านเส้นทางดังกล่าว แรงดึงดูดของโลกจะดึงฝุ่นและหินเข้ามาเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศโลกเกิดเป็นลำแสงวาบให้เราได้มองเห็นกัน
สำหรับใครที่กำลังเที่ยวอยู่ภาคเหนือหรือที่ ๆ มองเห็นดาวได้ชัดเจนก็อย่าลืมลุ้นดูฝนดาวตกกันด้วยนะ
ที่มา : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
#ฝนดาวตก #ฝนดาวตกควอดรานติดส์ #TechhubUpdate