ผลสำรวจความก้าวหน้าของการพัฒนาแอป Low-Code ในเอเชียแปซิฟิค: ประสบการณ์ของนักพัฒนายุคใหม่ในการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน

“ภายในปี 2567 จะมีนักพัฒนารุ่นใหม่ที่สร้างแอพพลิเคชันได้โดยไม่ต้องเขียนโค้ดคิดเป็น 20% ของนักพัฒนาทั้งหมดในแถบเอเชียแปซิฟิกรวมประเทศญี่ปุ่น (APJ) ซึ่งนักพัฒนาเหล่านี้คือผู้ขับเคลือนการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน”

ทำความรู้จักกับ Low-code app และการประยุกต์ใช้งานในเอเชียแปซิฟิค

Low-code เป็นวิธีหนึ่งในการออกแบบและพัฒนาแอพพลิเคชันซอฟต์แวร์อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องเขียนโค้ดเองมากนัก ทำให้ผู้ที่มีทักษะสามารถสร้างงานได้อย่างรวดเร็วและเชื่อถือได้ โดยการใช้ visual modelling ในอินเตอร์เฟสกราฟิกในการรวมและปรับแต่งแอปพลิเคชันต่างๆ นักพัฒนาจึงสามารถข้ามขั้นตอนในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานและการทำซ้ำในรูปแบบต่างๆ เพื่อโฟกัสกับอีก 10% ที่เหลือในการพัฒนาส่วนที่เป็นเรื่องสำคัญจำเพาะของแอปพลิเคชันนั้นๆ ได้ทันที

การพัฒนาแบบ low-code ถูกนำมาใช้เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบโจทย์ด้านความรวดเร็วและแรงกดดันจากการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์มเมชันที่เกิดขึ้นทุกหนแห่ง การใช้งานและแพลตฟอร์ม low-code ทำให้การเขียนโค้ดด้วยตัวเองในขั้นตอนการพัฒนาซอฟต์แวร์เป็นไปอย่างง่ายดายขึ้นหรือไม่จำเป็นต้องเขียนโค๊ดเองก็ได้ ช่วยตอบโจทย์องค์กรต่างๆ ที่มุ่งเน้นการสร้างความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจเพิ่มมากขึ้น

องค์กรในเอเชียแปซิฟิก (AP) มากกว่าครึ่งนำแพลตฟอร์ม low-code มาใช้แล้ว และยังมีอีกหลายองค์กรที่วางแผนจะนำแพลตฟอร์มนี้มาใช้ในช่วงเวลาปีครึ่งต่อจากนี้ เนื่องจากหลายๆองค์กรเริ่มตระหนักมากขึ้นเรื่อยๆ ว่าการลดการเขียนโค้ดลงเป็นแนวทางปฏิบัติที่ช่วยให้การสร้างแอปพลิเคชันและบริการต่างๆ ที่เป็นส่วนสำคัญยิ่งส่วนหนึ่งของการดำเนินธุรกิจหลักเป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้น มีความปลอดภัยมากกว่า และมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น

24.5% ของผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีในเอเชียแปซิฟิกปัจจุบันใช้แพลตฟอร์ม low-code มากกว่า 50% ของโครงการทั้งหมดที่ทำอยู่

3.2% ขององค์กรต่างๆ ในปัจจุบันใช้แพลตฟอร์ม low-code กับทุกโครงการที่กำลังอยู่ในช่วงพัฒนา

21% ขององค์กรต่าง ๆ ในเอเชียแปซิฟิกใช้แพลตฟอร์ม low-code ในการพัฒนาแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์พกพาอยู่แล้ว

แม้จะมีความกังวลว่าการใช้ low-code จะทำให้ประสบการณ์ ความรู้ความสามารถของนักพัฒนาถดถอยลงอย่างมาก แต่ไอดีซีมองว่าการใช้งานนี้เป็นเพียงตัวเสริมไม่ใช่สิ่งที่จะนำมาทดแทนทักษะและความสามารถในการพัฒนาซอฟต์แวร์ภายในองค์กรแต่อย่างใด

นอกจากนี้ไอดีซียังคาดหวังว่าบทบาทของนักพัฒนาซอฟต์แวร์จะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว โดยนักพัฒนาถ้าไม่ทำหน้าที่ที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญทางเทคนิคมากขึ้น ก็จะทำหน้าที่ให้คำปรึกษาและวางกลยุทธ์ทางธุรกิจมากขึ้น แม้ว่าตลาดแรงงานของนักพัฒนาในระยะสั้นยังคงเติบโต

“ในแถบเอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น) อาชีพนักพัฒนาแอปพลิเคชันเริ่มได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วในระบบเศรษฐกิจที่มีการใช้แอป B2C ซึ่งเดิมทีกลุ่มอาชีพนี้จะเน้นการทำงานในรูปแบบธุรกิจสตาร์ทอัพที่ได้รับเงินทุน การนำเอา low-code เข้ามาใช้ดังที่เราเห็นกันในภาคองค์กรจะช่วยส่งเสริมให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์มืออาชีพได้มีโอกาสอันยอดเยี่ยมในการเป็นผู้ทรงอิทธิพลระดับสูงต่อแนวคิดและการกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจ” ลินัส หลัย, รองประธาน IDC Asia/Pacific Software and Services กล่าว

สี่เหตุผลที่องค์กรในเอเชียแปซิฟิกต่างหันมาใช้ low-code เพื่อให้ทันต่อการปรับองค์กรเข้าสู่ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน

  1. การพัฒนาแอปทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ลูกค้า การวิเคราะห์เชิงธุรกิจ อีคอมเมิร์ซ และ IoT
  2. การเปลี่ยนแปลงเส้นทางอาชีพของนักพัฒนาการใช้ low-code ทำให้นักพัฒนารุ่นใหม่สามารถปรับโปรไฟล์การทำงานของตนที่แสดงให้เห็นว่ามีประสบการณ์เชิงธุรกิจร่วมด้วย
  3. ได้รับการเห็นชอบจากหน่วยงานธุรกิจต่างๆ ต่อกลยุทธ์การทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน“การที่ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีการเขียนโค๊ดได้ง่ายขึ้น ด้วยอินเทอร์เฟซของระบบที่เรียนรู้ได้ง่าย (Democratization of Coding)” ทำให้องค์กรต่างๆ ดำเนินตามกลยุทธ์ทางดิจิทัลของตนได้โดยได้รับความร่วมมือจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของหน่วยงานธุรกิจมากยิ่งขึ้น
  4. หลุดพ้นจากปัญหาข้อจำกัดของระบบเดิมองค์กรในเอเชียแปซิฟิกมากกว่า 72% ต้องการหาทางออกจากข้อจำกัดของระบบดั้งเดิม ไม่ว่าจะด้วยการ migrate ไปใช้แอปอื่น ทำให้แอปที่ล้าสมัยมีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น หรือเปลี่ยนแอปที่ล้าสมัยออกและยกเครื่องระบบที่มีอยู่ด้วยฟีเจอร์และความสามารถใหม่ๆ อย่างคุ้มค่าเงิน

การนำไปใช้ในงานเฉพาะทางต่างๆ ในภาคธุรกิจของเอเชียแปซิฟิก

การธนาคารและการเงิน Business Intelligence และการวิเคราะห์ทางธุรกิจเพื่อความเข้าใจลึกซึ้งในชุดข้อมูลที่เฉพาะเจาะจง

ภาคเอกชน ขั้นตอนและการบริหารจัดการธุรกิจ รวมถึงการวางแผนทรัพยากรทางธุรกิจขององค์กรโดยรวม (ERP), การบริหารจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (CRM), การเงิน, ทรัพยากรบุคคล และแอปพลิเคชันการบริหารจัดการสำนักงาน

การผลิต IoT โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบมอนิเตอร์งาน ระบบซ่อมบำรุงและรักษา และการเพิ่มประสิทธิภาพของอุปกรณ์ที่ติดตั้งระบบเซ็นเซอร์ รวมไปถึงระบบติดตามการขนส่ง (fleet)

ประกันภัย การบูรณาการเว็บที่เชื่อมต่อข้อมูลเว็บไซต์เข้ากับ workflow แบบอัตโนมัติ ตั้งแต่การติดตามลูกค้าเป้าหมาย ไปจนถึงการรับประกัน และสนับสนุนงานบริการต่างๆ

การศึกษา ฟังค์ชั่นการทำงานร่วมกันที่ปรับแต่งเพื่อให้เหมาะสมกับโครงสร้างและวัฒนธรรมของแต่ละองค์กร ซึ่งรวมถึงแอปพลิเคชันแชทและการบริหารจัดการโครงการ

การค้าปลีก ออฟไลน์ออนไลน์ รวมถึงแบบที่ใช้คิวอาร์โค้ดและบาร์โค้ดในการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน อุปกรณ์ และต้นทุนอื่นๆ

การประยุกต์ใช้แพลตฟอร์ม low-code ในประเทศไทย

ประเทศไทยเริ่มที่จะให้ความสำคัญกับ DevOps ในการปรับปรุงด้าน agility ประสบการณ์ของผู้ใช้งาน และความรวดเร็วในการเปิดตัวสู่ตลาด สายดิจิทัลแท้ๆ และสตาร์ทอัพ อาทิ ผู้ให้บริการฟินเทคเริ่มตอบรับแอปที่ใช้คลาวด์, DevOps และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สมาช่วยขับเคลื่อนให้เกิดนวัตกรรมและเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการลงทุน นอกจากนี้องค์กรต่างๆ ก็เริ่มประเมินทางเลือกของระบบที่จะนำมาทดแทนระบบดั้งเดิมที่มีอยู่ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนกลยุทธ์ด้านไอทีในระยะยาว และทำให้เกิดอุปสงค์ในการมองหาเทคโนโลยีใหม่ อย่างไรก็ตามความตระหนักรู้ถึงการพัฒนาแอป low-code ในประเทศไทยยังคงอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับประเทศ อื่นๆ ในเอเชียแปซิฟิก โดยมีสัดส่วนองค์กรในประเทศไทยเพียง 19% เท่านั้นที่ใช้แพลตฟอร์ม Low-Code ซึ่งเหตุผลหลักมาจากการขาดความตระหนักรู้ ส่วนภาคธุรกิจที่ริเริ่มนำมาใช้ก่อนใครคือ ธนาคาร การสื่อสาร และสื่อ

จากผลสำรวจความท้าทายสูงสุด 3 อันดับแรกที่ประเทศไทยต้องเผชิญในการพัฒนาแอปคือ การมีข้อจำกัดทางด้านทรัพยากร (29%) ขอบเขตของงานที่ขยายไม่จบสิ้น (21%) และการก้าวให้ทันกระแส (14%)

เทคโนโลยีเกิดใหม่ที่นักพัฒนาซอฟท์แวร์ของไทยโฟกัสในขณะนี้ได้แก่ โซเชียลเน็ตเวิร์ค (58%)  ปัญญาประดิษฐ์และ machine learning (26%), IoT สำหรับคอนซูเมอร์ (23%)

ในด้านการจัดลำดับความสำคัญของงาน นักพัฒนาซอฟท์ แวร์ของไทยใช้เวลาไปกับ 3 สิ่งนี้มากที่สุด: การวิเคราะห์และการทดสอบระบบรักษาความปลอดภัยและช่องโหว่ต่างๆ (78%)  การทดสอบฟังก์ชั่นการทำงานในแต่ละหน่วยและหลังบูรณาการ (63%)  การวิเคราะห์และทดสอบผลการปฏิบัติงานและภาระงาน (61%) และใช้เวลาน้อยลงในสิ่งเหล่านี้: การออกแบบและสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ (66%) การติดตาม bug (63%)  การเขียนโค้ด (63%)

ดังนั้นสำหรับประเทศไทย Low-code ยังรอที่จะกลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ

ซึ่งจะช่วยพลิกองค์กรให้ก้าวสู่การเป็นนวัตกรรมและมีความคล่องตัวสูงในการดำเนินธุรกิจ

Low-code ช่วยสร้างผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ดียิ่งขึ้นเนื่องจากไม่เพียงเกิดประโยชน์ในด้านไอทีเท่านั้น แต่ทำให้เกิดวัฒนธรรมการทำงานใหม่ในองค์กร

ผลิตภาพของนักพัฒนาซอฟท์แวร์ที่สามารถสร้างนวัตกรรมได้เร็วขึ้นและทำงานอย่างชาญฉลาดยิ่งขึ้นจะช่วยเพิ่มจำนวนและความต้องการตำแหน่งงานนักพัฒนามากขึ้น เนื่องจากผู้ที่มีความรู้ด้านเทคนิคไม่มากนักก็สามารถเข้าสู่สายงานการพัฒนาแอปได้ ซึ่งลดอุปสรรคในการเข้าสู่วงการพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับฝ่ายที่ไม่เกี่ยวข้องกับด้านไอที ส่งผลให้นักพัฒนาซอฟท์แวร์สายตรงมีเวลาเพิ่มมากขึ้นในการพัฒนาศักยภาพของตนเองเพื่อรับบทบาทหน้าที่ในฐานะ “นักวางกลยุทธ์”, “สถาปนิคระบบ” และ “ผู้เชี่ยวชาญ”

แพลตฟอร์ม low-code ช่วยอุดช่องว่างระหว่างไอทีและธุรกิจ เนื่องจากความรวดเร็วและความง่ายในการใช้งานทำให้สามารถเปิดตัวสู่ตลาดได้รวดเร็วยิ่งขึ้น การย่นระยะเวลาในการเปิดใช้งานแอปที่รวดเร็วขึ้นทำให้มูลค่าธุรกิจสูงขึ้นตาม และการเขียนโค๊ดที่ไม่ซับซ้อนก็จะช่วยลดปัญหาการแก้ไข bug ที่น้อยลง นอกจากนี้ยังลดอุปสรรคในการพัฒนาซอฟต์แวร์บนเทคโนโลยีใหม่ๆ รวมทั้งแอป

ยังได้รับการพัฒนาบนพื้นฐานของระบบซีเคียวริตี้ในตัวตั้งแต่แรก ซึ่งเป็นการสนับสนุนแนวทางปฏิบัติ DevSecOps ดังนั้นผลลัพธ์เชิงธุรกิจขององค์กรย่อมดีขึ้น

Low-code ยังช่วยขจัดปัญหา “tech debt” ซึ่งเป็นภาวะที่การพัฒนาซอฟต์แวร์เกิดขึ้นเร็วกว่าที่ชุดทักษะของนักพัฒนาใดๆ จะตามทัน ทำให้นักพัฒนาสามารถเดินตามแผนงานการปฏิรูปสู่ยุคดิจิทัลโดยไม่ถูกถ่วงเวลาให้หมดไปกับการเพิ่มพูนทักษะและการฝึกอบรมเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่กินเวลายาวนาน และในเมื่อการสร้างต้นแบบและ MVP ทำได้ง่ายและรวดเร็ว ผู้ใช้ที่ไม่มีประสบการณ์การเขียนโค้ดใดๆ ก็สามารถพัฒนาต้นแบบ (MVP) บนเว็บ โมบาย และแอปพลิเคชันอื่นๆ เองได้ภายในไม่กี่นาที

ผลลัพธ์จากการร่วมมือกับนักพัฒนาทำให้องค์กรสามารถหาจุดกึ่งกลางที่สมดุลในการทำงานร่วมกัน หัวหน้าฝ่ายไอทีกว่า 18% ในเอเชียแปซิฟิกกล่าวว่าการร่วมมือข้ามสายงานเป็นหนึ่งในความท้าทายสูงสุด 3 อันดับแรกในองค์กรเลยทีเดียว ดังนั้นองค์กรที่ใช้แพลตฟอร์ม low-code แบบ shared environment จะช่วยเอื้ออำนวยให้เกิดความร่วมมือในการทำงานร่วมกันได้ดียิ่งขึ้นระหว่างฝ่ายเทคนิคและฝ่ายที่ไม่ใช่สายเทคนิค

บทสรุปและข้อแนะนำจากผู้นำในตลาด Low-code – OutSystems

Low-code ช่วยยกระดับขีดความสามารถด้านดิจิทัลขององค์กรอย่างเหนือชั้น

แพลตฟอร์ม low-code ช่วยเพิ่มผลิตภาพของนักพัฒนาเพราะเป็นการผสานขีดความสามารถและเครื่องมือเข้าด้วยกัน นักพัฒนาซอฟต์แวร์ควรพิจารณาด้วยว่าแพลตฟอร์ม low-code ใดเหมาะกับด้านกลยุทธ์การตลาดดิจิทัลขององค์กรอย่างครอบคลุมและกว้างขวางกว่าบ้าง รวมไปถึงความสามารถของแพลตฟอร์มดังกล่าวในการพัฒนาแอปพลิเคชันได้หลากหลายประเภทยิ่งขึ้นในทุกสายงานธุรกิจ เนื่องจากส่วนต่อประสานโปรแกรมและรูปแบบการใช้นวัตกรรมที่ได้รับการรองรับ (IoT, AI) มีการพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ นักพัฒนาซอฟท์แวร์ส่วนใหญ่จึงต้องการแพลตฟอร์ม low-code ที่สามารถปรับใช้แอปพลิเคชันกับบริการโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที IaaS (Infrastructure as a Service), บริการแพลตฟอร์มสำหรับพัฒนาซอฟท์แวร์แอพปลิเคชั่น PaaS (Platform as a Service) และระบบไฮบริดคลาวด์ที่หลากหลาย อันที่จริงแล้วในขั้นตอนของการแนะนำ low-code มาปรับใช้นั้นจะทำให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์มืออาชีพได้รับโอกาสที่ดีเยี่ยมในการเข้าร่วมสนทนาในเรื่องที่เกี่ยวกับการวางกลยุทธ์และเป้าหมายทางธุรกิจในระดับสูง ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงแรงกดดันแฝงที่มีต่อภาระหน้าที่ในปัจจุบันของเขาแล้ว การสนทนาในเรื่องเหล่านี้ถือเป็นเรื่องที่ดีต่อการทำงานของพวกเขา

บทสรุปในมุมมองของ OutSystems นั้นดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันคืองานที่อยู่ในรูปแบบของ work in progress และมีข้อสังเกตุจากผลการศึกษาของ Outsystems ที่ทำการสำรวจผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีในภาคธุรกิจต่างๆ ทั่วโลกกว่า 3,300 รายใน 8 ประเทศรวมทั้งประเทศไทยดั งนี้:-

  • ตลาดยังมีความต้องการการพัฒนาแอปพลิเคชั่นซอฟท์แวร์ในระดับสูงตลอดเวลา
  • องค์กรให้ระยะเวลาในการพัฒนาแอปต่างๆ น้อยเกินควร
  • แบ็คล็อกเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำซาก
  • ทักษะการพัฒนาแอปยังเป็นที่ขาดแคลน
  • มีความนิยมใช้แนวปฏิบัติแบบ Agile และแบบ customer-centric เพิ่มมากขึ้น
  • แนวคิดที่ให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลางยังคงปรากฏอยู่อย่างต่อเนื่อง
  • low-code กำลังจะกลายเป็นกระแสหลัก