LINE ประเทศไทย อัพเดตกลยุทธ์ปี 2017 เสริมศักยภาพ 4 บริการหลัก

LINE ประเทศไทย อัพเดตกลยุทธ์ปี 2017 ภายใต้คอนเซปต์ “Mobile Portal” พร้อมพัฒนา 4 บริการหลักด้วยโซลูชั่นที่ช่วยให้ชีวิตผู้คนง่ายขึ้นและครอบคลุมทุกมิติของการสื่อสาร

อริยะ พนมยงค์ กรรมการผู้จัดการ LINE ประเทศไทย ได้อัพเดตภาพรวมของปี 2016 ที่ผ่านมา ระบุว่าประเทศไทยเป็นประเทศี่มีความสำคัญเป็นอันดับของ 2 ของ LINE ด้วยจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือที่สูงถึง 94% ซึ่งจากกลยุทธ์ Beyond Chat เมื่อปีที่ผ่านมาได้สนับสนุนให้บริการต่างๆ ของ LINE มีอัตราการเติบโตสูงขึ้น อาทิ

– LINE TV ด้วยยอดวิวที่เพิ่มขึ้น 136% และมีซีรีส์ที่เป็น Talk of The Town ได้แก่ I Hate You I Love You, ไดอารี่ ตุ๊ดซี่ส์ และ O-Nefative

– LINE MAN บริการแมสเซนเจอร์ สั่งซื้ออาหารและของสะดวกซื้อ หลังจากเปิดตัวมาตั้งแต่เมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 2016 พบว่ามีผู้ใช้บริการมากกว่า 400,000 ราย ต่อเดือน และยังมีพาร์ทเนอร์ที่เป็นร้านอาหารมากกว่า 20,000 ร้านที่เข้าร่วมใช้บริการ LINE MAN ด้วย

– LINE Game บริการเกมบนมือถือที่ครองอันดับ 1 ในเมืองไทย

– LINE Stickers มีจำนวนสติ๊กเกอร์ที่ดาวน์โหลดสูงกว่า 500 ล้านเซต

สำหรับในปี 2017 LINE ยังตั้งเป้าพัฒนาแพลตฟอร์มให้กลายเป็นศูนย์กลางบนมือถือผ่านคอนเซปต์ในปีนี้ “Mobile Portal” ตอบสนองการใช้ชีวิตของคนไทยให้สะดวกสบายมากขึ้น ซึ่งบริการหลัก 4 ด้านของ LINE จะได้รับการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ได้แก่

สำหรับในปี 2017 LINE ยังตั้งเป้าพัฒนาแพลตฟอร์มให้กลายเป็นศูนย์กลางบนมือถือผ่านคอนเซปต์ในปีนี้ “Mobile Portal” ตอบสนองการใช้ชีวิตของคนไทยให้สะดวกสบายมากขึ้น ซึ่งบริการหลัก 4 ด้านของ LINE จะได้รับการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ได้แก่

1. บริการด้านการติดต่อสื่อสาร

จากผลสำรวจของ Nielsen พบว่าคนไทยใช้สมาร์ทโฟนเฉลี่ยวันละ 234 นาที มีการใช้ LINE เฉลี่ย 70 นาทีต่อวัน จึงเป็นเหตุผลที่ LINE จำเป็นต้องพัฒนาคุณสมบัติของการใช้งานให้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง

2. บริการด้าน Content

ในปี 2017 LINE ตั้งเป้าอัพเดต LINE TV ด้วยคอนเทนต์กลุ่มใหม่ ไม่ว่าจะเป็น กีฬา, ความสวย ความงาม เพิ่มเติมจากคอนเทนต์ประเภทละคร, เพลง, อนิเมชั่น และการถ่ายทอดสด พร้อมจับมือพันธมิตรอย่าง ช่อง 8, PPTV, Thai Fight และจีบัน นอกจากนี้ยังตั้งเป้าอัพเดต LINE TODAY บริการข้อมูลข่าวสารให้ก้าวสู่อันดับ 1 แพลตฟอร์มข้อมูลข่าวสารบนมือถือ

3.บริการ Chat  BOT

เนื่องจากในปัจจุบันมีแอพพลิเคชั่นจำนวนมหาศาล แต่มีแอพฯ ที่มีผู้ใช้งานจริงๆ และต่อเนื่องเพียง 3-5 แอพฯ เท่านั้น ด้วยเหตุนี้ทำให้ LINE ทำการพัฒนา “Chat BOT” ขึ้นมาทดแทนแอพฯ เพื่อการถึงบริการต่างๆ ผ่าน LINE เพียงแอพฯ เดียว ซึ่งในงานแถลงข่าว LINE ได้มีการแสดงตัวอย่าง LINE Finance บริการเช็คราคาหุ้นและข้อแนะนำต่างๆ หรือจะเป็นบริการที่ร่วมมือกับ Citibank ที่ทำให้ผู้ใช้สามารถผูกบัญชีบัตรเครดิตของ Citibank และสามารถสอบถามข้อมูลค่าใช้จ่ายของบัตรเครดิตได้ นอกจากนี้ยังมีการแนะนำพาร์ทเนอร์ที่ร่วมให้บริการ Chat BOT อาทิ Uber, Wongnai, FWD, Lazada, Krungthai AXA, Maybank, Shell และ Uniliver เป็นต้น

ตัวอย่าง Chat BOT ที่ LINE ทำร่วมกับ Citibank สอบถามข้อมูลบัตรเครดิตผ่าน LINE ได้ทันที

อีกหนึ่งตัวอย่างบริการ LINE จาก Wongnai หาร้านอาหาร บอกพิกัดร้าน เส้นทาง ดูรีวิวได้

4. บริการขายสินค้าและบริการ

LINE แสดงตัวเลข e-commerce ให้เห็นว่าแม้ปัจจุบันการขายสินค้าและบริการแบบออนไลน์จะได้รับความนิยม แต่ยังมีสัดส่วนในตลาดเพียง 3.8% ของมูลค่าการค้าปลีกทั้งหมด ดังนั้น LINE จึงคิดบริการในรูปแบบที่เรียกว่า “O2O” (Offline to Online) เป็นการนำเทคโนโลยี “Beacon” มาใช้กับร้านค้าต่างๆ เพื่อให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์และมอบคูปองโปรโมชั่นต่างๆ เมื่อลูกค้ามาใช้บริการที่้่้ร้านค้า พร้อมกันนี้เมื่อเร็วๆ นี้ LINE ยังเปิดตัวอีกหนึ่งบริการจาก LINE MAN ที่สามารถรับ-ส่งพัสดุจากลูกค้าเพื่อไปส่งยังปลายทางที่ต้องการได้

ตัวอย่างเทคโนโลยี Beacon ภายในงานแถลงข่าว แสดงให้เห็นตำแหน่งของผู้ใช้ LINE ที่เข้าร่วมงาน

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here